S2O Songkran Music Festival ไม่ได้เป็นแค่งาน EDM กลางฤดูร้อน แต่มันกลายเป็น “สิ่งที่ต้องมี” ทุกครั้งที่สงกรานต์เวียนมา เป็นเวทีที่ผสานเสียงเพลง น้ำ และความสนุกแบบ non-stop ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จนหลายคนรวมถึงโอปอเองจดจำได้ทันทีว่า “สงกรานต์ปีนี้ต้องมี S2O”
บทความนี้จะพาไปดูว่า เมื่อเราหยิบ S2O ทั้งปี 2024 และ 2025 มาเทียบกันผ่าน Social Listening เสียงของโซเชียลพูดถึงงานนี้ยังไงบ้าง? ศิลปินไหนมาแรง? และที่สำคัญที่สุดคือ แบรนด์หรือผู้จัดงานจะเรียนรู้อะไรจากเสียงเล็ก ๆ เหล่านี้ได้บ้าง เพื่อสร้าง “เทศกาลที่คนอยากกลับไปทุกปี” ให้แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ
เราใช้ Social Listening Tool จาก Mandala ที่ช่วยให้เห็นพลังของการพูดถึงแบบ real-time และเจาะลึกลงไปถึงอารมณ์ร่วมของผู้คน ผ่านสิ่งที่พวกเขาเลือกจะบอก แชร์ หรือรีแอคออกมาบนโลกออนไลน์ ซึ่งหลายครั้งสะท้อนความรู้สึกลึกกว่าที่แบบสอบถามหรือฟีดแบ็กทั่วไปจะมองเห็นค่ะ
STEP 1 – 2: Research Keyword, Collecting Data
การเลือกคีย์เวิร์ด ในการดึงข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของ Social Listening ครั้งนี้ โดยเราใช้คำว่า S2O และ เอสทูโอ เป็นชุดคำหลักในการเก็บข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Facebook, X (Twitter), TikTok, Instagram และ Youtube โดยกำหนดช่วงเวลาเก็บข้อมูลเป็น:
01/01/2024 – 17/04/2024 สำหรับปี 2024 (งานจัดวันที่ 13–15 เม.ย. 2024)
01/01/2025 – 16/04/2025 สำหรับปี 2025 (งานจัดวันที่ 12–14 เม.ย. 2025)
ช่วงเวลาที่เลือกเก็บครอบคลุม ก่อน–ระหว่าง–หลังงาน โดยเผื่อ “ช่วงหลังงาน” เท่ากันทั้ง 2 ปี เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้ชมได้อย่างแม่นยำค่ะ
ผลลัพธ์:
Social Mentions ปี 2025 เติบโตขึ้นกว่า 56% จากปีก่อน (1,159 vs 743 mentions)
YouTube Mentions พุ่งแรงกว่าเดิมถึง +154.5% (84 vs 33 คลิป)
ข้อมูลเบื้องต้นนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้จะอยู่ในธีมสงกรานต์เหมือนเดิมและจัดในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน แต่ “เสียงของโซเชียล” ในปี 2025 กลับขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจค่ะว่าปีนี้มีอะไรที่ทำให้คนอยากพูดถึงมากขึ้น?
STEP 3: Cleansing Data
การเก็บข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมักจะได้ทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโพสต์ที่ “ติดแท็กเฉย ๆ” มาด้วย ซึ่งขั้นตอนการคลีนข้อมูล จึงสำคัญมากค่ะ เพราะเราต้องการเฉพาะเสียงที่พูดถึง S2O ที่จัดในประเทศไทย เท่านั้น
โพสต์ที่ถูกกรองออก เช่น
โพสต์ขายของที่ติดแฮชแท็ก S2O เช่น เสื้อผ้าสงกรานต์, เครื่องเล่น DJ
โพสต์ที่พูดถึงชื่อ S2O แต่ไม่ได้พูดถึงงานเลย
การพูดถึง S2O ที่จัดในประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น หรือเกาหลี
หลังผ่านกระบวนการคัดกรองนี้แล้ว เราจึงจะได้ชุดข้อมูลที่แม่นยำขึ้น และสะท้อนกระแสหรือ Insight ของ S2O ที่จัดในประเทศไทย ได้อย่างตรงจุดที่สุดค่ะ
STEP 4: Conversation Analysis
หลังจากคลีนข้อมูลเรียบร้อย เราจะได้โพสต์ที่เกี่ยวข้องกับ S2O โดยตรงค่ะ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการ “ฟังเสียงจากโซเชียล” อย่างจริงจัง ว่าผู้คนพูดถึงงานนี้อย่างไรบ้าง มีประเด็นไหนถูกพูดถึงซ้ำ ๆ หรือคอนเทนต์แบบไหนที่สร้างกระแสได้ดี
ในช่วงนี้ ข้อมูลจากโซเชียลยังอยู่ในรูปแบบกระจัดกระจาย มีทั้งโพสต์รีวิว ข้อเสนอแนะ รูปวิดีโอ และคอนเทนต์โปรโมต ซึ่งเรายังไม่สามารถดึง Insight ลึก ๆ ออกมาได้ทันที จึงจำเป็นต้องเข้าสู่ STEP 5 เพื่อ “จัดระเบียบ” ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่ก่อนจะเริ่มวิเคราะห์เชิงลึกต่อไปค่ะ
Social Data Overview: Mentions Insight
แม้จังหวะการปล่อยคอนเทนต์ของ S2O จะใกล้เคียงกันทั้งในปี 2024 และ 2025 ตั้งแต่ช่วงประกาศ Lineup เปิดขายบัตร จนถึงแคมเปญแจกบัตรก่อนงาน แต่สิ่งที่ “ต่างกันชัดเจน” คือ จำนวนการพูดถึงต่อวันในช่วงพีค ค่ะ
ปี 2025 มียอด Mentions ช่วงวันจัดงาน (12–14 เม.ย.) พุ่งทะลุหลักร้อยต่อวัน บนทุกแพลตฟอร์ม ขณะที่…
ปี 2024 ตัวเลขในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ราว 40–60 Mentions ต่อวัน เท่านั้น
สะท้อนว่า “ความรู้สึกอยากพูดถึง” ในปี 2025 มีแรงส่งที่มากกว่า อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ความคึกคักของเทศกาลโดยรวม พลังของไลน์อัปปีนี้ การสื่อสารที่จุดติดมากขึ้น หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมผู้ใช้โซเชียลที่กล้าแชร์มากขึ้นในปีถัดมา
💡 Insight ที่ได้คือ ต่อให้แผนคอนเทนต์คล้ายกัน แต่ผลลัพธ์อาจต่างกันลิบ ถ้าระดับ “อารมณ์ร่วม” ไม่เท่ากัน
Social Data Overview: YouTube Video Insight
แม้ว่า YouTube จะไม่ใช่แพลตฟอร์มหลักด้านจำนวนโพสต์ แต่จากกราฟข้อมูลที่เราเก็บได้ ชี้ให้เห็นพัฒนาการที่น่าสนใจค่ะ
ในปี 2025 จำนวนคลิปวิดีโอที่พูดถึง S2O เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับปี 2024 และไม่ใช่แค่ปริมาณที่มากขึ้น แต่ยังเห็น “จังหวะการโพสต์” ที่กระจายตัวออกไปหลังช่วงวันจัดงานอีกด้วย (โดยเฉพาะในวันที่ 16/04/2025)
ในขณะที่ปี 2024 คลิปวิดีโอส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะช่วง 13–15 เมษายน และลดลงรวดเร็วหลังจากนั้น ขณะที่ปี 2025 กลับมีคลิปบรรยากาศ รีวิว และการแชร์ประสบการณ์ที่ยังทยอยถูกโพสต์ต่อเนื่องแม้งานจะจบไปแล้ว สะท้อนว่า “อารมณ์ร่วม” ของผู้ชมไม่ได้หยุดแค่วันสุดท้ายของงาน
💡 Insight ที่ได้คือ YouTube ไม่ได้เป็นแค่พื้นที่สำหรับเก็บรีวิวหลังงาน แต่เริ่มมีบทบาทในการ “ต่อยอดอารมณ์” ของผู้ชมให้ยาวนานขึ้น โดยคลิปวิดีโอบรรยากาศและประสบการณ์จริงที่ทยอยโพสต์หลังงานจบ ช่วยให้กระแสยังคงเดินต่อ และทำให้งานไม่จบลงแค่บนเวที แต่ยังมี “ชีวิต” ต่อบนโซเชียลในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายและแชร์ต่อได้ค่ะ
Social Data Overview: Engagement Insight
เมื่อเทียบกราฟ Engagement ของ S2O ช่วงปี 2024 และ 2025 จะเห็นชัดว่า ปี 2025 ไม่ได้แค่ทำให้กระแสติด แต่ยังยกระดับพลังการมีส่วนร่วม ขึ้นไปอีกขั้น
ปี 2024 แม้จะมีการโปรโมตก่อนงาน เช่น การประกาศศิลปินอย่าง The Chainsmokers หรือเปิดขายบัตร แต่ยอด Engagement ยังพุ่งแรงแค่ช่วงจัดงาน และอยู่ในระดับหลักแสนต้น ๆ
ปี 2025 นอกจากจะมีกระแสต่อเนื่องจากการประกาศ Headliner และแจกบัตรล่วงหน้าแล้ว ช่วงวันงานจริง ยังสร้าง Engagement ที่พุ่งทะยานไปถึงหลักเกือบ 500,000 เลยทีเดียว เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วหลายเท่าตัว
https://www.tiktok.com/@nan.mlk/video/7493039741839904007
💡 Insight ที่ได้คือ แค่โปรโมตไม่พอ งานที่สร้างกระแสได้จริง ต้องมี “เรื่องเล่าหน้างาน” และ “โมเมนต์ที่คนอยากแชร์ด้วยใจ” เพราะ Engagement ที่สูงขึ้นไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่คือสัญญาณของ Emotional Bond ที่เหนียวแน่นขึ้นกับแบรนด์ ค่ะ
Platform Matrix Insight
หนึ่งในไฮไลต์ที่น่าสนใจของ S2O ปี 2025 คือการ “เปลี่ยนตำแหน่งเกม” จาก Facebook ไปสู่ TikTok อย่างชัดเจนในแง่ของพลังการสื่อสารค่ะ
ปี 2024 Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีคนพูดถึงมากที่สุด แต่พลังการมีส่วนร่วมกลับไปตกที่ TikTok ที่แม้จำนวนโพสต์จะน้อยกว่า แต่สร้างไวรัลและยอดรีแอคได้สูงสุดในปีนั้น สะท้อนว่าคนดูเน้นแชร์ “โมเมนต์” มากกว่าข้อมูลจากเพจ
ปี 2025 TikTok แซงทุกแพลตฟอร์มขึ้นเป็นช่องทางหลัก ที่ “ครบทั้งปริมาณและพลังการมีส่วนร่วม” → ทั้ง Mentions และ Engagement สูงที่สุดแบบไม่ต้องสงสัย แสดงให้เห็นว่า วิดีโอไวรัลที่แชร์จากหน้างานจริง คืออาวุธสำคัญของการสร้างอารมณ์ร่วมในยุคนี้
ในขณะที่ Instagram ยังทำหน้าที่คล้ายเดิม เป็นที่แชร์ภาพสวย ๆ แต่ไม่ได้กระตุ้นการพูดถึงเท่าแพลตฟอร์มอื่น ส่วน X (Twitter) ก็เริ่มลดบทบาทลง กลายเป็นแพลตฟอร์มข้างสนามที่เสียงเงียบกว่าปีก่อน
💡Insight ที่ได้คือ กลยุทธ์การสื่อสารงานดนตรีในยุคนี้ไม่ใช่แค่ “ต้องโพสต์ให้ครบทุกช่องทาง” แต่ต้องเข้าใจ “หน้าที่ของแต่ละแพลตฟอร์ม” และใช้มันให้ตรงจุด
ใช้ TikTok สร้างโมเมนต์ที่คนอยากแชร์
ใช้ Facebook ส่ง info ให้ครบ
ใช้ IG ทำภาพจำให้สวย
และอาจต้องยอมปล่อยบางแพลตฟอร์มที่แรงไม่พอ ให้กลายเป็นบทสนทนารอง
แพลตฟอร์มไม่ได้เท่ากันหมด และอารมณ์ร่วมของคนก็เปลี่ยนเร็ว ใครที่อยากขยับจากแค่ “สื่อสารให้ครบ” ไปสู่ “สร้างกระแสให้ติด” ต้องเริ่มคิดจากพฤติกรรมคนจริง ไม่ใช่แค่โพสต์ลงทุกที่แล้วหวังให้มันไวรัลเองค่ะ
STEP 5: Categorize Data
หลังจากได้ข้อมูลที่ผ่านการคลีนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดกลุ่ม (Categorize) เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมและเสียงพูดถึงบนโซเชียลได้แม่นยำขึ้นค่ะ
สำหรับ S2O ปี 2024 และ 2025 เราใช้การตั้งหมวดหมู่จากสิ่งที่ปรากฏใน Social Data จริง ได้แก่
เสียงโปรโมต (PR / Campaigns)
เสียงจาก UGC (User-generated content)
เสียงรีวิวบรรยากาศและประสบการณ์เชิงบวก (Positive Experience)
เสียงข้อเสนอแนะหรือจุดที่คนอยากให้พัฒนาต่อ (Constructive Feedback)
การพูดถึงศิลปิน (Artist Mentions)
การ Categorize ข้อมูลแบบนี้ช่วยให้เรามองเห็นได้ทันทีว่า คนส่วนใหญ่พูดถึงเรื่องอะไร งานโดนจดจำในมุมไหน และ Insight เชิงคุณภาพที่ซ่อนอยู่ในแต่ละหมวดหมู่คืออะไร
🪄 Tip : การติด Tag ตั้งแต่ต้นทำให้วิเคราะห์ลึกขึ้นได้ เช่น ดูว่าเสียงติชม หรือข้อเสนอแนะที่มีส่งผลกระทบต่อ perception ของงานมากน้อยแค่ไหนค่ะ
STEP 6: Data Visualization
ข้อมูลเยอะไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือ “ทำให้คนอ่านเข้าใจได้ในเวลาไม่กี่วินาที” ต่างหากค่ะ
สำหรับโปรเจกต์นี้ โอปอใช้กราฟหลากหลายแบบ เช่น
Bar Chart (เพื่อดูสัดส่วนของประเภทเสียง)
Line Graph (เพื่อดูจังหวะของกระแส Mentions / Engagement)
Pie Chart (เพื่อเปรียบเทียบ % สัดส่วนของปี 2024 vs 2025)
จุดสำคัญที่โอปอเน้นคือ เราควรเลือก Visualization ให้ “ตรงกับสิ่งที่อยากเล่า” เช่น อยากให้เห็นว่าช่วงไหนคนอินที่สุด ก็ใช้กราฟเส้นช่วยเน้นพีคชัด ๆ หรืออยากให้เห็นว่าสัดส่วนของเสียงเชิงบวกโตขึ้นไหม ก็ตัด Pie Chart เทียบไปเลย
🪄 Tip : เวลาเลือกกราฟ อย่าดูแค่สวย แต่ต้องคิดด้วยว่ามันช่วย “ชี้ insight” ได้ชัดพอไหม เพราะสุดท้ายแล้ว สิ่งที่คนจำได้ไม่ใช่ตัวเลข แต่คือ “เรื่องที่ตัวเลขเล่าให้ฟัง” ค่ะ
STEP 7–8: Summary & Insight / Recommendation
จากการทำ Social Listening เพื่อเก็บข้อมูลกระแส S2O ปี 2024 และ 2025 เราแบ่งหมวดหมู่การพูดถึงออกเป็น 2 มิติหลัก คือ Content Type และ Sentiment เพื่อวิเคราะห์ได้ลึกขึ้นว่าผู้ชมให้ความสนใจและมีอารมณ์ร่วมกับงานนี้อย่างไรบ้างค่ะ
Content Type
PR – การพูดถึงที่มาจากการโปรโมตงาน เช่น ประกาศไลน์อัป เปิดขายบัตร กิจกรรมแจกบัตร และคอนเทนต์จากพาร์ทเนอร์
UGC (User-Generated Content) – การพูดถึงที่มาจากผู้ร่วมงานจริง เช่น การแชร์ภาพหน้างาน คลิปรีวิว หรือบรรยากาศของงาน
Sentiment
Positive – การพูดถึงในเชิงชื่นชมหรือภาพบรรยากาศเชิงบวก เช่น ความสนุก หน้างานมันส์ บรรยากาศดี คุ้มค่าตั๋ว
Constructive – เสียงข้อเสนอแนะหรือจุดที่คนอยากให้พัฒนาต่อ เช่น การจัดการพื้นที่และโซนเล่นน้ำ
การแบ่งหมวดหมู่นี้ช่วยให้เราเห็นชัดขึ้นว่า กระแสหลักของ S2O ขับเคลื่อนด้วยทั้งการโปรโมตที่ต่อเนื่อง และ โมเมนต์หน้างานที่ผู้ร่วมงานอยากแชร์ออกมาเอง ขณะเดียวกัน “เสียงจริง” จากผู้เข้าร่วมงานก็สะท้อนโอกาสสำคัญในการพัฒนา เพื่อยกระดับประสบการณ์ในปีถัด ๆ ไปได้ค่ะ
มาดูกันต่อค่ะว่า แต่ละหมวดหมู่บอกอะไรที่ลึกไปกว่านั้นได้อีกบ้าง
Content Type Insight: PR vs UGC
หนึ่งในสัญญาณการเติบโตที่น่าสนใจของ S2O คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของ PR Content และ UGC (User-Generated Content) ระหว่างปี 2024 และ 2025 ค่ะ
PR Mentions เพิ่มขึ้น +25.1% → สะท้อนว่าการทำคอนเทนต์ประชาสัมพันธ์ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน ทั้งประกาศไลน์อัป กิจกรรมแจกบัตร และการปล่อยข่าวสารจากเพจหรือพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ
UGC Mentions พุ่งสูงถึง +198% → การเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่านี้ ไม่ได้เกิดจากแค่การกระตุ้นให้คนแชร์เท่านั้น แต่สะท้อนว่า “ผู้ชมมีอารมณ์ร่วม” และอยากบอกเล่าประสบการณ์หน้างานด้วยตัวเองมากขึ้นอย่างชัดเจน
💡 Insight ที่ได้คือ การเติบโตของ UGC คือสัญญาณเชิงบวกที่ทรงพลัง เพราะหมายความว่า คนไม่ได้แค่ “บริโภค” คอนเทนต์จากงาน แต่เลือกที่จะ “สร้าง” และ “ส่งต่อ” ความทรงจำเหล่านั้นออกไปเองค่ะ การขยายฐานเสียงจากผู้ชมจริง เป็นพลังที่ไม่มีงบโฆษณาแบบไหนซื้อได้ง่าย ๆ และกลายเป็น asset สำคัญที่จะช่วยเสริม brand perception ของ S2O ให้แข็งแรงขึ้นในระยะยาว
What did PR actually talk about? 2024 vs 2025
ในบทความนี้ คำว่า PR หมายถึงการพูดถึงงานในลักษณะโปรโมต ไม่จำกัดแค่โพสต์จากทีมผู้จัดงานโดยตรง แต่รวมถึงคอนเทนต์จากพาร์ทเนอร์ สื่อมวลชน อินฟลูเอนเซอร์ และผู้ใช้งานที่กระจายข้อมูลแบบ organic ด้วยค่ะ
ปี 2024 PR ส่วนใหญ่เน้นสื่อสารข้อมูลพื้นฐาน เช่น
→ Core Message: การโปรโมตงาน และเป็นพิกัดเที่ยวช่วงสงกรานต์ → Experience: เวที การแสดงบนสเตจ และบรรยากาศงาน → Engagement Mechanism: การโปรโมตและแจกบัตรผ่านพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ
โฟกัสยังอยู่ที่ “ขายความมันส์” และ “ขายพิกัดท่องเที่ยวสงกรานต์” เป็นหลัก
ปี 2025 นอกจากจะสื่อสารข้อมูลคล้ายปี 2024 แล้ว ยังมีมิติใหม่ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น ได้แก่
การเล่า Brand Narrative เช่น การครบรอบ 10 ปีของ S2O และการเทียบกับงานอื่นที่จัดในช่วงเดียวกันอย่าง Siam Songkran Music Festival
การขยายประสบการณ์ เช่น การ Unbox Wristband Box Set ที่เพิ่มอารมณ์ร่วมให้ผู้เข้าร่วมงานตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน
สะท้อนว่า PR ในปี 2025 ไม่ได้แค่ขายอีเวนต์ แต่เริ่มขาย “ตัวตน” ของแบรนด์อย่างจริงจังมากขึ้น
ที่มา Facebook page: Woody
💡 Insight ที่ได้คือ การสื่อสารผ่าน PR ที่ขยายจากแค่ข้อมูลทั่วไป ไปสู่การวางภาพจำ (Brand Image) และเสริมอารมณ์ร่วมของคนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมงาน เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้าง Emotional Hook ได้แข็งแรงขึ้น และทำให้แบรนด์มีพื้นที่ในใจคนในระยะยาวมากกว่าการโปรโมตแบบฉาบฉวยคะ
What did UGC actually talk about? 2024 vs 2025
นอกจากเสียงโปรโมตจากฝั่งแบรนด์ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ “เสียงที่เกิดจากประสบการณ์จริง” ของผู้เข้าร่วมงานค่ะ ซึ่งปี 2024 และ 2025 แม้จะมีบรรยากาศที่แตกต่างกันบ้าง แต่สิ่งที่คนเลือกแชร์ออกมากลับมีโครงสร้างคล้ายกันอย่างน่าสนใจ
ปี 2024 และ 2025 UGC หลัก ๆ แบ่งได้เป็น 2 แกนใหญ่
Immersive Crowd Experience ผู้ร่วมงานแชร์ภาพบรรยากาศจากมุมมองตัวเอง เช่น
ความสนุกกับกลุ่มเพื่อน
ลุคแต่งตัวไปงาน
เจอดาราหรือศิลปินที่เข้าร่วม→ เน้นอารมณ์ร่วมกับ “ช่วงเวลาที่น่าจดจำ” รอบตัว
Core Stage Impact ผู้ชมยังคงแชร์โมเมนต์โชว์บนเวที เช่น
พลังของศิลปิน
เอฟเฟกต์แสง สี เสียง
บรรยากาศมันส์ ๆ สไตล์เทศกาล EDM
💡 Insight ที่ได้คือ เสียงจาก UGC บอกเราว่า คนไม่ได้มาเพื่อชมเวทีอย่างเดียว แต่เขามาเพื่อ “ใช้ชีวิตในงาน” และ “บันทึกความทรงจำ” ทั้งที่เวทีและรอบตัวเอง เพราะงั้นโอปอว่าใครที่อยากวางแผนเพิ่มอัตรา UGC ในอนาคต ควรออกแบบประสบการณ์ให้รอบด้านตั้งแต่เวทีหลักไปจนถึงพื้นที่เล็ก ๆ ที่ชวนให้คนอยากหยิบมือถือขึ้นมาบันทึกและแชร์ค่ะ
Sentiment Comparison: 2024 vs 2025
นอกจากยอดการพูดถึงและ UGC จะเพิ่มขึ้นแล้ว เสียงสะท้อนในเชิงอารมณ์ (Sentiment) ก็เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วยค่ะ
Positive Sentiment จำนวนโพสต์ที่พูดถึง S2O ในแง่บวกเพิ่มจาก 135 เป็น 332 mentions หรือคิดเป็นการเติบโตเกือบ 2.5 เท่า → ไม่ใช่แค่มีคนไปงานเยอะขึ้น แต่ยัง “อินมากพอ” ที่จะพูดถึงประสบการณ์ในเชิงบวกกันต่อ ซึ่งสะท้อนว่าตัวงานสามารถสร้างอารมณ์ร่วมได้ดีกว่าปีก่อน
Constructive Feedback เสียงที่เสนอแนะให้ปรับปรุง เพิ่มขึ้นจาก 38 เป็น 47 mentions → แม้จำนวนจะเพิ่มเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับการเติบโตของเสียงบวก ถือว่าสัดส่วนลดลงค่อนข้างชัด สะท้อนว่าหลายจุดที่เคยเป็น pain point อาจเริ่มได้รับการจัดการ หรือมีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงานน้อยลงกว่าเดิม
💡 Insight ที่ได้คือ ไม่ใช่แค่ยอดพูดถึงที่เพิ่มขึ้น แต่ “คุณภาพของเสียง” ก็ชัดเจนว่าดีขึ้นตามไปด้วย การเข้าใจ Pain Point จริง ๆ และใส่ใจประสบการณ์ผู้ร่วมงานในทุกจุด มีความสำคัญต่อการสร้าง Trust ที่ยั่งยืนในระยะยาวค่ะ
Positive Sentiment Highlights
เมื่อเจาะลึกเสียงในเชิงบวก เราจะเห็นว่า ทั้งปี 2024 และ 2025 คนยังคงยืนยันตรงกันว่า S2O เป็น “ที่ปล่อยพลังความสนุก” อย่างแท้จริง แต่ในปี 2025 มีจุดเด่นเพิ่มเติมที่ช่วยยกระดับความประทับใจให้มากยิ่งขึ้น
Core Experience จุดแข็งของ S2O ยังคงชัดเจน ทั้งเรื่องความสนุกตลอดทั้งงาน และบรรยากาศสาดน้ำแบบจัดเต็ม แต่ในปี 2025 เพิ่มไฮไลต์พิเศษคือ บางช่วงมีโชว์ 3D immersive (เช่น โชว์ของ DJ Wukong) ที่สร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมายให้กับผู้ชม
People Vibe บรรยากาศของคนร่วมงานยังคงเป็นอีกหนึ่งจุดขาย โดยมีการพูดถึง การแต่งตัวดี หน้าตาดี และการที่มีดารา/อินฟลูเอนเซอร์ เข้าร่วมงานจำนวนมาก ช่วยเติมสีสันให้กับโมเมนต์หน้างาน
Design Touchpoint (ใหม่ในปี 2025) อีกหนึ่งเสียงชื่นชมใหม่ที่โผล่ขึ้นมาในปีนี้ คือเรื่องของ Box Set ที่ “สวยและใส่ใจดีไซน์” ซึ่งสะท้อนว่าแม้แต่รายละเอียดเล็ก ๆ นอกเวที ก็มีผลต่อการสร้างความประทับใจในมุมมองของคนร่วมงาน
💡 Insight ที่ได้คือ จุดว้าวของงานไม่จำเป็นต้องอยู่แค่บนเวทีหลัก รายละเอียดเล็ก ๆ อย่างการออกแบบ Experience รอบตัวมีพลังไม่น้อยในการขยายอารมณ์ร่วมค่ะ ยิ่งเมื่อมีการหยิบเทรนด์ไวรัลที่คนอินในช่วงนั้น เช่น คุณออน สมฤทัย เจ้าของวลีฮิตอย่าง “Thank you Kateyki” หรือ หมีเนย มาสคอตไอคอนิกของยุคมาเล่นกับบรรยากาศงาน ยิ่งช่วยเติมความขี้เล่นและทำให้คนรู้สึกว่า “ฉันอยู่ในพื้นที่ที่เข้าใจฉัน” ได้อย่างแท้จริง
Constructive Sentiment Highlights
แม้ S2O จะเต็มไปด้วยเสียงบวก แต่ก็มีบางประเด็นที่คนร่วมงานสะท้อนกลับมาในเชิงสร้างสรรค์ ว่าอยากให้พัฒนาขึ้น เพื่อยกระดับประสบการณ์ในอนาคต
Core Experience
2024 → มีเสียงเปรียบเทียบว่า ไลน์อัป และโปรดักชัน ยังไม่โดดเด่นเท่างานคู่แข่ง
2025 → ยังมีเสียงสะท้อนคล้ายปีก่อน โดยเฉพาะเรื่องไลน์อัปที่ยังไม่จุใจ และช่วงจบงานที่บางคนคาดหวังให้มีไฮไลต์ที่พีคกว่านี้ เช่น พลุปิดท้าย เพื่อเติมเต็มอารมณ์ให้จบอย่างน่าประทับใจ
Environment
ทั้งสองปีมีเสียงสะท้อนในประเด็นคล้ายกันเกี่ยวกับกลิ่นและบรรยากาศบางจุดในพื้นที่งาน ข้อเสนอแนะที่ได้รับบ่อย ได้แก่ การจัดสรรพื้นที่สูบบุหรี่ให้ชัดเจน และการดูแลปัญหาน้ำขังให้เป็นระบบมากขึ้น
Logistics & Preparation
2024 → มีปัญหาเรื่องรถติด การเดินทางกลับลำบาก และค่าโดยสารสูงในช่วงพีค
2025 → ปัญหารถติดยังคงมี และเพิ่มเติมเรื่องริสแบนด์ส่งล่าช้า ซึ่งกระทบการเตรียมตัวของผู้ร่วมงานบางคน
Perceived Value
ทั้งสองปี มีเสียงพูดถึงเรื่องราคาบัตรรีเซลที่ค่อนข้างสูง และความรู้สึกว่าบางงานคู่แข่งมีความคุ้มค่าจัดเต็มกว่า
💡 Insight ที่ได้คือ แม้ตัวงานจะดีขึ้นในแง่อารมณ์ร่วม แต่เสียงสะท้อนหลายจุดยังวนอยู่ที่ “รายละเอียดประสบการณ์รอบข้าง” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ระบบจัดการก่อน-หลังเข้างาน หรือความคุ้มค่าที่ผู้ชมรู้สึกได้รับจริง
โอปอเชื่อว่า หากแบรนด์สามารถนำเสียงเหล่านี้ไปใช้เพื่อปรับในจุดเล็ก ๆ เช่น การสื่อสารที่ลื่นไหลขึ้น การจัดพื้นที่ให้ตอบโจทย์การใช้งานหน้างาน หรือการออกแบบโมเมนต์ปิดงานให้ชัดเจน น่าจดจำมากขึ้น เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ชม ก็จะช่วยเสริมให้ประสบการณ์ของ S2O ไม่ได้ดีแค่บนเวที แต่แข็งแรงในทุกสัมผัสของคนที่เข้าร่วม กลายเป็น “เทศกาลที่คนอยากกลับมาเอง” โดยไม่ต้องบิ๊วท์เยอะในทุกปีค่ะ
Highlight Artist of the Year
เมื่อดูเสียงพูดถึงศิลปินที่สร้างกระแสได้สูงสุดในแต่ละปี จะเห็นภาพที่น่าสนใจแตกต่างกัน
ในปี 2024 หนึ่งในศิลปินที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ “กระแต” แม้จะไม่ใช่ Headliner แต่ด้วยโชว์พิเศษ และการโปรโมตจากเพจของเจ้าตัว ทำให้เกิดการพูดถึงจำนวนมากบนโซเชียล ขณะที่อีก 2 ศิลปินที่ติดอันดับก็เป็นศิลปินสาย EDM ที่เป็น Headliner และมีฐานแฟนเหนียวแน่นอยู่แล้ว
ส่วนในปี 2025 ศิลปินที่ถูกพูดถึงสูงสุดทั้ง 3 ราย ล้วนเป็น Headliner ซึ่งสะท้อนว่าโชว์หลักของปีนี้สามารถสร้างโมเมนต์ที่ดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากขึ้น ไม่ใช่แค่ในช่วงเวลาบนเวที แต่ต่อยอดมาได้ถึงพื้นที่โซเชียลหลังจบโชว์
💡 Insight ที่ได้คือ พลังของโชว์พิเศษ และการโปรโมตตัวศิลปินเองก็สามารถสร้างกระแสได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินหลักเสมอไป อย่างไรก็ตาม ในปี 2025 บทบาทของ Headliner ชัดเจนขึ้นมาก และสามารถกลายเป็นจุดร่วมของประสบการณ์ที่ผู้ชมอยากพูดถึงและแชร์ต่อค่ะ
Insight & Key Takeaways: What S2O 2024 vs 2025 Taught Us
1. Emotion Over Exposure อารมณ์สำคัญกว่าปริมาณการปล่อยคอนเทนต์
แม้แผนโปรโมตในปี 2024 และ 2025 จะคล้ายกัน แต่ ปี 2025 กลับสร้างอารมณ์ร่วมได้ชัดเจนกว่า สะท้อนว่าการปล่อยคอนเทนต์อย่างเดียวไม่พอ ต้องสร้าง “แรงกระเพื่อมทางอารมณ์” ให้คนรู้สึกอยากแชร์ อยากพูดถึงด้วยตัวเอง
∴ Emotion Trigger คือกุญแจที่จะทำให้กระแสไปได้ไกลกว่ากำหนดแผนการตลาด
2. TikTok as a Participation Playground ไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นพื้นที่ให้คนร่วมสร้าง
ปี 2025 TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่จำนวน mention และ engagement พุ่งแรงแซงทุกช่องทาง ขณะที่ Facebook แม้ยังมียอดพูดถึงสูง แต่การมีส่วนร่วมกลับลดลง
∴ ต้องไม่มอง TikTok แค่ “ลงคอนเทนต์ไปงั้น ๆ” แต่ควรคิดตั้งแต่ต้นว่าจะ “ทำให้คนอยากสร้างคอนเทนต์เอง” ได้อย่างไร
3. Post-Event Sentiment Builds Long-Term Trust เสียงหลังงานคือจุดเริ่มต้นของ Brand Trust
จาก Social Listening พบว่า ปี 2025 มีเสียงเชิงบวกเพิ่มขึ้นกว่า 12% และเสียงต้องการปรับปรุงลดลงเกือบครึ่ง สะท้อนว่าประสบการณ์จริงที่ดี ไม่ได้แค่ทำให้คนพอใจหน้างาน แต่ช่วยเสริม perception ระยะยาวได้
∴ ต้องคิดตั้งแต่ต้นทางว่า “เราจะอยากให้คนจำเรายังไง หลังจากวันที่งานจบไปแล้ว”
4. Narrative-Led PR ต้องมี “เรื่องราว” ไม่ใช่แค่ “ข่าว”
การขยับ narrative ในปี 2025 เช่น การสื่อสารเรื่อง “ความสำเร็จ 10 ปี” และ “การเทียบเคียง S2O กับ SIAM Songkran” ช่วยยกระดับ perception งานจากแค่ event → ไปสู่การเป็น cultural brand
∴ ในอนาคต การทำ PR ไม่ใช่แค่บอกวัน-เวลาจัดงาน แต่ต้องสร้างเรื่องเล่าที่คนรู้สึกเชื่อมโยงได้
5. UGC Is the Memory Maker คอนเทนต์ที่คนสร้างเอง คือความทรงจำที่เงินซื้อไม่ได้
แม้ PR จะช่วยสร้าง awareness แต่ UGC คือสิ่งที่ทำให้ S2O ติดอยู่ในความทรงจำ เพราะสิ่งที่คนแชร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่แค่ภาพเวทีหรือศิลปิน แต่เป็นความรู้สึกสนุกกับเพื่อน บรรยากาศรอบตัว และโมเมนต์ที่น่าจดจำ
∴ การออกแบบประสบการณ์ให้คนอยากเล่าเรื่องตัวเอง คือพลังที่แบรนด์ไหนก็ซื้อไม่ได้ด้วยงบโฆษณา
สรุป Data Research Insight S2O 2024 vs 2025 By Social Listening
โอปอมองว่า S2O เป็นงานที่ได้เปรียบในแง่จังหวะเวลา เพราะจัดในช่วงที่ทุกคนอยากออกไปใช้ชีวิตอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำให้งานนี้แตกต่างจากเฟสติวัลอื่น ๆ ในช่วงสงกรานต์ ก็คือการ “ทำให้คนอยากแชร์โดยไม่ต้องขอ” ไม่ว่าจะเป็นเวทีอลังการ น้ำฉ่ำ ๆ พลุสวย ๆ ไปจนถึงเจ้าเพื่อนสนิทข้างตัวที่เต้นสุดเหวี่ยง โมเมนต์เล็ก ๆ เหล่านี้ที่รู้สึกว่าต้องบันทึกไว้ ไม่ได้แค่ทำให้ S2O เป็น talk of the town ในช่วงวันงาน แต่ยังหล่อเลี้ยงอารมณ์ของคนดูให้ต่อเนื่องหลังงานจบไปแล้ว ด้วยค่ะ
จากข้อมูล Social Listening เราเห็นชัดว่า พลังของอีเวนต์วันนี้ไม่ได้วัดแค่จากคนที่ไป แต่จากจำนวนคนที่ “อยากพูดถึงมัน” และปี 2025 ก็ทำได้ดีขึ้นในจุดนี้ ทั้งการสร้าง UGC ที่หลากหลายกว่าเดิม PR ที่เล่าเรื่องแบรนด์ได้ลึกขึ้น ไปจนถึง Sentiment บวกที่เพิ่มขึ้น พร้อมเสียงติที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในฐานะคนทำรีเสิร์ชและคนรักคอนเสิร์ต โอปอรู้สึกว่ามันสะท้อนถึงคุณภาพจริง ๆ ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ยังคงวนอยู่คือเรื่อง “รายละเอียดเล็ก ๆ” ที่กระทบประสบการณ์จริงของคนดู ซึ่งถ้าแบรนด์เก็บพวกนี้ไป fine-tune ให้ดี โอปอเชื่อว่ามันจะทำให้งานยืนได้ไกลกว่ากระแสที่อยู่แค่แป๊บเดียวค่ะ
และสิ่งหนึ่งที่ไม่อยากมองข้ามคือ ปีนี้ S2O ครบรอบ 10 ปีแล้ว นะคะ ซึ่งการที่งานเฟสติวัลใดจะอยู่มาได้ยาวขนาดนี้ ท่ามกลางอีเวนต์นับไม่ถ้วนที่ผุดขึ้นและจบไปเร็วมากในแต่ละปี มันไม่ได้มาเพราะโชค แต่มาจากการรักษาแกนของตัวเองไว้ได้ พร้อมพัฒนาไปกับพฤติกรรมของผู้ชมทุกยุค โอปอมองว่า S2O ไม่ใช่แค่เฟสติวัลที่คนไปเพื่อถ่ายรูปกับน้ำ แต่เป็นแบรนด์ที่ค่อย ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสงกรานต์ยุคใหม่ ที่คนเลือกจะ “ใช้เวลา” กับมัน ทั้งในวันงาน บนโซเชียล และในความทรงจำ และถ้าแบรนด์เข้าใจอารมณ์ นี้ได้ลึกพอ S2O จะไม่ใช่แค่งานที่คนพูดถึงทุกปี แต่จะกลายเป็น “เทศกาลที่ผูกพันกับความรู้สึก” ไปโดยปริยายค่ะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะคะ :0)
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://bit.ly/sociallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 32 กับการตลาดวันละตอน ซึ่งครั้งนี้เป็นผลงานของผู้เรียนที่ไม่ได้มาจากสาย Data โดยตรง แต่สนใจอยากเข้าใจผู้บริโภคให้ลึกขึ้นเลยลองมาเรียนดูสักครั้ง
และจากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนไปในคลาส ผู้เรียนก็เอาไป Apply กับหมวด Cleansing ได้อย่างดี จนออกมาเป็น Insight ที่น่าสนใจเพียบ
เริ่มจากการดูว่า Texture แบบไหนกำลังได้รับความนิยม โดยจะเห็นว่า “ไมเซลล่า/วอเตอร์” และ “บาล์ม” คือ 2 กลุ่มที่คนพูดถึงเยอะที่สุด ต่อมาก็เจาะลึกต่อว่า แล้วผู้บริโภค เลือกซื้อเพราะอะไร จะเห็นว่า Key Feature ที่มาแรงคือ “ล้าง + บำรุง” ได้ในขั้นตอนเดียว และ “ล้างเมคอัพกันน้ำได้” ส่วนเหตุผลที่ซื้อจริง ๆ กลับไม่ได้อยู่ที่แบรนด์ แต่เป็นเพราะ “ขวดใหญ่” และ “ราคาดี”
บอกเลยว่า ไม่ได้แค่ดูผิวเผิน แต่ผู้เรียนลงลึกถึงระดับ Benefit, Ingredient, Skin Concern ไปจนถึงการ Mapping ภาพรวมของ Category ได้อย่างครบถ้วน
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้เรียนคนหนึ่งที่ไม่เคยทำ Data มาก่อน ก็สามารถทำได้จริงในเวลาไม่กี่วัน หลังจากได้ลงมือฝึกในคลาสแบบ Workshop และถ้าทำได้ขนาดนี้ ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ยไปเลยแบบไม่ต้องสงสัยครับ