AP Thailand กับ 3 กลยุทธ์การ Drive ธุรกิจในวันที่โลกเปลี่ยน

ธุรกิจอสังหาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เสี่ยงไม่น้อยในช่วง COVID19 ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ เริ่มตั้งแต่กำลังคนซื้อบ้าน ตลอดไปจนถึงความเชื่อมั่นของแบงค์เพื่อปล่อยกู้ด้วย ล่าสุด AP Thailand เค้าจึงได้ออกมาเล่าถึงกลยุทธ์ธุรกิจแบบ Top-Down และนวัตกรรมที่น่าสนใจ ในการพาองค์กรก้าวข้าม Challenges ที่ไม่แน่นอนไม่พร้อมๆ กันค่ะ

ต้องบอกว่า AP Thailand เค้ามีการ Transform บริษัทกันมาแบบต่อเนื่อง แต่สิ่งนึงที่ทำให้การ Transformation ประสบผลสำเร็จได้จริงๆ หรือการบริหารแบบ Top-Down นั่นก็คือการที่ Leaders ทุกคนลงมาร่วมกันผลักดันองค์กร พนักงาน คู่ค้าให้เห็นภาพเดียวกัน เพราะบางบริษัทมีหลายครั้งที่จัดการ Transform ด้วยการสั่งผ่าน HR และปลูกฝังเรื่อง Digital Transformation ไปงั้นๆ เพราะผู้บริหารรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่คนเค้าพูดกัน และองค์กรต้องทำ

แต่หากผู้บริหารไม่ลงร่วมด้วยเองกับมือ ก็จะไม่มีทางเข้าใจเลยว่า Transformation จะกระทบพนักงานอย่างไร พนักงานตัวเองต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง หรือมีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ HR สั่งมา เหมือนกับประโยคที่เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า ‘คนทำไม่ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ’ ดังนั้นสิ่งนึงที่จะทำให้เกิด Transformation ที่สำเร็จลุล่วงไปได้คือการที่เหล่าหัวหน้า ผู้บริหารลง Field มาร่วมผลักดันองค์กรด้วยกันพร้อมๆ กับลูกน้องและพนักงานค่ะ

แต่เคล็ดไม่ลับนึงของ AP Thailand ไม่ใช่เพียงผู้บริหารลงมาร่วมมือกับลูกน้องและพนักงานเท่านั้น แต่มันเริ่มจาก Strategy แรกที่บอกเลยว่าเป็นการทำ Top-Down ของจริง เริ่มต้นที่การสร้างผู้นำอิสระหรือ Independent Responsible Leaders ภายในองค์กรมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่มากกว่าเพราะการที่มีผู้นำอิสระนั้น มันเท่ากับว่าภายในองค์กรมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจมากขึ้นด้วย ไม่ต้องรอ HIPPO ภายในบริษัทเป็นคนตัดสินใจไปเสียทุกเรื่อง จนทำให้การทำงานมีลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนและยุ่งยากเกินไป โดยเฉพาะกับปัญหาหรือเรื่องเล็กๆ ค่ะ

ซึ่งการที่จะเปิดให้มีผู้นำอิสระมากขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากขนาดควบคุมไม่ได้ เพราะหากนักผู้บริหารท่านใดอยากนำแนวบริหารนี้ไปปรับใช้กับองค์กรตัวเองดูละก็ บอกเลยว่าสิ่งที่ต้องทำก็คือการขีดเส้น Boundaries หรือขอบเขตของแต่ละเรื่องเอาไว้ให้ชัดเจน ถ้าให้พูดจริงๆ มันก็เหมือนกับการใช้ Skill การทำกลยุทธ์ค่ะ เพราะมันคือการเขียนไว้ว่าปลายทางคืออะไร หรือจุดขอบเขตมีอะไร แล้วปล่อยระหว่างทางให้เป็นเรื่องของผู้นำอิสระเหล่านั้นเป็นคนตัดสินใจเอาเองนั่นเองค่ะ

ยังไม่พอ AP Thailand ยังมีกลยุทธ์ที่สองหรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งในกลยุทธ์นี้เค้าได้มีการปรับใช้แนวคิดหลักอย่าง Design Thinking เข้ามาช่วยให้พนักงานทุกคนและแน่นอนว่ารวมถึงผู้บริหารด้วย ได้ทำความเข้าใจและรู้จักลูกค้าจริงๆ เพราะ Design Thinking มีขั้นตอนแรกที่เป็นการทำเข้าอกเข้าใจลูกค้าหรือ Empathy ทำให้แบรนด์สามารถหา Insights และ Unmet Needs ที่ลูกค้าไม่ได้บอก หรือบางทีไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองมีความต้องการแบบนี้มาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ AP ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงใจและตรงจุดมากขึ้นนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม การใช้นวัตกรรมอาจฟังเป็นเรื่องสวยหรู น่าตื่นเต้นก็จริง แต่หาก AP ก็จะไม่ลืมถึงเรื่องของความ Practical ที่ว่าลูกค้าจะได้ใช้นวัตกรรมเหล่านั้นจริงๆ หรือมากน้อยแค่ไหนด้วย ยกตัวอย่างถ้าเราบอกว่า AP จะทำสวนที่กลางวันเป็นหญ้า กลางคืนเป็นลาน Skate ฟังแล้วดูว้าว ตื่นตาตื่นใจ แต่ก็ต้องกลับมาคิดด้วยว่า จริงๆ แล้วคนใช้งานมันด้วยความถี่เท่าไร หรือมันเป็นเพียง Nice-to-have เฉยๆ ดังนั้นสิ่งนึงที่เราต้องยึดถือไว้ให้มั่นหากอยากปรับตัวก็คือ การที่เราไม่ควรเอา Innovation หรือนวัตกรรมขึ้นมานำความเป็นมนุษย์ หรือคิดทุกอย่างโดยเริ่มต้นจากนวัตกรรมนั่นเอง มันอาจจะว้าวในครั้งแรกก็จริง แต่มันอาจไม่ค่อยได้ใช้ก็เป็นได้

สุดท้ายคือ Strategy ที่สามที่ AP เล่าให้ฟังนั่นก็คือการใช้ Digital เข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรในแต่ละ Players ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์กับลูกค้า แบรนด์กับคู่ค้าก็ดี เพื่อทุกคนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ แถมยังมีความรวดเร็ว แม่นยำเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ 

KATSAN App AP Thailand

ตัวอย่างสำหรับ AP เองเค้าก็มีการทำแอป KATSAN ให้สำหรับลูกบ้านไว้ใช้งาน อย่างประเด็นการประทับตราจอดรถตามหมู่บ้านแอปตัวนี้ก็ช่วยได้ดี ขอยกตัวอย่างกรณีเวลาเพลินไปหมู่บ้านของญาติเพื่อเยี่ยมอาอี้ที่แก่แล้ว ยามหน้าหมู่บ้านก็จะให้แลกบัตร พร้อมกับยื่นบัตรจอดรถให้เพลินเอาไปแสตมป์ที่บ้านตลอด เกือบทุกครั้งบอกเลยว่าลืมบ่อยมาก แล้วต้องวนรถกลับไปเพื่อขอแสตมป์กับอาอี้อีกครั้งวนไป แต่แอป KATSAN เค้าก็ปรับ Pain เหล่านี้มาไว้ในแอป ทำให้เราสามารถประทับตราผ่านแอปได้เลยนั่นเองค่ะ

หรือถ้าพูดถึงในเรื่องของ Digital ในฝั่งคู่ค้าแล้ว AP เค้าก็มีแพลตฟอร์ม Vendor Management ที่จะช่วยให้แมสเซนเจอร์ไม่ต้องมาคอย ไม่ต้องรอว่าเมื่อไรจะได้เงินในขั้นตอนวางบิล ออก Invoice รับเงินต่างๆ เพราะแพลตฟอร์มนี้ ทำให้คู่ค้าสามารถเข้าไป Track ดูได้เลยว่า เอกสารของตัวเองติดอยู่ที่ไหน แล้วไปถึงขั้นตอนไหนบ้าง เมื่อไรจะได้รับเงินเป็นต้นค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 3 กลยุทธ์หลักของ AP Thailand ที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรให้ผ่านพ้น Challenges และความไม่แน่นอนในช่วงนี้ ตั้งแต่การสร้างผู้นำอิสระ การสร้างวัฒนธรรมธรรมที่เอื้อกับการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนเรื่องของการให้ Digital เป็นเหมือน Backbone สำคัญของธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งนึงที่ขาดไม่ได้เลยคือการบริหารแบบ Top-Down ที่ผู้บริหารต้องลงมาผลักดัน คลุกคลีกับพนักงานด้วยตัวเอง ไม่ใช่แค่สั่งแล้วปล่อยผ่านไปนั่นเองค่ะ  สิ่งสำคัญที่สุด อย่าลืมเรื่องของ Vision และ Mission รวมไปถึงการขีดขอบเขตของการทำงานให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานทุกคน ทุกฝ่าย ทุกส่วน สามารถมีความเป็น Leadership และโตไปพร้อมๆ กับบริษัทด้วย

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *