ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าทางการตลาดวันละตอนได้เข้าไปเรียนในคลาสของทาง Superlab ในการเป็น Leadership ใน 21st Century โดยในบทความนี้จะขอเริ่มจากเรื่องที่เป็นผลกระทบของธุรกิจในทุกธุรกิจเลยก็ว่าได้ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ส่งผลไปยังทุกภาคส่วน ซึ่งพอพูดถึงเรื่องนี้สิ่งที่ได้ยินตามมาบ่อย ๆ คือ การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ Sustain แต่ผู้เขียนจะบอกว่าในตอนนี้การ Sustain อาจใช้ไม่ได้ดังนั้นเราจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ Resilient กันแทนค่ะ
Climate Change
ต้องบอกว่าพอถึงพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change หลายคนจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว หรือ อาจยังไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเองขนาดนั้น แต่จริง ๆ แล้วหากเรามองดี ๆ Climate Change ไม่ได้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจในหลายภาคส่วนอีกด้วยค่ะ
ซึ่งในคลาสเราจะได้พบกับ ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ซึ่งจะมาบรรยายให้เราฟังถึงความสำคัญและผลกระทบจาก Climate Change ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม รวมทั้งการนำ Generative AI เข้ามาช่วยในการแก้ไขตรงนี้ด้วยค่ะ
โดย Climate Change ส่งผลให้มีเปลี่ยนแปลงมากมายกับโลกของเรา แต่เราจะเห็นได้ชัดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และคลื่นความร้อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่จะส่งผลไปยังการผลิต และการส่งออก ซึ่งหากธุรกิจไม่มีแผนรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ อาจประสบกับการหยุดชะงักของการดำเนินงานและการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงได้ค่ะ
Climate Change บางครั้งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แท้จริงแล้วมันคือการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของพวกเรา
Paul Polman อดีต CEO, Unilever
เราจะเห็นว่าจากข้อมูลในภาพ ตัวเลขในกราฟแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงหลัง โดยกราฟนี้แสดงถึงจำนวนภัยทางธรรมชาติที่ไม่รวมแผ่นดินไหวค่ะ
โดยในปี 2023 ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีภัยทางธรรมชาติที่ถูกบันทึกเกิดขึ้นมากถึง 378 ครั้ง โดยมี
น้ำท่วม (Flood) ถูกบันทึกไว้ 166 ครั้ง
สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme weather) 140 ครั้ง
ภัยแล้ง (Drought) 17 ครั้ง
อุณหภูมิสุดขั้ว (Extreme temperature) 10 ครั้ง
ตัวเลขนี้บอกให้เราเห็นถึงผลกระทบที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจาก Climate Change และยังเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญในการจัดการและปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยพิบัติในอนาคตอีกด้วยค่ะ
อย่างที่บอกไปว่าหนึ่งในวิธีการจัดการกับภัยพิบัติเหล่านี้ คือ การนำ AI เข้ามาช่วยในการ Predict ว่าจะเกิดภัยพิบัติอะไรแล้วเราจะรับมือยังไงต่อดี ซึ่งการใช้ AI เข้ามาช่วยในเรื่องนี้นั้นก็มีมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2018 โดยมีการนำ AI เข้ามาใช้ในหลายด้าน
โดยในปี 2018 มีการใช้ AI เพื่อการทำนายอุทกภัย หรือ เรื่องของน้ำท่วม (Flood Prediction) โดย Google ต่อมาในปี 2019 ทาง Google ก็ได้ขยายการใช้งาน AI เพื่อการขับขี่อย่างยั่งยืน (Sustainable Driving) ผ่านแอป Google Maps ค่ะ ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานและส่งเสริมการขับขี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
และนี่คือตัวอย่างของการนำ AI มาปรับใช้เพื่อจัดการกับภัยธรรมชาติ และการสร้างความยั่งยืนเพื่อลดการกระตุ้น Climate Change แล้วนำไปสู่การเกิดภัยธรรมชาติเหล่านี้ค่ะ ซึ่งในคลาสนี้นอกจาก ดร. การดี เลียวไพโรจน์ เรายังได้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการภัยพิบัติอย่าง ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่จะมาบรรยาในการ Predict ภัยพิบัติโดยเฉพาะในประเทศไทยของเรานั่นเองค่ะ
โดยเราจะได้ห็นถึงวิธีการคาดการณ์ หนึ่งในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทยเราอย่างน้ำท่วม ตลอดจนถึงวิธีป้องกันแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดภัยเหล่านั้นขึ้นอย่างที่คนมักพูดว่าอีกหน่อยกรุงเทพจะจมอยู่ใต้น้ำ มันจริงมั้ย แล้วมีวิธีป้องกันอะไรรึเปล่า เพื่อจะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น
อย่างนี้คือรูปตัวอย่างของปี 2023 และปี 2050 รวมทั้งปริมาณน้ำที่อาจเกิดขึ้นในภาคกลาง หากเราไม่ทำอะไรแล้วปล่อยให้เกิดอุทกภัยทุก ๆ ปี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาก็อาจส่งผลกระทบให้ภาคกลางเกิดเหมือนในภาพนี้ค่ะ ถ้าใครอยากฟังรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สนใจเรียน ก็สามารถรอติดตามคลาสจากทาง SuperLab ได้ค่ะ หรือจะเข้าไปที่ FutureTales LAB by MQDC เพื่อติดตามข่าวสารค่ะ
Resilient Leadership for the 21st Century
เราพูดถึงเรื่องผลกระทบไปแล้ว เรากลับมาสู่การป้องกัน หรือ แก้ไขที่สามารถทำได้กันดีกว่า อย่างที่บอกว่าในยุคที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งจากปัญหา Climate Change และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจไม่สามารถพึ่งพาแนวคิด Sustain หรือ Sustainability ได้เพียงอย่างเดียวค่ะ
เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทำให้แนวทางในการรับมือกับปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ธุรกิจจึงต้องมุ่งเน้นไปที่ Resilience หรือ Resilient ที่แสดงถึงความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวจากวิกฤตเพื่อความอยู่รอดแทนค่ะ โดยหัวข้อนี้จะถูกบรรยายโดย ดร.สิงห์ อินทรชูโต นั่นเองค่ะ
โดยความสามารถในการปรับตัวและฟื้นฟูจากปัญหา (Resilience) กลายเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการกับความไม่แน่นอน คำว่า Resilience มาจากรากศัพท์ภาษาละติน “Resilio” ซึ่งหมายถึงการ “เด้งกลับ” หรือการกลับคืนสู่สภาพเดิมค่ะ ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ได้หมายถึงเพียงการปรับตัวเท่านั้นนะคะ แต่รวมไปถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอีกด้วยค่ะ
ซึ่งแนวคิด Resilience นี้เองเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังจากเจอวิกฤต โดยความยืดหยุ่นนี้ไม่ได้หมายถึงการลดผลกระทบเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ การสร้างความสามารถในการปรับตัวนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ รวมทั้งในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความท้าทายนั่นเองค่ะ
โดยทางดร.สิงห์เองก็ได้ให้ Framework ที่เหล่าผู้บริหารยุคใหม่ รวมทั้งธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้ ออกมาเป็นเฟรมเวิร์คนี้ค่ะ
ซึ่งธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้ อย่างตัวอย่างคือ การตั้งโรงงานหรือ Community ในเขตธนบุรี โดยเฟรมเวิร์คถูกนำมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้และส่งผลกระทบ
โดยเฟรมเวิร์คนี้จะช่วยให้สามารถวางแผนรับมือและฟื้นตัวจากปัญหาเหล่านี้ได้โดยการประเมินความเสี่ยงและเตรียมกลยุทธ์สำหรับการลดผลกระทบค่ะ ซึ่งในคลาสก็จะมีการแจกตัว Framework เพื่อให้ผู้บริหารนำไปใช้ต่อได้อีกด้วยค่ะ
ในยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แค่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจไม่เพียงพอ การวางแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน รวมถึงการเตรียมความพร้อมรับความท้าทายและความเสี่ยงในอนาคต กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด การสร้าง Resilience ในธุรกิจจึงเป็นการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยปกป้องธุรกิจจากความไม่แน่นอนในอนาคต
นอกจากนี้ในคลาสยังมีคุณ อรรถพร จงรักศักดิ์ ที่จะบรรยากาศในเรื่องที่เราจะใช้ Generative AI เข้ามาช่วยในการสร้าง Resilience รวมทั้งการ Predict ภับพิบัติต่าง ๆ ได้ยังไงอีกด้วยค่ะ
และทั้งหมดนี้ก็คือ เมื่อโลกเปลี่ยนไป ธุรกิจต้องปรับจาก Sustain สู่ Resilient จาก Superlab นั่นเองค่ะ การเปลี่ยนผ่านจาก Sustain สู่ Resilient เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกปัจจุบัน ธุรกิจที่สามารถปรับตัวและสร้าง Resilience ได้จะมีโอกาสที่ดีกว่าในการฟื้นตัวจากวิกฤตและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคตค่ะ
ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator Prompt : A business executive standing outdoors, looking out at multiple natural disasters approaching, including a flood, wildfire, landslide, and heavy smog from air pollution. The executive is holding a strategic plan, with a focused and determined expression, symbolizing resilience and leadership in confronting environmental crises.
ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ
สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
https://www.everydaymarketing.co/pr/sc-asset-business-strategy-2020-resilient/