ในวันที่โลกเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้า ความไม่แน่นอน และความกดดันจากการเรียน การงาน หรือแม้แต่ความคาดหวังจากตัวเอง สิ่งที่คนรุ่นใหม่เลือกทำ ไม่ใช่ช้อปของแพง ไม่ใช่นั่งทำสมาธิ แต่คือ “ซื้อทริปเที่ยว” เพื่อให้ตัวเองได้พักจากความวุ่นวาย และกลับมาเชื่อมโยงกับตัวตนอีกครั้ง และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของ การตลาด Klook เวอร์ชันใหม่ ที่ไม่ได้ขายแค่ดีล แต่สื่อสารผ่านความเข้าใจใน “ใจ” ของผู้บริโภค
สถิติที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม จาก Klook Travel Pulse
จากผลสำรวจ “Travel Pulse” ของ Klook ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 7,000 คนทั่วเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ซึ่งพร้อม “ลงทุนกับความสุข” แบบไม่ลังเล ขอแค่ได้ออกเดินทางเพื่อหายใจลึกๆ อีกครั้ง
มากกว่าครึ่งของนักเดินทาง Gen Y และ Gen Z ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อทริปที่ ช่วยคลายเครียด ฟื้นฟูใจ หรือค้นหาตัวตนใหม่ ไม่ว่าจะเพื่อหนีจากความตึงเครียดในการเรียน/ทำงาน หรือเพื่อออกไปเจอแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ที่ดีต่อชีวิตและหัวใจ
48% รู้สึกมีความสุขและพลังใจเพิ่มขึ้น หลังกลับจากทริป
พฤติกรรมการจองทริปและกิจกรรมของคนไทย Gen Y & Z เพิ่มขึ้น +25%
ประเทศเป้าหมายยอดฮิต 5 อันดับแรก:
ญี่ปุ่น
จีน
ฮ่องกง
เกาหลีใต้
เวียดนาม
เหตุผลหลักในการเดินทางของคนรุ่นใหม่:
หนีความเครียด และดูแลสุขภาพจิต (Travel as Therapy)
แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่ดีต่อใจ (Meaningful Experiences)
ได้แรงบันดาลใจจากโซเชียลมีเดีย
คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน (Value for Money)
จะเห็นได้ชัดเลยว่า “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” กลายมาเป็นปัจจัยหลักที่นำทาง “การใช้จ่าย” และนั่นคือสิ่งที่ Klook หยิบมาเป็นหัวใจของแคมเปญใหญ่ครั้งนี้อย่างชาญฉลาดค่ะ
ทำไมแบรนด์ควรสนใจเทรนด์ “เที่ยวเพื่อเยียวยา”?
โอปอมองว่า เพราะนี่คือ shift สำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค
คนรุ่นใหม่ไม่ได้เที่ยวเพราะมีเวลา แต่เพราะ “ไม่มีพื้นที่ให้ใจได้พัก”
การเดินทางกลายเป็นเครื่องมือ self-healing และ self-rediscovery
ประสบการณ์ดี ๆ คือทางลัดกลับไปมีพลังใจอีกครั้ง
และคนพร้อมจ่าย ถ้ามัน “ทำให้รู้สึกดีขึ้นจริงๆ”
AI image generated by Shutterstock (Prompt : A cinematic shot of a content man sitting beside a calm mountain lake, reflecting sky and trees, light breeze rustling leaves, smiling as he takes in the peaceful view, composed like a heartfelt travel film)
พูดง่าย ๆ คือ ตอนนี้ “ใจ” คือ currency ใหม่ของผู้บริโภค และแบรนด์ที่เข้าใจ emotional currency นี้ จะอยู่ในใจลูกค้าได้ลึกกว่าแค่ราคาหรือฟีเจอร์ค่ะ
Klook ทำยังไงกับ Insight นี้?
Klook ไม่ได้ตอบสนองอินไซต์นี้แค่ดีลลดราคาหรือภาพวิวสวย ๆ ที่ชวนคนไปเที่ยวเท่านั้น แต่ขยับ positioning ของตัวเองจากแพลตฟอร์มท่องเที่ยว → ไปสู่พื้นที่ที่ช่วยให้คน เชื่อมโยงกับตัวเอง และ ค้นพบตัวตนในเวอร์ชันที่ดีที่สุด ผ่านแคมเปญ The Best You โดยโอปอสรุปให้เห็นเป็น 3 แกนกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาก ๆ ดังนี้ค่ะ
1. Emotional Reframing
จาก “เที่ยวเพื่อเช็คอิน” → สู่ “การเดินทางที่สะท้อนตัวตน”
Klook รีเฟรมความหมายของ “การเดินทาง” จากจุดหมายปลายทาง ให้กลายเป็นช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้คนได้หันกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง แทนที่จะพูดถึงแค่ความสนุกหรือตารางกิจกรรม Klook ใช้ภาษาที่ชวนให้รู้สึกถึง “การเปลี่ยนแปลงภายใน” และ “การเติบโตทางความคิด” เช่น
“ค้นพบเวอร์ชันที่ดีที่สุดของคุณ”
“เชื่อมโยงตัวตนจากภายใน”
“การเดินทางคือโอกาสแห่งการเริ่มต้นใหม่”
“ประสบการณ์ต่างๆ มีคุณค่ามากกว่าเป็นเพียงกิจกรรม เพราะนั่นคือกระจกสะท้อนตัวตนในมุมใหม่… การเดินทาง ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล คือโอกาสแห่งการเริ่มต้นใหม่”
— มาร์คัส ยง, Global VP Marketing @ Klook
2. Meaningful Collaboration
จาก “จัดบ้าน” → สู่ “ค้นหา Spark Joy ในชีวิตบทใหม่”
Klook จับมือกับ มาริเอะ คนโดะ นักจัดบ้านชื่อดังที่คนทั่วโลกรู้จักในฐานะผู้นำเสนอคำว่า “Spark Joy” แต่งานนี้เธอไม่ได้มาในมุมของความเป๊ะและระเบียบเหมือนเดิมค่ะ เธอเปิดใจเล่าเรื่องการปรับบทบาทตัวเองในช่วงชีวิตใหม่ ที่หันมาให้ความสำคัญกับครอบครัว และเริ่มออกเดินทางเพื่อค้นหา “Spark Joy” ในแบบใหม่ ที่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบแต่มีความหมายสำหรับตัวเองจริง ๆ
VIDEO
Klook เลยหยิบ narrative นี้มาต่อกับแคมเปญ The Best You ได้อย่างกลมกลืน → เพราะ การเดินทาง ในแบบของมาริเอะ ก็เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการ “กลับมาค้นหาความสุขในจังหวะของตัวเอง” ซึ่ง resonate มากกับคนรุ่นใหม่ที่กำลังรู้สึกหลงทางหรือสับสนในชีวิตตอนนี้
3. Gamified Experience
เที่ยวไม่ได้มีแค่จุดหมาย แต่เริ่มจาก “ค้นหาตัวเอง”
Klook เปิดเว็บไซต์ experiencethebestyou.com ให้คนเข้าไปทำแบบทดสอบ เพื่อเลือกเส้นทางการเดินทางที่สะท้อนความรู้สึก ความต้องการ และบุคลิกเฉพาะตัว ในช่วงเวลานั้น ซึ่งมันไม่ใช่แค่ quiz เล่นเพลิน ๆ นะคะ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของ Emotional Funnel ที่พาเรากลับมา “สังเกตตัวเอง” อย่างอ่อนโยน และใช้สิ่งนั้นนำทางการเดินทาง
ตัวอย่างจากโอปอเอง (ของจริง!) ผลลัพธ์ที่ได้คือ Main Character พร้อมคำแนะนำว่า “ล่องเรือไปตามคลองอันเงียบสงบ ดูแสงเมืองที่กำลังส่องสว่าง ไลฟ์สไตล์เทสดีประหนึ่งถ่ายเอ็มวี”
สำหรับโอปอแล้ว คำแนะนำที่ได้คือทั้ง ตรงใจมาก ๆ และ ชวนให้เห็นภาพ เพราะแค่เห็นกราฟิกตัวการ์ตูน 3D ที่ใส่หมวก เดินถือกล้องเท่ ๆ ก็เหมือนมีเพื่อนมาแต่งฟีลลิ่งให้ในหัวแล้วว่า “เออ ฉันมันก็คนชอบเที่ยวแบบนี้แหละ” Klook เข้าใจ mood ของโอปอตอนนี้แบบแม่นยำไม่เว่อร์ เลยค่ะ
หลังจากได้ผลลัพธ์ ก็มีปุ่ม “ไปเที่ยวกัน” ที่พาเราไปหน้าเลือกกิจกรรมจริงเลย ซึ่งโอปอว่าเขาแนะนำทริปได้ดีมาก ทั้งแนวสวนสนุก พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงโลเคชันที่ดู cinematic เหมือนที่ Main Character อย่างเราน่าจะชอบจริง ๆ
จุดนี้แหละที่เรียกว่า UX ดีตั้งแต่ยังไม่จอง เพราะมันคือ Personalization + Participation ที่มาในรูปแบบที่ น่ารัก เป็นมิตร และไม่รู้สึกว่าโดนขายของ
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง:
Klook คาดว่าคนจะกลับมาจองกิจกรรมเพิ่ม 25-50% จากพลังของ emotional marketing แบบนี้ แต่เหนือกว่ายอดขายก็คือ Klook ได้เข้าไปอยู่ใน “พื้นที่ความรู้สึกดี ๆ” ของผู้บริโภค ซึ่งในยุคที่ทุกคนกำลังใจล้าแบบนี้ การได้เป็น “แบรนด์ที่เข้าใจความรู้สึก” อาจกลายเป็นแต้มต่อที่มีค่ามากกว่าโปรโมชั่นใด ๆ ค่ะ
แล้วนักการตลาดจะหยิบไปใช้ยังไง?
1. Emotional Positioning ขายด้วย “ความรู้สึก” ไม่ใช่แค่ฟีเจอร์
ในยุคที่ผู้บริโภคให้ค่ากับ “ความรู้สึกหลังการใช้” มากกว่าคุณสมบัติของสินค้า ลองเปลี่ยนจากคำถามว่า “แบรนด์เราขายอะไร?” → “แบรนด์เราทำให้คนรู้สึกยังไง?” เหมือนที่ Klook ไม่ได้บอกแค่ว่า “เรามีดีลเที่ยวเยอะ” แต่สื่อสารว่า “เรามีทริปที่ช่วยให้คุณกลับมาเข้าใจตัวเองอีกครั้ง”
📌 แบรนด์ที่ทำให้คน “รู้สึกบางอย่าง” ได้ คือแบรนด์ที่คนจะอยากกลับมาเสมอ
2. Brand as a Safe Space เปลี่ยนแบรนด์ให้กลายเป็น “พื้นที่พักใจ” ของลูกค้า
ไม่ว่าจะขายกาแฟ ฟิตเนส หรือเทคโนโลยี แบรนด์สามารถกลายเป็น safe space ให้ลูกค้าได้ค่ะ ด้วยการเป็นพื้นที่ที่ผู้บริโภครู้สึกว่า “เข้าไปแล้วสบายใจ รู้สึกเป็นตัวเอง”
→ Starbucks เคยทำมาแล้วกับแนวคิด “Third Place” → Klook กำลังทำในแบบของ “Travel that connects you to yourself”
📌 ลองถามตัวเองว่า “ถ้าชีวิตลูกค้าเหนื่อยมาก แบรนด์เรายังเป็นพื้นที่ที่เขาอยากเข้าใกล้มั้ย?”
3. Micro Moments of Meaning สร้างจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่พาคนกลับมาเชื่อมต่อกับตัวเอง
Klook ใช้แบบทดสอบออนไลน์ experiencethebestyou.com เป็นเครื่องมือเล็ก ๆ แต่มีพลังในการชวนให้คน “หยุดคิดกับตัวเอง” อย่างมีความหมาย
แบรนด์อื่นก็สามารถสร้าง moment แบบนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบสนุก ๆ คำถามปลายเปิด หรือแม้แต่แคมเปญที่ให้คนได้เลือก “คุณอยากรู้สึกแบบไหนวันนี้?”
📌 เพราะสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความผูกพันที่ยิ่งใหญ่ระหว่างแบรนด์กับคนค่ะ
สรุป การตลาด Klook เข้าใจผู้บริโภคยุคใจล้า ด้วย Emotional Experience
สิ่งที่ Klook กำลังทำในแคมเปญ The Best You ไม่ใช่แค่กลยุทธ์การตลาดที่สวยงาม แต่มันคือภาพสะท้อนของแบรนด์ที่ “ฟัง” ผู้บริโภคจริง ๆ ค่ะ
ในยุคที่คนเหนื่อยง่ายแต่ฟื้นยาก แค่แบรนด์ไหนเข้าใจว่าคนอยากรู้สึกอะไร…ก็ชนะไปแล้วครึ่งหนึ่ง และสำหรับโอปอแล้ว Klook กำลังเดินหมากถูกทั้ง emotional insight, ความจริงใจใน narrative และการออกแบบประสบการณ์ที่สื่อถึงตัวตนของคนแบบละเอียดอ่อน
มันเป็นบทเรียนที่น่าสนใจมากสำหรับนักการตลาดทุกคน ว่าในวันที่สินค้ามีมากมาย แต่ใจของผู้บริโภคกลับเปราะบาง บางที… การไม่เร่งขาย แต่ออกแบบให้เขา “รู้สึกดีขึ้น” อาจเป็นสิ่งที่เวิร์กที่สุดก็ได้นะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ :0)
อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่