11 Insight Travel & Tourism จากรายงานการเดินทางอย่างยั่งยืนปี 2568 จาก Booking.com

Booking.com เผยรายงานประจำปี 2568 ว่าด้วยการเดินทางอย่างยั่งยืน ซึ่งปีนี้เป็นปีครบรอบ 10 ปีของการเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้เดินทางและความคิดเห็นของคนท้องถิ่นใน 32 ประเทศครับ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยรายงานเน้นให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญที่สะท้อนว่าการเดินทางเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อชุมชน กำลังกลายเป็นพฤติกรรมหลัก ของนักเดินทางยุคใหม่ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่กำลังเป็นกำลังซื้อหลักในอนาคต มาดูกันดีกว่าว่า 11 Insight Travel Tourism สำคัญที่นักการตลาดควรรู้มีอะไรบ้าง

ต้องบอกว่าการเดินทางแบบ Eco-Friendly กำลังเปลี่ยนเป็น Community-Friendly ครับ นักเดินทางเริ่มใส่ใจความรู้สึกของคนในพื้นที่พอ ๆ กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแบรนด์ควรยกระดับแคมเปญ CSR ให้สื่อสารผลลัพธ์ที่เกิดกับคนจริง ๆ เช่น รายได้ร้านชุมชนที่เพิ่มขึ้น หรือการสร้างอาชีพใหม่ และควรมี KPI ด้าน Social Impact ที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่ติดโลโก้ลดคาร์บอนบนป้ายโฆษณาครับ

การท่องเที่ยวเชิงบวกกลายเป็นความคาดหวังพื้นฐานของนักท่องเที่ยว แบรนด์สามารถออกแบบประสบการณ์แบบ Leave a Positive Trace ได้ เช่น บริจาค 1% ของยอดใช้จ่ายเข้ากองทุนชุมชน พร้อมแสดงผลแบบ Real-Time บนแอปหรือใบเสร็จ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองมีส่วนร่วมจริง ๆ ครับ

แพ็กเกจท่องเที่ยวแบบรักษ์โลกไม่ควรเป็นแค่ทางเลือกเสริม แต่ควรกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนเลือกโดยอัตโนมัติแทนที่จะพูดเรื่องความยั่งยืนให้ดูเหมือนต้องเสียสละ ควรทำให้รู้สึกว่าเลือกแบบนี้รู้สึก Look good, smart and cool. กว่า เช่น มอบแต้มสะสมพิเศษ หรือสิทธิ VIP ให้กับคนที่เลือกที่พักที่ผ่านการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมครับ

Insight Travel Tourism

นี่คือโอกาสทองของแคมเปญ Win-Win Tourism ลองจับมือกับเทศบาลทำโครงการจริง เช่น ปรับภูมิทัศน์ หรือจัดคลีนอัพ แล้วเล่าเรื่องผ่าน Before/After บนโซเชียล เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ครับ

แคมเปญ Off-Peak ไม่ใช่แค่การลดราคาอีกต่อไป แต่คือโอกาสขายประสบการณ์ที่ “สงบกว่า ลึกซึ้งกว่า”คอนเทนต์อย่าง “Quiet Season, Richer Stories” + โปร Early Check-in, เวิร์กช็อปพิเศษตามฤดู จะได้ผลมากเลยละครับ ยกตัวอย่าง

นักท่องเที่ยวเริ่มหันไปเที่ยวเมืองรอง ไม่ใช่แค่เพราะอยากเปลี่ยนที่ แต่เพราะอยากลดผลกระทบจากความแออัดครับ นี่คือโอกาสทองของการสร้างตลาดทางเลือก ด้วยเรื่องเล่าน่าสนใจ แบรนด์ควรใช้คำค้นแบบเฉพาะ และทำแผนที่เมืองรองโหลดฟรี โดยอาจจะแลกกับอีเมลหรือเบอร์โทร เพื่อสร้าง Lead พร้อมกระจายความหนาแน่นของนักท่องเที่ยวได้จริงครับ

นักท่องเที่ยวไม่ได้แค่เที่ยว แต่พร้อมใช้จ่ายกับร้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ แบรนด์สามารถออกแบบ แคมเปญ Co-Promotion กับร้านชุมชนครับ เช่น

  • บัตรสะสมแต้มจากร้านกาแฟ 5 ร้าน แลกของที่ระลึก
  • หรือจัด Food Trail ทริปร้านเด็ดเมืองนั้น ที่มีทั้งของอร่อย และเรื่องเล่าท้องถิ่นกลยุทธ์นี้ช่วยเพิ่มยอดขายในพื้นที่ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ท่องเที่ยวแบบไม่ต้องพยายามมากครับ
Insight Travel Tourism

นักท่องเที่ยวยุคใหม่อยากรู้ว่าเงินของพวกเขาไปอยู่ตรงไหนรับ ดังนั้นแบรนด์ควรมี ฟีเจอร์ Local Spend Tracker แสดงเปอร์เซ็นต์เงินที่หมุนเวียนสู่ธุรกิจท้องถิ่น เช่น “65% ของค่าใช้จ่ายครั้งนี้สนับสนุนชุมชนในจังหวัดเลย”แสดงในใบเสร็จหรือบนแอป เพื่อสร้างความโปร่งใส และกระตุ้นการใช้จ่ายซ้ำ เพราะลูกค้ารู้ว่าทุกบาทมีความหมาย

นักท่องเที่ยวไม่ต้องการแค่ไปเช็กอิน แต่ต้องการสัมผัสชีวิตของคนในพื้นที่จริง ๆ แบรนด์ควรออกแบบ แพ็กเกจแนว Culture-First เช่น

  • ทำขนมพื้นบ้านกับเจ้าถิ่น
  • ดำนา ทำผ้าคราม หรือเรียนดนตรีพื้นบ้านใช้ Creator ท้องถิ่นมาเป็นผู้สอนหรือโฮสต์วิดีโอ สร้างเสน่ห์ พร้อมเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ประสบการณ์

นักท่องเที่ยวที่มากเกินไปอาจทำให้เมืองแย่ลงได้ครับ ดังนั้นแบรนด์ควรออกแบบ Zero-Waste Tours ที่เน้นลดขยะและรถส่วนตัว เช่น

  • ใช้ตั๋วดิจิทัลแทนกระดาษ
  • แจกถุงผ้า แก้วน้ำพกพา
  • หรือจัด EV Shuttle รับ-ส่งนักท่องเที่ยวระหว่างจุดต่าง ๆ อย่าลืมโชว์ตัวเลขขยะลดลงจริง หรือ CO2 ที่ประหยัดได้ ผ่าน Dashboard หรือโซเชียล เพื่อสร้างความเชื่อมั่น

สะท้อนว่าความยั่งยืนเชิงโครงสร้างคือสิ่งที่ยังขาดไป แบรนด์หรือหน่วยงานรัฐควรลงทุนในโครงการระยะยาวมากขึ้น เช่น

  • จุดคัดแยกขยะต้นทาง
  • ทางจักรยานเชื่อมชุมชน
  • หรือระบบ Shuttle พลังงานสะอาด ควรมี Public Dashboard ให้ประชาชนเห็นความคืบหน้าจริงเมื่อผลลัพธ์จับต้องได้ แบรนด์ก็ได้เครดิตความยั่งยืนที่ถาวร ไม่ใช่แค่คำพูดครับ
Insight Travel Tourism
Insight Travel Tourism
(AI-Generated Image by Shutterstock Prompt: a man celebrating wildly as beer spills from his mug, in a crowded football stadium, intense expression of joy, foam flying mid-air, vibrant crowd in background, match lighting, cinematic action shot)

จะเห็นได้ว่าความยั่งยืนในมุมมองของนักเดินทางยุคใหม่ ไม่ได้หมายถึงแค่การรักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป แต่รวมถึงความใส่ใจต่อชุมชน วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย นักท่องเที่ยวยุคนี้ไม่ได้แค่เที่ยวอย่างมีจิตสำนึก แต่ยังคาดหวังให้แบรนด์และธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องขยับจากการพูดเรื่อง Sustainability แบบผิวเผิน มาสู่การออกแบบประสบการณ์ การสื่อสาร และโครงสร้างที่ จับต้องได้จริง ทั้งในระดับแคมเปญและระบบครับ

บทความที่แนะนำมห้อ่านต่อ

ชื่อเติ้ลครับ เป็น Senior Data Insight Researcher & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^ มีงานอดิเรกเป็น ผู้ช่วยนักวิจัยฝั่ง Consumer Insights ที่คณะวิทยาศาตร์การกีฬา ที่จุฬาครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *