Data Research Insight สำรวจจักรวาล เครป เมนูขนมคาวหวานยอดฮิต โดยเมนูเครปนี้ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่มีหลากหลายเมนูผ่านมาแล้วทั้ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้ ดังนั้นอยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ
สำหรับในบทความนี้เราจะมาเจาะ Data Research Insight เครป เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการทานกันมากขึ้น คนไทยชอบเครปรูปแบบไหน เครปไส้คาวหวานอะไร ร้านเด็ดร้านดังที่มีการพูดถึงมากที่สุด และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ
โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data เครป คือ Social Listening เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่
ซึ่งโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่าง SME D BANK
เกริ่นมาเยอะแล้ว ถ้าพร้อมทาน เอ้ย พร้อมอ่านแล้ว ก็ตามมาได้เลยค่ะ~
ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ เครป รวมถึง crepe ในภาษาอังกฤษ เพื่อดูบริบทได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/06/2023 – 31/05/2024 หรือประมาณ 1 ปีย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 10,200 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok
และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า เครป นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น เครปที่เป็นชื่อเนื้อผ้า เป็นต้น
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ ค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงเรื่องเครปแบบไหน ใส่ไส้อะไร ใส่ท็อปปิ้งอะไรกันบ้าง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง และ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านเครปนั่นเองค่ะ
ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ
Social Data Stat Overview
สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงเครป จะอยู่บนเพจ Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย IG, Youtube, X(Twitter) และ TikTok ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรีวิวเมนูเครปไส้ต่าง ๆ รีวิวร้านเด็ดร้านดัง รวมถึงการสอนทำเมนูเครป
การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – สำหรับการนับรวมยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagement ของ Youtube มีสัดส่วนมากถึง 80% ทั้งนี้เพราะคอนเทนต์แจกสูตร สอนทำเมนูเครปไส้ต่าง ๆ รวมถึงรีวิวร้านเครปอร่อย ๆ
การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากย้อนขึ้นไปดูกราฟวงกลมขวาสุด ในภาพด้านบนก่อนหน้านี้ ทุกคนจะเห็นว่าเมื่อผู้เขียนจะทำการ Ignore Youtube View หรือไม่นับรวมยอดวิวแล้ว เราจะเห็นว่า TikTok และ Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพเช่นเดียวกันค่ะ โดยคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจสูง จะเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการรีวิวร้านเครปเด็ด ๆ หลากหลายรูปแบบทั้งเครปเย็น เครปร้อน เครปโรล เครปไอติม ฯลฯ
ดังนั้นทุกคนอาจจะเริ่มเห็นภาพกันแล้วว่าส่วนใหญ่คลิปที่ได้รับ Engagement สูง ๆ หรือได้รับความสนใจจากคนในโซเชียลกันมาก จะเป็นการรีวิวเครปจากร้านเด็ดร้านดังต่าง ๆ รวมถึงมีคอนเทนต์จากแบรนด์ถ่ายเองด้วย ดังนั้นเราก็ควรให้ความสำคัญกับการถ่ายคอนเทนต์ให้ดูน่ากิน คนอยากตามรอยไปกินตาม
และสามารถนำไปเป็นไอเดียในการต่อยอดการทำคอนเทนต์ของธุรกิจตัวเองกันได้นะคะ นำไปต่อยอดคิดค้นพัฒนาเมนูเครปในแบบฉบับของแบรนด์ตัวเอง ใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ หรือส่วนผสมที่คนชอบ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้านั่นเอง
สำหรับ Hashtag & Word Cloud ภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ ‘เครป’ นั่นเองค่ะ เช่น บริบทของการปักหมุดรีวิวร้านอร่อย #อร่อยบอกต่อ หรือเทรนด์รีวิวใน TikTok อย่าง #tiktokพากิน รวมถึงชื่อร้านเครปที่ได้รับความนิยม มีการพูดถึงกันมาก เช่น Olino, เครปสายลมบางปู เป็นต้นค่ะ
มาดูในส่วนของ Top post กันบ้างว่าในแต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์อะไรอะไรมาแรงที่สุด
Facebook – นัดรีวิว รีวิวที่เที่ยวสายลมบางปู เครปกล้วยบางปูยอดฮิต
X (Twitter) – @stylepearypiee โพสต์ขอไอเดียไส้เครป
Instagram – foodballstylee รีวิวเครปโรลนมสด ตลาดนัดกกท.
TikTok – best_apicha รีวิวกินเครป ร้านเอกเครปซิ่ง
YouTube – Jira Bella รีวิวเครปจีน
VIDEO
STEP 5 Categorize Data
การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ
ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ
STEP 6 Data Visualization
ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT, Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าเมื่อแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราจะเจออะไรกันบ้าง
ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงเครป จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้เรียงจากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการเล่าค่ะ
รูปแบบเครป 44%
Topping ไส้คาวยอดฮิต 17%
Topping ไส้หวานยอดฮิต 18%
เมนูเครปประยุกต์ 6%
ร้านขายเครป 15%
เรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ
#1 รูปแบบเครปที่คนพูดถึง
สำหรับรูปแบบของเครปที่ถือว่าเป็นที่ยอดฮิตที่คนนิยมพูดถึงกันมากเป็นพิเศษในโซเชียล มาเป็นอันดับ 1 เลยก็คือ ‘เครปเย็น’ ในสัดส่วน 59% ค่ะ ตามมาด้วยเครปร้อนในสัดส่วน 41% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกันค่ะ
โดยบริบทของทั้งเครปเย็นและร้อน ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางที่ใกล้เคียงกัน คือส่วนใหญ่จะเป็นการรีวิวร้านเครปอร่อย ๆ กินโชว์ และโปรโมทเมนูใหม่ ๆ ของทางร้าน
ดังนั้นจริง ๆ แล้วหากธุรกิจของเรากำลังมองหาไอเดียว่าหากจะทำร้านเครป ควรทำรูปแบบไหนอะไรยังไงบ้างดี จากข้อมูลก็จะเห็นได้ว่ามีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คนชอบทานทั้งเครปร้อนและเครปเย็นค่ะ ซึ่งจุดเด่นที่แต่ละร้านชูก็จะแตกต่างกันไป อย่างเช่นบางร้านเน้นแป้งกรอบ บางร้านเน้นไส้แน่น ๆ จุก ๆ ดังนั้นเราอาจจะมองในด้านที่ตัวเองถนัด แล้วหาไอเดียเพิ่มเติมลงไปในเมนู สร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของคนเพิ่มขึ้น
#2 ตัวท็อป Topping ไส้คาวยอดฮิต ใคร ๆ ก็ชอบ ‘ใส่ไข่’
สำหรับ TOP 7 Topping ไส้คาวยอดฮิต มาเป็นอันดับ 1 เลยคือ ‘ไข่’ นั่นเองค่ะ ในสัดส่วน 36% ตามมาด้วย แฮม หมูหยอง พริกเผา ปูอัด ไส้กรอก และหน้าพิซซ่า ตามลำดับค่ะ
ทั้งนี้จากการอ่านภาพรวมบริบทของไส้ ‘ไข่’ ผู้เขียนได้ทำการเลือกตัวอย่างโพสต์มาให้ทุกคนได้ดูกัน จะสังเกตเห็นได้ว่าไข่เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของไส้เครป ที่คนมักเลือกสั่งหรือเลือกกินนั่นเองค่ะ เพราะเป็นองค์ประกอบที่เรียกว่าอยู่ได้กับในทุก ๆ เมนู คนจึงเลือกผสม ‘ไข่’ ร่วมกันกับไส้อื่น ๆ ไม่ว่าจะเบสิคเครปอย่างไข่+ไส้กรอก ไข่+ปูอัด ไข่+แฮม เป็นต้น รวมถึงอย่างเครปไส้ผักโขมเบคอนชีส ก็ยังมีการเพิ่มไข่เข้าไปในตัวไส้เครปด้วย
หรือแม้แต่ในมุมเครปหวาน อย่างเครปที่ใส่กล้วยหอม ก็ยังใส่ไข่เข้าไปด้วย ความจริงแล้วก็คือไข่สามารถเข้าได้ในทุกเมนู ดังนั้นไข่ก็เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ทุกร้านควรจะต้องให้ความสำคัญในการจะทำเครปขายนั่นเองค่ะ
VIDEO
ในสัดส่วนรองลงมาอย่างไส้แฮม หมูหยอง และพริกเผา ก็มักจะเป็นส่วนผสมที่คนเลือกทานคู่กันอยู่แล้วค่ะ เพราะรสชาติที่มีความเข้ากันได้ดี เป็นไส้เครปที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะเลือกผสมอะไรกับอะไร ตามแต่ความชอบค่ะ
อย่างตัวพริกเผา แม้ในภาพจำของส่วนใหญ่คนจะสั่งทานคู่กับหมูหยอง แฮม หรือปูอัดต่าง ๆ แต่ก็มีคนชอบทานเมนูที่มีความแปลกใหม่ อย่างพริกเผาฝอยทอง เป็นต้น
แต่จากข้อมูลอย่างน้อย ๆ หากร้านของเรามีส่วนประกอบของ Topping ยอดฮิต แล้วค่อยให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าอยากจะผสมอะไรกันบ้าง ก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ
#3 Topping ไส้หวานยอดฮิต จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก ‘กล้วย’
มาถึงในส่วนของ Topping ไส้หวานยอดฮิตกันบ้าง มาเป็นอันดับ 1 เลยก็คือ ‘กล้วย’ นั่นเองค่ะ ในสัดส่วน 30% ตามมาด้วยช็อกโกแลต วิปครีม ฝอยทอง นูเทลล่า สตรอว์เบอร์ ลูกเกด และเยลลี่ ตามลำดับค่ะ
ทั้งนี้บริบทของไส้ ‘กล้วย’ ก็เรียกได้ว่ามีความหลากหลายมากค่ะ เพราะเป็นส่วนผสมที่เข้าได้กับทั้งเครปร้อน เครปเย็น และผสมผสานได้กับอีกหลาย ๆ วัตถุดิบ เช่น กล้วย+ฝอยทอง, กล้วย+วิปครีม, กล้วย+ช็อกโกแลต นูเทลล่า ฯลฯ
อย่างร้านที่เครปกล้วยมาแรงมาก ๆ มีคนพูดถึงค่อนข้างมากเลยในโซเชียล คือร้านเครปกล้วยบางปู ที่สายลมบางปูนั่นเองค่ะ ทานเครปเสร็จแล้วสามารถนำถ้วยกล้วยน่ารัก ๆ กลับบ้านไปเลยได้ด้วย~
รองลงมาในอันดับ 2 และ 3 อย่างตัวช็อกโกแลตและวิปครีม ก็เป็นส่วนผสมที่คนชอบใส่ในเครปไส้หวานกันมาก ๆ เลยค่ะ เพราะเข้าได้กับหลาย ๆ อย่างเช่นกัน อย่างวิปครีมเองก็มีทั้งเครปที่ใส่วิปครีมผสมกับไส้อื่น ๆ รวมถึงเป็นเครปวิปครีมล้วน ๆ เลยก็มีคนนิยมทานกันค่ะ
VIDEO
#4 เมนูเครปประยุกต์ที่คนพูดถึง ‘เครปโรล’
สำหรับเครปที่หน้าตาอาจจะไม่ได้เป็นเครปแผ่นกรอบ ๆ หรือเครปเย็นแป้งนุ่ม ๆ เรามาดู TOP 3 เมนูเครปประยุกต์ หรือของหวานที่ผสมผสานความเป็นแป้งเครปเข้าไปกันดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง
โดยอันดับ 1 เลยคือ ‘เครปโรล’ ค่ะ ตามมาด้วยเครปเค้ก และเครปข้าวเหนียวมะม่วงตามลำดับ โดยเจ้าเครปโรลยอดฮิตติดอันดับของเราก็จะมีหน้าตาเป็นก้อนขนมหวาน ที่ใช้แป้งเครป และมีตัววิปครีม มักเป็นไส้แยมหรือผลไม้ต่าง ๆ นั่นเอง ทั้งนี้รูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรีวิวเครปโรลอร่อย ๆ รวมถึงมีการแจกสูตรสอนทำด้วยค่ะ
