ในสมรภูมิธุรกิจ Food Resturant ที่การแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน การที่แบรนด์จะนำเสนอเพียงแค่รสชาติของอาหารอาจไม่เพียงพอที่จะมัดใจผู้บริโภคยุคใหม่ได้อีกต่อไป เพราะคนยุคนี้มีความต้องการที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจในไลฟ์สไตล์ พฤติกรรม และพร้อมที่จะตอบสนองต่อ “เทรนด์” ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คือกุญแจสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน หนึ่งในเมกะเทรนด์ที่ส่งผลกระทบต่อหลากหลายอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนคือ ‘Pet Humanization’ แนวคิดที่ผู้คนไม่ได้มองสัตว์เลี้ยงเป็นเพียงสัตว์ แต่เป็นสมาชิกคนสำคัญในครอบครัว
วันนี้ผมเลยจะพาทุกคนไปเจาะกลยุทธ์การตลาด Tonkatsu AOKI ร้านทงคัตสึชื่อดังต้นตำรับจากญี่ปุ่นที่การันตีด้วยคะแนน Tablelog 3.8 ภายใต้การบริหารของ บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAGURO ที่ขอใช้โอกาสนี้เปิดตัวสาขาขาใหม่ Velaa Sindhorn Village หลังสวน พร้อมชูโรงด้วยกลยุทธ์เด็ดด้วยสร้างโซน Pet-Friendly อย่างเต็มรูปแบบ
Pet Humanization เทรนด์ที่สัตว์เลี้ยงก็เหมือนคนในครอบครัว
เทรนด์ Pet Humanization จะไม่ใช่แค่การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบผิวเผินอีกต่อไป เพราะเหล่าพ่อ ๆ แม่ ๆ (เจ้าของสัตว์เลี้ยง) ยุคใหม่นั้นพร้อมที่จะทุ่มเทดูแล และควักเงินในกระเป๋าเพื่อใช้จ่ายให้กับสัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นเหมือนลูกหลานภายในครอบครัวของตัวเอง ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ต้องการรวมสัตว์เลี้ยงเข้าเป็นมาส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเดินทาง ท่องเที่ยว ไปจนถึงกิจกรรมง่าย ๆ อย่างการรับประทานอาหารนอกบ้านด้วยเหมือนกัน
AI-Generated by Shutterstock (Prompt: A happy golden retriever in a swimming pool on a sunny day, close-up shot with a shallow depth of field. The dog’s wet fur glistens under natural sunlight, and it has a big joyful smile. The blue pool water is clear and vibrant, with light reflections dancing on the surface. Captured in ultra-realistic detail, high resolution, summer vibe, pet photography, bokeh background.)
โดยจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็คาดว่าในปี 2025 นี้ มูลค่าตลาดเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงในไทยอาจสูงถึง 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งตัวเลขตรงนี้เองที่นอกจากจะสะท้อนกำลังซื้อมหาศาลแล้ว ก็ยังสะท้อนถึงความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงในมิติอื่น ๆ ด้วยเหมือนกัน
โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนสัตว์เลี้ยงมากที่สุดและผู้เลี้ยงมีกำลังซื้อสูง แต่อย่างไรก็ตาม สถานที่ หรือร้านอาหารคุณภาพดี ที่พร้อมเปิดรับและอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้ากลุ่มนี้แบบจริงจัง ก็ยังคงมีไม่มาก ซึ่งช่องว่างตรงนี้เองก็กลายมาเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ที่มองการณ์ไกลถึงการขยายฐานลูกค้านั่นเอง
เจาะลึกกลยุทธ์ Tonkatsu AOKI ที่ถึงแม้จะตามเทรนด์ Pet Humanization แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับเจ้าของ สัตว์เลี้ยง
ถึงแม้ว่าการตามเทรนด์ก็จะช่วยให้แบรนด์สามารถขยายฐานลูกค้าและทำให้ธุรกิจเติบโตได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือการออกแบบกลยุทธ์ให้ตรงความต้องการกับกลุ่มเป้าหมายด้วยเหมือนกัน ดังนั้นนอกจากที่แบรนด์จะตอบรับเทรนด์คนที่รักสัตว์เหมือนลูก ก็ยังให้ความสำคัญกับการตอบโจทย์ความต้องการของเหล่าพ่อ ๆ แม่ ๆ หรือเจ้าของสัตว์เลี้ยงด้วยเหมือนกัน
USP by Rareness สร้างจุดขายที่แตกต่างด้วยความหายาก
ในตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมียม การมีโซน Pet-Friendly ที่ออกแบบมาอย่างดี ถือเป็น ความแตกต่างที่หาได้ยาก หรือ Rareness และเป็นกลยุทธ์ที่ “กล้า” แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของแบรนด์ในการจัดการระบบต่าง ๆ ที่พร้อมจะรองรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการพาลูก ๆ มาทานอาหารด้วยกัน พร้อมกับแสดงถึงความเข้าใจลูกค้ากลุ่มนี้อย่างลึกซึ้ง
ซึ่งตรงนี้เองก็สามารถกลายมาเป็นจุดแข็ง ที่เปลี่ยนภาพลักษณ์ของ AOKI จากร้านทงคัตสึอร่อย ให้กลายเป็น แบรนด์ที่มีความทันสมัย, เข้าอกเข้าใจ (Empathetic), เปิดกว้าง (Inclusive) และตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน
Location Strategy ทำเลที่ใช่ ตรงกลุ่มเป้าหมาย
Velaa Sindhorn Village ไม่ใช่แค่โครงการที่มีคนเดินผ่านเยอะอย่างเดียว แต่เป็น Ecosystem ของไลฟ์สไตล์ที่แวดล้อมด้วยที่พักอาศัยหรู (Sindhorn Residence), อาคารสำนักงานชั้นนำ, และร้านค้ารีเทล/ร้านอาหารระดับพรีเมียมอื่น ๆ
นอกจากนี้ แบรนด์ก็ยังให้ความสำคัญในเรื่องความสะดวกสบายของคนเหล่าพ่อ ๆ แม่ ด้วยการจัดโซน Pet-Friendly ไว้ด้านนอก ใกล้ประตูทางออกลานจอดรถ สะท้อนความเข้าใจในความต้องการด้านความสะดวกสบายของลูกค้ากลุ่มนี้อย่างชัดเจน
ทำให้การปักหมุดที่นี่ เท่ากับเป็นการวาง Brand Positioning ท่ามกลางกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง และมีไลฟ์สไตล์สอดคล้องกับลูกค้าหลักของเทรนด์อีกด้วย
Experiential Marketing สร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง
แบรนด์ได้สร้างความทรงจำ ที่ไม่ใช่แค่ผ่านมื้ออาหาร การที่ผู้บริโภคสามารถทานอาหารกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะในพื้นที่ข้างนอกมันไม่ใช่แค่ความสะดวกสบาย แต่มันคือ Memory Making หรือการสร้างความทรงจำที่มีคุณค่าทางอารมณ์ ประสบการณ์แบบนี้มีแนวโน้มที่จะเกิด Word-of-Mouthและแชร์ในโซเชียลมีเดียเป็น User-Generated Content สูงกว่าภาพอาหารธรรมดา ๆ
นอกจากนี้ด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของคนกลุ่มนี้ ตัวโซน Pet-Friendly อาจจะกลายเป็น “จุดนัดพบ” ของกลุ่มคนรักสัตว์ในย่านนั้น สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ที่มีไลฟ์สไตล์และความชอบเหมือนกันได้อีกด้วย
แน่นอนว่ากลยุทธ์ Pet-Friendly จะทรงพลังได้ ก็ต่อเมื่ออยู่บนรากฐานของผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่ง Tonkatsu AOKI และที่สาขาใหม่นี้เองยังคงรักษามาตรฐานของทงคัตสึต้นตำรับ พร้อมกับเปิดตัวเมนูใหม่พร้อมเมนูใหม่อย่าง Ebi Series กุ้งลายเสือตัวโต 2 ไซส์เสิร์ฟแบบเดี่ยว และจับเซตคู่หมูทอด ที่พร้อมรองรับเทรนด์ครอบครัวยุคใหม่ ส่งมอบประสบการณ์ทางรสชาติสไตล์ทงคัตสึต้นตำรับครั้งใหม่ใจกลางพื้นที่เศรษฐกิจและย่านไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว
สรุป
กลยุทธ์การตลาด Tonkatsu AOKI ใช้เทรนด์ Pet Humanization ที่กำลังเติบโตมาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะในตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมียมที่มีการแข่งขันสูง กลยุทธ์การสร้างจุดขายด้วยโซน Pet-Friendly สามารถสร้างความแตกต่าง และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าผู้รักสัตว์เลี้ยงเหมือนลูกได้เป็นอย่างดี