สรุป CTC 2024 หัวข้อ Essential Skills for the Future of Thailand รวม 29 ทักษะอาชีพในอาคต โดยพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

สรุป CTC 2024 หัวข้อ Essential Skills for the Future of Thailand รวม 29 ทักษะอาชีพในอาคต โดยพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

สวัสดีนักการตลาด และนักอ่านทุก ๆ คนครับ บทความนี้ผมนำ Session “Essential Skills for the Future of Thailand” โดยคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากงาน CTC 2024 มาฝากกันครับ มาดูว่าทักษะและอาชีพที่จะมีความสำคัญในอนาคตของประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ทักษะอาชีพในอาคต จะมีอะไรบ้างติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ

แนวคิด 29 อาชีพ 29 ทักษะในอนาคต ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

คุณพิธาเล่าว่าในฐานะที่เป็นทั้ง สส. เป็นอดีตแคนดิเดตนายกของประเทศไทย และมีลูกสาวอายุ 8 ขวบที่จะเติบโตขึ้นเข้าสู่มหาวิทยาลัยในอีก 10 ปี คนเป็นพ่อก็มีลิสต์รายชื่อของอนาคตของอาชีพในประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า คุณพิธามองว่าอาชีพในอนาคตขึ้นอยู่กับแนวคิดและเป้าหมายของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ Framework Thinking ในการวางแผนอนาคตของประเทศว่าเป็นยังไง

คุณพิธาใช้ SWOT Analysis (การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยง) เพื่อวางแผนและพัฒนาอาชีพในอนาคต หากรู้ว่าประเทศไทยจะเดินหน้ายังไง รูปแบบไหน อาชีพและทักษที่สำคัญก็จะโผล่ขึ้นมาเอง 

ทั้งนี้คุณพิธามองว่าผู้นำที่ดีไม่เพียงแต่ใช้จุดแข็งและโอกาสของประเทศในการพัฒนา แต่ยังต้องสามารถเปลี่ยนจุดอ่อนและความท้าทายของประเทศให้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมได้อีกด้วย ดังนั้น จุดอ่อน และความเสี่ยงจากการทำ  SWOT Analysis ประเทศไทยนี่แหละครับที่คุณพิธานำมาใช้ในการ ลิตส์อาชีพและทักษะในอีก 10 ปีข้างหน้า

ทักษะอาชีพในอาคต

จากการนำจุดอ่อนและความเสี่ยงของประเทศไทยที่ได้จากการทำ SWOT Analysis พบว่ามี 3 ปัญหาหลักที่สามารถนำมาสร้างเป็นอุตสาหกรรมใหม่ขงประเทศไทยได้ ดังนี้ครับ

1. Climate Change การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำแล้งและน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น นครศรีธรรมราช โคราช และกรุงเทพฯ รวมถึงไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในภาคเหนือ 

2. ปัญหาผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งขาดแคลนบุคลากรและทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ อีกทั้งลูกหลานก็มาทำงานในกทม. ยิ่งทำให้ขาดคนดูแล 

3. ปัญหาน้ำขาดแคลน ซึ่งครอบคลุมทั้งน้ำประปา น้ำทะเล และน้ำที่ใช้ในการเกษตร ตัวอย่างเช่น ภูเก็ตที่ประสบปัญหาน้ำประปาขาดแคลนอย่างรุนแรงในช่วงฤดูแล้ง ปัญหาน้ำขาดแคลนเป็นเรื่องที่ทั่วโลกเผชิญอยู่มากที่สุด และเป็นปัญหาที่ต้องการการจัดการอย่างเร่งด่วน

จากปัญหาดังกล่าวจึงออกมาเป็น 29 อาชีพในอาคต จากเศรษฐกิจ 3 สี

ทักษะอาชีพในอาคต

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมหนักในปี 2554 ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่หลายจังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก อาชีพดังต่อไปนี้จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นและผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศ

  1. Climate Resilience Officer (เจ้าหน้าที่รับมือสภาพอากาศ): บทบาทของอาชีพนี้คือการวางแผนและดำเนินการเพื่อเพิ่มความสามารถของชุมชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. Renewable Energy Drone Technician (ช่างเทคนิคโดรนพลังงานทดแทน): การใช้โดรนเพื่อสำรวจและจัดการพลังงานทดแทน
  3. Climate Change Psychologist (นักจิตวิทยาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ): ช่วยประชาชนปรับตัวและจัดการกับผลกระทบทางจิตวิทยาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  4. Green Building Architect (สถาปนิกอาคารเขียว): ออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน
  5. Recycling Coordinator (ผู้ประสานงานการรีไซเคิล): จัดการและส่งเสริมการรีไซเคิลในชุมชน
  6. Urban Farmer (เกษตรกรเมือง): ปลูกพืชในเมืองเพื่อเพิ่มความยั่งยืนในการผลิตอาหาร
  7. Eco-Tourism Guide (มัคคุเทศก์เชิงนิเวศ): นำเที่ยวแบบยั่งยืนและรักษาสิ่งแวดล้อม
  8. Environmental Educator (ครูสอนสิ่งแวดล้อม): ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์
  9. Electric Vehicle Technician (ช่างเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า): ซ่อมบำรุงและดูแลยานยนต์ไฟฟ้า
  10. Conservation Scientist (นักวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์): วิจัยและพัฒนาวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่การเข้าถึงบริการสาธารณสุขยังมีข้อจำกัด อาชีพดังต่อไปนี้จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นและผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศ

  1. Gerontechnologist (นักเทคโนโลยีผู้สูงอายุ): พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  2. Aging Lifestyle Designer (ผู้ออกแบบไลฟ์สไตล์ผู้สูงอายุ): ออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้สูงอายุ
  3. Aging-in-Place Specialist (ผู้เชี่ยวชาญด้านการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ): ช่วยผู้สูงอายุปรับปรุงบ้านเพื่อให้อยู่ได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย
  4. Memory Care Specialist (ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลความจำ): ให้การดูแลและสนับสนุนผู้ที่มีปัญหาความจำ
  5. Elder Law Attorney (ทนายความผู้สูงอายุ): ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับผู้สูงอายุ
  6. Senior Nutritionist (นักโภชนาการอาวุโส): ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
  7. Geriatric Nurse Practitioner (พยาบาลผู้สูงอายุ): ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
  8. Retirement Planning Advisor (ที่ปรึกษาการวางแผนเกษียณอายุ): ช่วยผู้สูงอายุวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณ
  9. Social Worker for the Elderly (นักสังคมสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุ): ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้สูงอายุในชุมชน
  10. Senior Companion (เพื่อนคู่ใจผู้สูงอายุ): ให้การดูแลและเป็นเพื่อนกับผู้สูงอายุ
  1. Marine Biologist (นักชีววิทยาทางทะเล): ศึกษาและวิจัยสิ่งมีชีวิตในทะเล
  2. Aquaculture Farmer (เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ): เลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ เพื่อการบริโภค
  3. Oceanographer (นักสมุทรศาสตร์): ศึกษาและวิจัยมหาสมุทรและทะเล
  4. Marine Renewable Energy Specialist (ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนทางทะเล): พัฒนาพลังงานทดแทนจากทะเล
  5. Sustainable Fisheries Manager (ผู้จัดการการประมงที่ยั่งยืน): จัดการการประมงเพื่อความยั่งยืน
  6. Coastal Engineer (วิศวกรชายฝั่ง): ออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมบริเวณชายฝั่ง
  7. Marine Policy Analyst (นักวิเคราะห์นโยบายทางทะเล): วิจัยและวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับทะเลและมหาสมุทร
  8. Underwater Robotics Technician (ช่างเทคนิคหุ่นยนต์ใต้น้ำ): พัฒนาหุ่นยนต์ที่ใช้ใต้น้ำ
  9. Marine Conservationist (นักอนุรักษ์ทางทะเล): ทำงานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

อาชีพทั้งหมดนี้สะท้อนถึงการตอบสนองต่อปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยอาชีพใน Green Economy จะเน้นการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาชีพใน Silver Economy จะมุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุและการพัฒนาบริการเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนอาชีพใน Blue Economy จะเน้นการจัดการทรัพยากรทางทะเลและน้ำ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล

นอกจากนี้ การเตรียมความพร้อมด้วยการพัฒนาอาชีพและทักษะในเศรษฐกิจ 3 สี ยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามคุณพิธา เน้นย้ำว่า ทักษะอาชีพในอาคต ขึ้นอยู่กับ Framework Thinking ในการวางแผนอนาคตของประเทศว่าเป็นยังไง รูปแบบไหน หากเรารู้ อาชีพและทักษะ ที่สำคัญก็จะโผล่ขึ้นมาเองครับ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

Unique Selling Point 10 เทคนิคเปลี่ยนสินค้าธรรมดาให้น่าซื้อ จากงาน CTC 2024

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณ คือ...