ทั้งนี้ผู้เขียนมองว่าสำหรับใครที่ขายเครปเย็น ก็ค่อนข้างเป็นประเภทที่มีความคล้ายคลึงกันกับเครปโรลอยู่ค่ะ จากข้อมูลที่เห็นว่ามีการพูดถึงเครปโรลค่อนข้างสูง เราอาจนำมาประยุกต์ขายในร้านควบคู่กันไป เป็นตัวเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้าค่ะ
VIDEO
#5 ‘Olino’ ร้านขายเครปที่คนพูดถึงมากที่สุด
สำหรับร้านขายเครปที่คนพูดถึงกันมากที่สุด อันดับ 1 คือ ‘Olino Crepe & Tea’ ในสัดส่วนที่สูงถึง 60% ตามมาด้วย เครปกล้วยบางปู, เครปไส้แตก, Oum’s great crepe, Phumjai crepe, เครปป้าเฉื่อย, Ice skate’s crepe และเครปยั่วๆ ตามลำดับค่ะ
สำหรับร้านอันดับ 1 อย่าง Olino นอกจากจะขายเครปแล้ว ก็ยังมีเครื่องดื่มด้วย เรียกว่ามีเมนูที่หลากหลาย ทั้งนี้ในส่วนของเมนูเครปเองก็มีทั้งแป้งนุ่ม แป้งกรอบ และมีเมนูใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ มีคนตามรีวิวและพูดถึงในโซเชียลค่อนข้างมาก เป็นจุดขายที่เรียกความสนใจและ Engagement ได้ดีเลยค่ะ
สำหรับ TOP 5 Facebook Page
Bangkok Foodie 60K Engagement
Olino Crepe & Tea 51.7K Engagement
Mawinfinferrr 26.4K Engagement
ตี๋น้อยรีวิวของหวาน 24.2K Engagement
กินไปเหอะ 20.6K Engagement
TOP 5 Instagram Account
foodballstylee 86.7K Engagement
foodblogbkk 51.9K Engagement
kp_talonlak 34.9K Engagement
ginyuudai 33.4K Engagement
eathere.th 30.3K Engagement
TOP 5 YouTube Channel
Mayy R 604K Engagement
Unilever Food 387K Engagement
BO YOSHI CHANNEL 357K Engagement
ThaiFranchise Center 200K Engagement
Torpenguin 175K Engagement
TOP 5 TikTok Account
best_apicha 244.3K Engagement
cookingbypat 78.7K Engagement
bancrepes_88 67.8K Engagement
mamiw1208 22.6K Engagement
sailombangpu 18.4K Engagement
Data Research Insight สำรวจจักรวาล เครป เมนูขนมคาวหวานยอดฮิต
ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight สำรวจจักรวาล เครป เมนูขนมคาวหวานยอดฮิต หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการทานเครป คนไทยชอบเครปรูปแบบไหน ใส่ไส้อะไร รวมถึงแบรนด์เด็ดร้านดัง และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันได้มากขึ้นแล้วนะคะ
และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^
*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณ SME D BANK ผู้สนับสนุนโปรเจคนี้ครับ
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://bit.ly/soc iallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย