Data Analytics Search Data Google Trends Work From Home Top 5 Promotions in Thailand

Data Analytics ด้วย Google Trends กับ Top 5 Promotions ที่คนไทยหาช่วง WFH มากที่สุด

วันนี้จะมาโชว์เคสการทำ Data Analytics ด้วย Google Trends ที่เล่นกับ Search Data ให้ดูกันว่าในสัปดาห์แรกของการ Work From Home หรือที่เราเรียกย่อๆ กันว่า WFH นั้นคนไทยส่วนใหญ่ค้นหาโปรโมชั่นอะไรมากที่สุด ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ถึงวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ครับ

ตั้งแต่รัฐบาลประกาศขอความร่วมมืออย่างจริงจังในการสนับสนุนให้คนไทยทำงานที่บ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ลง ก็พบว่าคนทำงานประจำส่วนใหญ่อยู่ในช่วงปรับตัวหนักมาก และสิ่งหนึ่งที่พบก็คือเกิดการช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นสูงมาก เพราะเมื่ออยู่แต่บ้านไม่รู้จะทำอะไรการช้อปปิ้งออนไลน์ก็เลยเป็นอีกหนึ่งหนทางผ่อนคลายหรือลดความเครียดที่เราทุกคนต้องกักตัวอยู่บ้านด้วยกันลง

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เผลอช้อปปิ้งออนไลน์ไม่น้อยในช่วงสัปดาห์นี้ เอาเป็นว่าของที่ไม่เคยคิดว่าจะซื้อออนไลน์อย่างหม้อหุงข้าวมาก่อนก็จัดมาแล้ว แล้วก็พบว่า “เออ…มันก็ง่ายดีนะ” และจากนั้นก็ช้อปแหลก ได้ทั้งเครื่องดูดฝุ่นไร้สายของ Xiaomi ได้หนังสือมากมายจากการช้อปออนไลน์ในช่วงนี้ แล้วเมื่อผมได้ลองถามพนักงานที่เอาสินค้ามาส่งก็พบว่ามีสินค้าให้ส่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากเดิมวันละ 50-60 กล่อง มาช่วงนี้ที่เรา Work from Home กลับมีสินค้าให้ส่งเพิ่มขึ้นเกินร้อยกล่องทุกวัน แล้วนั่นก็เลยพาผมเข้ามาสู่คำถามสำคัญคือ “ตกลงเรา Work From Home กัน หรือเรา Shop From Home กันแน่นะ?”

และก็นั่นแหละครับด้วยความขี้สงสัยในแบบฉบับที่ปรึกษาด้านการตลาด ผมก็เลยต่อยอดจากข้อสงสัยนี้ว่า ถ้าคนเราจะช้อปอะไรสักอย่างบนออนไลน์ เราก็น่าจะมีเวลาในการค้นหาส่วนลดก่อนจะช้อปได้ง่ายกว่าหน้าร้าน แล้วนั่นก็ทำให้ผมได้ค้นพบ Insight สำคัญจากการทำ Data Analytics ด้วยการใช้ Google Trends เครื่องมือที่เข้าถึง ​Search data ได้เต็มที่แบบฟรีจาก Google

ถ้าพร้อมแล้วเราลองมาดูกันนะครับว่าใครคือ 5 แบรนด์ที่คนไทยค้นหาโปรโมชั่นมากที่สุดตั้งแต่เรา Work From Home กันมา แล้วอีกหนึ่งสิ่งสำคัญก็คือผมได้ค้นพบ Key Insight ว่าคนไทยนั้นมี Pattern การค้นหาโปรโมชั่นที่เป็นช่วงเวลาเหมือนๆ กันในทุกวัน แถมยังมีช่วงเวลาที่แสนจะประหลาดมากในการค้นหาโปรโมั่ชอย่างที่ผมก็ยังตีโจทย์ไม่ออกว่าทำไม พร้อมแล้ว ไปเล่นกับ Data ด้วยกันเลยครับ แล้วคุณจะรู้ว่า Google Trends นั้นทำอะไรได้มากกว่าแค่เสิร์จเทียบแบรนด์ A กับ B หรือ C จริงๆ

How to use Google Trends เพื่อทำ Data Analytics จาก Search Data ขั้น Advance แบบที่ Google เองไม่เคยบอก

