เปิดจักรวาล Data Research Insight ครัวซองต์ ที่ไม่ใช่แค่ครัวซองต์ธรรมดา ๆ อีกต่อไป หนึ่งในเมนูที่ใครหลายคนต้องรู้จัก สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านเบเกอรี่ หรือคาเฟ่ และร้านอาหาร อยากให้ลองอ่านรีพอร์ตเล่มนี้ เพราะมันจะช่วยให้ทุกคนได้เห็นครัวซองต์ในมิติที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การกินครัวซองต์ของคนไทย ประเภทของครัวซองต์ที่ถูกนำไปทำให้มีความวาไรตี้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เห็นถึงโอกาสที่ธุรกิจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้นั่นเองครับ
ซึ่งในรีพอร์ตเล่มนี้เราจะใช้ข้อมูลจาก Social Listening Tools ที่ทำหน้าที่ช่วยรวบรวม Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ครัวซองต์’ อย่างเจาะจง แล้วค่อยลงลึกในการเจาะข้อมูลในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับครัวซองต์
นี่ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่ผ่านมาแล้วหลายเมนู ตัวอย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้ อยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลมากให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอน
และโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้
ซึ่งในการหา Data insight เราจะใช้ 8 ขั้นตอนกับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมา
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้
ตัว Keyword ที่ใช้คือ ครัวซอง, คัวซอง และ Croissant ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/09/2023 – 31/08/2024 รวมทั้งสิ้น 11 เดือนย้อนหลังกับข้อมูลจำนวน 11,795 Mentions ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 11,795 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วครับ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data กันก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคน
อย่างโพสต์ “ออกคอลใหม่ แอบหิวอีกละ เหมือนครัวซอง” ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “ครัวซอง ” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อน
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดของแต่ละคน
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการ Cleansing Data เสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับครัวซองต์ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเอง
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่า ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง ‘ครัวซองต์’ มากน้อยแค่ไหน
Social Data Stat Overview
เรามาดูในมิติของแพลตฟอร์มที่แบ่งเป็น Mention, Engagement และ By Engagement ignore view กันก่อน เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘ครัวซองต์’
By Mention : จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง ครัวซองต์ มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ Instagram, TikTok, X, และ YouTube ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ เชื่อกู กูแดกมาแล้ว ซึ่งโพสต์วิดีโอการลองไปกิน Flat Croissant หรือครัวซองต์แบบแบนBy Engagement : ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง Ping.pantira ที่เป็นคลิปวิดิดีโอกินครัวซองต์ใหญ่ยักษ์By Engagement ignore YouTube view : เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ และ TikTok เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งก็เป็นคลิปกินครัวซองต์ใหญ่ยักษ์จากช่อง Ping.pantira เหมือนกันSocial Data By Timeline
มาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นได้เลยว่าแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึงอย่างโดดเด่นคือ TikTok และ Instagram โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะมาจากดาราและอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง คุณหมาก ปริญ โพสต์รูปตัวเองในไอจีกินครัวซองต์ หรือ foodie.munchies เพจไอจีที่จะรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารก็มารีวิว Flat Croissant
แสดงให้เห็นว่าอินฟลูเอนเซอร์ มีอิทธิพลในการดึงดูดให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมใน Content ที่เกี่ยวข้องกับครัวซองต์ แล้วถ้าหากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าครัวซองต์ที่มี Engagement เยอะจะไม่ใช่ครัวซองที่มีลักษณะและรูปทรงแบบธรรมดาอีกด้วย
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #Croissant เป็นหลัก เ นอกจากนั้นก็จะเป็นประเภทของครัวซองต์และสถาน เช่น Timberring ที่เป็นหนึ่งในประเภทของครัวซองต์ที่มีลักษณะเป็นวงกลม และ #คาเฟ่เมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนยังคงต้องการหาร้านตามสถานที่ต่าง ๆ
ดังนั้น สำหรับใครที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ และหากจะโปรโมทร้านของตัวเองก็ต้องติดแท็กทั้งประเภทสินค้า และโลเคชั่นของร้านด้วยเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด หรือถ้าแบรนด์หรือผู้ประกอบการท่านใดที่อยากสืบเสาะ Insight ด้วยตัวคุณเอง สามารถนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเลือก Keyword เพื่อดึงข้อมูลใน Social listening ได้
Top Post by Platform
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับโต๊ะจีนว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลนั่นเอง ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราก็ต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง มีประเด็นไหนที่น่าสนใจ และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูล และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนครับ ซึ่งใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
หลังจากกระบวนการตั้งแต่ 1-6 ข้อมูลจะพร้อมให้เราใช้ประโยชน์แล้วค่ะ ผ่านการ Summary & Insight / Recommendation โต๊ะจีน ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ครับ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง
Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 11,795 Mentions คลีนข้อมูลที่ไม่ต้องการบางส่วนออกแล้ว นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง
ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงครัวซองต์ จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้จากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการ
ประเภทของครัวซองต์ 37% รสชาติของทุกประเภท 44% ช่วงราคาของครัวซองต์ 7% เมนูที่คนมักจะสั่งมากินคู่กับครัวซองต์ 7% พฤติกรรมในการกินครัวซองต์ 5% Insight #1 Multiverse ครัวซองต์เกินควบคุมไปแล้ว
โดยในส่วนแรงจะขอเริ่มจากประเภทของครัวซองต์โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่มีลักษณะภายนอกหรือกระบวนการทำมีความคล้ายกัน และประเภทที่มีลักษณะภายนอกหรือกระบวนการทำที่แตกต่างกัน โดยจากการใช้ Social Listening พบว่าประเภทที่แตกต่างกันถูกพูดถึงกว่า 55% และประเภทที่คล้ายกัน 45% ซึ่งมีสัดส่วนที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยทางผู้เขียนจะขอลงลึกในแต่ละประเภทในส่วนถัดไป
โดยในประเภทที่คล้ายกันจะเห็นว่าหากมองเพียงแค่ลักษณะภาย เรายังคงมองออกว่าเป็นครัวซองต์ ซึ่งแบ่งได้อีก 3 แบบตามไซส์ คือ ธรรมดา, จิ๋ว, และใหญ่ยักษ์ โดยพบว่าแบบธรรมมดามาเป็นอันดับหนึ่ง 80% รองลงมาคือแบบจิ๋ว 17% และอันดับสุดท้ายคือ ใหญ่ยักษ์ 3% จะเห็นว่าแบบธรรมดามาเป็นอันดับแรกซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นเมนูพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี
แต่ความน่าสนใจคือ ไซส์ใหญ่ยักษ์ที่ถึงแม้ว่าจะมาเป็นอันดับสุดท้าย แต่หากมองในแง่ Engagement จะพบว่าครัวซองต์ไซส์นี้กลับได้รับความสนใจเป็นอย่าง ซึ่งก็อาจจะอนุมานได้ว่า หากร้านต้องการที่จะสร้างความแตกต่างที่ไม่ได้เน้นเรื่องรสชาติ ก็สามารถใช้เรื่องไซส์หรือขนาดมาเป็นจุดขายได้เช่นกัน
และในประเภทที่แตกต่างกัน จะเห็นเลยว่าถ้ามองจากภายนอก หลายคนคงไม่รู้ว่าขนมเหล่านี้มีความเป็นครัวซองต์อยู่แม้จะเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของครัวซองต์มากขึ้น โดย 5 อันดับที่ถูกพูดถึงมากที่สุกคือ Timberring 50%, Flat (ครัวซองต์แบบแบน) 28%, Cruffin (ครัวซองต์+ Muffin) 5%, Taiyaki (ใช้แป้งครัวซองต์) 5% และ Croffle (ครัวซองต์+วัฟเฟิล) 5%
จากข้อมูลก็สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นของผู้บริโภค ดังนั้นผู้ประกอบการก็สามารถดึงครัวซองต์บางประเภทไปทำเมนู Signature หรือ เมนูตามโอกาสพิเศษต่าง เพื่อสร้างความสดใหม่ให้กับร้าน (Brand Fresh) และก็สามารถนำมาเป็นจุดขายของร้านก็ได้เหมือนกันครับ
Insight #2 รสชาติของครัวซองต์จากทุก Multiverse
โดยในส่วนนี้ทางผู้เขียนได้เห็นรสชาติที่ค่อนข้างจะหลากหลาย จึงได้จุดกลุ่มแล้วแบ่งเป็น 4 รสชาติหลัก โดยพบว่ารสหวานมาเป็นอันดับหนึ่ง 39% รองลงมาคือรสธรรมดา (Plain) 35% และ รสชาติพิเศษ 17% รสคาว 9% ตามลำดับ โดยทางผู้เขียนจะขอลงลึกใน 3 รสชาติคือ หวาน คาว และพิเศษ เพื่อใหเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยขอเริ่มจากรสหวาน โดยรสที่พบมาก 5 อันดับ คือช็อกโกแลต 37%, อัลมอนด์ 25%, สตรอว์เบอร์รี่ 17%, ชาเขียว 17% และคุกกี้ 9% ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่จะทำครัวซองต์รสหวานก็จะต้องมีเมนูที่มีรสชาติแบบนี้อย่างน้อย 2-3 เมนู นอกจากนี้จะเห็นว่าทุกรสชาติสามาถปรับให้เข้ากับครัวซองต์ได้หลากหลายประเภท หากสามารถผสมผสานกับรสชาติเหล่านี้ก็สามารถที่จะเพิ่มความหลากของครัวซองต์ได้เหมือนกัน
ในส่วนของรสคาวจะเห็นว่าแฮมชีสมาเป็นอันดับที่หนึ่ง 61% ซึ่งมากกว่าครึ่งของรสคาวทั้งหมด แสดงว่าหากร้านไหนที่ต้องการทำรสคาวก็จำเป็นที่จะต้องมีรสชาตินี้ไว้ในร้านด้วยเช่นกัน และจะสังเกตุเห็นว่ารสคาวนั้นส่วนใหญ่จะมาจากครัวซองต์ประเภทธรรมดาที่มีลักษณะปกติทั่วไป ซึ่งต่างจากรสหวานที่มีหลากหลายประเภทมากกว่า ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ร้านจะนำรสคาวไปผสมผสานกับครัวซองต์ประเภทอื่น ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างนั่นเอง
ในส่วนของรสชาติพิเศษที่แยกออกมาจากรสอื่น ๆ ก็เพราะในรสชาตินี้เป็นรสชาติที่แต่ละร้านเป็นคนคิดขึ้นเองและจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งบางเมนูก็กลายเป็น Signature ของร้าน บางเมนูก็มีตามเทศกาลที่สำคัญ หรือแม้แต่การ Collaboration กับแบรนด์อื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความน่าตื่นเต้นและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้อีกด้วย
Insight # 3 ครัวซองต์กินกับอะไรก็ไม่ผิด
เมนูกินคู่กับครัวซองต์ที่มาเป็นอันดับก็คงหนีไม่พ้นกาแฟ 42% แต่ที่น่าสนใจคือ ซุปเห็ดทรัฟเฟิล 39% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพูดถึงร้าน Copper ที่ไม่ใช่ร้าน Bekery สะท้อนให้เห็นว่าการที่มีเมนูที่กินคู่กันที่นอกเหนือจากเครื่องดื่มอาจจะสามารถสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามของกินคู่กันก็ยังคงเป็นเครื่องดื่ม ดังนั้นการทำ Cross-selling ระหว่างครัวซองตืกับเครื่องดื่มก็ยังคงเป็นวิธีที่ช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
Insight # 4 ความคุ้มค่าที่ไม่ใช่แค่คุ้มราคา
ในส่วนของช่วงราคาพบว่า ราคาที่ต่ำกว่า 50 บาท มาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่ 42% รองลงมาคือ 50-100 บาท 39% 101-150 บาท 23% 151-200 บาท 4% มากกว่า 200 บาท 3% ตามลำดับ ถึงแม้ว่าราคาที่ต่ำกว่า 50 บาท จะมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าเรามองในปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะพบว่าในช่วงราคาที่ต่ำกว่า 50% ตัวครัวซองต์ส่วนใหญ๋จะขายตามห้าง Supermarket หรือร้านทั่วไป
ซึ่งต่างจากช่วงราคาตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป ซึ่งมีจุดร่วมคล้าย ๆ กัน จากในภาพจะเห็นเลยว่าในช่วงราคาที่เหลือหากรวมกันก็จะมีสัดส่วนมากถึง 58% ความน่าสนใจคือทุกช่วงราคามมีปัจจัยที่เหมือนกันอยู่คือ ความใส่ใจในวัตถุดิบที่สะท้อนผ่านตัวครัวซองต์ บรรยากาศของร้าน และความแปลกใหม่ของตัวครัวซองต์
ซึ่งก็บอกได้ว่าช่วงราคาก็สามารถที่จะแบ่งกลุ่มลูกค้าได้นั่นเอง ดังนั้นถ้าเป็นกลุ่มแรกก็จะเน้นในเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ถ้าในกลุ่มที่ 2 จะต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ประเด็น เพราะคนกลุ่มนี้ได้มองข้ามการเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับราคาไปแล้ว แต่เป็นการเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับแทนนั่นเอง
Insight # 5 พฤติกรรมในการกินครัวซองต์
ในส่วนของพฤติกรรมจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักคือ ลักษณะการซื้อและมื้อที่ทาน โดยในลักษณะการซื้อจะพบว่าส่วนใหญ่คนยังมาทานครัวซองต์ที่ร้าน 83% ในขณะที่การสั่งกลับมีอยู่ 17% สะท้อนว่าการให้ความสำคัญกับหน้าร้านยังคงมีความสำคัญ ซึ่งในส่วนนี้ก็มีสอดคล้องกับช่วงราคาตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไปด้วยเหมือนกัน ดังนั้นผู้ประกอบการที่อยากให้คนมาทานที่ร้านก็ควรให้ความสำคัญกับอีก 2 ปัจจัยที่บอกในข้างต้นเหมือนกัน
ในส่วนของมื้อที่ทาน มื้อเช้ามาเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็น 75% รองลงมาคือมื้อบ่าย 14% และมื้อเย็น 11% สะท้อนให้เห็นว่าการทานมื้อเช้าของผู้บริโภคอาจต้องการความรวดเร็วและง่ายในการทาน ซึ่งอาจนำไปปรับใช้กับการวางกลุ่มเป้าหมายของร้าน เช่นอยากจะเจาะกลุ่มพนักงานที่เร่งรีบในตอนเช้า ต้องมีลักษณะร้านยังไง ช่วงราคาต้องเท่าไหร่เป็นต้น หรือการนำไปวางแผนยิง Ad ถ้าคนทานมื้อเช้าบ่อยควรยิง Ad เวลากี่โมง ซึ่งก็จะช่วยให้ผลัพธ์มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
Copper Beyond Buffet 34.1K EngagementCafe Story รีวิวคาเฟ่ ทุกวัน 21.4K EngagementKANOMPRANG 19.6K Engagementเชื่อกู กูแดกมาแล้ว 17.1K EngagementMine สะใภ้ตุรกี 13.1K EngagementTOP5 Instagram Account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
mark_prin 184.2K Engagementkanomprangofficial 91.8K Engagementeatleklek 66.9K Engagementjamesboulangerie 62.9K Engagementfoodie.munchies 48.3K EngagementTOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
ping.pantira 292.9K Engagementshibacook 196.8K Engagementhappybeingsai 111.8K Engagementgingubchun 43.4K Engagementninebenzchannel 39.9K EngagementTOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
Ping.pantira 2.20M ViewGo Went Go 353.5K Viewรีวิว อารายก๊อน 191.3K ViewFoodballStylee 45.2K ViewLydia Sarunrat Deane 12.9K ViewData Research Insight ครัวซองต์ แอนด์ เดอะ มัลติเวิร์ส
ทั้งหมดนี้คือ Data Research Insight ครัวซองต์ โดยเราจะเห็นเลยว่าแค่ครัวซองต์แบบธรรมดา ๆ มันคงจะไม่น่าสนใจอีกต่อไป เพราะมันมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น Influencer รสชาติ ราคา สถานที่ ฯลฯ ดังนั้นผู้ประกอบอาจจะต้องมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อที่จะให้ร้านของตัวเองนั้นแตกต่างแต่ก็ต้องโดนใจด้วยเหมือนกัน
และนี่ก็คือทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘ครัวซองต์’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight ครัวซองต์กันครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคน แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI , MHA Makro , LINE MAN wongnai ,SME D BANK , Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication
Coming Soon….
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > #Dataอร่อยร้อยร้าน
_ _ _ _ _
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยครับ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาครับ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
Loading…
ตัวอย่าง Social listening ผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/data-research-insight-brownie-by-social-listening/