การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย by Spotify

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย by Spotify

ต้องยอมรับเลยว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วงการ T-pop บ้านเรานั้นเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ล่าสุด Spotify ได้เปิดตัวโปรแกรม RADAR Thailand 2024 ซึ่งเป็นเพลย์ลิสต์ที่รวบรวมเพลงจากศิลปินไทยหน้าใหม่ที่มีสไตล์หลากหลายและโดดเด่น

นอกจากนี้ในช่วงปี 2020 – 2023 ยังเห็นการเติบโตของ #T-Pop บนแพลตฟอร์ม TikTok ที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า โดยมีการใช้งานถึง 2,000 ล้านครั้งทั่วโลก และ 1,000 ล้านครั้งในประเทศไทย ดังนั้น การตลาด T-POP จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มแฟนคลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ก็มาพร้อมกับการแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลและแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีตัวเลือกมากมาย การสร้างแบรนด์ (Branding) จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันช่วยสร้างความแตกต่างและดึงดูดแฟนคลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะพาทุกคนไปสำรวจวิธีการสร้างแบรนด์ในวงการ T-Pop ที่น่าสนใจ

Brand Identity: หัวใจของการสร้างแบรนด์ศิลปิน T-POP

อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างแบรนด์ เพราะมันช่วยกำหนดทิศทางว่าแบรนด์จะมีลักษณะเป็นอย่างไร จะแข่งขันกับใคร (Brand Positioning) และกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คือใคร (Target Audience) รวมถึงยังเป็นกรอบในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารไป เพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Brand Image) ให้เป็นที่จดจำลึกลงไปในความทรงจำของกลุ่มเป้าหมาย

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย

ในวงการดนตรี หากศิลปินหรือวงดนตรีไม่มีอัตลักษณ์หรือตัวตนที่ชัดเจน และไม่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายและแฟนคลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้ศิลปินหรือวงดนตรีนั้นถูกลืมเลือนไปในท้ายที่สุด

การสร้างแบรนด์ศิลปิน: แค่เสียงเพลงอาจไม่เพียงพอ

แม้ว่าศิลปินจะมีความสามารถและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แต่ในยุคปัจจุบันนี้มีผู้คนมากมายที่มีความสามารถเช่นกัน การที่ศิลปินสามารถสื่อสารความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ จะช่วยแย่งชิงพื้นที่ในจิตใจของคน ๆ นั้น หากมองในมิติของแบรนด์ เราเรียกสิ่งนี้ว่า การสื่อสารแบรนด์ (Brand Communication)

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย

Brand Communication: อีกหนึ่งเสียงที่ส่งออกไป

การสื่อสารแบรนด์เป็นเหมือนการส่งข้อความที่สะท้อนอัตลักษณ์และตัวตนของศิลปิน โดยปกติเราอาจคุ้นชินกับโลโก้ สโลแกน บรรจุภัณฑ์ แต่ในมุมของศิลปินอาจหมายถึง เนื้อเพลง สไตล์เพลง และมิวสิควิดีโอ ซึ่งเป็นเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบรนด์ แต่มีอีกหนึ่งเครื่องมือที่หากใช้งานร่วมกับการสร้างแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) ซึ่งเรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ ในทุกภาคธุรกิจ เรามาดูตัวอย่างศิลปิน T-Pop ที่มีการสื่อสารที่แสดงออกถึงความเป็นแบรนด์ รวมถึงกลยุทธ์ที่ใช้ เช่น วง BUS จากรายการ 789 Survival

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย

รายการ 789 Survival มีคอนเซปต์ที่แตกต่างจากรายการ Survival ทั่วไป โดยไม่กำหนดจำนวนสมาชิกในวงที่ชัดเจน แต่ต้องการค้นหากลุ่มที่ลงตัวที่สุดในจำนวน 7 หรือ 8 หรือ 9 คน ทำให้เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเดินทางของผู้แข่งขันในวงการดนตรี ผ่านการสร้างรูปแบบรายการที่มีเอกลักษณ์และเน้นความจริงใจ ทำให้แฟนคลับรู้สึกเชื่อมโยงและเข้าใจศิลปินมากขึ้น ด้วยการที่วง BUS มีเรื่องราวที่ของวงและตัวศิลปิน

และตลอดการเดินทางนั้นก็มีแฟนคลับที่คอยสนับสนุนมาตลอด ยิ่งทำให้เกิด Relationship ระหว่างศิลปินและกลุ่มแฟนคลับ ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Fandom ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะคอยสนับสนุนศิลปินไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเซิร์ต การซื้อสินค้าของวงหรือศิลปิน หรือบางครั้งเราจะเห็นกลุ่มคนที่ออกมาปกป้องศิลปินผ่านซื่อโซเชียลมิเดีย พฤติกรรมเหล่านี้ในทางการทำ Branding เราเรียกได้ว่าความจงรักภักดี หรือ Brand Loyalty

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย

Collaboration: ร่วมมือกับแบรนด์สินค้าเพื่อสะท้อนตัวตนของศิลปิน

ศิลปินสามารถสร้างภาพลักษณ์และตัวตนผ่านการร่วมมือกับแบรนด์สินค้าได้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของตัวศิลปิน ซึ่งในที่นี้อาจเรียกว่า Brand Image หรือภาพจำของวงและศิลปิน ซึ่งจะสะท้อนอัตลักษณ์ของวงใด้อย่างชัดเจน เช่น ABSOLUTE SIAM X HOLY NUMBER 7 X 789 ที่ร่วมออกแบบเสื้อผ้าสะท้อนความเป็นวัยรุ่นที่เต็มไปด้วยพลัง ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ของศิลปินได้อย่างชัดเจน

การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย

นอกจากนี้ วง BUS ยังได้ทำ Music Collaboration ร่วมกับน้ำดื่มแบรนด์ Nestle ในเพลง “ฟีลลิ่งแบบว่าอู้วว!” ที่มีแนวเพลงสดใส เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งวัยรุ่น ทำให้เห็นคาแรกเตอร์ที่ชัดเจนและสะท้อนไปถึงอัตลักษณ์ของวงได้อย่างดี

โซเชียลมีเดีย: สร้างความใกล้ชิดกับกลุ่มแฟนคลับ

เมื่อดูช่องทางการสื่อสารของวง BUS ในแต่ละช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok และ YouTube เราจะเห็นถึงความต่อเนื่อง (Consistency) ในการสื่อสารทั้งในแง่ของเนื้อหาและความถี่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แฟนคลับจดจำพวกเขาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยทำให้กลุ่มแฟนคลับรู้สึกใกล้ชิดกับกลุ่มศิลปินมากขึ้น ยิ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้น

ล่าสุดที่ปล่อยผลงานผ่าน YouTube ในเพลง “แค่ไหนแค่นั้น (NO MATTER WHAT)” ในขณะเดียวกันบน Facebook และ Instagram ก็มีกิจกรรมร่วมสนุกชวนให้แฟน ๆ มาคอมเมนต์พร้อมติด #แค่ไหนแค่นั้นChallenge และนำแฮชแท็กนี้ไปชวนคนมาร่วมเต้นผ่านทาง TikTok ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงจุดสัมผัส (Touchpoint) บนสื่อออนไลน์ได้อย่างครอบคลุมและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

จากตัวอย่างจะเห็นว่าวง BUS มีการนำเสนออัตลักษณ์ผ่านการทำ Branding โดยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ยิ่งทำให้ทิศทางของวงมีความชัดเจน มีภาพจำว่าเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีความสดใส มองหาความท้าทายในการทำตามความฝัน หากผู้อ่านได้ยินชื่อวง BUS แล้วนึกถึงภาพจำที่ได้กล่าวไปข้างต้น นั้นแสดงว่าการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้นประสบความสำเร็จ

และหากเกิดกลุ่มแฟนด้อมที่พร้อมจะสนับสนุนวงไม่ว่าจะผ่าน การซื้อสินค้า การเข้าร่วมกิจกรรม หรือแม้แต่การออกมาปกป้องศิลปิน นับว่าเป็นการประสบความสำเร็จที่มากกว่าเพียงการจดจำ แต่เป็นการสร้าง Action ของกลุ่มแฟนคลับ วง BUS จึงเป็นตัวอย่างของศิลปิน T-POP ที่ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้ Branding และ Marketing ได้อย่างชัดเจน

สรุป

การตลาด T-POP สามารถนำไปสู่สร้างแบรนด์ในวงการ T-Pop ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคที่การแข่งขันสูงและผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย การมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนและการสื่อสารแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ศิลปินหรือวงดนตรีสามารถสร้างความแตกต่างและดึงดูดแฟนคลับได้

การใช้เครื่องมือทางการตลาดและการสร้างสรรค์เนื้อหาที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ศิลปินสามารถสร้างความทรงจำที่ยั่งยืนในใจของผู้บริโภค นอกจากนี้ การร่วมมือกับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ และการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับแฟนคลับ ยังเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างแบรนด์ศิลปินในยุคดิจิทัล

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ การตลาด T-POP สู่การสร้าง Branding ของวงศิลปินไทย ผู้เขียนหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย โดยส่วนตัวผู้เขียนมองว่าในยุคที่ทุกคนต่างมีความต้องการที่แตกต่างกัน การที่นำความรู้ด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้กับการสร้างแบรนด์ จะทำให้ศิลปินเป็นที่จดจำและยังสามารถเป็นทิศทางในการวาง คาแรกเตอร์ศิลปิน แนวเพลง กิจกรรมของศิลปิน ได้อีกด้วย

Source, Source, หนังสือ Principle of Branding โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นฤมล กิมภากรณ์

อยากอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Panuwit Payawang

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณ คือ...