1. Search term(ข้อความค้นหา) ให้ข้อมูลที่ไม่คครอบคลุมเท่ากับ Topic(หัวข้อ)

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

บางคนอาจไม่ทราบว่าใน Google Trends นั้นมีรายละเอียดเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่มากมาย และหนึ่งในรายละเอียดแรกของเครื่องมือนี้ที่ส่งผลสำคัญมากต่อ Data ที่จะแสดงผลนั่นก็คือความแตกต่างระหว่างการเลือกแบบ ข้อความค้นหา หรือ Search term กับ หัวข้อ หรือ Topic นั้นต่างกันอย่างไร

จากรูปตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า เมื่อผมลองพิมพ์คำว่า โปรโมชั่น เข้าไปเป็นภาษาไทย เพราะคิดว่าคนไทยก็น่าจะต้องพิมพ์ภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษซิ ก็พบว่าระหว่างที่พิมพ์ไป Google Trends ก็จะแสดงตัวเลือกให้ผมออกมาสี่แบบดังนี้

  1. โปรโมชั่น (ข้อความค้นหา)
  2. ส่วนลดและส่วนยอมให้ (หัวข้อ)
  3. สวิส โปรโมชั่น ลีก (ลึกฟุตบอล)
  4. ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย (นักมวย)

เมื่อมานั่งพิจารณาดูดีๆ จะเข้าใจว่า Google Trends จะแสดงตัวเลือกที่น่าจะเกี่ยวข้องกับคำที่เราอยากรู้ให้เหมือนกับเวลาเราพิมพ์ข้อความลงไปบน Google Search ยังไม่ทันเสร็จมันก็จะแสดงผลตัวเลือกมากมายที่ใกล้เคียงขึ้นมาให้เราอัตโนมัติ แล้วจากการที่ผมพิมพ์คำว่า โปรโมชั่น ลงไป AI ของ Google Trends ก็เสนอตัวเลือกที่ดูจะเกี่ยวข้องกับคำๆ นี้มากที่สุด ซึ่งที่ดูแปลกไปหน่อยก็จะเป็นข้อ 3 กับ 4 ซึ่งที่ระบบเสนอข้อ 3 ที่เป็นลีกการแข่งขันฟุตบอลของสวิสมาก็เพราะ ชื่อลีกของประเทศนี้ชื่อ Promotion ครับ ส่วนข้อ 4 ก็มาจากชื่อในวงการของนักมวยคนนี้นั่นก็คือ ศรีสะเกษ นครหลวง โปรโมชั่น นั่นเองครับ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
Swiss Promotion League
Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ศรีสะเกษ นครหลวง โปรโมชั่น คือ ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย

นั่นหมายความว่าตอนนี้เราตัดตัวเลือกข้อ 3 กับ 4 ทิ้งไปเลย เรามาดูความแตกต่างกันระหว่างข้อ 1 กับ 2 ก็พอ ที่ดูเป็นหัวข้อที่น่าจะใช่ในสิ่งที่เราอยากรู้ในตอนนี้ นั่นคือคนไทยค้นหาโปรโมชั่นอะไรมากที่สุดในช่วง Work From Home 5 วันที่ผ่านมา

ทีนี้ถ้าคุณอยากเห็นความต่างด้วยตาตัวเองง่ายๆ ก็ลองเลือกทั้งแบบ 1 และ 2 เปรียบเทียบกันดูเลยครับ ว่าสองหัวข้อแต่คำเดียวกันนี้ต่างกันอย่างไรจาก Data

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ความแตกต่างระหว่าง Search term กับ Topic ใน Google Trends กดที่ลิงก์เพื่อดูข้อมูลเดียวกันได้ครับ > https://bit.ly/39sME70

จากกราฟคุณจะเห็นว่ากราฟเส้นสีแดงที่แสดง Search data ของ ส่วนลดและส่วนยอมให้ ที่เป็นหัวข้อ นั้นสูงกว่ากราฟเส้นสีน้ำเงินที่แสดงข้อมูลของ โปรโมชั่น ที่เป็นข้อความค้นหา แบบชัดๆ แต่จะเห็นว่าทั้งสองเส้นนั้นมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของจังหวะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของตัวกราฟ เรียกได้ว่ามีความสัมพันธ์กันค่อนข้างชัดเจน แต่คำถามสำคัญตอนนี้คือ แล้วทำไม หัวข้อ ถึงมีข้อมูลที่มากกว่า ข้อความค้นหาล่ะ?

เพราะ Topic(หัวข้อ) รวบรวมข้อมูลการค้นหา ที่อาจไม่ได้ใช้คำว่า โปรโมชั่น แบบตรงๆ เพียงอย่างเดียว เหมือนกับ Search term(ข้อความค้นหา) ถ้ายังสงสัยผมแนะนำให้คุณลองเลื่อนลงมาข้างล่างอีกนิดนึงในหน้านี้ครับแล้วคุณจะเข้าใจ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ข้อมูลของ Search data ที่เป็น โปรโมชั่น แบบ ข้อความค้นหา(Search term)
Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ข้อมูลของ Search data ที่เป็น โปรโมชั่น แบบ หัวข้อ(Search term) ที่ครอบคลุมไปถึงส่วนลดและข้อเสนออื่นๆ

เมื่อดูเผินๆ จะเห็นว่าในรายละเอียดที่แสดงผลของข้อมูลแต่ละหัวข้อนั้นมีความเหมือนกันมาก แต่ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นรายละเอียดเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ ตรงข้อที่ 7 กับ 8 ในภาพล่าง แผนที่สีแดงที่เป็นข้อมูลของ ส่วนลดและส่วนยอมให้ หรือ โปรโมชั่น แบบ หัวข้อ(Topic) นั่นเอง จากข้อมูลตรงนี้บอกให้รู้ว่า ถ้าเราเลือกเป็นหัวข้อเราจะได้ข้อมูลที่มากกว่าแค่ข้อความค้นหาตรงๆ ซึ่งบางครั้งใน context หรือความหมายเดียวกันเราอาจจะใช้คำที่ครอบคลุมมากกว่านั้น ก็เหมือนกับในหัวข้อส่วนลดและส่วนที่ยอมให้ ข้อมูลจะแสดงครอบคลุมไปถึง โปรโมชั่น ส่วนลด หรือคำว่า Promotion ภาษาอังกฤษ ให้อัตโนมัติ แต่ถ้าเราขึ้นไปดูข้อมูลภาพบนที่เป็นของ โปรโมชั่น ในรูปแผนที่สีน้ำเงินที่เป็น ข้อความค้นหา(Search term) จะเห็นว่าแม้จะมีหัวข้อที่เยอะกว่า แต่ก็จะแสดงแต่ข้อมูลที่เป็น โปรโมชั่น เท่านั้น(มีชื่อแบรนด์ตรงๆ หลุดมาบ้าง)

แต่เมื่อเราจัดหมวดหมู่หัวข้อทั้งหมดของการค้นหาของคนไทยก็ทำให้พบว่า ในช่วง Work From Home ภายใน 7 วันที่ผ่านมาคนไทยเราหาโปรโมชั่นอะไรบ้าง ซึ่งก็ประกอบด้วย

  1. MK Resturant
  2. 1112 หรือ พิซซ่า Company
  3. พิซซ่า 1150
  4. KFC
  5. Four Season
  6. ภัตตาคาร เชียงการีล่า
  7. Foodpanda

ทีนี้เดี๋ยวผมจะพาเราไปเจาะลึกดูกันในแต่ละโปรโมชั่นยอดนิยมที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home นั้นมี Insight เป็นอย่างไรจาก Data แต่ตอนนี้เราจะมาลองดูช่วงเวลากันก่อนว่า พฤติกรรมการค้นหาโปรโมชั่นต่างๆ ของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร กลับมาดูที่กราฟแรกกันอีกครั้งครับ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

ช่วงเวลาที่คล้ายกันทุกวันคือ 10.00 ของทุกวันจะเป็นช่วงที่คนค้นหาโปรโมชั่นต่างๆ เยอะที่สุด จากนั้นก็จะค่อยๆ ลดลงช้าๆ แล้วกลับมาเพิ่มอีกครั้งตอน 14.00 (สงสัยหาของหวานหรือสั่งขาไข่มุกกินแบบผมแน่ๆ) แล้วก็ตกลงและกลับมาเพิ่มอีกครั้งตอน 17.00 เข้าใจได้ว่าเป็นมื้อเย็นคนเลยเริ่มหาโปรโมชั่นรอ แต่ที่น่าแปลกใจคือถ้าสังเกตุจะเห็นว่าจะมีกราฟที่แหลมนิดๆ ในช่วงประมาณตี 2 ถึงตี 4 ของทุกวัน ส่วนในวันที่ 27 มีนาคม 2563 ที่มีการแหลมสูงมากตอนเที่ยงคืนนั่นก็เพราะ Lazada ปล่อยแคมเปญแจกส่วนลดนั่นเองครับ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

