รีวิวประสบการณ์ดู Netflix แบบ Interactive ครั้งแรก
หลัง Netflix ได้สร้างรายการที่มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ (interactive films) เพื่อให้ผู้ชมมีประสบการณ์ที่มีความสนุกสนานและสมจริงมากขึ้น จากที่นั่งจนเมื่อยก้น จกป๊อปคอร์นหมดถัง รายการลักษณะนี้จะสร้างปฏิสัมพันธ์ในช่วยให้ผู้ชมมีการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือเลือกทิศทางของเรื่องราว ลองดูวิดีโอตัวอย่างของรายการนี้ก่อนแล้วค่อยอ่านต่อนะครับ
สำหรับคนที่ทำงานด้านดิจิทัลมานานแล้วพอได้ยินว่า Netflix ทำรายการแบบ Interactive ที่ให้คนดูสามารถเลือกการดำเนินเรื่องเองได้ว่าจะให้ตัวละครในทีวีนั้นทำอะไร จะไปซ้ายหรือขวา จะกรรไกรหรือกระดาษ นั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ซักเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ
หรืออย่างน้อยก็ในความคิดผมคนหนึ่งแหละที่พอได้ยินแบบนี้แล้วไม่รู้สึกตื่นเต้นซักเท่าไหร่ เพราะส่วนตัวผมเคยเล่นแบบนี้ใน YouTube มานานน่าจะเกือบสิบปีมาแล้วด้วยซ้ำ กับคลิปวิดีโอจีบสาวที่นักศึกษาไทยผู้หนึ่งเคยทำเมื่อนานมาแล้ว
แต่พอผมได้ลองกับตัวถึงรู้ว่าประสบการณ์การ Interactive แบบเต็มรูปแบบที่ Netflix มีให้นั้นไม่เหมือนกับการดูทีวีแบบทั่วไปโดยสิ้นเชิง
เพราะการได้นอนดูทีวีบนเตียง หรือแม้แต่นั่งดูบนโซฟาที่บ้านกับจอทีวีใหญ่ๆแบบเต็มตาและสามารถสั่งเรื่องราวได้ดั่งใจนั้นเป็นคนละเรื่องกับที่เราเล่นบนหน้าจอคอมเลยครับ
ด้วยขนาดของจอภาพ ด้วยอริยาบทในการรับชม และด้วยการสั่งการที่ง่ายดายด้วยรีโมทของสมาร์ททีวี ผมอธิบายได้แค่นี้เพราะที่เหลือคุณต้องลองเล่นด้วยตัวเอง แต่สิ่งนึงที่ผมบอกได้เลยว่ามันต่างกันโดยสิ้นเชิง และทำให้การรับชมรายการในรูปแบบที่ตัวเองชอบอยู่แล้วในแบบ Interactive นั้นก็ยิ่งเพลิดเพลินยิ่งขึ้นไปอีกสามระดับ
การสร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับผู้ชมทำให้ติดต่อกับรายการและผู้ดำเนินรายการได้อย่างใกล้ชิด ผู้ชมสามารถสำรวจเนื้อเรื่องในมุมมองที่แตกต่างได้ ไม่ต้องตามที่ทีมโปรดักชั่นวาง Story ให้ดู และมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวมันช่างให้ความรู้สึกแบบเต็มที่หรือจะเรียกว่า Immersive ก็ว่าได้
Immersive ในทางการตลาดคืออะไร ต่อยอดในแง่ของธุรกิจได้อย่างไรบ้าง ?
ขอคั่นรายการซักครู่ครับ เพราะถ้าจะกล่าวถีงความรู้สึกที่สุด ๆ นักการตลาดและแบรนด์ต่างมีเป้าหมายอยากให้แคมเปญ โฆษณาเราสร้างมันได้เพราะเป็นประสบการณ์ที่ลูกค้าจะจดจำไปอีกนาน การให้ผู้ใช้มีความมุ่งมั่นและติดใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น โดยเข้าร่วมในประสบการณ์นั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสื่อต่างๆ
เช่น augmented reality หรือ virtual reality เพื่อสร้างภาพลวงตา ซึ่งทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่แทบจะจริงจนมีความชัดเจนและความสมจริง
และเหมือนกับประสบการณ์การ Interactive แบบเต็มรูปแบบที่Netflix
นอกจากนี้คำว่า Immersive ยังถูกใช้ในวงการโฆษณาครับ เรียกว่า Immersive Ads ซึ่งอยากให้นักการตลาดทำความรู้จักเอาไว้ เพราะข้อดีหลายอย่าง ดังนี้:
1. Memorial: ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าต้องมุ่งมั่นและลุ้นนิดหน่อยเพื่อติดตามคอนเทนต์ของโฆษณา ทำให้ลูกค้าอินตามเราได้ ก็จะตามมาด้วยการกระตุ้นให้จดจำและให้ความความสนใจใน Key message ที่แบรนด์อยากจะสื่อ
2. ผู้บริโภคมีประสบการณ์สมจริง: ด้วยความสมจริงของ Immersive Ads ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือสัมพัธ์กับสินค้าหรือบริการได้อย่างใกล้ชิด การมีประสบการณ์ที่สมจริงนี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความสนใจในสินค้าหรือบริการ เช่น โรงภาพยนต์ ScreenX เครือเมเจอร์
3. ผลลัพธ์การตลาดที่ดีขึ้น: โฆษณาที่มีความน่าสนใจจะมีผลดี ที่จะช่วยกระตุ้นการสร้างความจำในใจผู้บริโภค นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลและวัดผลได้เพื่อปรับปรุงและปรับแก้โฆษณาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
4. ได้เปรียบมากกว่าเดิมแบบจุก ๆ : Immersive Ads มีโอกาสที่จะมีผลต่อองค์กรที่ดีกว่าโฆษณาทั่วไปครับ เนื่องจากมีการสร้างความเชื่อมโยงให้แบรนด์กับลูกค้าใกล้กันมากขึ้นและสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้บริโภคในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน
5. นวัตกรรมและความท้าทาย: การใช้ Immersive Ads เป็นเครื่องมือการตลาดที่เป็นนวัตกรรมและท้าทายนักการตลาดในการสร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งอาจสร้างความตื่นเต้นและความสนุกสนานให้กับลูกค้า เน้นน ๆ ไปที่โฆษณาที่มีคุณภาพสูงครับ
แม้เน็ตฟลิกจะเริ่มจากให้คนดูสามารถเลือกการดำเนินเรื่องเอง แต่ไม่เหมือนกับการดูทีวีแบบทั่วไป เพราะให้ความรู้สึกแบบเต็มที่ ซึ่งนี่เพียงจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เน็ตฟลิกจะสามารถต่อยอดได้อีก และไม่ได้มีแค่ 5 ข้อนี้แน่นอน เพราะเรากำลังจะพูดถึงการอัปเกรด Consumer Experience ให้เหนือกว่าคู่แข่งผ่านโฆษณาและเทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
และประโยชน์จากการที่มีผู้ชมเข้ามาชมรายการ มาเลือกทางเลือกในหนังที่สร้างปฏิสัมพันธ์อาจเป็นตัวช่วยในการเก็บข้อมูล และ Netflix สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับปรุงและปรับแก้หนังใหม่ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่อไปให้ดีขึ้นได้อีกด้วย แบบนี้เราจะมีอัลกอริทึมที่ฉลาดล้ำมาคอยเป็นเลขาช่วยแนะนำหนังให้ตรงใจอีกขั้นแล้วล่ะซิเนี่ย
และทั้งหมดนี้ทำให้ผมคิดว่าถ้าวันหนึ่งข้างหน้ารายการทีวีส่วนใหญ่กลายเป็น Interactive ที่ไม่ต้องสั่งการด้วยรีโมท ด้วยการคลิ๊ก แต่เป็นการสั่งการด้วยเสียงหรือความคิดได้ เมื่อสองเทคโนโลยีที่สามารถส่งเสริมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ก็จะยิ่งทำให้การรับชมทีวีในวันหน้าคงยากจะคาดเดาได้ และเมื่อนั้นเราคงต้องนิยามคำว่า content กับ tv กันใหม่อีกครั้งแล้วล่ะครับ
ใครที่มี Netflix ลองเล่นดูแล้วเป็นยังไง ชอบไม่ชอบแชร์กันได้นะครับ
บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ
อีกเคสที่ผมชอบ เพราะสร้างประสบการณ์เจ๋ง ๆ ให้ลูกค้าได้ว้าวมาก นั่นคือโปรเจค Personalization เพื่อแนะนำหนังตาม Mood ของเจ้าของบัญชีไปเลย ไม่ต้องนั่งเลือกหนังกันเป็นชั่วโมง ๆ สุดท้ายไม่ทันได้ดูเลยต้องนอน ตื่นเช้าไปทำงานซะแล้ว ค่าสมาชิกรายปีจ่ายเพื่อความสบายใจล้วน ๆ จ่ายไปก่อนเดี๋ยวได้ดูเอง แต่แคมเปญนี้เค้ามาเพื่อแก้ Pain point นี้แหละครับ
“ซึ่งเป็น Personalization tactics ที่จะไม่ใด้อิงมาจากแค่หนังเรื่องก่อนหน้าที่คุณดู หรือหนังที่คุณอาจจะชอบแล้ว แต่เป็นการทำระบบแนะนำหนังหรือซีรี่ส์ตามอารมณ์หรือ Mood โดยอาศัยการพึ่งพาฐาน Data API จากแพลตฟอร์มที่ร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่คุณบ่นบนโซเชียลอย่าง Twitter / สิ่งที่คุณสั่งทานในแต่ละมื้อผ่านแอปสั่งอาหารอย่าง Swiggy / และที่ขาดไม่ได้เลยกับแพลตฟอร์มที่ทำงานด้วยอารมณ์อยู่แล้วอย่างแพลตฟอร์มฟังเพลง Spotify”
จะเห็นว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มาไกลจากการนำตัวเองเข้าไปอยู่ในใจลูกค้า และใช้ Data นำทางไม่ให้ธุรกิจหลุดจากเทรนด์ ทั้งยังดันตัวเองเป็นผู้นำตลาดอีกด้วยครับ