Data Research Insight สำรวจจักรวาลผัดหมี่ คนไทยชอบกินผัดหมี่แบบไหน

Data Research Insight สำรวจจักรวาลผัดหมี่ คนไทยชอบกินผัดหมี่แบบไหน

Data Research Insight สำรวจจักรวาล ผัดหมี่ มาดูว่าคนไทยชอบกินผัดหมี่แบบไหนกัน หนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่มีเล่มพรีผ่านมาแล้วทั้ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด อยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนครับ

สำหรับเล่มนี้เราจะมาเจาะ Data Research Insight ผัดหมี่ เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมการกินผัดหมี่ คนไทยชอบผัดหมี่แบบไหน เส้นอะไร เนื้อสัตว์แบบไหน รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาเจาะจากกระแสบนโลกออนไลน์กันครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน

โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data ผัดหมี่ คือ Social Listening : Mandala ครับ เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่

เพราะทุกวันนี้ใคร ๆ ก็ใช้ช่องทางออนไลน์ Social Media ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะบ่นหิว บ่นร้านอาหาร หรือรีวิวก็มีให้เห็นตลอดเวลา โซเชียลเลยกลายเป็นแหล่งข้อมูลให้เราทำรีเสิร์จแบบเข้ากับยุคสมัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีกครับ

ซึ่งโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้เลย

ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลยครับ

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา insight จาก Social Data ออกมาครับ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ เป็นการตั้งคีย์เวิร์ดเพื่อให้ Mandala ไปไล่กวาดโพสต์ที่มีคีย์เวิร์ดที่เราตั้งมาครับ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ เพราะเราจะต้องแทนตัวเองเป็นลูกค้า ต้องคิดแทนเค้าว่าเค้าจะพิมพ์หาคำว่าผัดหมี่ยังไง สะกดแบบไหนได้บ้าง โดยใช้คำคีย์เวิร์ดที่ผมใช้คือ “ผัดหมี่” และ “ผัดหมี้”

โดยทำการ Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/06/2023 – 31/05/2024 หรือประมาณ 12 เดือนย้อนหลังครับ โดยมีข้อมูลประมาณ 4,956 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok ข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ครับ

STEP 3 Cleansing Data

ในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอน Cleansing Data เพื่อลบสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ออกไปครับ

อย่างไรก็ตามสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้เลยครับ > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่เราคลีนข้อมูล เราจะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอที่จะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงเมนูผัดหมี่ น้ำจิ้ม ประเภทเนื้อ หรือ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผัดหมี่ชิ้นมีข้อมูลแบบไหนบ้าง

และอยากนำมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ครับ 

ตอนนี้เราทำได้แค่อ่านข้อมูลพื้นฐานที่เป็นภาพใหญ่ ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมครับ

Data Research Insight ผัดหมี่

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงผัดหมี่ จะอยู่บนเพจ Facebook เป็นสัดส่วนมากที่สุดถึง 46% ตามมาด้วย Youtube 32% Twitter 9% TikTok 8% และ IG 6% ครับโดยรูปแบบของคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะเป็นการสอนทำผัดหมี่ครับ ไม่ว่าจะเป็นการสอนทำผัดหมี่สูตรพิเศษ หรือจะเป็นการสอยชนทำผัดหมี่สำหรับขาย

การมีส่วนร่วม (Engagement) – ยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagament มีสัดส่วนมากถึง 93% ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคอนเทนต์สอนทำผัดหมี่ครับที่คนให้ความสนใจ และเข้ามาดู

การมีส่วนร่วม ลบยอดวิวยูทูป (Engagement ignore view) – เราจะเห็นศักยภาพในแง่ของ Engagement ของแพลตฟอร์มอื่น ๆ เมื่อ ignore view ครับ ทำให้รู้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการสร้าง Engagement มากที่สุดครับ

นี่คือช่วงเวลาที่คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับผัดหมี่ได้รับยอด Engagement ที่สูงครับ โดยคอนเทนต์ที่ได้รับยอด Engagement ที่สูง ส่วนใหญ่จะเป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการสอนทำผัดหมี่ และผัดหมี่สีชมพูครับ เพราะว่ามีความน่าดึงดูดและสร้างความน่าสนใจให้กับคนดูได้ค่อนข้างเยอะนั่นเอง

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นว่าภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงเรื่องผัดหมี่คู่กับเรื่องอะไร ใช้แท็กไหนนั่นเองครับ เช่น ผัดหมี่โคราช ส้มตำ

มาดูโพสต์ที่ได้รับ Engagement ที่สูงที่สุดในแต่ละช่องทางกันดีกว่าครับ ว่าคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับคอนเทนต์แบบไหนกัน

STEP 5 Categorize Data 

การทำ Categorize Data เป็นการจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจนที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจอะไร ๆ ด้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ซึ่งโจทย์การทำ Categorize Data ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีนข้อมูลครับ อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนครับ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ได้เลยครับ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้นะครับครับ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความเลยครับ ^^

STEP 6 Data Visualization

เนื่องจากข้อมูลที่มีจำนวนมาก ผมแนะนำว่าควรจัดเรียงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้นและเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ โดยสามารถทำในโปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่ตนเองถนัดได้เลยครับ

Data Research Insight ผัดหมี่

กันครับว่าข้อมูลที่ผมแบ่งออกมาตาม Category มีกลุ่มอะไรบ้าง โดยผม Analysis เกี่ยวกับการพูดถึงผัดหมี่ สามารถแบ่งได้ 5 กลุ่มตามภาพด้านบนเลยครับ

  1. ประเภทผัดหมี่ 37%
  2. ประเภทเนื้อสัตว์ 33%
  3. ประเภทเส้น 24%
  4. ผัดหมี่ในอุดมคติ 6%

ต่อไปผมจะพามาเจาะลึกข้อมูลแต่ละกลุ่มกันนะครับ ว่าจะเจอข้อมูลที่เกี่ยวกับผัดหมี่แบบไหนบ้าง

Data Research Insight ผัดหมี่

Top 7 ประเภทผัดหมี่ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด

  1. ผัดหมี่โคราช 36%
  2. ผัดหมี่โบราณ 20%
  3. ผัดหมี่กระเฉด 15%
  4. ผัดหมี่ซั่ว 10%
  5. ผัดหมี่สีชมพู 9%
  6. ผัดมีกะทิ 8%
  7. ผัดหมี่พิมาย 2%

ประเภทผัดหมี่ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดบนโซเชียลมีเดียก็คือผัดหมี่โคราชครับสัดส่วนถึง 36% เนื่องจากผัดหมี่โคราชก็เป็นอาหารคล้าย ๆ กับอาหารประจำจังหวัด หรืออาหารขึ้นชื่อของจังหวัดโคราชครับ เช่นเดียวกันกับสายไหมอยุธยา หรือว่าลาบยโสนั่นแหละครับ

ทำให้ผัดหมี่โคราชและมีการกล่าวถึงกันมากในโซเชียลมีเดียครับนึกถึงผัดหมี่ ต้องผัดหมี่โคราช ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวหรือว่าจะเป็นการสอนทำ เป็นรีวิวว่าผัดหมี่โคราชที่ไหนอร่อยอะไรทำนองนี้ครับ ด้วยเหตุนี้เองเนี่ยเพิ่งส่งให้ผัดหมี่โคราชเนี่ยมีเมนชั่นที่สูงที่สุดครับ

รองลงมาก็จะเป็นทางด้านของผัดหมี่โบราณครับ ค่อนข้างที่จะก็มีการกล่าวถึงที่เยอะเช่นเดียวกัน ครับสัดส่วน 20% ส่วนใหญ่เนี่ยจะเป็นคอนเทนท์สอนทำผัดหมี่โบราณ หรือว่าเป็นการรีวิวว่าผัดหมี่โบราณที่ไหนอร่อยผัดหมี่โบราณที่ถูกต้องคือที่ไหน

@koratlifestyle

กระเพราคั่วเผ็ดถึงใจ เมนูเด็ดผัดหมี่กระเฉด ร้านคั่วไฟแดง by เชฟพี่เสือ หลังโรงรับจำนำ ข้างเทศบาลนคร #โคราช #tiktokพากิน #กระเพราคั่วแห้ง #หมี่กระเฉด #คั่วไฟแดงbyเชพพี่เสือ

♬ For cooking and work videos. Marimba is an impressive song – Junya Ota
Data Research Insight ผัดหมี่

Top 3 ประเภทเนื้อสัตว์ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด

  1. เนื้อหมู 44%
  2. กุ้ง 39%
  3. เนื้อไก่ 17%

ประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดบนโซเชียลมีเดีย แน่นอนครับว่าหนีไม่พ้นเนื้อหมู หลัก ๆ เป็นเพราะส่วนใหญ่เนื้อหมูจะเป็นวัตถุดิบในการทำผัดหมี่โคราชครับ โดยเฉพาะหมูสามชั้นนั่นเอง รองลงมาก็จะเป็นกุ้งนะครับส่วนใหญ่ในผัดหมี่กระเฉด และรองลงมาก็จะเป็นเนื้อไก่นะครับ อันนี้ก็สำหรับคนที่กินคลีน แต่อยากกินผัดหมี่ คิดถึงผัดหมี่ก็จะเลือกเนื้อไก่เป็นเนื้อสัตว์ในการประกอบอาหารนั่นเองครับ

Data Research Insight ผัดหมี่

Top 4 ประเภทเส้นผัดหมี่ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด

  1. เส้นหมี่โคราช 44%
  2. เส้นหมี่ขาว 27%
  3. เส้นหมี่ซั่ว 16%
  4. เส้นจันท์ 1% 

ประเภทเส้นผัดหมี่ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดบนโซเชียลมีเดีย อันดับที่หนึ่งเส้นหมี่โคราช 44% เนื่องจากเส้นหมี่โคราชเป็นส่วนประกอบหลักของผัดหมี่โคราชที่เป็นผัดหมี่ประเภทที่มีการกล่าวถึงอันดับที่หนึ่งของโซเชียลมีเดีย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใจถ้าเส้นหมี่โคราชที่เป็นส่วนประกอบหลักของผัดหมี่โคราชจะเป็นอันดับหนึ่งของเส้นที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดครับ

ส่วนใหญ่ก็จะมีทั้งโพสต์ที่เป็นสอนทำอาหารที่มีการกล่าวถึงเส้นหมี่โคราชหรือว่าจะเป็นร้านที่มีการขายเส้นหมี่โคราชสำเร็จรูป รองลงมาเป็นเส้นหมี่ขาว 27% นะครับ เส้นหมี่ขาวก็จะเป็นเส้นหมี่ที่เป็นส่วนประกอบหลักของทั้งผัดหมี่โบราณและผัดหมี่สีชมพูครับ บริบทการกล่าวถึงก็คล้าย ๆ กับเส้นหมี่โคราชก็จะเป็นการกล่าวถึงในวิธีการทำอาหารแล้วก็มีโพสต์ที่เกี่ยวกับการขายเส้นหมี่ขาว

@kinkaokan.co

จานนี้บอกเลยว่าแสบ…เอ้ย แซ่บม๊ากกกก #ผัดหมี่คั่วพริกสด 🍝🍳💥 เส้นหมี่ขาวนุ่มๆ ผัดเข้ากันกับไข่ และพริกขี้หนูซอยแบบจุกๆ บอกเลยว่ามันฟินสุดๆ อร่อยจัดจ้านโดใจ ชนิดที่ไม่ควรพลาดอย่างแรว๊งงงงง ⚠️อัตราส่วนเครื่องปรุงแม่อ้อทำตามรสที่ชอบนะจ๊ะ…สามารถปรับลด หรือเพิ่มเติมตามความชอบของแต่ละคนได้เลย ดูไม่ทัน…มาต่อกันทางนี้ เลยค่า 👇🏻 – ไข่ไก่ 2 ฟอง – ไข่เป็ด 2 ฟอง – กระเทียมทุบ 2 ช้อนโต๊ะ – พริกขี้หนูสวนซอย 55 กรัม – เส้นหมี่ขาวลวก 200 กรัม – น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ – ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ – ซีอิ๊วดำ 2 ช้อนโต๊ะ – น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ – ต้นหอมซอยตามชอบค่ะ #กินข้าวกัน #แจกสูตร #อร่อยแซ่บ #อร่อยบอกต่อ #ห้องครัวtiktok #tiktokพากิน #fypシ゚viral

♬ พี่ชอบหนูที่สุดเลย (I Like You The Most) Feat.VARINZ – PONCHET
Data Research Insight ผัดหมี่

Top 3 ผัดหมี่ในอุดมคติที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด

  1. เส้นเหนียวนุ่ม 71%
  2. เส้นไม่ติด 22%
  3. เส้นไม่แฉะ 7%

มาดูในเรื่องของผัดหมี่ในอุดมคติกันบ้างดีกว่าครับ คนส่วนใหญ่ในโซเชียลมีเดียเนี่ยค่อนข้างที่จะชอบผัดหมี่ที่มีเส้นที่เหนียวนุ่ม มองว่าเส้นที่เหนียวนุ่มเนี่ยเป็นผัดหมี่ที่ดีผัดหมี่ที่ถูกต้อง แล้วก็คลิปรีวิววิธีการทำผัดหมี่ต่าง ๆ นา ๆ ก็มักจะใช้คำว่าเส้นเหนียวนุ่มเปิดคลิป

แล้วก็คอนเทนท์ในการโฆษณาผัดหมี่ของร้านอาหารหลาย ๆ ที่ก็ชอบใช้คำว่าเส้นเหนียวนุ่มเหมือนกันครับ สามารถบอกได้ว่าเส้นเหนียวนุ่มเนี่ยก็อาจจะเป็นผัดหมี่ในอุดมคติ เป็นผัดหมี่ที่ดี ผัดหมี่ที่ถูกต้องสำหรับใครหลาย ๆ คนครับลองลงมาก็จะเป็นเส้นไม่ไม่ติดครับ 22% ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบผัดหมี่ที่เป็นอุดมคติที่คนมองหาเช่นเดียวกัน

  1. สะใภ้เกาหลี ซอเเฟนเพจ – 61.4K Engagement
  2. กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking – 35.8K Engagement
  3. สอนลูกทำอาหาร by แม่โอ๋ – 24.8K Engagement
  4. Korat : เมืองที่คุณสร้างได้ – 15.3K Engagement
  5. ต้อมซ่า พากินโชว์ – 15.3K Engagement
  1. กับข้าวกับตา – 1.82M Engagement
  2. ดีกว่ากินดิน Eatdincooking – 1.71M Engagement
  3. ตุ้ยลุยครัว_Tui.u.ri.cooking – 1.68M Engagement
  4. Guy Haru Family – 1.28M Engagement
  5. ครัวบ้านนอก คนบ้านๆ – 891K Engagement
  1. annhomecooking -18.5K Engagement
  2. yifangchang – 15.1K Engagement
  3. koendanai10.9K Engagement
  4. checkinnon – 8.8K Engagement
  5. foodiegirlthailand – 7.9K Engagement

Data Research Insight สำรวจจักรวาลผัดหมี่

AI-Generated Image by Shutterstock (Prompt: A stir-fried single-dish meal with a variety of ingredients and flavors, featuring thin and delicate rice noodles as the main ingredient. Virtual image)

การวางแผนทำธุรกิจที่มีผัดหมี่ ควรเน้นผัดหมี่โคราชเป็นเมนูหลัก เนื่องจากได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดบนโซเชียลมีเดีย โดยใช้เส้นหมี่โคราชและเนื้อหมูคุณภาพดี นอกจากนี้ ควรมีเมนูผัดหมี่โบราณ ผัดหมี่กระเฉด และผัดหมี่ซั่ว เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ใช้เส้นหมี่ที่เหนียวนุ่มและไม่แฉะเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า มากไปกว่านั้การสร้างคอนเทนต์รีวิวและสอนทำผัดหมี่ออนไลน์ โดยเฉพาะบน Facebook จะช่วยดึงดูดความสนใจและเพิ่มการรับรู้ของร้านในวงกว้างครับ

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอครับ

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยครับ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาครับ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้ครับ

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21

คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง

เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง

  1. Set Objective & Research Keywords
  2. Set Social Listening & Collecting Data
  3. Cleansing Data
  4. Conversation Analysis
  5. Categorized Data
  6. Visualization
  7. Summary Insights
  8. Strategy & Recommendation

ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลยครับ

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณ คือ...