Etailligence สุดยอด Martech แห่งยุค ที่เขย่าวงการ E-commerce Thai 2024

Etailligence สุดยอด Martech แห่งยุค ที่เขย่าวงการ E-commerce Thai 2024

บทความนี้พามาดูเครื่องมือใหม่แบบแกะกล่องสำหรับวงการ E-commerce ประเทศไทย อย่าง Etailligence กันครับ โดยส่วนตัวผมมองว่าเป็น Tools ที่สามารถช่วยธุรกิจ E-commerce ได้เยอะมาก ๆ สามาถเจาะ Data ในแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee, Lazada และนำมา Visualized ให้นักการตลาดอย่างเราได้นำไปใช้ได้แบบง่าย ๆ กับ Tools ที่มีชื่อว่า Etailligence จะเป็นอย่างไร สุดยอดขนาดไหน สามารถติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ

หนึ่งในผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Etailligence คือ คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ พี่ไว Priceza นั่นเอง ที่ปัจจุบันนอกจากจะเป็น CEO Priceza แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของสมาคม Thai E-commerce อีกด้วยครับ ซึ่งก่อนหน้านี้เองพี่ไวเป็นนายกสมาคมอยู่ 2 สมัย ดังนั้นผมจะเรียกตัวพ่อแห่งวงการ  E-commerce ไทยก็คงจะไม่เกินจริงสักเท่าไหร่

ด้วยความที่พี่ไวอยู่กับวงการ E-commerce มาเป็น 10 ปี เห็นพัฒนาการต่าง ๆ ของ E-commerce มากมายในแต่ละยุค ดังนั้นจึงพอจะเดาได้ว่าเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้หรือเทรนด์ในอนาคตมันจะเป็นยังไง นั่นเป็นเหตุให้พี่ไวปั้น Etailligence ขึ้นมานั่นเองครับ

เทรนด์ E-commerce ในประเทศไทย โตขึ้นตลอด ๆ แม้จะหลังโควิดเองก็ตาม จากการที่ E-commerce เป็นตลาดที่ใหญ่จึงมี Data ที่ค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นพี่ไวจึงอยากที่จะอยากสร้างเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล อยากจะรู้ว่าคนไทย มีพฤติกรรมการช้อปปิ้งยังไง ชอบอะไร 

คนที่อยากจะขายของบางคน No idea ว่าจะขายอะไรดี ดังนั้นแพลตฟอร์มที่พี่ไวกำลังพัฒนาขึ้นมานี้จะสามารถช่วยตอบคำถามนั้นได้ครับ

พี่ไวบอกว่าชื่อแพลตฟอร์ม Etailligence มาจากคำว่า E-commerce + Retail กลายเป็น Etail ซึ่งไปคล้องกับคำว่า Intelligence ก็เลยตั้งชื่อว่า Etailligence ครับ อย่างที่ได้กล่าวไปปัจจุบันการแข่งขัน E-commerce สูงมากในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งราคา หรือการใช้โปรโมชัน ฉะนั้นจึงมี Data ต่าง ๆ เกิดขึ้น มากมายเลยล่ะครับ 

แพลตฟอร์ม Etailligence จะทำหน้าในการเก็บข้อมูลนั้น ๆ มา Visualized ให้เราดูแบบง่าย ๆ  ผมจึงมองว่า Tools นี้ จะสามารถช่วยซัพพอร์ตให้ธุรกิจสามารถ E-commerce ได้ดีมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนครับ เพราะปัจจุบัน การตลาดขับเคลื่อนด้วย Data อยู่แล้ว

ซึ่งในการพัฒนา Etailligence นั้น มีทั้งบริษัท Social Listening ชั้นนำเข้ามาร่วมทำด้วยอย่าง Wisesight มีทั้งหน่วยงานภาครัฐที่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงอย่าง Depa เข้ามาร่วมด้วย และสมาคม Thai E-commerce เองก็มาสนับสนุนด้วยครับ

Etailligence

จากข้อมูลที่พบ การช้อปปิ้งส่วนใหญ่ของประเทศไทย จะอยู่บน Marketplace เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น  Etailligence จึงเลือกที่จะเจาะแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ก่อน อย่าง Shopee และ Lazada ว่าพฤติกรรมการซื้อของคนไทยในแพลตฟอร์มนี้เป็นยังไงบ้าง อนาคตค่อยขยายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ครับ

Etailligence

สิ่งที่ Etailligence ทำคือการเข้าไปเก็บข้อมูลจาก Shopee และ Lazada โดยทางผู้พัฒนาได้สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลว่าสินค้าอะไรขายดี สินค้าไหนน่าสนใจ ใน 2 แพลตฟอร์มนี้บ้าง เหมือนการจับตาดูสินค้ารายการใดรายการหนึ่งอยู่ตลอด ๆ ทำให้รู้ว่าสินค้าไหนขายดี ขายได้เยอะ ขายได้ตอนไหน ทำโปรโมชันราคายังไง 

หลังจากนั้น  Etailligence  ก็ทำการเก็บข้อมูลเรื่อย ๆ จนเป็น Big data จนสามารถดูได้ว่าสินค้าแต่ละตัวมี Movement ยังไงบ้าง มีแนวโน้มจะเป็นอย่างไรในอนาคต

ในมุมของพี่ไวร้านค้าใน Shopee และLazada เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ 

  1. Officail Mall เป็นร้านค้าที่เป็นร้านค้าของแบรนด์เองจริง ๆ 
  2. ร้านค้า Global หรือ cross border ขายโดยพ่อค้าแม่ค้าต่างประเทศ
  3. ร้านค้ากลุ่มอื่น ๆ ทั่วไป

ซึ่ง Etailligence  สามารถไปเก็บข้อมูลจากร้านค้าได้ทุกประเภทเลยครับ

Etailligence

เข้ามาที่หน้า Market Analysis กันครับเป็นหน้าแรกเริ่มที่เหมาะกำลังดูสินค้าในแพลตฟอร์มทั้งสอง เดี๋ยวผมจะอธิบายแต่ละฟังก์ชันให้ทุกคนได้เข้าใจครับว่า Tools ตัวนี้สุดยอดขนาดไหน

  1. Search Product Name: ช่องในการค้นหาสินค้าครับ หากต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอะไรสามารถพิมพ์ลงไปได้เลย เช่น Case ที่ยกตัวอย่างจะใช้เป็น “กันแดด” ครับ
  2. Week Range: สำหรับเลือก Time Frame ที่เราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ครับ
  3. Category: สำหรับเลือกหมวดหมู่สินค้าที่เราต้องการหาครับ ยกตัวอย่างเช่น “เครื่องสำอาง”, “เซรั่ม” และ “เครื่องสำอาง” คือสามารถค้นหาหมวดหมู่สินค้าที่ต้องการได้เลย
  4. Channel: เลือกว่าจะให้ดึงข้อมูลจากช่องทางไหน ซึ่งปัจจุบันมี 2 ช่องทางได้แก่ Shopee และ Lazada ครับ หรือจะเลือกทั้ง 2 ช่องทางก็ได้
  5. Brand: สามารถค้นหาเป็นชื่อแบรนด์ได้ครับ เช่น Dr.Pong, Ingu เป็นต้นครับ
  6. Stores: สามารถค้นหาเป็นชื่อร้านค้าที่เราต้องการใน  Marketplace ได้ครับ

จะเห็นได้ว่าลูกเล่น และฟีเตอร์ในการค้นหาของ Etailligence  นั้นมีมากมายเลยครับ ขึ้นอยู่ว่าจุดประสงค์ของผู้ใช้ว่าต้องการค้นหาแบบไหน ค้นหาดูสินค้าโดยรวมมั้ย หรือจะค้นหาดูเฉพาะแบรนด์ดี หรือหาเป็นร้านค้าดี สามารถเลือกได้หมดเลยครับค่อนข้างที่จะครอบคลุม

ทีนี้พามาส่อง Overall Stats ของสินค้า “กันแดด” กันบ้างดีกว่าครับว่าเป็นอย่างไร

  1. Products: จำนวนรายการสินค้าที่อยู่ใน Keyword “กันแดด” มีทั้งหมด 2,390 รายการครับ ซึ่งเพิ่มขึ้น 373 รายการคิดเป็น 15.6%
  2. Est.Sale: คือมูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นในช่วง Time Frame ที่เลือกไว้ครับใน  Keyword “กันแดด” มูลค่าสูงถึง 57 ล้านบาทเลยทีเดียว
  3. Avg.Product Price: คือราคาเฉลี่ยของสินค้าทั้งหมดครับ จะเห็นว่าปัจจุบันคือ 1,900 บาทลดจาก ห่อนหน้านี้ถึง 410.37 บาท คิดเห็น 21.5% เลยทีเดียว ตีความได้ว่าผลิตภัณฑ์กันแดด นับวันราคายิ่งแข่งกันลดเรื่อย ๆ 
  4. Store: จำนวนร้านค้าทั้งหมดที่ขายผลิตภัณฑ์กันแดด ทั้งหมดมี 639 ร้าน เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อน 284 ร้าน คิดเป็น 44.8% เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเราก็เห็นภาพลาง ๆ แล้วใช่มั้ยล่ะครับว่าในตลาดนี้ กำลังมีผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
  5. Unit Sold: จำนวนชิ้นที่ขายไปครับ
  6. Reviews: จำนวนคนซื้อแล้วกลับมาเขียนรีวิวครับ จะเห็ยได้ว่าเพิ่มขึ้นถึง 11.8% อาจจะเป็นเพราะว่าการส่งเสริมของแพลตฟอร์มช้อปปิ้งด้วยที่คนซื้อกลับมารีวิวแล้วจะแจก Coin

เอาจริง ๆ นะครับ แค่เห็น Data ที่เป็น Overall Stats เพียงเท่านี้นักการตลาดอย่างเรา ๆ ก็สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นแล้วครับ สำหรับผมเองเป็น Data ที่มีคุณค่าสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นดูความดุเดือดของตลาด ผู้เล่นหน้าใหม่ มูลค่าตลาด แนวโน้มการเติบโต การแข่งด้านราคา ทำให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะเข้าไปเล่นตลาดนี้มั้ย ถ้าเข้าควรเข้าไปโดยใช้กลยุทธ์ใด เป็นต้นครับ แต่ แต่ แต่ ยังไม่หมดแค่นี้ครับ ผมชวนดูความสุดยอดของ Etailligence ต่อไปอีก

Etailligence

ต่อเนื่องจาก Overall Stats เมื่อกี้เลยครับ

  1. Chanel Market Share: ดูว่าผลิตภัณฑ์อยู่ในแพลตฟอร์ม Shopee หรือ Lazada มากกว่ากัน ถ้าดูจาก Data จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์กันแดดจะอยู่ใน Shopee ซะมากกว่า ทีนี้ก็รู้แล้วว่าควรให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มใดมากกว่ากัน
  2. Price Range: ช่วงราคาเป็นอย่างไร
  3. Sale Volume Trend: สามารถดูเทรนด์ของสินค้าได้ครับ ว่าขายดีช่วงไหน ขายไม่ดีช่วงไหน เช่นจะเห็นได้ว่าขายดี Week ที่ 16 ซึ่งตรงกับเดือนเมษาช่วงสงกรานต์นั่นเอง ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไรที่คนมองหากันแดดในเดือนเมษา ก่อนที่จะตกลงมาใน Week ที่ 17 และ 18
  4. Price Trend: แนวโน้มของราคาเป็นอย่างไร จากที่เห็นจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์กันแดดมีราคาที่ค่อนข้างลดลงอย่างต่อเนื่อง และชัดเจนมาก ๆ จาก Week ที่ 16 ราคาประมาณ 2,325 บาท จนมา Week ที่ 18 เหลือเพียง 1,900 บาทเท่านั้น ใครเรียนเศรษฐศาสตร์มาน่าจะเห็นความสัมพันธ์ของราคาที่ลดลงในรูป 4 และ ปริมาณขายของที่รูป 3 ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ความสุดยอดของ Etailligence ไม่ได้มีแค่นี้ครับ ชวนดูกันต่อ

  1. Top Store: ดูว่าร้านค้าไหนขายกันแดดได้จำนวนเยอะที่สุด หรือสามารถเลือกได้ว่ายอดขายสูงที่สุดก็ได้เช่นกันครับ
  2. Share of Rating: มาดูกันว่าคนรีวิวกันแดดส่วนใหญ่ให้คะแนนรีวิวกี่ดาวกัน 
  3. Top Brands: ดูว่าแบรนด์ไหนขายกันแดดได้จำนวนเยอะที่สุด หรือสามารถเลือกได้ว่ายอดขายสูงที่สุดก้ได้เช่นกันครับ
  4. Top Category: ดูกันว่าผลิตภัณฑ์กันแดดใน Category ไหนขายดีที่สุดครับ

ด้วยข้อมูลเหล่านี้เราจะสามารถวิเคราะห์คู่แข่ง โดยเฉพาะเจ้าตลาดในอุตสาหกรรมที่เรากระโจนลงไปเล่นได้เป็นอย่างดีเลยครับ

ต้องบอกว่านอกจากจะดูสินค้าแบบโดยรวมได้แล้วเนี่ย Etailligence สามารถดูผลิตภัณฑ์แบบรายตัว ในแต่ละร้านได้อีกครับ ยกตัวอย่างนะครับ

Etailligence

สินค้าที่ยกตัวอย่างเป็นครีมกันแดด Her Hyness ขนาด 50ml. จาก Shop HER HTNESS Official Store ซึ่งเป็น Shop แบบ Official ครับ นอกเหนือไปจากนี้ยังสามารถดูสินค้าอื่นจากร้านอื่น หรือสินค้าแบบเดียวกันจากร้านอื่นเพื่อเปรียบเทียบกันก็ได้ครับ

  1. Product Name: เราสามารถดูกลยุทธ์การตั้งชื่อสินค้าจากร้านต่าง ๆ ได้ครับ ผมเชื่อว่าการตั้งชื่อมีผลต่อยอดขายแน่นอนไม่มากก็น้อย แม้ว่าสินค้าตัวเดียวกัน 
  2. Brand: เป็นการระบุครับว่าสินค้าชิ้นนี้มาจากแบรนด์ไหน
  3. Category: สินค้านี้อยู่ในหมวดหมู่ไหน
  4. Rating: โดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าให้คะแนนจากการรีวิวเท่าไหร่
  5. Price: ราคา ณ ปัจจุบันแบบอัพเดทล่าสุด ราคากี่บาท
  6. Unit Sold: จาก Time Frame ที่เลือกขายได้กี่ชิ้น
  7. Total Rate Count: จำนวนคนที่ซื้อไปแล้วกลับมารีวิวมีเท่าไหร่
  8. Est.Sale Volume: จาก Time Frame ที่เลือกสินค้าตัวนี้ขายได้ทั้งหมดกี่บาท

บอกเลยว่าข้อมูลพวกนี้ถ้าเราหาเองค่อนข้างจะใช้เวลาอย่างแน่นอนครับ ยิ่งใครที่ต้องทำ Data monitoring สินค้าใน Shopee และ Lazada คงจะเข้าใจเป็นอย่างดี 

สามารถดูคลิปวิธีการสาธิตการใช้งานเต็ม ๆ ได้ที่คลิปด้านล่างเลยครับ

  1. ดู Market Share เปรียบเทียบตัวเองกับคู่แข่ง เข้าใจสภานการณ์การแข่งขัน นำไปวางกลยุทธ์ได้ถูกต้อง
  2. ดูเทรนด์สินค้าไหนดี ตัวไหนไม่ดี เพราะการขาย E-commerce สินค้าแต่ละตัวจะมีวงจรชีวิตเหมือน ๆ กัน คือมาสักพักแล้วก็ไปเหมือนกับการจุดพลุดัง แล้วก็ดับ ช่วงเวลาขายดีมีขึ้นมีลงตามเทรนด์ เพราะฉะนั้นคนที่คาดการณ์เทรนด์ได้ก่อนก็จะมีความได้เปรียบครับ

โดย ปัจจุบันมีผู้ใช้จริงแล้วหลายอุตสาหกรรม เช่น  แบรนด์ใหญ่ในตลาด Cosmetic, แบรนด์ใหญ่ในตลาด Gadget, ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า, และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย

ลองใช้ Etailligence

หากสนใจ และต้องการทดลองเล่น Demo ของ Etailligence สามารถกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน รับการติดต่อกลับเพื่อทดลองใช้ระบบ Etailligence ค้นหา Data การขายบน Ecommerce ได้เลยครับ

หรือลงทะเบียนได้ที่ Link: https://forms.gle/QBX9U6sfQz526bADA เลยครับ

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณ คือ...