ตอนนี้เรารู้ Pattern behaviour จาก Search data แล้วว่าคนส่วนใหญ่ชอบค้นหาโปรตอน 10 โมง มีลักษณะการหิวเร็วกว่าวันไปทำงานประมาณหนึ่ง หรืออีกแง่มุมนึงคืออาจจะเพิ่งตื่นแล้วก็เลยสั่งข้าวกินก็เป็นได้ จากนั้นก็มาหิวอีกทีตอนบ่าย 2 หรืออาจจะเป็นมื้อกลางวันเวลา Work From Home ก็ได้ครับ แล้วก็มาอีกครั้งตอน 5 โมงเย็น ส่วนรอบดึกไม่รู้หาโปรอะไร ทำไมคนไทยนี่ขยันกินขยันช้อปกันจัง ไม่หลับไม่นอนกันหรือยังไงครับคุณ!

ทีนี้ผมจะพาคุณไปดูการเจาะลึกรายวันแบบเน้นๆ เอาข้อมูลจาก 5 วัน Work From Home ตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์มาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ซึ่งขั้นตอนวิธีการทำตามได้แบบนี้เลยครับ

เปรียบเทียบข้อมูลเดียวกันหลายๆ มิติ ด้วย Feature เปลี่ยนตัวกรอง(Filters) ด้วย Google Trends

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ลองทำตาม หรือกดตามลิงก์นี้เลยก็ได้ครับ > https://bit.ly/3bxOW6n

Google Trends ให้คุณสามารถใส่ข้อมูลที่ต้องการรู้เข้าไปได้มากสุด 5 ช่อง ซึ่งปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะเลือกใช้ใส่คำอื่นที่แตกต่างกันไปเพื่อเปรียบเทียบเทรนด์การค้นหา แต่ที่ผมจะสอนให้คุณลองทำตามคือเราจะวิเคราะห์ข้อมูลชนิดเดียวกัน แต่เลือกฟิวเตอร์ข้อมูลเดียวกันในด้านอื่นๆ บ้าง

จากรูปด้านบนคุณจะเห็นว่า ผมเลือกใส่หัวข้อ ส่วนลดและส่วนยอมให้ ที่หมายถึง โปรโมชั่น ทั้งหมด จนเต็มครบทั้ง 5 ช่อง ซึ่งเราจะเห้นว่ากราฟทั้งห้าสีนั้นซ้อนทับกันอย่างพอดีเป็นเส้นเดียวกัน นั่นก็เพราะเราเลือกที่จะให้ Google Trends แสดงข้อมูลเดียวกันทั้งหมด 5 เส้นนั่นเองครับ ทีนี้สิ่งที่เราจะทำต่อคือเราจะมาลองหมุน Data ดูในมุมมองอื่นบ้าง ซึ่งที่ผมจะชวนคุณมาดูนั่นก็คือเราจะลองหมุน Data การเสิร์จของคนไทยว่าในแต่ละวันแบบเต็มๆ เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนจรดห้าทุ่มของ 5 วัน จันทร์ถึงศุกร์ในช่วง Work From Home ของวันที่ 23-27 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ในแต่ละช่วงเวลาเจาะไปถึงขั้นหน่วยนาทีนั้น เวลาไหนของวันที่เราค้นหาโปรโมชั่นมากที่สุดครับ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

สิ่งที่คุณต้องทำต่อจากนี้คือเอาเม้าส์ไปวางบนกล่องข้อความ แล้วจะเห็นตุ่ม 3 อันเรียงกันแนวตั้งตามที่ลูกศรชี้ลง เมื่อกดเข้าไปจะมีกล่องข้อความดังกรอบสีฟ้ากรากฏมา มี 3 ตัวเลือกก็คือ นำออก แก้ไข และ เปลี่ยนตัวกรอง หรือถ้าคนใช้ภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นคำว่า Filters ครับ ให้คุณเลือกที่เปลี่ยนตัวกรองในตอนนี้

จากนั้นคุณก็เลือกตามภาพได้เลย เริ่มจากเลือกดูข้อมูลตามช่วงวัน จากนั้นก็เลือกแบบช่วงเวลาที่กำหนดเอง จากรูปผมก็เลือกเป็นรายวัน เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนวันจันทร์ยาวไปจนถึง 5 ทุ่ม ทำซ้ำแบบนี้ทุกอันจนครบ 5 วันจันทร์ถึงศุกร์ แล้วคุณก็จะได้เห็นกราฟหน้าตาประมาณนี้ครับ

หมายเหตุ ในการดูข้อมูลเจาะแบบรายชั่วโมงและนาทีนั้นคุณจะสามารถทำได้เฉพาะจากการเรียกดูย้อนหลังไม่เกิน 7 วัน ถ้าเกินวันที่ 7 ไปข้อมูลจะแสดงแบบรวมผลเต็มวัน จะไม่สามารถแยกดูช่วงเวลาโดยละเอียดได้

ดังนั้นสำหรับคนที่ต้องการจะเจาะดูเทรนด์การค้นหาที่ต้องการโดยละเอียด คุณต้องลงมาทำเองทุกสัปดาห์เก็บ data ด้วยตัวเองในตอนนี้ครับ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ค่อยๆ ทำตาม แต่ถ้าทำไม่ได้กดตามลิงก์นี้ไปดูครับ > https://bit.ly/2UKK5rS

คุณจะเห็นว่าในกราฟข้อมูลการค้นหาในแต่ละช่วงเวลาของ 5 วันเมื่อนำมาวางซ้อนทับกันที่เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนตรงของวันนั้น ไปสิ้นสุดที่ 5 ทุ่มของวันเดียวกัน ก็จะพบสองช่วงเวลาหลักๆ ที่มีการค้นหาโปรโมชั่นพุ่งสูงมากเป็น Pattern ครับ นั่นก็คือช่วงตีสี่ กับช่วงบ่ายสอง ส่วนช่วงกลางวันก็ไม่ได้พึ่งขึ้นสูงแบบพีคมาก แต่ก็เห็นเป็นแนวโน้มการกระจุดตัวของการค้นหาโปรโมชั่นต่างๆ เช่นเดียวกันครับ

ทีนี้เมื่อเราเลื่อนลงมาดูรายละเอียดการค้นหาโปรโมชั่นของแต่ละวัน เราก็จะเริ่มเห็น Insight บางอย่างที่ชัดขึ้นตามภาพด้านล่าง อย่างวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ที่แผนที่เป็นสีน้ำเงิน คนจะค้นหาโปร MK แล้วก็โปรไปรษณีย์ไทยในหน้าแรก

ส่วนในวันอังคารที่ 24 ที่เป็นแผนที่ประเทศไทยสีเหลือง(ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมสลับกัน ผมกรอกสลับกันแล้วขี้เกียจแก้ใหม่ให้เรียงถูกต้องรายวันครับ) ก็จะพบว่าคนยังคงค้นหาโปรโมชั่นของ MK สูงมากเหมือนเดิม พอผมเข้าไปดูในรายละเอียดทั้งหมดก็พบว่าวันนี้เป็นวันของ MK จริงๆ ครับ ไม่มีโปรอื่นติดเข้ามาเลย

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

ส่วนวันพุธที่ 25 มีนาคม ที่อยู่ตรงส่วนของแผนที่ประเทศไทยสีเขียว ก็จะเห็นว่าคนค้นหาโปรโมชั่นเป็ดของ Four Season กันเยอะมากจนกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แล้วก็เป็นโปรของ Lazada ที่คนน่าจะเตรียมตัวช้อปกันกระจาย จากนั้นก็เป็นเรื่องของส่วนลดค่าไฟฟ้า แล้วก็มีรหัสส่วนลดของ KFC เด่นขึ้นมาในวันนั้น

พอเข้าไปดูของวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม ที่เป็นส่วนแผนที่ประเทศไทยสีม่วงก็พบว่า คนค้นหาโปรโมชั่นส่วนลด Lineman ครั้งแรกเยอะมาก ตามมาด้วย Food Panda แล้วก็โฮมโปร แล้วก็น่าแปลกใจตรงมีรถยนต์ฟอร์ดเรนเจอร์ติดมาครับ

และสุดท้ายวันศุกร์ที่ 27 วันสุดท้ายของการ Work From Home อย่างจริงจังครั้งแรกในชาติไทย เราพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ค้นหาโปรส่วนลดของ Lazada ตามมาด้วยไก่ทอด Bonchon เป็นอันดับต้นๆ ครับ

เมื่อนำหัวข้อการค้นหาทั้งหมดมาสรุปก็สรุปได้ว่า 5 โปรโมชั่นส่วนลดที่คนไทยค้นหามากที่สุดในรอบ 5 วันที่ผ่านมาเป็นดังนี้

  1. MK
  2. Pizza (รวมทั้ง 1112 และ 1150 ก่อน)
  3. KFC
  4. Food Panda
  5. Lazada

ที่เลือกสรุปแค่ 5 หัวข้อก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำ Data Analytics ด้วย Google Trends ในลำดับถัดไป และผมก็ทำการเอา Data ทุกหัวข้อที่ได้มาค้นหาดูแล้วพบว่าหัวข้ออื่นๆ ที่ปรากฏไม่ได้มี Search data ที่โดดเด่นมากพอเมื่อเทียบกับข้อมูลตัวอื่นครับ

ทีนี้เราจะมาดูกันว่า เมื่อเปรียบเทียบ Search data ย้อนหลัง 7 วัน จาก 5 โปรโมชั่นที่คนไทยชอบค้นหานี้ โปรของแบรนด์ไหนหรือร้านอะไรที่คนไทยค้นหามากที่สุดครับ

Top 5 Promotions ที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home ครั้งแรก 23-27 มีนาคม 2563

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

จาก Data จะเห็นว่าคนไทยค้นหา mk มากที่สุดในวันอังคารที่ 24 มีนาคม 2563 พีคที่สุดตอน 10.00-11.00 น. แล้วก็มาพีคใกล้เคียงตอนเช้าอีกทีตอน 17.00 น. ครับ จะเห็นว่ากราฟเส้นสีแดงของ mk เป็นแบบนี้ทุกวัน แต่ในวันที่สองอัตราการค้นหา mk นั้นลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบจากวันแรก จากข้อมูลตรงนี้วิเคราะห์ได้สองแบบ 1. คนเบื่อโปรเป็ด MK แล้ว กับสองคือคนส่วนใหญ่จำได้แล้วว่า MK มีโปร

แต่ในขณะเดียวกันที่มาแรงถัดจาก MK ก็คือ Lazada จะเห็นว่ากราฟเส้นสีฟ้าที่เป็นข้อมูลของ Lazada นั้นช่วงที่คนค้นหาสูงที่สุดคือตอนเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 27 สูงเท่ากับตอนที่คนไทยค้นหาโปรเป็ด MK ทีเดียวครับ แล้วที่น่าสนใจของกราฟ Lazada คือคนค่อยๆ กลับมาเสิร์ชหา Lazada อีกครั้งในตอนเช้า เริ่มตั้งแต่ 6.00-11.00 ในวันนั้น แล้วก็ตกลงเล็กน้อยก่อนจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อยตอน 13.00 แล้วก็ตกลงไปกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งตอน 22.00 ครับ

ดังนั้นถ้าวันศุกร์ที่ผ่านมาลูกน้องคุณไม่ค่อยมีกระจิตกระใจทำงาน ก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับเพราะว่าพวกเขากำลังค้นหาโปรดีๆ จาก Lazada อยู่นั่นเอง

ซึ่งในรายละเอียดของ Search data ทั้ง 5 หัวข้อ Promotion ที่คนไทยเสิร์จหามีรายละเอียดดังนี้ครับ

โปรเป็ด MK 1 แถม 1 มาแรงแซงทุกโค้ง

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

จาก 25 หัวข้อมีการค้นหาของ mk ที่เกี่ยวกับโปร 1 แถม 1 เต็มไปหมด แต่ในขณะเดียวกันก็น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่โทรไม่ติดแล้วก็เลยเสิร์จหาว่าคนอื่นโทรไม่ติดเหมือนตัวเองมั้ย หรือควรโทรไปที่เบอร์ไหน มีเล็กน้อยที่ถามว่าแล้วเข้าไปซื้อที่ร้านได้มั้ย สรุปได้ว่าโปรเป็ด 1 แถม 1 ของ mk นั้นช่างโดนใจคนไทยเหลือเกิน

KFC ถ้าดูจากกราฟสีเหลือดีๆ นี่น่าจะเป็นเบอร์ 2 ที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง WFH ที่ผ่านมา

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

เมื่อดูจาก Search data ด้วย Google Trends จะเห็นว่าคนสนใจโปรโมชั่นวิงแซ่บ 19 ชิ้น 199 บาทหนักมาก แต่ก็พบว่ามีแอบเปลี่ยนใจลังเลไปสั่งเป็ด MK นิดหน่อย หรืออาจจะสั่งมากินควบคู่กันก็ได้นะถ้ามองอีกมุมนึง ถ้าดูจาก Data ในหน้าถัดไปก็จะพบว่ามีการสนใจไปค้นหา Yayoi delivery หรือ Pizza ต่อเล็กน้อย

พิซซ่ากับโปรโมชั่น 1 แถม 1 (เกือบ)ตลอดกาล

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

เมื่อดูจาก Data จะเห็นว่าพอคนเสิร์จหาพิซซ่านั้นส่วนใหญ่จะหาของ The Pizza Company เพราะค้นหาเบอร์ 1112 ติดอันดับมากๆ ตามมาด้วยการส่งฟรี แล้วก็ 1 แถม 1 ดังนั้นพอรู้แบบนี้แล้วน่าจะต้องมีการใช้โปรโมชั่นส่งฟรีให้มากขึ้น ถ้าคนไทยไม่ชอบเสียค่าส่งกันนะครับ

ส่วนพิซซ่าที่เป็น Pizza Hut 1150 นั้นไปอยู่ในอันดับที่ 9 และ 10 และก็หลังๆ ไปแล้ว สรุปได้เบื้องต้นว่าพิซซ่าที่คนไทยชอบหาก็คือ The Pizza Company ส่วนโปรที่คนไทยชอบมากในตอนนี้ก็คือโปรส่งฟรีนั่นเองครับ

Food Panda เห็นเงียบๆ แต่แอบมีการค้นหาเท่ากับพิซซ่าทั้งหมดเลยนะครับ

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก

เมื่อดูในรายละเอียดการค้นหาเกี่ยวกับ Food Panda จะพบว่าคนสนใจโปร Bonchon 1 แถม 1 บน Food Panda มากครับ แล้วก็ตามมาด้วยเชสเตอร์กริลล์ ไม่อยากจะบอกว่าเมนูไก่ทอดน้ำปลานี่ของโปรดผมเลย ส่วนรายละเอียดของ Data หน้าท้ายๆ ที่เหลือของ Food Panda คือคนสนใจที่จะสมัครขับมากขึ้น แล้วก็มีการสนใจที่จะเอาร้านมาลงใน Food Panda เพิ่มขึ้นครับ

Lazada สั่งกันทั้งวันตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงบ่าย 3 ตกลง Work From Home หรือ Shop From Home กันแน่นะเรา

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
กราฟเส้นสีฟ้าคือเทรนด์การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ Lazada ทั้งหมดของคนไทย

และ Data สุดท้ายที่เกือบลืมไปเลยนั่นก็คือ Lazada ถ้ากลับขึ้นไปดูที่กราฟจะเห็นว่าการค้นหาที่เกี่ยวกับ Lazada ทั้งหมดของคนไทยนี่สูงกว่าทุกอาหารด้วยซ้ำ แถมยังเริ่มพีคตั้งแต่ช่วง 8 โมงเช้า เรียกได้ว่าตื่นมาก็พร้อมช้อป (ทำงานก่อนมั้ยพี่!) จากนั้นก็เริ่มมาสุดตอนบ่าย 3 แล้วก็ค่อยๆ ตกลงไปเรื่อยๆ และสิ่งที่คนไทยอยากรู้จาก Lazada มากที่สุดคือโปรแจก 500 ว่าตกลงจริงมั้ยที่แจก สรุปของฟรีใครก็อยากได้ ยิ่งบอกว่าแจกเงินนี่ทำให้คนไทยอยากได้กันถ้วนหน้าจริงๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการทำ Data Analytics ด้วย Google Trends ที่เอา Search data มาวิเคราะห์ดูว่าใน 5 วัน Work From Home ที่ผ่านมาคนไทยค้นหาโปรอะไรบ้าง และเราก็พบว่า 4 ใน 5 เป็นของกิน ส่วน Lazada เป็นรายเดียวที่มาแรงตลอดทั้งวันเลยจริงๆ แซงทุกอาหารไปหมด

ทีนี้ตอนแรกว่าจะปิดบทความด้วยเท่านี้แหละ แต่พอทำไปทำมากลับรู้สึกคันอีกหน่อยเพราะอยากรู้ว่าตกลงแล้วในหัวข้ออาหารประเภทพิซซ่านี่แบรนด์ไหนกันแน่ที่คนไทยค้นหามากกว่ากัน ถ้าอย่างนั้นเรามาลองดูเปรียบเทียบกันทุกแบรนด์หลัก ว่าระหว่าง The Pizza Company, Pizza Hut และ Domino Pizza แบรนด์ไหนนะที่ถูกค้นหามากที่สุดในช่วง WFH ที่ผ่านมาครับ

The Pizza Company นำโด่งทุกพิซซ่า

Case study การทำ Data analytics จาก Google Trends แล้ววิเคาะห์ Search data จนพบ top 5 โปรโมชั่นที่คนไทยค้นหามากที่สุดในช่วง Work From Home เป็นครั้งแรก
ลองกดจากลิงก์ตามไปดูก็ได้ครับ > https://bit.ly/2vWWX5H

จากการวิเคราะห์ Search data ย้อนหลังไปในช่วง Work From Home ที่ผ่านมาจะเห็นว่า The Pizza Company เป็นอะไรที่คนไทยค้นหามากที่สุด ตามมาด้วย Pizza Hut แบบเบาๆ ส่วน Domino Pizza นั้นมีการค้นหาน้อยที่สุดครับ

แต่น่าสนใจตรงช่วงเวลาค้นหา เพราะทุกพิซซ่าจะถูกค้นหามากที่สุดในช่วง 5 โมงเย็นเป็นประจำ ถ้านำข้อมูลตรงนี้มาเทียบกับ MK จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ค้นหาในช่วงมื้อเที่ยงมากกว่ามื้อเย็น ส่วน KFC กับ Food Panda จะออกไปเท่าๆ กัน คือคนค้นหาเช้าเย็นไม่ต่างกันมากนัก จากการทำ Data Analytics ลงมาที่ Search data ของกลุ่มอาหารประเภทพิซซ่าทำให้พบว่า คนไทยนิยมกินพิซซ่าเป็นมื้อเย็นมากกว่ามื้อกลางวันอย่างเห็นได้ชัดครับ

ส่วนใน Data ที่เป็นรายละเอียดของแต่ละแบรนด์เมื่อนำมาวิเคราะห์ดูก็พบว่า The Pizza Company คนจะค้นหาว่า 1112 โทรไม่ติดเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร่วม 10 เท่า แล้วตามมาด้วยเรื่องของโปรโมชั่น 1 แถม 1

แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อดูจาก Search data ของฝั่ง Pizza Hut กลับพบว่าคนค้นหาการส่งฟรีมากกว่าโปร 1 แถม 1 สรุปได้ว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มก็ถูกปลูกฝังมาด้วยโปรโมชั่นที่แตกต่างกันนั่นเองครับ ดังนั้นถ้าทีมการตลาดของ Pizza Hut อยากได้ลูกค้าของ The Pizza Company คุณอาจต้องยอมทำโปรประเภท 1 แถม 1 ไปแย่งชิงลูกค้าเค้ามาให้มากขึ้น

แต่พอมาดู Domino Pizza นั้นมีความน่าสนใจบางอย่าง เพราะจาก Data บอกให้รู้ว่าพวกเขามีความสนใจที่จะค้นหาอาหารประเภทอื่นที่ไม่ใช่แค่พิซซ่าเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Bonchon Swensen หรือ KFC แต่ที่น่าสนใจคือมีข้อมูลการค้นหาประเภท ร้าน Domino Pizza ใกล้ฉัน นั่นบอกให้รู้ว่าแบรนด์นี้น่าจะหาร้านกินได้ยาก(ก็ยากจริงๆ แหละ) แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่ยังรักรสชาติแบบ Domino Pizza อยู่นั่นเอง พวกเขาไม่ค่อยค้นหาโปรของ Domino Pizza เท่าไหร่ ที่พวกเขาอยากรู้คือมีเมนูอะไรให้พวกเขากินบ้าง

และทั้งหมดนี้ก็คือการทำ Data Analytics จาก Search data ด้วยเครื่องมือง่ายๆ ที่เรียกว่า Google Trends เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความนี้ ที่ใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงในการทำ ที่เริ่มต้นจากความคันและนึกสนุกขึ้นมา บทความนี้คงจะพบให้คุณเห็นวิธีการใช้ Google Trends อีกแบบหนึ่งที่คุณอาจไม่เคยใช้ ไว้ครั้งหน้าผมจะเอาการวิเคราะห์ข้อมูลในแง่มุมอื่นๆ ด้วยเครื่องมือที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้มาแชร์ให้ฟังอีกรอบครับ

อ่านบทความการทำ Data Analytics โดยการตลาดวันละตอนต่อ กับการวิเคราะห์เทรนด์ #Saveปีโป้ม่วง ว่าตกลงแล้วคนพูดถึงปีโป้สีไหนมากที่สุดครับ > https://everydaymarketing.co/knowledge/data-analytics-case-study-save%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87/

Data Analytics Case Study คุณคิดว่าคนพูดถึงปีโป้สีอะไรมากที่สุด?

Google Trends ใช้ให้เป็นแล้วจะเห็น Insight มากมาย > https://trends.google.com/trends/?geo=US

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *