Data Research Insight พาส่องกระแสดราม่าร้อนแรงจาก เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

Data Research Insight พาส่องกระแสดราม่าร้อนแรงจาก เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ ของคุณโน้ส อุดม ที่ซึ่งเป็นกระแสร้อนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 4 – 9 พฤษภาคม 2567 มีประเด็นดราม่าออกมามากมาย ซึ่งเสียงก็แตกเป็นสองฝั่งมีทั้งฝั่งชอบและไม่ชอบ ฉะนั้นบทความนี้ผมจึงถือโอกาสาไปสำรวจ Data Research Insight ส่องเทรนด์ เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ By Social Listening มาดูกันว่าไทม์ไลน์การพูดถึงเป็นยังไง คนพูดถึงประเด็นไหนมากที่สุด มีใครออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แล้วถูก Mention ถึงบนโซเชียลมีเดียบ้างติดตามได้เลยครับ

โดย Data Insight ในบทความนี้ เราใช้ Social listening tool จาก Mandala ที่นักการตลาดต้องรู้จักกันเป็นอย่างดีกับเครื่องมือที่จะช่วยเราในการหา Data Insight ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาดูตั้งแต่ขั้นตอนแรก ในการ Research เพื่อเป็นประโยชน์และความรู้ให้กับนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังศึกษาเรื่อง Data และสามารถให้ผู้ประกอบการ และผู้อ่านทุกท่านนำไปปรับใช้กับแบรนด์ได้ด้วยครับ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ เป็นการตั้งคีย์เวิร์ดเพื่อให้ Mandala ไปไล่กวาดโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่เราตั้งมาครับ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ เพราะเราจะต้องคิดว่าผู้จะพิมพ์คีย์เวิร์ดอะไรเมื่อจะกล่าวถึงเดี่ยว สะกดแบบไหนได้บ้าง โดยใช้คำคีย์เวิร์ดที่ผมใช้คือ “เดี่ยวล่าสุด” “เดี่ยว+โน้ส” “เดี่ยว+โน๊ต” “เดี่ยว+อุดม” “เดี่ยว+netflix”

โดยทำการ Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ : 21/04/2024 – 15/05/2024 โดยมีข้อมูลประมาณ 2,444 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok ข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ครับ

จริง ๆ ต้องบอกว่าตอนแรกดึงมาได้ประมาณ 8,000 Mention+ ก่อนที่จะคลีนดาต้า แต่ผมลืมแคปไว้ จึงเหลือเป็น 2,444 Mentions หลังคลีนดาต้าย่างที่เห็นครับ อีกอย่างข้อมูลที่ใช้จริงคือว่าที่ 27/4 ถึงวันที่ 15/05 ครับ ที่เห็นดึงเยอะผมดึงเผื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวของเทรนด์ก่อนหน้านั้นมั้ย แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรจึงไม่ได้นำมาใช้ครับ

ในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอน Cleansing Data เพื่อลบสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ออกไปครับ ยกตัวอย่างโพสที่ผมยกมา เกี่ยวกับครีมบำรุง ผมจึงมองว่าไม่ใช่บริบทที่ผมต้องการนำมาวิเคราะห์ เลยเลือกที่จะคลีนออกไปครับ

อย่างไรก็ตามสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้เลยครับ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่เราคลีนข้อมูล เราจะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอที่จะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่ามีการพูดถึง Insight แบบไหนบ้าง ที่จะนำมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ครับ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ครับ 

ตอนนี้เราทำได้แค่อ่านข้อมูลพื้นฐานที่เป็นภาพใหญ่ ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมครับ

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึง จะอยู่บนเพจ Facebook เป็นสัดส่วนมากที่สุดถึง 48.3% ตามมาด้วย Youtube 22.6% TikTok 17.4% Twitter 8% และ IG 3.8% ครับ

โดยโพสต์ที่มีการกล่าวถึงส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ครับ 1. เป็นการโปรโมทเดี่ยว สเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ ของทาง Netfilx ครับ 2. เป็นการเรื่องราวดราม่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกมาวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม หรือเป็นการล่วงเกินสภาบัน หรือจะเป็นเรื่องที่คุณโน้สทนกระแสดราม่าไม่ไหวนำกล่อง และจานไปคืน Netfilx ครับ

การมีส่วนร่วม (Engagement) – ยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagament มีสัดส่วนมากถึง 87%

การมีส่วนร่วม ลบยอดวิวยูทูป (Engagement ignore view) – เราจะเห็นศักยภาพในแง่ของ Engagement ของแพลตฟอร์มอื่น ๆ เมื่อ ignore view ครับ ทำให้รู้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการสร้าง Engagement มากที่สุดครับ

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

ทีนี้พามาส่อง Time line ของกระแสเดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์กันดีกว่าครับว่าเป็นอย่างไรบ้างอันที่จริงผมต้องบอกอย่างนี้ครับ หากดูจากราฟลองเทียบจาก Mention และ Engagement แล้วเนี่ยบอกได้ว่าแทบจะไม่ต่างอย่างมีนัยยะเลยครับ อาจจะมีเหลื่อมกันหน่อย ๆ เป็นบางวัน ฉะนั้นผมจึงอ้างอิงจาก Mention ในการเล่า Time line ของกระแสเดี่ยวในครั้งนี้ครับ

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

ในช่วงวันที่ 29 – 30 เมษายน เริ่มจะมีเพจหลาย ๆ เพจที่นอกเหนือจากทาง Netflix เองเนี่ยออกมาโปรโมทเดี่ยวกันมากยิ่งขึ้นครับ ยกตัวอย่างเช่น เพจ หนังครอบจักรวาล

และแล้วในวันที่ 1 พฤษภาคม เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ ก็ได้ฉายอย่างเป็นทางการใน Netflix ครับ ก็เป็นที่พูดถึงจากเพจที่เกี่ยวกับหนังเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ตุ๊ดส์review หนังฝังมุก เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ ทำให้มี Mention ที่เพิ่มขึ้นมาจากวันก่อน ๆ ครับ

ในวันที่ 4 นี่แหละครับเริ่มที่เริ่มจะมีดราม่าแต่ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ว่าจะดราม่ามั้ย แต่ส่วนตัวผมก็คงคิดแล้วแหละว่าดราม่าแน่ อารมณ์เหมือนฝนรินก่อนจะตก ยังไงฝนก็ต้องตก มีเพจข่าวเริ่มเขียนประเด็นถึง ยกตัวอย่างเช่น MGROnline Live Amarin News เพราะฉะนั้นนอกจากการโปรโมทแล้ว กลิ่นไอของความดราม่าจึงดันให้ Mention เพิ่มขึ้นครับ

วันที่ 5 ถ้าวันที่ 4 เรียกดราม่าว่าฝนริน วันที่ 5 ก็ฝนตกครับ ไม่ผิดคาดสำหรับใครหลาย ๆ คน เรียกได้ว่าดราม่าเต็มรูปแบบ โดยประเด็นดราม่าหลัก “พอเพียง” ข่าวแทบทุกจะสำนักรายงานเรื่องนี้หมดเลยครับ

วันที่ 6 ถ้าเราเรียกสถานการร์ของความดราม่าของวันที่ 5 ว่าฝนตก วันที่ 6 คงจะเป็นพายุเข้าดี ๆ นี่เองครับ หลัก ๆ ก็มีการดราม่าแบบเดิมแต่เพิ่มเติมคือ เรวัจ บุคคลที่มีชื่อเสียงได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คุณโน้สอย่างรุนแรงครับ

วันที่ 7 เป็นวันที่มี Mention สูงที่สุด เหตุเกิดจากคุณโน้ส อุดม ทำคอนเทนต์ประชด ทนดราม่าไม่ไหว เอาจาน และกล่องของ Netflix มาคืนถึงสำนักงานใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ Netflix เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สตรีมมิ้งที่ไม่ต้องใช้จานหรือกล่องก็สามารถดูได้ มากไปกว่านั้น Netflix ไม่มีจานและกล่องขายด้วยครับ จึงทำให้กลายเป็นเรื่องราวขำ ๆ กันไป และเป็นกระแสที่แรงที่สุดของเหตุการรืนี้

วันที่ 8 ก็มีดราม่ากันอย่างต่อเนื่องครับ โดย Mention ส่วนใหญ่คือคุณ อาร์ต พศุตม์ ออกมาพูดถึงประเด็น “พอเพียง” ครับ

วันที่ 9 Mention ส่วนใหญ่คือการที่คุณ เรวัจ ออกมากลับลำบอกว่าคุณโน้สไม่ผิด ได้ไปดูเดี่ยวเต็ม ๆ แล้ว หลังจากวันนี้เป็นต้นไปกระแสดราม่าก็เริ่มเพลา ๆ ลงแล้วครับ

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

พาชม Top Engagement ในแต่ละแพลตฟอร์มกันครับ

  • Facebook – เดี่ยว: โพสนำจานและกล่อง Netflix ไปคืน
  • Instagram – udomofficial: คุณโน้สโพสนำจานและกล่อง Netflix ไปคืน
  • Twitter – บอล ธนวัฒน์ วงค์ไชย: โพสชื่นชมว่าคุณโน้สเข้าใจคนรุ่นใหม่
  • TikTok – pondonnews: Tiktoker ชื่อดังสรุปดราม่าอาเรวัชด่าคุณโน้ส
  • YouTube – Netflix Thailand: ช่อง Netflix ออกมาโปรโมทเดี่ยว

STEP 5 Categorize Data

การทำ Categorize Data เป็นการจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจนที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจอะไร ๆ ด้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ซึ่งโจทย์การทำ Categorize Data ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีนข้อมูลครับ อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนครับ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ได้เลยครับ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้นะครับครับ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความเลยครับ

STEP 6 Data Visualization

เนื่องจากข้อมูลที่มีจำนวนมาก ผมแนะนำว่าควรจัดเรียงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้นและเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ โดยสามารถทำในโปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่ตนเองถนัดได้เลยครับ

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

มาดูกันครับว่าข้อมูลที่ผมแบ่งออกมาตาม Category มีกลุ่มอะไรบ้าง โดยผม Analysis เกี่ยวประเด็นการพูดถึงเดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มตามภาพด้านบนเลยครับ

  1. เรื่องดราม่าที่ถูกกล่าวถึง 47%
  2. คนดังที่ถูกกล่าวถึง 41.8%
  3. ความรู้สึกของผู้ชม 10.2%
  4. บทพูดที่ถูกกล่าวถึง <1%

ต่อไปผมจะพามาเจาะลึกข้อมูลแต่ละกลุ่มกันนะครับ ว่าจะเจอข้อมูลที่เกี่ยวกับเดี่ยวแบบไหนบ้าง

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์
  1. ความพอเพียง 53.8%
  2. คืนจาน/กล่อง Netflix 34.6%
  3. ศิลปินแห่งชาติ 7.8%
  4. ลิซ่า/แบมๆ 2.8%
  5. อะโกโก้ พัทยา/ภูเก็ต 1.2%

สำหรับเรื่องดราม่าที่เป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องความพอเพียงครับ ที่เป็นต้นเหตุหลัก ๆ ของกระแสดราม่าในครั้งนี้ ซึ่งก็มีทั้งสำนักข่าว และผู้คนมากมายออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย บ้างก็ออกมาวิจารณ์แบบรุนแรงว่าก้าวล่วงสถาบัน

รองลงมาเป็นเรื่องตลก ๆ ที่คุณโน้ส ออกมาเล่นตลกที่บอกว่าทนประแสดราม่าไม่ไหวจนต้องนำจานและกล่องไปคืน Netflix นอกนั้นก็เป็นดราม่าในเนื้อหา เช่น ศิลปินแห่งชาติ ลิซ่าแบม ๆ ที่ไปได้ดีที่เมืองนอก หรือเรื่องอะโกโก้ ก็มีทั้งประเด็นที่ดราม่าวิจารณ์ยับ กับดราม่าสนุก ๆ ครับ

สำหรับใน Category “คนดังที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด” ผมจะอธิบายนิยามให้ฟังครับ คือหลัก ๆ จะเป็นคนที่ออกมาวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับเดี่ยวของคุณโน้ส อุดมในครังนี้ และทำให้ สื่อต่าง ๆ สำรชนักข่าว และคนธรรมดา มีการกล่าวถึงชื่อบุคคลเหล่าครับ สำหรับ Top 13 ได้แก่

  1. เรวัช 37.1%
  2. เอ๋ ปารีณา 15.7%
  3. อ.เฉลิมชัย 11.7%
  4. สนธิสัญญา 8.6%
  5. ผู้การแต้ม 7.5%
  6. ทิม พิธา 4.1%
  7. ก้อง ห้วยไร่ 3.3%
  8. อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร 3.0%
  9. อาร์ต พศุตม์ 2.7%
  10. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 1.8%
  11. แพรี่ ไพรวัลย์ 1.7%
  12. หม่ำ จ๊กม๊ก 1.7%
  13. คารม พลพรกลาง 1.1%

ซึ่งแต่ละคนก็ออกมาวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละส่วนที่ต่างกันครับ แต่โดยส่วนใหย่จะวิจารณ์เนื้อหาที่เกี่ยวกับความพอเพียงที่วิจารณ์ว่าไปก้าวล่วงสถาบัน เช่น คุณ เรวัช และคุณเอ๋ ปารีณา ต่างก็ออกมาวิพากย์วิจารณ์ในเรื่องนี้ ก่อนภายหลังคุณเรวัจจะกลับลำแล้ว ส่วนอ.เฉลิมชัย ก็ออกมาวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับประเด็นศิลปินแห่งชาติครับ

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

มาที่ Category ความรู้สึกของผู้ชมกันบ้างครับ โดยส่วนใหญ่ผู้คนยังมีทัศนคติที่ดีต่อเดี่ยวในครั้งนี้อยู่ อันนี้ผมไม่นับรวมคนที่วิจารณ์ และมาดราม่านะครับ นับแต่คนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาจริง ๆ ไม่ใช่ประเด็นดราม่า

  • ชอบ 98%
    • สนุก 63.4%
    • ตลก 34.2%
    • คลายเครียด 2.4%
  • ไม่ชอบ 2%
    • หยาบ 80%
    • ออกทะเล 20%

โดยส่วนใหญ่เสียงตอบรับเกี่ยวกับเนื้อหายังถือว่าดีมาก ๆ อยู่ ท่ามกลางกระแสวิพากย์วิจารณ์มากมาย

Data Research Insight เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์

ต้องบอกว่าในเดียวครั้งนี้มีบทพูดเด็ด ๆ อีกตามเคยครับ

  1. สิ่งที่โบราณเคยห้าม เด็กทำแล้วดีทุกคน 42.9%
  2. ที่เขาบอกคนแก่อาบน้ำร้อนมาก่อน ก็คือแก่ความผิดพลาด 38.1%
  3. จงเป็นผู้ใหญ่ที่ควรจะเป็น 19%

จากที่ผมได้เห็นส่วนใหญ่จะเป็นเด็กออกมาแชร์บทพูดเหล่านี้เหมือนพยายามส่งสารให้ผู้ใหญ่เข้าใจในตั้วพวกเค้ามากขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นอาจบอกได้ว่าเดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ น่าจะถูกใจเด็กรุ่นใหม่เป็นอย่างมากเลยล่ะครับ

เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ ของคุณโน้ส อุดม ได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามบนโซเชียลมีเดียในช่วงวันที่ 4-9 พฤษภาคม 2567 โดยมีการพูดถึงทั้งในเชิงบวกและลบ โดยเฉพาะประเด็นดราม่าเกี่ยวกับ “ความพอเพียง” ที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากคนดังหลายคน เช่น คูณเรวัช และคุณเอ๋ ปารีณา

ในขณะเดียวกัน ความสนุกและเนื้อหาก็มีความโดดเด่นไม่แพ้ดราม่าได้รับการชื่นชมจากผู้ชมส่วนใหญ่ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ดราม่า เนื้อหาของเดี่ยวครั้งนี้ก็ยังถือว่าโดนใจผู้ชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักจะแชร์บทพูดเพื่อส่งสารถึงผู้ใหญ่ครับ

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอครับ

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21

คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง

เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง

  1. Set Objective & Research Keywords
  2. Set Social Listening & Collecting Data
  3. Cleansing Data
  4. Conversation Analysis
  5. Categorized Data
  6. Visualization
  7. Summary Insights
  8. Strategy & Recommendation

ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลยครับ

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *