Data Research Insight Microphone by Social Listening

บทความนี้จะชวนทุกคนมาเจาะลึก Data Research Insight Microphone by Social Listening กันค่ะ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้และการพูดถึง ‘ไมค์โครโฟน’ ว่าคนไทยจะพูดถึงไมค์โครโฟนแบบไหนกันบ้าง จะซื้อไมค์ทั้งทีซื้อไปทำอะไร มองหาอะไรจากสิ่งนี้ รวมถึงแบรนด์ฮิตต่าง ๆ ที่มีการพูดถึงมากที่สุด และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและคนทำธุรกิจในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ

โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Data Research Insight Microphone คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึกจากแพลตฟอร์ม​ Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ ไมค์โครโฟน, ไมโครโฟน และ microphone ในภาษาอังกฤษ เพื่อดูบริบทได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/11/2023 – 31/10/2024 หรือประมาณ 1 ปีย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 19,254 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า ไมค์โครโฟน นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น ใช้คำชื่นชมดาราว่าหล่อตะโกนเหมือนใช้ไมค์โครโฟน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบริบทที่เราต้องการ เป็นต้น

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงเรื่อง Microphone แบบไหน รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง

ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ

Data Research Insight Microphone

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงไมค์โครโฟน จะอยู่บน Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย Youtube, TikTok, Instagram และ X(Twitter) ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรีวิวไมค์โครโฟน

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – สำหรับการนับรวมยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagement ของ Youtube มีสัดส่วนมากถึง 96% ค่ะ ทั้งนี้ก็จะเป็นคลิปศิลปินนักร้อง Cover ร้องเพลงต่าง ๆ รวมถึงเกมเมอร์ที่สตรีมเกมแล้วแปะพิกัดไมค์โครโฟนที่ใช้สำหรับทำคอนเทนต์

Data Research Insight Microphone

การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากย้อนขึ้นไปดูกราฟวงกลมขวาสุด ในภาพด้านบนก่อนหน้านี้ ทุกคนจะเห็นว่าเมื่อผู้เขียนจะทำการไม่นับรวมยอดวิวแล้ว เราจะเห็นว่า Youtube ก็ยังมีสัดส่วนสูงอยู่ แต่ Facebook และ TikTok ก็เป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพเช่นเดียวกันค่ะ โดยคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจสูง จะเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการรีวิวไมค์ในรูปแบบต่าง ๆ

@beamboreview

ไมค์สำหรับเกมเมอร์ในงบไม่สูง ต่อได้ทั้ง USB และ XLR นี่คือ Fifine AM8 #fifine #fifineam8 #usbmicrophone #microphone #ไมค์ตั้งโต๊ะ @Fifine Southeast Asia

♬ เสียงต้นฉบับ – บีมโบ้ โตมารีวิว – บีมโบ้ โตมารีวิว
Data Research Insight Microphone

สำหรับ Hashtag & Word Cloud ภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ ‘ไมค์โครโฟน’ นั่นเองค่ะ เช่น รูปแบบของไมค์ที่คนนิยมพูดถึงอย่าง #ไมค์ไร้สาย รวมถึงจุดประสงค์ที่คนซื้อไมค์มาใช้เช่น #คนทำเพลง #ร้องเพลง เป็นต้น

Data Research Insight Microphone

มาดูในส่วนของ Top post กันบ้างว่าในแต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์อะไรอะไรมาแรงที่สุด

Facebook – Guy Haru Family ไมค์ร้องคาราโอเกะ

X (Twitter) – ppkritt_fc01 ไมค์ Custom ให้ศิลปิน

Instagram – doublebammm ไมค์ Shure Pride Month

TikTok – peanut.bttt รีวิวประกอบไมค์พอดแคสต์

@peanut.bttt

คนอื่นน่าจะง่าย แต่กว่าเราจะต่อได้ใช้เวลามาก 555555 Mic: Shure MV7 น้า #podcast #microphone #shuremv7 #fyp

♬ เสียงต้นฉบับ – อ้ายโนเกีย – 🌈🌈เจ๊ตับ ขยับแดก🌈🌈

YouTube – Ahtee PaPaNG แปะพิกัดไมค์ที่ใช้แคสเกม

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

Data Research Insight Microphone

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าเมื่อแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราจะเจออะไรกันบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงไมค์โครโฟน จัดเป็น 4 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้เรียงจากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการเล่าค่ะ

  1. รูปแบบไมค์ที่คนพูดถึง 27%
  2. ซื้อไมค์ไปทำอะไร 21%
  3. สิ่งที่คนมองหา 31%
  4. แบรนด์ยอดฮิต 21%

เรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ

Data Research Insight Microphone

มาเริ่มกันที่ส่วนแรกกันก่อนว่าไมค์แบบไหนที่คนนิยมพูดถึงกันค่อนข้างมากมาเป็นอันดับ 1 เลยนั่นก็คือไมค์ไร้สาย ในสัดส่วน 82% ตามมาด้วยไมค์ตั้งโต๊ะ, ไมค์สาย, ไมค์กระดุม และไมค์เก็บเสียง ตามลำดับค่ะ

ในส่วนของไมค์ไร้สายก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ไมค์คาราโอเกะแบบไร้สาย ไมค์ใช้หนีบปกเสื้อ หรือแบบแม่เหล็ก ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับการพูดถึงกันเยอะ จุดเด่นเลยก็คือความสะดวกสบายนี่แหละค่ะ ไม่มีสายมาพัวพันให้ยุ่งยาก แถมสมัยนี้อุปกรณ์ก็ออกแบบมาให้แบบที่เรียกว่าประโยชน์ครบครัน พกชุดเล็ก ๆ ชุดเดียวก็พร้อมทำงานได้ทุกที่ เป็นเคสชาร์จได้ในตัว เชื่อมบลูทูธเสียงระยะไกลก็ยังโอเค

@shopeeth

ไมโครโฟนไร้สายติดมือถือ สำหรับสายทำ Tiktok ราคาหลักร้อยแต่คุณภาพเสียงคือเริ่ด #ไมโครโฟน #ไมโครโฟนไร้สาย #สอนทําคลิปวีดีโอ #shopeeth #รีวิวช้อปปี้

♬ original sound – Shopee Thailand – Shopee Thailand

ส่วนในอันดับที่ 2 รองลงมาก็จะเป็นไมค์แบบตั้งโต๊ะ ไมค์รูปแบบนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกเกมเมอร์ ชาวสตรีมเกมทั้งหลายที่จะใช้ไมค์แบบนี้กัน มีแผ่นกรองเป็นฟิลเตอร์ทำให้เสียงดีฟังชัด ตัดเสียงรบกวนได้ดี เล่นเกมไปด้วยพูดไปด้วยได้คล่องถนัด เพราะไม่ต้องถือหรือติดอะไรไว้กับตัว

@reallazlo

ไมค์ตั้งโต๊ะเกมมิ่ง ที่จริงใจกับ คุณ🤔🫵 #onikuma #onikumagaming #ไมค์โครโฟน #ไมค์เกมมิ่ง

♬ เสียงต้นฉบับ – LAZLO – LAZLO
@beamboreview

ไมค์สำหรับเกมเมอร์ในงบไม่สูง ต่อได้ทั้ง USB และ XLR นี่คือ Fifine AM8 #fifine #fifineam8 #usbmicrophone #microphone #ไมค์ตั้งโต๊ะ @Fifine Southeast Asia

♬ เสียงต้นฉบับ – บีมโบ้ โตมารีวิว – บีมโบ้ โตมารีวิว
Data Research Insight Microphone

มาต่อกันที่ส่วนถัดมานั่นก็คือเหตุผลที่ว่าคนซื้อไมค์ไปใช้ทำอะไรกันบ้าง มาเป็นอันดับ 1 เลยก็คือสายเกมนั่นเองค่ะในสัดส่วน 31% ตามมาด้วยไมค์คาราโอเกะ, อัด Podcast, พากย์เสียง, Cover เพลง, ไลฟ์สด และการ Custom ไมค์ให้ศิลปิน ตามลำดับค่ะ

ในส่วนของคนที่ซื้อไมค์ไปใช้สตรีมเกม ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไมค์ในรูปแบบไมค์ตั้งโต๊ะ มีไฟสีสันสวยงาม และเน้นเรื่องตัดเสียงรบกวนในขณะที่เล่นเกมถ่ายคลิปทำคอนเทนต์ บางรุ่นก็สามารถนำไปปรับแต่งเสียงสำหรับเล่นเกมได้เพิ่มเติม เป็นต้นค่ะ

สำหรับสัดส่วนรองลงมาก็จะเป็นในส่วนของไมค์คาราโอเกะ สมัยนี้คนจะร้องคาราโอเกะไม่ต้องไปห้างหรือไปที่ตู้เพื่อจ่ายเงินร้องเพลงอีกแล้ว แต่อุปกรณ์ถูกออกแบบมาให้สามารถร้องเพลงได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะที่บ้าน ในรถ หรือพกไปเที่ยวนอกบ้าน ไปจัดปาร์ตี้ที่ต่างจังหวัด ก็สะดวกกว่าแต่ก่อนเยอะค่ะ

โดยรูปแบบก็จะเป็นชุดไมค์คาราโอเกะพร้อมลำโพง ในขนาดที่พกพาได้สะดวก ไมค์สามารถเปลี่ยนเสียงได้หลากหลาย มีลูกเล่นไม่น่าเบื่อ ตัวลำโพงถ้าไม่ได้เชื่อมเพื่อร้องเพลงกับไมค์ ก็สามารถเอามาเชื่อมเปิดเพลงฟังเป็นลำโพงพกพาได้ด้วยเช่นกัน

@benjy798

ตอบกลับ @Toyต๋อย ไม่ยากค่ะ กดทำตามได้เลยค่ะ ☺️ มาค่ะ มาฟังเพลง หรือ คาราโอเกะกัน ลำโพงบลูทูธพร้อมไมค์ #ลําโพงบลูทูธมีไมค์ #ลําโพงบลูทูธ #คาราโอเกะ #ร้องเพลง #ไมโครโฟน #เบนจี้อยากรีวิว @เบนจี้รีวิว🌱 @เบนจี้รีวิว🌱 @เบนจี้รีวิว🌱

♬ เสียงต้นฉบับ – เบนจี้รีวิว🌱 – เบนจี้รีวิว🌱
@kukkick

อยู่บ้านก็เป็นนักร้องได้! กับชุดไมโครโฟนคู่พร้อมลำโพงบลูทูธ 🎤🎵 ที่แบบดีมากกก ร้องคาราโอเกะง่ายๆที่บ้าน 🤩 #ร้องคาราโอเกะ #ไมโครโฟน #ไมโครโฟนไร้สาย #ป้ายยาtiktok #ช้อปวนไป #ของดีบอกต่อ

♬ original sound – Kukkick – Kukkick

เหตุผลอันดับที่ 3 รองลงมาก็จะเป็นไมค์สำหรับ Podcast เพราะเรื่องของ ‘เสียง’ ถือเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับการทำรายการ Podcast หรือคอนเทนต์ที่เป็นแนวเน้นการพูดคุย ก็จะเป็นสไตล์ของไมค์ตั้งโต๊ะหรือไมค์แบบที่มีแขนจับไมค์ยื่นออกมา สามารถปรับองศาตามถนัดและตามที่เหมาะสมได้ ในส่วนของดีไซน์หน้าตาก็ดูดีเหมาะกับการถ่ายทำออกรายการ

@peanut.bttt

คนอื่นน่าจะง่าย แต่กว่าเราจะต่อได้ใช้เวลามาก 555555 Mic: Shure MV7 น้า #podcast #microphone #shuremv7 #fyp

♬ เสียงต้นฉบับ – อ้ายโนเกีย – 🌈🌈เจ๊ตับ ขยับแดก🌈🌈
Data Research Insight Microphone

Step ถัดมาเรามาดูกันต่อสำหรับอะไรเป็นสิ่งที่คนมองหาจากการซื้อไมค์สักตัวนึงมาใช้กันบ้าง มาเป็นอันดับ 1 ก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องของ ‘เสียงดี’ ในสัดส่วน 40% ตามมาด้วยการพกพาสะดวก, ตัดเสียงรบกวน, ดีไซน์สวย และราคาดี ตามลำดับค่ะ

ในส่วนของเรื่องเสียงก็แน่นอนว่าไมค์ที่ดีสำหรับหลาย ๆ คนก็ต้องการไมค์ที่เสียงเพราะ เสียงคมฟังชัด นุ่มทุ้มลึก เพราะจุดประสงค์การซื้อไมค์ไปใช้ก็อย่างที่ได้เล่ากันไปในส่วนก่อนหน้านี้ว่ามีหลากหลายรูปแบบคอนเทนต์เลยทีเดียวที่ทำให้คนต้องซื้อไมค์ไปใช้ แต่สิ่งสำคัญของทุกรูปแบบเลยก็คือเน้นเรื่อง ‘คุณภาพของเสียง’ ที่ต้องออกมาดี

@atpk.meta

ไมค์คอนเดนเซอร์ ไมค์เสียงเพราะ มีไฟ RGB เสียงนุ่ม เสียงทุ้ม เสียงดี ต้องใช้ไมค์แบบตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับสายทำคลิป ไมค์ ONIKUMA HOKO USB MICROPHONE M630 M730 #ไมค์คอนเดนเซอร์ #นายหน้าtiktokshop #tiktokshopครีเอเตอร์ #microphone #onikuma

♬ Calm electric piano music with a relaxing atmosphere(1484133) – orino

ในอันดับรองลงมาที่ถูกพูดถึงไม่แพ้กันนั่นก็คือเรื่องของการพกพาสะดวก เพราะทุกวันนี้คนจะทำคอนเทนต์ ไม่ได้อยู่แค่ที่บ้าน ที่ทำงาน ที่สตูดิโอที่มีอุปกรณ์แน่นครบครัน แต่การทำคอนเทนต์หรือรีวิวนอกสถานที่ก็มีมากมายเต็มไปหมด การที่มีอุปกรณ์ที่พกพาสะดวก เอาไปใช้ง่าย ๆ ได้ทุกที่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

อย่างในเรื่องของไมค์คาราโอเกะที่ได้เล่ากันไป ก็เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้ต้องมีขนาดใหญ่โตอะไรนักแต่สามารถพกไมค์คู่ลำโพงจิ๋วไปสร้างตำนานได้ทุกที่ แค่นี้คนก็ให้ความสนใจกันแล้วค่ะ แล้วตัวสินค้าจะเพิ่มลูกเล่นอะไรเข้าไปให้ยิ่งน่าสนใจอันนี้ก็แล้วแต่กิมมิคของแต่ละแบรนด์ เช่น ไมค์เปลี่ยนเสียงได้หลายแบบ เสียงเล็ก เสียงหล่อ เสียงเอคโค่แบบมัคนายก เป็นต้น

หรือคลิปตัวอย่างที่ได้นำมาให้ดูด้านล่างก็เป็นเหมือนไมค์โครโฟนที่อยู่ในกล่องเคสเล็ก ๆ แต่ประโยชน์ครบจบในตัว เคสชาร์จได้ ไมค์ได้ทั้งหนีบเสื้อหรือแบบแม่เหล็ก มีเคสกันฝุ่นให้ด้วย พกแค่กล่องเล็ก ๆ กล่องเดียวก็เอาไปทำงานได้ทุกที่แล้ว

Data Research Insight Microphone

สำหรับในส่วนของแบรนด์ยอดฮิตกันบ้าง มาเป็นอันดับ 1 เลยนั่นก็คือ HyperX ในสัดส่วน 38% ตามมาด้วย Shure, Boya, JBL, Onikuma, DJI และ Sennheiser ตามลำดับค่ะ ในส่วนของ HyperX มาแรงเพราะเป็นไมค์สำหรับสายสตรีมเกมทั้งหลายเลย มีทั้งคอนเทนต์ที่เป็นคนมารีวิวตัวไมค์ และคอนเทนต์คนที่สตรีมเกมแต่ในคำอธิบายมักจะต้องแปะพิกัดไมค์ที่ใช้ว่าเป็นยี่ห้อ HyperX กันซะส่วนใหญ่

รองลงมาก็จะเป็นตัว Shure ที่มีคนพูดถึงกันเยอะเช่นกัน แต่ตัวคอนเทนต์ก็จะหลากหลายกว่า HyperX ไม่ได้เป็นสายไหนโดยเฉพาะแต่มีการใช้งานที่หลากหลาย เช่น คนใช้ไมค์ทำคอนเทนต์ Cover ร้องเพลง รวมถึงเป็นไมค์ที่นิยมใช้กับการทำ Podcast เช่นเดียวกันค่ะ

@imiew_mobiles89

ไมโครโฟนHyperX quadCastX วางดาวน์599฿ รับของไปใช้เลย ไม่ต้องใบบัตรเครดิต🌷💕😘 #รับผ่อนทุกอย่าง #fivem #hyperxquadcast #ไมโครโฟน #ผํ้หญิงติดเกมส์ #ผู้ชายติดเกมส์

♬ Very cute melody by marimba tone(39813) – Mitsu Sound
Data Research Insight Microphone

สำหรับ TOP 5 TikTok Account

  1. peanut.bttt 16.6K Engagement
  2. beamboreview 6.7K Engagement
  3. extremeit 6.4K Engagement
  4. krittone 4.8K Engagement
  5. madamcharm.official 3.9K Engagement

Data Research Insight Microphone by Social Listening

ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight Microphone by Social Listening หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการใช้และการพูดถึง ‘ไมค์โครโฟน’ กันมากขึ้นนะคะว่าชาวโซเชียลพูดถึงไมค์โครโฟนแบบไหนกันบ้าง ซื้อไมค์ไปทำอะไร มองหาอะไรจากสินค้านี้ รวมถึงแบรนด์ฮิตต่าง ๆ และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันได้มากขึ้นแล้วนะคะ

และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics 

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

เฟิร์น Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *