SCB SME

SME ต้องรอด! SCB SME พร้อมเคียงข้างธุรกิจคุณในทุกช่วงเวลา

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ธุรกิจต่าง ๆ โดนพิษโควิด-19 เล่นงานระลอกแล้วระลอกเล่า บางธุรกิจทนพิษบาดแผลไม่ไหว ล้มหายตายจากไปก็มาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนที่เหลือรอดก็ต้องรับศึกหนักอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ทำให้ SME หลายรายต้องเร่งปรับตัวเพื่อหาทางรอดและประคองธุรกิจให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

ปรับตัวยังไงให้ได้ไปต่อ

วันนี้เราจะมาดูกันว่า SME ไทยจะต้องปรับตัวแบบไหนถึงจะสามารถฝ่าวิกฤตครั้งนี้ ด้วยหลัก 4 ป. เพื่อที่จะให้ Scale-up ต่อไปได้อย่างมั่นคง

ปลุกตัวเองด้วยการตรวจเช็กความพร้อมของธุรกิจ

ก่อนจะปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงเวลาแบบนี้ SME ควรเช็กความพร้อมของธุรกิจเราให้ดีก่อน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพทางการเงิน สินค้าภายในคลัง หรือว่ากำลังคน ว่าส่วนไหนขาด ส่วนไหนครบ ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนวางแผนกลยุทธ์ เพราะกลยุทธ์จะรอดหรือจะร่วง ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในพวกนี้นี่แหละ

ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ทันสถานการณ์

ปัญหาที่พบมากสำหรับคนทำธุรกิจ SME ก็คือ การขาดความเข้าใจในการวางกลยุทธ์การตลาด  ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จุดเด่น-จุดด้อยของสินค้าและบริการ หรือลักษณะของธุรกิจ ซึ่งในสถานการณ์ที่ไม่คงเส้นคงวาอย่างนี้ SME ต้องมองให้ออกว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วเราต้องปรับกลยุทธ์ไปในทิศทางไหนให้สอดรับกับความต้องการที่เปลี่ยนไปนั้น

ปัญหาอยู่ตรงไหนแก้ตรงนั้น

นอกจากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดแล้ว เราต้องดูว่าปัญหาที่เกิดกับธุรกิจเรานั้นคืออะไรแน่ เพื่อที่จะแก้ไขได้อย่างถูกจุด โดยใช้หลักการง่าย ๆ ก็คือ ตรงไหนอาการหนัก ให้แก้จุดนั้นก่อนโดย SME ต้องพิจารณาเป็นข้อๆ ไป ดังนี้

เงินหมุนเวียน – ดูว่ากระแสเงินสดที่เรามี สามารถอยู่ได้อีกกี่เดือน

กำไร – เมื่อเทียบจากธุรกิจประเภทเดียวกันในช่วงนี้ กำไรของเราเป็นอย่างไรบ้าง 

หนี้สิน – เช็กอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ดูว่าบริษัทของเรามีภาระหนี้สินมากน้อยแค่ไหน

คน – คนในที่นี้หมายถึงทั้งคนในบริษัทของเราว่ายังพร้อมไปต่อกับเราไหม และอีกคนหนึ่งก็คือลูกค้าว่ายังรู้สึกพึงพอใจในสินค้าและบริการของเราอยู่หรือเปล่า

ไปถึงฝันได้ ต้องใช้ตัวช่วย

การที่ธุรกิจ SME จะเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น จำเป็นจะต้องมี Partner ที่ดีเพื่อช่วยสนับสนุนและประคับประครองให้เจ้าของธุรกิจสามารถต่อยอด และพัฒนาธุรกิจให้เติบโต แข็งแรง จนสามารถก้วข้ามผ่านวิกฤตไปได้แบบไม่มีสะดุด

Partner ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

สำหรับการทำธุรกิจก็เช่นกัน ลองนึกภาพตามดูว่าถ้าเวลาเราต้องเจอกับปัญหา แล้วมีใครคอยให้คำปรึกษาอยู่ข้าง ๆ มันจะดีแค่ไหน ซึ่งพอเราพูดถึงการเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดี คนแรกที่โผล่เข้ามาในความคิดก็คือ SCB SME ที่ทรานส์ฟอร์มจากเดิมที่มีบทบาทเป็นเพียงธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME เป็นหลัก มาเป็นเพื่อนสนิทที่รู้ใจให้กับธุรกิจ SME แทน

