Data Research Insight สำรวจจักรวาล สุกี้ By Social listening

Data Research Insight สำรวจจักรวาล สุกี้ By Social listening

สุกี้ หนึ่งในอาหารเส้นที่เป็น Everyday Menu ของคนชาวไทย กินยังชีพก็ดี หรือจะกินเพื่อสุขภาพก็ยังได้ เพื่อตอบโจทย์สวรรค์ของคนรักเส้น สายสุขภาพและเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักการตลาด ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพามาเจาะลึกกับ Data Research Insight สุกี้ กันค่ะ

โดยการใช้ Social listening tool อย่าง Mandala หนึ่งในสปอนเซอร์ ผู้ใหญ่ใจดีที่เอื้อเฟื้อให้ทีมการตลาดวันละตอนได้ใช้ประโยชน์ แปลง Data พลิกแพลงตะแคงออกมาเป็น Insight เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และบุคคลทั่วไปทุกคน เข้าถึงการทำ Data Research Insight และเก็บเกี่ยวข้อมูลอันเป็นประโยชน์นี้

บทความนี้จะเป็นไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้

และในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ

  • ตัว Keyword ที่ใช้คือ สุกี้ สุกกี้ และ สุ๊กกี้ (สาเหตุที่ไม่ใช่คำว่า Suki เพราะว่าบริบทส่วนใหญ่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เราต้องการจะหา+ส่วนใหญ่จะพิมพ์คู่มากับ Keyword ที่เลือกใช้อยู่แล้ว)
  • ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/06/2023 – 30/04/2024 รวมทั้งสิ้น 1 ปีกว่าย้อนหลังกับข้อมูลจำนวน 17,264 Mentions

ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 17,264 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ 

ยกตัวอย่างเช่น โพสต์จากแบรนด์แจกหม้อสุกี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “สุกี้” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ 

โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับสุกี้ ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร

โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ

ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง ‘สุกี้’ มากน้อยแค่ไหน

Social Data Stat Overview

เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ By Engagement ignore view กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘สุกี้’ 

  • By Mention: จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง สุกี้ มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ YouTube, TikTok Instagram และ Twitter ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ สะใภ้เกาหลี ซอเเฟนเพจ ทำสุกี้แห้งทะเลกินกับครอบครัว
  • By Engagement: ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง KroBrave รีวิวชุดสุกี้ MK ที่ขายใน7-11
  • By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ TikTok เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งเป็นคลิปจาก smecookingsecrets รีวิวร้านสุกี้โรลเพื่อสุขภาพ
@smecookingsecrets

ขายดีตั้งแต่วันแรก! ผัดกาดขาว 40 โลไม่พอขาย สุกี้โรลเพื่อสุขภาพ น้ำจิ้มพริกกระเหรี่ยงรสเด็ด เจ้าเดียวในตลาดเลอมาเช่ #สูตรลับหลังร้าน #สุกกี้โรล #ตลาดเร่อมาเช ลำลูกกาคลอง6

♬ เสียงต้นฉบับ – สูตรลับหลังร้าน – smecookingsecrets
Data Research Insight suki

มาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเองค่ะ

ซึ่ง TikTok คือแพลตฟอร์มที่ได้การมีส่วนร่วมเด่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยองค์รวมเราจะเห็นได้เลยว่า คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะเป็นคอนเทนต์แกะสูตรตามร้านดัง คอนเทนต์ที่เห็นสุกี้แบบเต็ม ๆ เห็นอาหารชัดเจน แม้ทำกินอยู่บ้านก็ยังถ่ายวิธีการทำมาให้เห็น หรือจะไปกินที่ร้านก็ถ่ายรีวิวเมนูมาให้ดูด้วยเช่นกัน

@mastertomtomxoxo

ทำ‘กุ้งสดเด้งตัวย่อสุกี้ NK ก๊อปยกระดับน้ำซุป NK ในตำนานเกรดงานกระจกร้าว’ 🦐♨️🥘✨ #กุ้งเด้ง #น้ําซุปสุกี้ #MasterTomTom #TikTokพากิน #ห้องครัวTikTok

♬ original sound – MasterTomTom – MasterTomTom
@ohnsri1000

สุกี้โบราณที่ชื่นชอบบบบบค่ะ😚😚😚 #tiktokคนบันเทิง #บันเทิงtiktok

♬ original sound – Ohnsri🙄 – Ohnsri🙄

สิ่งที่น่าสนใจเป็นแนวทางในการทำคอนเทนต์คือ เราจะเห็นได้ว่ามีคลิปที่เป็นไวรัลจากสาหร่ายเส้นผมในหมูก้อนที่มีลักษณะคล้ายกับขนประเภทหนึ่งของคนเรา อินฟลูฯ จึงนำประเด็นนี้มา Catch Attention ของผู้ชมได้อยู่หมัด ดังนั้น คอนเทนต์อาหารไม่จำเป็นจะต้องเป็นอาหารที่ดูน่ากินเสมอไป แต่เป็นอะไรที่สร้างสรรค์ เห็นแวปแรกแล้วเอ๊ะเลยทันทีก็เป็นแนวทางในการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจค่ะ

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #สุกี้ เป็นหลัก นอกจากนั้นก็จะเป็นชื่อร้าน สุขภาพ ความเป็นอาหารคลีน เมื่อนำมาผนวกกับกลุ่มคำที่ที่การพูดถึงบ่อย ๆ ความเป็นอาหารเพื่อสุขภาพก็ยังคงมาแรงเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่าสุกี้เป็นหนึ่งในอาหารทางเลือกของชาวรักสุขภาพนั่นเองค่ะ

ท่านใดที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูกันได้นะคะ เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด หรือปรับเมนูอาหารที่ร้านให้มีความเป็นสายคลีนมากยิ่งขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ เป็นการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ไปในตัว

Top Post by Platform

Data Research Insight suki

มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น

  • Instagramfarmiscooking คลิปสอนทำทำสุกี้กุ้ง
  • TikToksmecookingsecrets รีวิวร้านสุกี้โรลเพื่อสุขภาพ
  • YouTubeKroBrave รีวิวชุดสุกี้ MK ที่ขายใน7-11
@miew_nuttida

อยู่ๆก็ทำก๋วยเตี๋ยวแห้งเป็นแบบเซียน รีวิวของกินที่สั่งตามชาวบ้านในต๊อกมาแบบไม่คาดหวัง!😂🍜 #ก๋วยเตี๋ยว #ก๋วยเตี๋ยวเรือ #ก๋วยเตี๋ยวแห้ง #ทํากับข้าว #รีวิวของกิน #ร้านอาหาร #ของกิน

♬ Perfect for videos! Disappointing weakness when failing – MoppySound

STEP 5 Categorize Data 

หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับ สุกี้ ว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา

Data Research Insight suki

โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 5 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา 5 หัวข้อ ดังนี้ 

  1. คำที่คนใช้เรียกสุกี้
  2. ประเภทสุกี้
  3. ประเภทเนื้อสัตว์
  4. คุณสมบัติของสุกี้ในอุดมคติ
  5. ทีมผักในสุกี้

จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ

STEP 6 Data Visualization

เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

หลังจากกระบวนการตั้งแต่ 1-6 ข้อมูลจะพร้อมให้เราใช้ประโยชน์แล้วค่ะ ผ่านการ Summary & Insight / Recommendation สุกี้ ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง

Insight #1 สุกี้ เป็นคำที่คนใช้เรียกสุกี้มากที่สุด

Data Research Insight suki

เรามาเปิดกันด้วย Insight การใช้ภาษาของคนไทยกันค่ะว่าคนไทยเรียก สุกี้ ว่าอย่างไรกันบ้าง โดยข้อมูลนี้ที่ได้จากการใช้ Social listening ทำให้เรารู้ว่า 57% เรียกว่าสุกี้ ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้มากที่สุดและมักต่อท้ายด้วยชื่อร้านหรือประเภทของเมนู เช่น สุกี้แห้งทะเล

รองลงมาคือ Suki 25% มักมาจากฝั่งแบรนด์หรืออินฟลูฯ พิมพ์ชื่อร้านหรือคำเป็นภาษาอังกฤษ ถัดมาคือ สุกกี้ 14% เกิดจากบางคนพิมพ์ผิด พิมพ์ กอไก่ เกินมา และปิดท้ายด้วย สุกี 4% โดยส่วนใหญ่เกิดจากการพิมพ์สระอีตก

ประเด็นนี้ดูเหมือนไม่มีอะไรแต่สาย SEO คงชอบใจไม่มากก็น้อยแน่นอนค่ะ เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราทำ SEO Content ได้ดียิ่งขึ้น

@muummaam

สุกี้ในอุดมคติที่แท้จริง หอมคั่วกระทะ น้ำจิ้มอร่อย เส้นดี เนื้อนุ่ม ผักกรอบ ใครสายสุกี้เป็นอีกร้านที่ต้องมาพิชิต . 🔔 : ประกายไฟ Suki & Craft 📍 : อารีย์ ซ.พหลโยธิน 8 #มูมมาม #สุกี้หอมคั่วกระทะ #ประกายไฟ #สุกี้แห้ง #ของกินอารีย์

♬ เสียงต้นฉบับ – มูมมาม – มูมมาม
@auichocky

สุกี้โบราณ @jinlong_suki น้ำซุปกลมกล่อม หมูนุ่มมาก น้ำจิ้มสุกี้อร่อย สั่งกินที่บ้านแฮปปี้สุดๆ #สุกี้ #tiktokพากิน #suki #สุกี้โบราณ #จินหลงสุกี้โบราณ

♬ universe (sped up) – thuy

Insight #2 สุกี้แห้งมาแรง และสุกี้โรลที่ไม่ควรพลาด!

Data Research Insight suki

ข้อมูลจาก Social listening ทำให้เราได้ทราบว่าประเภทสุกี้ที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุดคือ แห้ง 49% รองลงมาคือน้ำ 39% และแบบโรล 23% ซึ่งสุกี้แต่ละประเภทก็มีความต้องการจากผู้บริโภคที่แตกต่างกันไป เช่น สุกี้แห้ง แห้งที่ดีคือต้องขลุกขลิก ไม่แห้งจนเกินไป

ส่วนแบบน้ำก็จะต้องเป็นน้ำที่เข้มข้น ไม่จืด ซึ่งถ้าเรามามองในความเป็นจริง ประเด็นนี้ผู้เขียนมองว่าเป็นสิ่งที่พื้นฐานมากในการขายอาหาร เพราะหากรสชาติไม่เข้มข้น คนก็คงไม่เลือกซื้อกินต่อ แบบแห้งคงไม่มีประเด็นมากเท่าไหร่นัก เพราะตัวเจือจางความเข้นข้นมีไม่มากเท่าน้ำ แบบน้ำจะมีน้ำเข้ามาทำให้รสชาติจืดง่ายมากกว่านั่นเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเองก็มองว่าลิ้นคนเรามีความนานาจิตตังและเป็นปัจเจก หากเราสามารถทำการ Personalization กับลิ้นลูกค้าแต่ละคนได้ เช่น การให้เลือกระดับความเข้นข้น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าจะตอบโจทย์ผู้บริโภคแต่ละคนได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นค่ะ

ที่น่าสนใจจากการใช้ Social listening ของรีพอร์ตเล่มนี้คือ สุกี้โรล ซึ่งก็คือสุกี้ที่นำมาม้วน ทานแบบพอดีคำต่อคำ โดยเราพบว่าสุกี้ประเภทนี้เป็นประเภทเดียวที่มีการพูดถึงในแง่มุมของความเป็นสุขภาพ สายคลีน ทำให้เราสามารถอนุมานในเบื้องต้นได้ว่า สุกี้โรลคือหนึ่งในอาหารทางเลือกของสายคลีนนั่นเองค่ะ

ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดท่านใดที่กำลังเจาะกลุ่มเป้าหมายนี้อยู่ ลองเพิ่ม/ปรับสูตรให้มีความคลีน เช่น น้ำจิ้มคลีน ใช้เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ แคลลอรี่น้อย โปรตีนสูง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

@ranrarinnn

เวลาว่างๆชอบทำเมนูนี้ที่สุด ง่ายใช้เวลาไม่นาน วัตถุดิบน้อยยย #แจกสูตรผอม #อาหารเพื่อสุขภาพ #cleanfood #สุขภาพดี #กินดีบอกต่อ #อาหารทําเอง

♬ Berry Fairy – Dalkom Sounds

Insight #3 ประเภทเนื้อสัตว์ในสุกี้ที่มีการถูกพูดถึง

Data Research Insight suki

มาต่อกันที่ประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุดในจักรวาลสุกี้ โดย Insight นี้จะแบ่งเป็นภาพใหญ่แบบวงกว้างก่อน ซึ่งเราพบว่า เนื้อหมู คือเนื้อที่มีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 51% รองลงมาคือเนื้อไก่ 36% และปิดท้ายด้วยสัตว์ทะเล 13%

และเมื่อเจาะลึกลงมาในเนื้อแต่ละประเภทแล้วเราก็จะพบว่า หมูสามารถแบ่งได้อีก 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1. หมูชิ้น 67%
  2. หมูหมัก 30%
  3. หมูเด้ง 3%

ในส่วนของเนื้อไก่ เราจะแบ่งได้อีก 3 ประเภทเช่นเดียวกันที่เจอจากการใช้ Social listening ความน่าสนใจของเนื้อประเภทนี้คือเป็นเนื้อที่สายสุขภาพ คนออกกำลังกายเลือกกิน โดยเฉพาะส่วนของอกไก่ ที่เนื้อมีความลีน เหมาะแก่การสร้างกล้ามเนื้อ และยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของผู้บริโภคที่เป็นอิสลามอีกด้วย

  1. ไก่ชิ้น 63%
  2. อกไก่ 34%
  3. ไก่กรอบ 3%

ในส่วนของเนื้อสัตว์ทะเล จะแบ่งได้ 3 ประเภทอีกเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นประเภทเนื้อที่มีบริบทคล้ายคลึงกับเนื้อไก่ แต่จะเน้นไปทางฝั่งผู้บริโภคอิสลามมากกว่าสายคลีนรักสุขภาพ

  1. กุ้ง 75%
  2. หมึก 20%
  3. รวมมิตร 5%

ประเด็นนี้ทำให้เราเห็นภาพคร่าว ๆ ของ Segment ลูกค้าที่เป็นกลุ่มรักสุขภาพ สายคลีนและชาวอิสลามเข้ามาด้วย การชูจุดเด่นวัตถุดิบว่าร้านเรามีเพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้รับรู้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกทางการตลาดที่น่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ

Insight #4 สุกี้ที่ดีน้ำจิ้ม/ซอสต้องเข้มข้น

Data Research Insight suki

ขายของให้ใครต้องรู้ว่าเขาชอบอะไรไม่ชอบอะไร ดังนั้น Data Research Insight สุกี้ ที่เราจะนำมาแชร์กันต่อในบทความนี้คือ คุณสมบัติของสุกี้ที่ใช่แบบไหนในอุดมคติที่คนนิยมว่าเป็นสุกี้ที่ดี และคุณสมบัติใดบ้างที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุด?

โดยข้อมูลจาก Social listening ทำให้เราพบว่า คุณสมบัติอย่างแรกที่ต้องมีคือ น้ำจิ้ม/ซอสต้องเข้มข้น! ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 59% กันเลยทีเดียวค่ะ รองลงมาคือ วัตถุดิบต้องมีคุณภาพที่ดี 28% ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็น Universal กันอยู่แล้วสำหรับวงการอาหารที่ดี อยากให้ลูกค้ารักคุณภาพอาหารต้องห้ามละเลยเชียวค่ะ

@tid_review

สุกี้แห้งย่านอารีย์! สายกินเส้นห้ามพลาด! จานใหญ่ รสเข้มข้น น้ำจิ้มสไตล์โฮมเมด ชีวิตติดรีวิว เรื่องรีวิวไว้ใจเจ๊

♬ เสียงต้นฉบับ – ชีวิตติดรีวิว – ชีวิตติดรีวิว
@dekchubby2020

สุกี้สามย่าน น้ำจิ้มอย่างเด็ด ผักกรอบอร่อย เนื้อสัตว์สดใหม่ #tiktokพากิน #tiktokอร่อยบอกต่อ #พากิน #อร่อยบอกต่อ #สามย่าน #จุฬา50

♬ [Animals and dishes] Cute BGM – Sound Owl

ปิดท้ายกันด้วย 13% บอกว่าไข่ที่ใส่มาต้องเคลือบวัตถุดิบในจานได้เป็นอย่างดี! โดยเราพบว่าไข่ข้นเคลือบวัตถุดิบในจานทุกอนูช่วยทำให้สุกี้อร่อยนัวในทุกมิตินั่นเองค่ะ และมักถูกพูดถึงเยอะในสุกี้แห้ง/น้ำ

Insight #5 ชาวเน็ตชอบผักกรอบ ๆ ยกให้ยืนหนึ่ง

Data Research Insight suki

ทิ้งท้ายกันด้วย Insight เกี่ยวกับผักในสุกี้กันค่ะ โดยเราพบว่าทีมผักจะแบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ 1. ผักแบบกรอบ 66% 2. ไม่ใส่ผัก 29% และ 3. ผักแบบเปื่อย ๆ 5%

ทีมผักกรอบเราพบว่าสาเหตุที่ชอบผักแบบกรอบเพราะ ผักยังคงมีความกรอบให้ได้เคี้ยวรับรสสัมผัสและรสชาติของผักและร้านที่ขึ้นชื่อเรื่องความกรอบของผักคือสุกี้ช้างเผือก ส่วนชาวไม่ใส่ผัก กล่าวคือ เน้นเนื้อล้วน ไม่ใส่ผักเลย บริบทส่วนใหญ่มักเป็นเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่ชอบทานผักนั่นเองค่ะ

ในด้านของทีมผักเปื่อย บริบทส่วนใหญ่มักพูดถึงว่าผักที่เปื่อยจะซึมซับน้ำซอส/น้ำจิ้มได้ดีกว่า เข้าเนื้อ เข้นข้นทุกอนู ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคมีความหลากหลาย บางคนชอบและไม่ชอบในบางสิ่ง ซึ่งหากเราเข้าใจในความชอบและไม่ชอบของพวกเขาเหล่านั้นได้ดีอย่างถ่องแท้ ลูกค้าย่อมหไม่หนีเราไปไหนแน่นอนค่ะ

หากนำมาปรับใช้กับการตลาด เราสามารถทำได้ เช่น เพิ่มตัวเลือกให้ลูกค้าเลือกไปเลยว่าอยากใส่ผักแบบไหน ใส่ ไม่ใส่อะไรบ้าง ความสุกของผักในอยู่ในระดับใด กรอบมาก กรอบ เปื่อย เปื่อยมาก ทั้งนี้บางร้านที่ไม่ได้มีระบบในการคัดกรองโดยกระดาษให้กรอกหรือเทคโนโลยี ผู้เขียนคิดว่าการเข้าหาลูกค้า ชิงถามพวกเขาก่อนก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะลูกค้าบางคนก็ไม่กล้าที่จะบอกความต้องการของตนเอง อาจจะด้วยขี้เขิน ร้านคนเยอะ เป็นต้น

ถ้าเราถามก่อนว่าอยากได้แบบไหน ย่อมเป็นการซื้อใจให้ลูกค้ามาฝากท้องกับร้านเราบ่อย ๆ ได้แน่นอนค่ะ สุกี้ร้านไหนก็ซื้อกินได้ แต่จะซื้อใจลูกค้าได้ไหมนั้นอีกเรื่อง หากอยากได้ใจก็ต้องเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าให้ได้ค่ะ

Data Research Insight suki

TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. สูตรลับหลังร้าน 168K Engagement
  2. สะใภ้เกาหลี ซอเเฟนเพจ 131K Engagement
  3. กับข้าวกับปลาโอ 103K Engagement
  4. Mawinfinferrr 96K Engagement
  5. กินกับกี้ 57K Engagement

TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. smecookingsecrets 227K Engagement
  2. mastertomtomxoxo 218K Engagement
  3. saengokpak 149K Engagement
  4. ohnsri1000 105K Engagement
  5. meetalay 81K Engagement
Data Research Insight suki

TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น

  1. KroBrave 1.2M View
  2. tigercrychannel 1.1M View
  3. Ananped 692K View
  4. สะใภ้เกาหลี by korean 490K View
  5. วันละมื้อ – one meal a day 361K View

Data Research Insight สุกี้ By Social Listening

จักรวาลสุกี้เป็นอีกหนึ่งจักรวาลด้านอาหารที่มีประเด็นน่าสนใจต่าง ๆ มากมาย อย่างในรีพอร์ตเล่มนี้ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่าสุกี้คนนิยมทานแบบแห้งมากกว่าแบบน้ำ ทั้งนี้จะแห้งหรือน้ำก็ต้องมีความพอเหมาะพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป รวมถึงนิยมของคำว่าสุกี้ ‘ที่ดี’ เป็นอย่างไร

มากไปกว่านั้น สุกี้ ยังเป็นอาหารทางเลือกสำหรับสายคลีน รักษาสุขภาพ การที่ร้านรวงต่าง ๆ หันมาจับกลุ่มลูกค้านี้ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ เราจะเห็นได้เลยว่าความเป็นปัจเจกของการเลือกกินสุกี้มีสูงมาก บางคนชอบสิ่งนี้ ไม่ชอบสิ่งนั้น หากเราทำการ Personalized ให้กับลูกค้าได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจค่ะ

และนี่ก็คือทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘สุกี้’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight ชาวสุกี้กันค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguinและ Brand Communication

Coming soon …

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ของดอง ผัดไทย ไอศกรีม ข้าวขาหมู ข้าวแกง ข้าวเหนียวมะม่วง หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยล้าน

————————–

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.co

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว

  • เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
  • ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)

อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

ตัวอย่าง Social listening ผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะค

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *