วันนี้ปลื้มจะมาเล่า Case Study จาก ซูเปอร์มาร์เก็ต Carulla ในโคลอมเบีย กับโครงการ Fresh System ที่ช่วยให้ผู้คนเก็บผักและผลไม้สดไว้ได้นานขึ้น เพื่อช่วยลดขยะอาหารทั่วโลก โดยใช้วิธีที่ดูเรียบง่าย Simple มากๆ ที่บอกเลยว่าห้างซูเปอร์มาร์เก็ตไทยก็สามารถประยุกต์ใช้ได้
ปัญหาโลกร้อน
สาเหตุหลักๆ ของการปลี่ยน Buyer Behavior ของ ซูเปอร์มาร์เก็ต Carulla สืบเนื่องมาจาก ข้อมูลของ WRAP UK ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่ผลิตทั่วโลกถูกทิ้งไป ซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่าง 8-10% ของทั้งหมดในปี 2020
นอกจากนี้แนวโน้มวิกฤตการบริโภคทั่วโลกที่สำรวจว่าแบรนด์ต่างๆ ควรจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างไร โดยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนบริโภคและทิ้งขยะให้น้อยลงเพื่อปกป้องโลกของเรา นักการตลาดจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อบทบาทของตนในวิกฤตสภาพอากาศและดำเนินการทั้งต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้บริโภค ในการซื้ออย่างประหยัด รอบคอบ และยั่งยืน นั่นเองค่ะ
จึงเกิดโครงการ Fresh System ของ ซูเปอร์มาร์เก็ต Carulla
ด้วยความที่แบรนด์เล็งเห็นถึงการจัดการกับเศษอาหาร Food Waste ให้เป็นแนวทางรักษาความสดของอาหาร โดยเฉพาะ ผักและ ผลไม้ จึงได้จัดทำแนวทางที่จะจัดกลุ่มผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ว่าควรเก็บรวมกันหรือแยกกัน เพื่อชะลอระยะเวลาการสุกและป้องกันไม่ให้สุกก่อนกำหนด
โดยเขาได้จึงทำงานร่วมกับนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแยกจากเอทิลีนที่เป็นก๊าซธรรมชาติ ที่ถูกปล่อยออกมาจากผักและผลไม้บางชนิด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผักผลไม้สดสุกและเน่าเสีย คือจะแบ่ง 2 กลุ่ม : กลุ่ม 1 กลุ่มที่ผลิตเอทิลีนมาก (+) สีแดง / กลุ่ม 2 กลุ่มที่ผลิตเอทิลีนน้อย (-) สีเขียว ว่าเราควรจะแยกเก็บในอุณหภูมิห้อง ตู้เย็น หรือช่องแช่แข็ง
แปลว่าถ้าเราวางอยากไปผักหรือผลไม้สุกเร็วขึ้น ก็แค่วางชนิด (+)และ(-) ไว้ใกล้กัน เช่นวางส้ม(-) ไว้ข้างอโวคาโด (+) ส้มก็จะสุกง่อมขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าเราอยากยืดระยะเวลาในของสดอยู่ได้นานขึ้น ก็ไม่ควรนำชนิด (+)และ(-) ไว้ด้วยกันค่ะ
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความรู้ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ และไม่ค่อยแยกกลุ่มผักหรือผลไม้ตามการทำงานของเอทิลีน เพราะบางทีคนเราไม่ได้จำว่าผลไม้หรือผักชนิดไหนบ้างที่ผลิตเอทิลีนมากน้อย ทำให้แนวคิดนี้ทำให้ชีวิตประจำวันของการซื้อของสดนั้นมีวิธีการคงความสดที่ง่ายขึ้นค่ะ
ซึ่งแบรนด์เองก็ได้ทำตารางการแยก (+)(-) สื่อสารอยู่ในช่องทางดิจิทัลและเครือข่ายโซเชียลมีเดียของ Carulla ส่วนออฟไลฟ์ก็จะติดป้ายไว้ที่หน้าสินค้า เพื่อให้ผู้ซื้อสะดวกในการสังเกตุเห็นได้ง่าย และไม่ลืมที่จะแปะข้อมูลเรื่องนี้ไปกลับของสดที่ลูกค้าซื้อไป เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าดูซ้ำที่บ้าน รวมถึงคำสั่งซื้อออนไลน์ด้วยเช่นกันค่ะ ที่บอกวิธีจำแนกตามฉลากว่าควรจัดเก็บอย่างไรให้ดีที่สุด
สรุป
หนึ่งสิ่งจาก Case Study ที่ส่งผลต่อผู้ซื้อเลยคือ โครงการ Fresh System นี้ช่วยปรับ Buyer Behavior ของการเก็บผักและผลไม้ที่มีกระบวนการมากขึ้น โดยปกติเราอาจจะวางรวมๆ กัน หรือใส่ในตู้เย็นปนๆ กัน แต่วิธีนี้จะทำให้ผู้ซื้อตระหนักถึงการรักษาสภาพของสดให้อยู่นานขึ้น
ซึ่งเหตุผลหลักอาจจะเพราะรู้สึกเสียดายที่ซื้อผลไม้มาแล้วเน่าก่อน และไม่ทันได้กิน ทำให้เสียเงินไปฟรีๆ ทำให้วิธี Simple ของซูเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์นี้ได้รับความสนใจจากลูกค้าให้ยอมปรับพฤติกรรมตามแบบไม่รู้ตัว ส่วนแบรนด์นั้นก็สามารถจัด Shelf ที่วางสินค้าให้รักษาความสดของผักผลไม้ให้ขายได้นานขึ้น แถมได้ขึ้นชื่อเป็นห้างรักษ์โลก จากการลดการทิ้งขยะอาหารอีกด้วยค่ะ
สำหรับใครที่กำลังหารักษาความสดของผักผลไม้ ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ตามดูได้นะคะ จะได้ลดของเน่าก่อนที่ควรจะเป็น และนักการตลาดจะเห็นว่าโครงการนี้ใช้แนวคิดแบบง่ายมากๆ แต่สร้างความเข้าใจ รวมถึง Value ให้แบรนด์ได้ดีจริงๆ ค่ะ
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง เว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ
Source