ถึงแม้ว่า SCB อาจจะไม่ได้เป็นธนาคารลำดับแรกแรกในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารที่คนทำธุรกิจ SME มองหาและนึกถึง สำหรับคนทำธุรกิจแล้ว SCB SME เปรียบเสมือนเพื่อนสนิทที่คอยดูแล ช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษาให้เรื่องหนักกลายเป็นเบา และคอยเดินเคียงข้างกับลูกค้าให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

เคียงข้างธุรกิจคุณทุกช่วงเวลา #EveryMomentWithYou

บทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า SCB SME ทำอย่างไรถึงกลายมาเป็นเพื่อนสนิทที่ร่วมเดินเคียงข้างไปกับชาว SME ได้

“เคียงข้างธุรกิจคุณทุกช่วงเวลา” เป็นแคมเปญที่ใช้ในการบอกเล่าหลากหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในการเดินทางฝ่าวิกฤติของคนทำธุรกิจที่มี SCB SME อยู่เคียงข้างคอยดูแลในช่วงเวลาที่ยากลำบากของการดำเนินธุรกิจให้ไปต่อไปอย่างราบรื่น ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำกับธุรกิจ SME ด้วยเทคนิคและประสบการณ์ด้านการเงินในด้านต่างๆ รวมถึงการเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจ และประสิทธิภาพในธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่นการทำ Branding การทำการตลาดแบบดิจิทัล การทำ Content การขนส่ง ลดความยุ่งยากในการทำบัญชี การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพทางด้าน Knowledg และ Knowhow ในการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน ภายใต้ 4 แกนหลัก คือ

1. เคียงข้างเพื่อก้าวต่อไปด้วยกัน #StandingWithYou 

เป็นการบอกเล่าเรื่องราวในช่วงยากลำบากของธุรกิจที่มี SCB SME คอยเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้ผู้ประกอบการยังสามารถประคองธุรกิจในช่วงยากลำบากจนสามารถผ่านช่วงเวลาดังกล่าวมาได้ด้วยกัน

2. เคียงข้างเพื่อแนะนำและช่วยเหลือ #SupportingYou 

ในแกนนี้ยิ่งย้ำภาพความเป็น “เพื่อนสนิทที่รู้ใจ” ของ SCB SME ให้ชัดขึ้นผ่านการบอกเล่าความประทับใจในการได้รับบริการจากเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าที่ใส่ใจเหมือนเป็นคนในครอบครัว แนวคิดการทำธุรกิจจากเหล่า Mentor รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของธนาคารที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ SME

3. เคียงข้างเพื่อต่อยอด #EnrichingYou 

การต่อยอดเป็นสิ่งที่จะเป็นมากสำหรับคนทำธุรกิจ โดยเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผู้ประกอบการที่ได้รับโอกาสในการต่อยอดธุรกิจผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม Business Matching รวมถึง SCB Trade Club ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการหา Bussiness Partner กับทางทีมงาน Ecosystem และหน่วยงานอื่น ๆ

4. เคียงข้างเพื่อเติมเต็ม #FulfillingYou 

แบ่งปันวิธีคิดในการทำธุรกิจแบบมีแบบแผน เติมเต็มความรู้ เพื่อให้คนธุรกิจ SME มีต้นทุนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยในแกนนี้จะเป็นการบอกเล่าประสบการณ์จากการเข้าร่วมการอบรม หรือคอร์สเรียนต่าง ๆ ที่ทาง SCB SME จัดขึ้น

ส่งต่อประสบการณ์และความประทับใจ

จากแคมเปญ “เคียงข้างธุรกิจคุณทุกช่วงเวลา” ที่เล่าไปข้างต้น ในบทความนี้การตลาดวันละตอนเลยอยากหยิบยกเส่วนหนึ่งในการพูดคุย สัมภาษณ์รื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของคนทำธุรกิจที่มี SCB SME คอยเคียงข้าง แบบ zero script ว่าเจ้าของธุรกิจแต่ละคนผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง แล้ว SCB SME เข้ามาช่วยได้อย่างไร

-พาร์ตเนอร์ที่ดีต้องช่วยต่อยอดธุรกิจให้เติบโต

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 อย่างนี้ส่งผลให้ผู้บริโภคต่างรัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงเพื่อเซฟเงินไว้ใช้ในอนาคต ทำให้ธุรกิจแฟชั่นถูกตัดออกจากของที่จะเป็นต้องใช้ไปโดยปริยาย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจแฟชั่นขนาดกลางและขนาดเล็กแบบเต็ม ๆ รวมถึง คุณป้อ – กรกนก สว่างรวมโชค ผู้ก่อตั้งและ CEO สินค้าแบรนด์ SHU ที่ได้รับผลกระทบไปไม่น้อย 

แต่ไม่ว่าจะต้องเจอวิกฤตแค่ไหน ธุรกิจก็ยังต้องเดินหน้าต่อ โดยคุณป้อบอกว่า “เวลานี้ดีที่สุดที่เราต้องวางแผนขยายสาขาและสร้างสรรค์โปรเจคต์ใหม่ ๆ ไว้รออนาคต” แต่จะไปถึงจุดนั้นได้ ต้องมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่ดีที่อยู่ #เคียงข้างเพื่อแนะนำและช่วยเหลือ โดยไม่ทำให้ปัญหาการเงินหยุดชะงัก

“จุดเริ่มต้นที่ป้อได้มารู้จัก SCB SME นะคะ ตอนนั้นเป็นช่วงที่ต้องการขยายธุรกิจตามแผน แต่ก็เป็นช่วงที่ประจวบกับมีวิกฤตโควิด-19 พอดี ทำให้ยอดขายเราไม่ได้เป็นไปตามเป้า แต่เรายังคงต้องใช้เงินลงทุนเพื่อขยายธุรกิจต่อ จริง ๆ เราก็มีแหล่งเงินทุนเดิมนะคะ แต่ว่าค่อนข้างจำกัด ตรงที่ว่าเวลาเราจะทำอะไรที ต้องยื่นเอกสารเป็นรอบ ๆ เป็นครั้ง ๆ และวงเงินก็น้อย ทำให้เราไม่ยืดหยุ่น เสียเวลามาก ๆ กับการทำธุรกรรมทางการเงิน และระบบของเขาเหมือนแยกการดูแล  สมมติเขาเป็นทีมที่ดูแลเราซึ่งเกิดมาจากธุรกิจเล็ก ๆ แต่วันหนึ่งเราเติบโตเร็วใช่ไหมคะ ตอนนั้นเราเล็ก ใช่ เราใช้เงินแค่นั้นโอเค แต่ตอนนี้เราก้าวเร็วมาก โตเร็วมาก จากธุรกิจเล็ก ๆ เราต้องการใช้เงินที่ใหญ่ขึ้น แต่การที่เขาแยกคนดูแลแล้วเขาไม่อยากส่งต่อให้คนอื่นที่ต้องดูแลธุรกิจที่ใหญ่กว่า มันจึงไม่ flexible ตรงนี้ ทำให้เราก็หยุดอยู่กับวงเงินเล็ก ๆ ลำบากมาก ไม่ยืดหยุ่นเลย  ก็เลยพยายามมองหาแหล่งเงินทุนใหม่ 

จนมีคนรู้จักแนะนำว่า ให้ลองติดต่อ SCB SME ดู ซึ่งตั้งแต่ SCB SME เข้ามาช่วยเหลือ เรียกว่าได้แหล่งเงินทุนที่ก้อนใหญ่และสำรองเพียงพอให้เราต่อยอดธุรกิจได้โดยไม่ต้องออกเป็นรอบ ๆ ก็รู้สึกสบายขึ้นมาก ๆ เลย ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องแหล่งเงินทุน เขาไม่ได้แบ่งแยกการดูแลลูกค้าเคสเล็กกับเคสใหญ่ คือคนที่ดูแลเขาสามารถอนุมัติวงเงินให้ตั้งแต่เล็ก ๆ จนถึงก้อนใหญ่ได้เลย นอกจากนี้เขายังมีเรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มาช่วยให้เราทำงานได้ไหลลื่น ไม่ว่าจะเป็นการจ่าย payroll หรือแม้แต่การโอนเงินในประเทศและโอนเงินไปต่างประเทศ โดยแบบแค่คลิกเดียว แล้วผู้บริหารสามารถอนุมัติได้ผ่านระบบของแบงค์ค่ะ

นอกจากสิ่งต่าง ๆ ที่ SCB ช่วยซัพพอร์ตมานะคะ อีกเรื่องที่ป้อประทับใจมากๆ ก็คือมีเรื่องสัมมนา ค่ะ เป็นสัมมนาที่ช่วยผู้ประกอบการได้เรียนรู้ ได้พัฒนาตัวเอง รวมถึงได้สร้าง networking กับผู้ประกอบการอื่น ๆ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ตรงนี้เป็นอะไรที่ป้อว่ามีประโยชน์กับผู้ประกอบการมาก ๆ ฉะนั้น ถ้าเปรียบ SCB เป็นเพื่อน สำหรับผู้ประกอบการอย่างป้อให้นิยาม 3 คำ สั้น ๆ เลยค่ะ เป็นคนที่ จริงใจ รวดเร็ว แล้วก็ทันสมัยค่ะ”

-พาร์ตเนอร์ที่ดีต้องแนะนำอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา

เรื่องราวนี้มาจากคำบอกเล่าและประสบการณ์ตรงของ คุณแป๊ป – พิชญา พงษ์ชีพ รีสอร์ท เจ้าของรีสอร์ตดังอย่าง “เกาะช้างพาราไดซ์ รีสอร์ต แอนด์ สปา”, “เกาะกูด พาราไดซ์บีช รีสอร์ต” ที่ประทับใจในความจริงใจและตรงไปตรงมาของ SCB SME ที่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไร ก็จะเข้ามาไถ่ มาอยู่ #เคียงข้างเพื่อก้าวต่อไปด้วยกัน ช่วยดูแลว่าไหวไหม ตอนนี้ต้องเตรียมตัวอย่างไร เตรียมรับมืออย่างไร เป็นความน่ารักที่ทำให้อุ่นใจได้ในเวลาที่มืดแปดด้าน

“เรื่องธุรกิจที่มันดาวน์ลงในช่วงปีที่ผ่านมา ในวันที่เราได้ income มาตลอด จนถึงวันหนึ่งไม่มี income เข้ามาเลย มันมีแต่รายจ่าย เราก็ได้ SCB นี่ค่ะที่ยื่นมือเข้ามาช่วย เหมือนคนที่เกือบจะจมน้ำแล้ว คิดไม่ออก แต่เขาก็มีแคมเปญดี ๆ อย่าง ซอฟต์โลนมาช่วย support ธุรกิจของเราให้ประคองตัวต่อ 

นอกจากนี้คำปรึกษาที่ตรงไปตรงมาก็เป็นประโยชน์มาก แต่เดิมนะคะ เรามีแพลนที่เราจะต่อเติมเฟสที่สอง ใกล้ ๆ ที่เดิม เราอยากทำเพิ่มอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ แต่ RM ก็ท้วงติงเราตรงๆ ว่า การขึ้นโครงการใหม่ ใช้เงินมากนะ แล้วกว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาได้เหมือนเดิมต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนไม่รู้ รายได้ก็ไม่เข้า เงินลงทุนที่ลงไปมันจะจมหายไปหมด ให้เปลี่ยนมารีโนเวทห้องพักและส่วนต่างๆ  ของรีสอร์ตดีกว่า ใช้เงินน้อย ถือโอกาสช่วงที่ไม่มีแขก จัดการปรับปรุงให้ใหม่เอี่ยมอ่อง 

ซึ่งเราก็เห็นตรงกันว่า จริงนะ เพราะสถานการณ์ไม่รู้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไหร่ หาวิธีที่เซฟและเราอยู่รอดได้จะดีกว่าก็เลยตกลงเป็นรีโนเวทแทนค่ะ เพราะเราต้องประคองทั้งลูกน้องทั้งธุรกิจเราให้อยู่รอดให้ได้”

-พาร์ตเนอร์ที่ดีต้องไม่ทิ้งเพื่อนให้เดียวดาย

อีกเคล็ดลับหนึ่งที่จะช่วยพาธุรกิจให้ก้าวกระโดดไปได้ไกลคือการเติมพลังใจและได้รับการสนับสนุนที่ดี อย่างที่คุณเมฆ – นิธิ สัจจทิพวรรณ แห่งบริษัท อี-เอ็มพาวเวอร์เมนท์ จำกัด ผู้ชนะการแข่งขัน Start Up Thailand อันดับ 1 ที่ทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนว่า การได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินที่คอยสนับสนุน #เคียงข้างเพื่อต่อยอด นั้นช่วยให้ธุรกิจของเขาเติบโตแบบก้าวกระโดดท่ามกลางช่วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัวได้จริง ๆ

“เรียนตามตรงผมไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นะ ด้านหนึ่งธุรกิจหน้าร้านลำบากจริง ๆ เพราะต้องล็อกดาวน์ แต่อีกฝั่งหนึ่งของธุรกิจมันรอดครับ เพราะออนไลน์ทำได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ซื้อเมื่อไรก็ได้ ไม่มีขอบเขต ขายได้ทั่วประเทศ เราก็มองเห็นศักยภาพในการเติบโตแน่นอน แต่ปัญหาก่อนที่มาเข้าร่วมกับ SCB ผมใช้เงินตัวเองที่มีอยู่ ซึ่งกำไรไม่ได้มีเยอะมากมายที่จะมาลงทุนเพิ่มครับ แต่ข้อดีธุรกิจเราก็คือถึงแม้จะเป็นคลังสินค้า แต่เราไม่ได้สร้างเอง เราเป็นคนเช่าคลัง แล้วค่อยจัดการระบบอีกที ฉะนั้นเราไม่ได้มี heavy fixed cost เหมือนธุรกิจอื่น แต่สิ่งที่ต้องจ่ายมากที่สุดคือเรื่องระบบ ซึ่งการพัฒนาระบบเราต้องทำตามที่ลูกค้าต้องการไปเรื่อย ๆ แล้วก็ชิฟต์ขึ้นไปเรื่อย ๆ เราเริ่มมาเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เริ่มมาลงทุนหนัก ๆ เมื่อปีที่แล้ว เพราะโตเร็วมาก การหาแหล่งเงินทุนใหม่มาสนับสนุนจึงจำเป็น 

ก่อนหน้านั้นเราเรสฟันด์กับบริษัททรัสต์ฟันด์ของตลาดหลักทรัพย์และธนาคารแห่งหนึ่งซึ่งได้มา 20 ล้านบาท เงินก้อนนี้เราต้องขยาย capacity แบบพอเพียง ไม่ได้หวือหวามาก แต่พอมี SCB เข้ามา เขาทำให้เรากล้าจ้างคนเพิ่มมากขึ้น กล้าจ้างผู้บริหารระดับสูงเพิ่มมากขึ้น กล้าจ้าง CEO ดี ๆ พัฒนาระบบงานต่าง ๆ แบบก้าวกระโดด จากคลังเล็ก ๆ 250 ตารางเมตร มาเป็น 1,000 ตารางเมตร แล้วค่อยขยายเป็น 2,000 ตารางเมตรครับ ผมจึงมองว่าถ้าเอาเงินในกระเป๋าเรามาทำ ไม่พอ เราต้องเอาเงินคนอื่นมาใช้ด้วย เพราะมันซื้อเวลาให้มันเร็วขึ้น เรารอไม่ได้ ถ้าเกิดผมไม่เอาเงิน SCB หรือเงินใครมาลงทุนเลย ป่านนี้ธุรกิจผมรายได้ 10 ล้านบาทเองมั้งครับ แล้วมันก็ไม่ทันกาลบางครั้ง SME ต้องยอมรับความเสี่ยงเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจไปเร็วขึ้น ถ้าเกิดคุณไม่ทำอะไรที่ใหญ่ขึ้นหรือกล้าเสี่ยง อยู่เฉย ๆ มันก็ตายอยู่ดี 

ในฐานะ Startup ในฐานะ SME เราเชื่อนะว่า เราต้องกู้เงิน ต้องใช้เงินคนอื่นมาหนุน อย่างคุณพ่อผมจะไม่ใช่ 30 ปี ที่เขาสร้างมา ปู่เขาเคยทำเอง เอาเงินมาต่อยอด ถ้าพ่อผมใช้เรื่องกู้เงินเป็นตั้งแต่แรก ป่านนี้เราใหญ่กว่า WCA แล้ว คือ WCA มาทีหลังพ่อผมด้วยซ้ำ ในเชิงของคลังสินค้านะครับ แต่พ่อผม เขาใช้วิธีหา financial resource ไม่เป็น คือเอาเงินของตัวเองมาต่อยอด มันช้า แต่ WCA มาทีหลัง เขาใช้เวลาแค่ 10 – 15 ปี ปุ๊บ ๆ ๆ เขาสร้าง ออก REIT กู้ ปล่อยเข้าตลาด คือเข้าหาแหล่งเงินทุนเป็น มันก็เลยทำให้ใหญ่ได้เร็ว

สำหรับผม ถ้าสมมติว่า SCB เป็น Startup หรือบริษัทเทคโนโลยี ผมคิดว่าบริษัท Startup หรือเป็นบริษัทเทคโนโลยีบริษัทนี้เป็นบริษัท Startup ที่รับฟังลูกค้าได้ดี คือพัฒนาสินค้าและฟีเจอร์ที่ตามคนที่เป็นลูกค้าจริง ๆ ถ้าผมมองบริษัทอื่นจะแบบพัฒนาไป แต่เขาไม่ได้มองว่าผู้ใช้งานจริง ๆ เป็นอย่างไร SCB พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยที่มีความคิดตั้งต้นคือ Customer Centric มาก ๆ คือคิดว่าลูกค้าคือหัวใจ ไม่ว่าจะเป็น Robinhood ที่ใคร ๆ ก็ด่าว่าคุณทำทำไม ทำแล้วไม่ได้สตางค์ แต่คุณก็ทำ ซึ่งมันเจ๋งมากถูกไหม โปรโมชั่นหรืออะไรต่าง ๆ ที่ออกมาเป็นอะไรที่เหมือนเราจะเห็นภาพได้ว่า เราฟังเสียงคนจริง ๆ ว่าคนเขาต้องการอะไร เราก็เอาตัวเองไปอยู่ในจุดนั้น 

รู้สึกว่า SCB หลัง ๆ เนี่ยที่เคยพูดว่าตีลังกากลับหลัง ไม่อยากเป็นแบงก์แล้ว เขาทำได้จริง ๆ นะ ผมรู้สึกว่า SCB ถ้าเปรียบกับบริษัท Startup หรือเป็นบริษัทเทคโนโลยีจะเป็นคนที่ฝ่ายดูแลลูกค้า ฝ่ายสัมพันธ์ลูกค้า ฝ่ายแก้โจทย์ลูกค้า มันเจ๋งมาก ถือว่ารับฟังเสียงลูกค้าได้ดีครับ”

-พาร์ตเนอร์ที่ดีต้องช่วยเติมในสิ่งที่ขาด

การจะมีกิจการเป็นของตัวเองได้นั้นมีแค่ความฝันอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะการจะทำธุรกิจนั้นต้องอาศัยทั้งเงินทุน และระยะเวลาในการพิสูจน์ความสำเร็จ เหมือนอย่างที่ คุณมานิตย์ พิมพาเรียน CEO ของเครือ แอลเอ็นพี กรุ๊ป บจ.แอลเอ็นพี ฟิวเจอร์  เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ Café Amazon นักลงทุนหน้าใหม่ที่สานฝันการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ด้วยการเปิดร้านกาแฟในฝัน ถึงแม้การเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตัวเองนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่เขาอุ่นใจ เพราะมีพาร์ทเนอร์ที่ดีที่ช่วยบอก ช่วยสอน คอยแนะนำและ #เคียงข้างเพื่อเติมเต็มในทุกย่างก้าว 

“SCB SME สำหรับผมเหมือนมีพี่ ผมเหมือนมีเพื่อน เอาจริง ๆ ซึ้งใจมาก ๆ เพราะว่าเราเองออกจากงานประจำช่วงที่โควิดเพิ่งเริ่มระบาด ช่วงนั้นเราก็มีเงินก้อนของเราอยู่ก้อนหนึ่งแหละ ซึ่งเราจะต้องรักษามันยิ่งชีพ เราไม่สามารถกลับไปทำงานประจำได้อีกแล้ว ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่คนที่ให้คำปรึกษาเราที่ดีที่สุดในเรื่องการเงิน คือธนาคารไทยพาณิชย์ 

ผมมีความโชคดีมากที่พี่ที่เป็นผู้จัดการที่คอยดูแลผมเป็นผู้ที่น่ารักมาก ๆ ให้ความช่วยเหลืออย่างที่สุดเลยนะ จนผมมีความรู้สึกว่าผมมีพี่คนหนึ่งที่เข้าใจว่า ผมต้องการอะไร บางสิ่งบางอย่างเป็นสิ่งใหม่สำหรับผม เราเป็นเหมือนนักลงทุนใหม่ เป็น entrepreneur ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาในการทำธุรกิจ เป็นนักธุรกิจเต็มตัว แต่เรามีความรู้น้อยมาก อะไรที่ควรทำอะไรไม่ควรทำ ซึ่งในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ยิบย่อยนี้ ผมได้รับจากผู้จัดการของไทยพาณิชย์ที่ดูแลผมทุกอย่างเลย เป็นสิ่งใหม่ 

ผมเป็นผู้บริหารมา 10 กว่าปี เราก็คิดว่าเรามีองค์ความรู้เยอะในเรื่องต่าง ๆ ในการบริหารจัดการ แต่พอเป็นเรื่องของธุรกิจทางด้านการเงิน ผมเหมือนเด็กเริ่มต้นใหม่ แต่ผมโชคดีตรงที่ว่าผมเหมือนมีพี่เลี้ยงที่คอยบอกผมทุกก้าวเลยว่า ก้าวที่ 1 ต้องอย่างไร ก้าวที่ 2 ต้องไปอย่างไร ก้าวที่ 3 ต้องอย่างไร ตอนไหนควรจะยื่น ตอนไหนพักไว้ก่อน เอกสารอย่างไร ต้องเตรียมต้องสแกนอย่างไร ต้องส่งอย่างไร เหมือนกับเราเพิ่งเริ่มเข้าอนุบาล ซึ่งต้องขอบคุณเขามากที่เขาอดทนกับเรา อดทนกับคำถามเยอะแยะมากมายที่เรามี นั่นคือเป็นสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดครับ 

ซึ่งถ้าจะให้เปรียบ SCB SME กับกาแฟสักแก้วหนึ่ง กาแฟที่ผมโปรดที่สุด ดื่มมาเกือบ 20 ปี ก็คืออเมริกาโน่ครับ สำหรับผมแล้วกาแฟที่ดีที่สุดต้องไม่ใส่น้ำตาลเลย เป็นรสชาติที่ธรรมชาติ เป็นธรรมชาติของเขา และเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และผมเชื่อว่าสิ่งที่ดีที่สุดเป็นสิ่งที่ผมเลือกเอง แล้วผมก็เลือกอเมริกาโน่ ผมถือว่า SCB SME คืออเมริกาโน่ เป็นกาแฟที่ดีที่สุดของผมครับ”


เรียกได้ว่าเป็นการฉีกกฎและเปลี่ยนภาพจำของฝั่งการเงินการธนาคารไปเลย กับการมีพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่เป็นมากกว่าแหล่งเงินทุน แต่เป็นทั้งครอบครัวที่คอยถามไถ่และห่วงใยกัน เป็นทั้งเพื่อนที่คอยให้คำแนะนำอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา ทำให้ถึงแม้เวลาเราจะเจอปัญหา หรือช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่ถ้ามีใครสักคนอยู่เป็นเพื่อน คอยให้คำปรึกษาด้วยความเข้าอกเข้าใจ และคอยอยู่ ‘เคียงข้างธุรกิจคุณทุกช่วงเวลา’ ปัญหาที่ว่าใหญ่ ก็ดูเหมือนจะเล็กลงจนสามารถก้าวข้ามผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็น

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *