สรุป History of Creativity ประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์ จากงาน CTC 2024

สรุป History of Creativity ประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์ จากงาน CTC 2024

สวัสดีนักการตลาด และนักอ่านทุก ๆ คนครับ บทความนี้ผมนำ Session “ History of Creativity ประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์ ” โดยดร.วิทย์ สิทธิเวคิน Host ประจำรายการ 8 Minute History จากงาน CTC 2024 มาฝากกันครับ มาดูกันว่าประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์ เป็นอย่างไร คนในอดีตเค้ามีวิธีคิดอย่างไรกัน ติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ

History of Creativity

ในขณะที่ทุกคนมองไปข้างหน้า เราควรมองกลับไปข้างหลังด้วย เพื่อเรียนรู้จากแนวคิดและนวัตกรรมของเหล่า Start up ในยุคก่อนที่มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ พวกเขาคิดอะไร สร้างอะไร และมีวิธีคิดอย่างไร เพราะจากเราสามารถนำสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาศึกษาและวิเคราะห์ได้โดยการ Reverse Engineering เพื่อดูและแกะออกมาเป็นแนวทางของเราเอง

สิ่งต่าง ๆ ที่บุคคลในอดีตคิดค้น ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใด ๆ ล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ Pain Point ของผู้คนทั้งนั้นครับ Pain Point ของมนุษย์ไม่ได้มีแค่จุดเดียว แต่มีอยู่มากมาย นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ จึงต้องตอบโจทย์เหล่านี้ หากไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะไม่ประสบความสำเร็จ บทความนี้จะมายกตัวอย่างนวัตกรรมในอดีตที่เกิดขึ้นมาจาก Pain Point บอกกับความคิดสร้างสรรค์กันครับ

จุดเริ่มต้นของหลอดไฟ

ในอดีต มนุษย์มีขีดจำกัดในการทำกิจกรรมเพียง 12 ชั่วโมง เนื่องจากมีแสงสว่างใช้เพียง 12 ชั่วโมง ในขณะที่โลกมี 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นและประดิษฐ์หลอดไฟขึ้นมาครับ แต่ในช่วงแรก หลอดไฟหนึ่งหลอดมีอายุการใช้งานเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น

History of Creativity

ทว่ามีชายคนหนึ่งที่ตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานถึง 2,000 ชั่วโมง และเขาทำสำเร็จ ชายผู้นั้นคือ Thomas Edison

รัฐบาลอเมริกาในช่วงนั้น ในวาระที่ครบรอบ 400 ปีของการค้นพบทวีปใหม่โดย Christopher Columbus มีการจัดงาน Chicago World’s Fair ขึ้น และแนวความคิดของพวกเขาคือ “แสดงให้โลกเห็นว่าสหรัฐอเมริกามีดวงอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง” สิ่งที่อเมริกาทำคือผลิตหลอดไฟนับ 10,000 ดวง และประกาศหาบริษัทที่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้หลอดไฟเหล่านั้นได้พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน และนี่คือ Pain Point ที่เกิดขึ้นอย่างที่ต่อเนื่อง

History of Creativity

เห็นมั้ยครับถึงแม้จะแก้ไข Pain Point ข้อจำกัดในด้านของแสงสว่างโดยการสร้างหลอดไฟแล้ว ก็มี Pain Point ที่เกี่ยวกับอายุการใช้งานหลอดไฟที่สั้นอีก แม้จะแก้ไข Pain Point เรื่องอายุของการใช้งานแล้ว หากต้องการจะเปิดหลอดไฟจำนวนมากก็เกิด Pain Point ใหม่ขึ้นอีก

สิ่งที่เกิดขึ้นในการแก้ไข Pain Point การจ่ายไฟฟ้าจำนวนมาก คือ โรงไฟฟ้าครับ และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาไฟฟ้าในตอนนั้นยังเป็น Start up อยู่ ได้แก่ Thomas Alva Edison, Nikola Tesla ที่คิดค้นเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับ และ George Westinghouse ต้องบอกว่า 3 คนนี้ พวกเค้ามีสิทธิบัตรรวมกันมากกว่า 1,000 ใบ เพราะพวกเขาคิดอยู่ตลอดว่าโลกนี้มี Pain Point อะไรบ้าง

ผลงานชิ้นแรกที่ทำให้ Thomas Alva Edison มีชื่อเสียงเกิดจาก Pain Point คือ ในอดีตการพูดคุยกันไม่มีการบันทึกเสียง ดังนั้นสิ่งแรกที่ Edison ทำคือการประดิษฐ์แถบเทปสำหรับบันทึกเสียง นี่คือจุดเริ่มต้นของ Edison ที่คิดมาจาก Pain Point ของคนในยุคนั้น ซึ่งเป็นจินตนาการที่สร้างสรรค์มาก คิดว่าปัญหาคืออะไร และใช้ความคิดสร้างค์สรรค์ว่าจะผลิตอะไรมาแก้ไขปัญหานั้น

หลังจากนั้น ทั้งสามคนนี้ยังคงมีนวัตกรรมออกมาอีกมากมาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าโลกนี้และสหรัฐอเมริกามี Pain Point มากมาย และต้องแก้ไขทุก ๆ Pain Point

อย่างที่เรารู้กันเมื่อเกิดสงครามกระแสไฟฟ้าระหว่าง 3 คนนั้น ปรากฏว่า Edison พ่ายแพ้ แต่จิตวิญญาณของเขาในการสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่เคยสิ้นสุด

History of Creativity

นี่คือภาพในช่วงบั้นปลายชีวิตของ Thomas Alva Edison ที่ไม่ได้หยุดนิ่งเลยแม้ในช่วงสุดท้ายของชีวิต โดยมีบุคคลเช่น Henry Ford และ Harvey Firestone เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์

เรื่องราวเหล่านี้เป็นตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ในยุคนั้น ว่าอะไรสามารถตอบโจทย์ Pain Point ของผู้คนได้และนำมาแปรรูปเป็นสินค้าและนวัตกรรมที่มีคุณค่าครับ

จุดเริ่มต้นของ AI

ใครจะคิดว่าเทคโนโลยีล้ำยุคที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากเรื่องราวทางการทหารในสหราชอาณาจักรช่วงปี 1950 ในสมัยนั้น การสื่อสารถูกเข้ารหัสผ่านเครื่อง “Enigma” ซึ่งใช้ในการส่งข้อความลับและถอดรหัสระหว่างสงคราม สิ่งนี้นำไปสู่ความคิดที่จะดักฟังและถอดรหัสข้อความของศัตรูอย่างนาซีเยอรมนี

นักฟิสิกส์ วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ถูกระดมมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และได้พัฒนาเครื่องถอดรหัส Enigma โดยมีนักคณิตศาสตร์ชื่อดัง Alan Turing และต่อมากลายเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ โดยมีหน้าที่เป็นเป็นผู้สำคัญในการพัฒนา

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในเวลานั้นคือ “เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถคิดแทนคนได้หรือไม่?” ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ Alan Turing ไม่ได้เพียงแค่พัฒนาเครื่องถอดรหัส แต่ยังสร้างแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

โดยในบทความ “Computing Machinery and Intelligence” ของเค้า เค้าได้ตั้งคำถามว่า “เครื่องจักรสามารถคิดได้หรือไม่?” และแนะนำการทดสอบที่เรียกว่า “Turing Tset” เพื่อวัดความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการแสดงพฤติกรรมที่คล้ายมนุษย์ ตึงกลายเป็นที่มาของ AI ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในอดีตอยู่เลย

จริง ๆ ดร.วิทย์ ได้ยกตัวอย่างหลาย Case มากกว่านี้ ใครอยากดูเต็ม ๆ 1 ชั่วโมงสามารถเข้าไปสมัครสมาชิดและชมย้อนหลังได้ที่ https://creativetalkonline.com/ เลยครับ

สรุป History of Creativity ประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์

จากที่เราได้สำรวจประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในอดีต จะเห็นได้ว่า Pain Point หรือปัญหาที่คนในยุคนั้นต้องเผชิญ คือ จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟของ Thomas Edison ที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนแสงสว่างในเวลากลางคืน หรือการพัฒนาเครื่องถอดรหัส Enigma ของ Alan Turing ที่มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาการสื่อสารทางทหารในช่วงสงคราม

Pain Point เหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ยังเป็นปัจจัยที่กำหนดทิศทางและแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ การพยายามหาวิธีการแก้ไข Pain Point ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะสิ่งที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมานั้นจะมีคุณค่าและประโยชน์มากมายต่อสังคมในยุคนั้นและยุคต่อ ๆ ไปครับ

การเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักการตลาดและนักพัฒนานวัตกรรมในปัจจุบัน การนำแนวคิดและวิธีการแก้ไข Pain Point จากอดีตมาเป็นแรงบันดาลใจ สามารถช่วยให้เรามองเห็นแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่เกิดขึ้นจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาและการตอบสนองต่อ Pain Point ของมนุษย์ การมีความเข้าใจใน Pain Point เหล่านี้และการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาจึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าและสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

สรุปเทคนิคการหา Customer Insight Strategy จากงาน CTC 2024

สรุป Creativity Driven Data การตลาดแบบฉลาดเก็บดาต้า จากงาน CTC2024

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณคือ...

ช่วยตอบเราก่อนอ่านแปบนึงนะ ^^