วิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจง่าย ๆ ด้วย Business Model Canvas

วิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจง่าย ๆ ด้วย Business Model Canvas

บทความนี้ผมจะจะพาทุก ๆ คนมาทำความรู้จักและเข้าใจเครื่องมือที่มีชื่อว่า Business Model Canvas หรือ BMC เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ สามารถใช้ได้ทั้งกรณีที่ใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละองค์ประกอบ และอีกกรณีใช้เมื่อต้องการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อให้เห็นและเข้าใจภาพรวมที่จะต้องทำก่อนที่จะเจาะลงไปในรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ผมจึงมองว่าการรู้จักและเข้าใจ BMC จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการทุกคนครับ

Business Model Canvas

Value Proposition คุณค่าหลักที่เรามอบให้แก่ลูกค้า ซึ่งสามารถเป็นไปได้ทั้งสินค้าและบริการครับ สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ให้ได้ว่า Value Proposition ของเราคืออะไร เป็นสิ่งที่แก้ปัญหาให้แก่ลูกค้าจริง ๆ หรือไม่ สามารถเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าเลือกเราได้หรือเปล่า

สำหรับผมแล้ว Value Proposition ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกใน BMC เลยล่ะครับ เพราะถ้าผลิตภัณฑ์ดี อะไร ๆ ก็จะง่ายขึ้นอย่างแน่นอน 

หรือถ้าหากเป็นธุรกิจที่ยังไม่เริ่มต้น เราจะกำหนด Value Proposition ยังไงดี ผมมีคำถามง่าย ๆ เบื้องต้น สำหรับการกำหนด Value Proposition มาฝากทุกคนกันครับ 

  • ปัญหาอะไรที่เรากำลังแก้ไข?
  • ทำไมใครบางคนถึงต้องการให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข?
  • อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังสำหรับปัญหานี้?

คำถามเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราสามารถกำหนด Value Proposition ได้ง่ายมากยิ่งขึ้นครับ

BMC

Customer Segment กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคือใคร ใครคือผู้ที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา จริง ๆ Customer Segment ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ เป็นการแบ่งฐานลูกค้าออกเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกันในบางแง่มุม เช่น อายุ เพศ ความสนใจ และพฤติกรรมการใช้จ่ายครับ

สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ให้ได้ว่าในธุรกิจของเรามี Customer Segment กี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มเป็นยังไง มีพฤติกรรมแบบไหน เพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างตรงจุดครับ

สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อกำหนด Customer Segments:

  • เรากำลังแก้ไขปัญหาให้ใคร?
  • ใครคือคนที่เห็นคุณค่าของข้อเสนอคุณค่าของเรา?
  • ลูกค้าของเราเป็นธุรกิจหรือไม่?
    • ถ้าใช่ ลักษณะของธุรกิจเหล่านั้นคืออะไร?
  • หรือว่าลูกค้าของเราเป็นผู้บริโภคทั่วไป?
    • ผลิตภัณฑ์ของเราดึงดูดผู้ชาย/ผู้หญิง หรือทั้งสอง?
    • ผลิตภัณฑ์ของเราดึงดูดวัยทำงาน หรือวัยรุ่น?
  • อะไรคือลักษณะของบุคคลที่กำลังมองหา  Value Proposition ของเรา?

อีกสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องวัดและทำความเข้าใจคือ Market Size ใหญ่ขนาดไหน และมีคนจำนวนเท่าใดใน Customer Segments ที่เรากำหนด อีกจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำความเข้าใจลูกค้าคือการสร้าง Customer Personas สำหรับแต่ละ Customer Segment ครับ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เรามองลูกค้าเป็นคน และเห็นภาพมากยิ่งขึ้น

เป็นความจริงของธุรกิจที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้นทุนการรักษาลูกค้าเก่ามักจะต่ำกว่าต้นทุนการหาลูกค้าใหม่ เพราะฉะนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับวิธีการที่ธุรกิจจะสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าว่าเป็นแบบไหน เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร 

กิจกรรม หรือวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอาจจะเน้นไปที่ช่องทางออนไลน์สัก 90% อีก 10% เป็นกิจกรรมออนไซต์ เป็นต้น สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งต้องย้อนกลับไปที่ Customer Segments ว่าคือใคร มีพฤติกรรมแบบไหนมีแนวโน้มจะชอบอะไร ไม่ชอบอะไร สำหรับผมคิดว่าหากเข้าใจ 2 สิ่งนี้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะพฤติกรรมของลูกค้าจะสามารถทำ Customer Relationships ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ

BMC

หมายถึงช่องทางหลักที่ธุรกิจจะสื่อสารและขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า ซึ่งสามารถเป็นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ สำหรับช่องทางก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ ผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร ลูกค้าของเราเป็นใคร เหมาะกับการใช้ช่องทางไหนเป็นหลัก และใช้ช่องทางไหนเป็นส่วนเสริม

ยกตัวอย่างเช่น หากเราเปิดร้านอาหาร เราจะเน้นเป็นแบบนั่งทานที่ร้านหรือสั่งกลับบ้าน ถ้านั่งทานที่ร้านอาจจะเน้นออนไซต์เยอะหน่อย และออนไลยน์เป็นส่วนเสริม ถ้าเป็นแบบสั่งกลับบ้าน อาจจะใช้ออนไลน์แบบ 100% เลย

กิจกรรมหลักสำคัญที่ธุรกิจต้องทำเพื่อสร้างและส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า โดยแบ่งเป็นทั้งหน้าร้าน และหลังร้าน โดย กิจกรรมหน้าร้าน หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า ในขณะที่ กิจกรรมหลังร้าน เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจ แต่ไม่ปรากฏต่อสายตาลูกค้าโดยตรง ยกตัวอย่างธุรกิจร้านอาหาร

กิจกรรมหลักหน้าร้าน

  • การขายสินค้า: การขายเป็นกระบวนการหลักที่เกิดขึ้นหน้าร้าน ซึ่งรวมถึงการรับออเดอร์ การจ่ายเงิน และการส่งมอบสินค้า/บริการแก่ลูกค้า
  • การบริการลูกค้า: การต้อนรับและดูแลลูกค้า ตั้งแต่การทักทาย การตอบคำถาม การให้คำแนะนำ ไปจนถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • การดำเนินการผลิต: สำหรับธุรกิจร้านอาหาร อาจเป็นการทำอาหาร การจัดเตรียมเครื่องดื่ม หรือการจัดจานเพื่อให้พร้อมสำหรับเสิร์ฟ
  • การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ: การรักษาสถานที่ให้สะอาดและเป็นระเบียบเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับลูกค้า

กิจกรรมหลักหลังร้าน

  • การตลาดและการประชาสัมพันธ์: การสร้างแคมเปญการตลาดโปรโมทธุรกิจผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และอีเมล
  • การบริหารจัดการ: การสั่งซื้อวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงคลัง และการติดต่อกับซัพพลายเออร์เพื่อให้มั่นใจว่ามีวัตถุดิบเพียงพอ
  • การวางแผนและการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่: สำหรับร้านอาหาร อาจเป็นการสร้างเมนูใหม่ การปรับปรุงสูตรอาหาร หรือการทดสอบรสชาติ
  • การบริหารจัดการบุคลากร: การจ้างงาน การฝึกอบรม และการดูแลพนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานมีทักษะและความรู้ที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน
  • การจัดการการเงินและการบัญชี: การติดตามรายได้และค่าใช้จ่าย การบริหารเงินสด และการจัดทำบัญชีเพื่อการรายงานและการวิเคราะห์

สิ่งสำคัญคือเมื่อระบุกิจกรรมหลักของธุรกิจแล้วต้องวิเคราะห์ต่อว่ามีกิจกรรมใดที่ยังขาดไป หรือยังทำได้ไม่ดีพอ และมีกิจกรรมใดที่ไม่จำเป็นอาจจะพิจารณาตัดทิ้ง จะทำให้ธุรกิจของเราเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

BMC

Key Resources เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องมีหรือใช้เพื่อสร้างและส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า เช่น ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี สิทธิ์ในการผลิต เราควรพิจารณาว่าทรัพยากรที่เป็นรูปธรรมอะไรบ้างที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมสำคัญของธุรกิจ ทรัพยากรเหล่านี้คือสิ่งที่จำเป็นในเชิงปฏิบัติเพื่อดำเนินการธุรกิจของเราครับ

ตัวอย่างทรัพยากรสำคัญ:

  • พื้นที่สำนักงาน
  • คอมพิวเตอร์
  • พนักงาน
  • รถยนต์
  • เตาอบ

การระบุทรัพยากรสำคัญที่ธุรกิจของเราต้องการจะช่วยให้เราเข้าใจว่าธุรกิจของเรามีความต้องการในด้านต่าง ๆ อย่างไร และเป็นขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการดำเนินงาน

BMC

Key Partners หมายถึงบุคคลหรือองค์กรที่ธุรกิจต้องร่วมมือกับเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจครับ โดยความร่วมมือเหล่านี้สามารถเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ซัพพลายเออร์ หรือหุ้นส่วนอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการเติบโต

โดยสามารถแบ่งความร่วมมือเป็นสองส่วน คือ พันธมิตรที่มีความสำคัญโดยตรงกับการสร้างและส่งมอบคุณค่า และพันธมิตรที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจโดยรวม ยกตัวอย่างในธุรกิจร้านอาหาร

พันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและส่งมอบผลิตภัณฑ์

  1. ซัพพลายเออร์: สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ซัพพลายเออร์อาจเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ หรือเครื่องดื่ม การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ
  2. พันธมิตรด้านการจัดส่ง: หากธุรกิจใช้บริการจัดส่งสินค้า การทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการจัดส่ง เช่น บริษัทขนส่ง หรือแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ช่วยให้สามารถส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พันธมิตรด้านเทคโนโลยี: ธุรกิจร้านอาหารอาจต้องการแพลตฟอร์ม POS (Point of Sale) หรือระบบการจัดการร้านอาหาร การทำงานกับพันธมิตรที่ให้บริการเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้การดำเนินงานราบรื่น

พันธมิตรที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจโดยรวม

  1. ที่ปรึกษาทางธุรกิจ: การร่วมมือกับที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น การตลาด การเงิน หรือการบริหารธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงและวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. พันธมิตรทางกฎหมายและการเงิน: ความร่วมมือกับทนายความหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายช่วยให้ธุรกิจดำเนินการตามกฎหมายและข้อบังคับได้อย่างถูกต้อง ส่วนที่ปรึกษาทางการเงินและบัญชีช่วยในการจัดการเงินและการรายงาน
  3. สถาบันการศึกษาและองค์กรวิชาชีพ: การร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อการฝึกอบรมหรือองค์กรวิชาชีพเพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายและการพัฒนาทักษะของพนักงาน

Cost Structures แสดงให้เห็นถึงประเภทของค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจต้องแบกรับ โดยส่วนใหญ่โครงสร้างค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมหลัก ทรัพยากรหลัก และพันธมิตรหลักของธุรกิจ การวิเคราะห์โครงสร้างค่าใช้จ่ายช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มกำไรได้ครับ ยกตัวอย่าง Cost Structures ในธุรกิจกิจร้านอาหาร

  • ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ: สค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เช่น ผัก เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม และอุปกรณ์ครัวที่จำเป็น
  • ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร: เงินเดือนและค่าตอบแทนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการ
  • ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา: ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ใหม่ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น เตาอบ หม้อหุงต้ม และอุปกรณ์ทำความเย็น

Revenue Stream คือวิธีที่ธุรกิจสร้างรายได้จากสินค้าและบริการ การวิเคราะห์แหล่งรายได้ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจว่ารายได้หลักมาจากไหน และสามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

ยกตัวอย่างสำหรับธุรกิจร้านอาหาร Revenue Streams สามารถมองได้หลายมิติ ไม่เพียงแต่การขายอาหารในร้านเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการสร้างรายได้จากช่องทางอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น

รายได้จากการขาย

  1. การขายอาหารและเครื่องดื่มในร้าน: รายได้หลักของร้านอาหาร มาจากการขายอาหารและเครื่องดื่มที่ลูกค้าทานในร้าน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุด
  2. การขายแบบสั่งกลับบ้าน: ลูกค้าสามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มกลับบ้าน รายได้จากช่องทางนี้มาจากออเดอร์ที่ลูกค้ามารับที่ร้านเอง
  3. การขายผ่านบริการจัดส่ง: การใช้บริการจัดส่งอาหาร เช่น Foodpanda, GrabFood หรือ Line Man ช่วยเพิ่มช่องทางรายได้จากลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบาย

รายได้จากบริการและกิจกรรมเสริม

  1. การจัดเลี้ยงและกิจกรรมพิเศษ: การรับจัดเลี้ยงสำหรับงานอีเวนต์หรืองานสังสรรค์ รายได้จากการจัดเลี้ยงสามารถเป็นแหล่งรายได้เสริมที่มีศักยภาพมากเลยทีเดียว
  2. การเปิดให้เช่าพื้นที่: สำหรับร้านอาหารที่มีพื้นที่มาก สามารถสร้างรายได้จากการให้เช่าพื้นที่สำหรับกิจกรรมหรืออีเวนต์ต่าง ๆ

รายได้จากบริการอื่น ๆ

  1. การขายสินค้าแบรนด์ของร้าน: ร้านอาหารบางแห่งมีสินค้าพิเศษที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เช่น เสื้อยืด แก้วน้ำ หรือเครื่องปรุงรส ซึ่งเป็นช่องทางเสริมในการสร้างรายได้
  2. การขายสูตรอาหารหรือคอร์สเรียน: หากร้านอาหารมีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง สามารถสร้างรายได้จากการขายสูตรอาหารหรือการเปิดคอร์สเรียนทำอาหาร

การเข้าใจแหล่งรายได้แต่ละช่องทาง ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้และสร้างโอกาสใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจลดความเสี่ยงโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งรายได้เพียงแหล่งเดียว ดังนั้นผมจึงมองว่าการพัฒนา Revenue Streams ที่หลากหลายเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในธุรกิจ

  • นวัตกรรม: Starbucks ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ
  • คุณภาพ: ใช้เมล็ดกาแฟคุณภาพสูงและมีผู้คั่วกาแฟที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี
  • ความสะดวก: ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าได้ผ่านแอปของ Starbucks เพื่อหลีกเลี่ยงการต่อคิวที่ร้าน
  • ความหลากหลาย: Starbucks มีการผสมกาแฟ 30 แบบและมีอาหารประเภทแซนด์วิช ขนมอบ ชา สมูทตี้ สลัด และอื่น ๆ ให้เลือกมากมาย
  • แบรนด์: Starbucks มีแบรนด์ที่ทรงพลังและได้รับรางวัล ซึ่งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของคุณภาพ

ในโมเดลธุรกิจของ Starbucks ไม่มีการแบ่งส่วนลูกค้าอย่างชัดเจน ใครก็ตามที่ต้องการกาแฟคุณภาพสูงถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มลูกค้าของ Starbucks หรือพูดง่าย ๆ คือ Mass market นั่นเองครับ

พนักงานเต็มใจที่จะช่วยเหลือลูกค้าในทุกวิถีทางเพื่อที่จะทำให้ได้รับปรัสบการณ์ที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้ Starbucks มีฐานลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์อย่างมาก

  • ร้านกาแฟของแบรนด์
  • ผู้ค้าปลีกสำหรับเมล็ด
  • บัตร Starbucks
  • แอป Starbucks
  • โซเชียลมีเดีย
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • การบริการลูกค้า
  • การตลาด
  • การผลิต
  • การวิจัยและพัฒนา (R&D)
  • การทำความสะอาด และอื่นๆ
  • ทรัพยากรมนุษย์
  • ศูนย์การเกษตรกาแฟคุณภาพสูง
  • ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ร้านค้า
  • ซัพพลายเออร์ทั่วโลก
  • ผู้ผลิตกาแฟ
  • บริษัทการค้าที่เป็นอิสระ
  • ผู้ส่งออก
  • ผู้ค้าปลีก
  • ผู้จัดจำหน่าย
  • ต้นทุนในการบริหารและดำเนินงาน
  • การตลาด
  • การกระจายสินค้า
  • สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
  • การขายเครื่องดื่ม (โดยเฉพาะกาแฟ)
  • อาหาร ทั้งในร้านที่ดำเนินการโดยบริษัทหรือร้านที่ได้รับใบอนุญาต
  • ค่าลิขสิทธิ์และใบอนุญาต
  • สินค้าบรรจุหีบห่อ

สรุป Business Model Canvas

Business Model Canvas (BMC) เป็นแนวทางที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดย BMC ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ส่วน ดังนี้:

  1. Value Proposition: สิ่งที่ธุรกิจนำเสนอเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้า หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกธุรกิจเรา
  2. Customer Segments: การระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ที่ธุรกิจจะเน้นการบริการหรือการขายผลิตภัณฑ์
  3. Customer Relationships: วิธีการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า
  4. Channels: ช่องทางที่ธุรกิจจะใช้สื่อสารและขายผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า สามารถเป็นทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  5. Key Activities: กิจกรรมหลักที่ธุรกิจต้องทำเพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทั้งหน้าร้านและหลังร้าน
  6. Key Resources: ทรัพยากรสำคัญที่ธุรกิจต้องใช้ในการสร้างและส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า
  7. Key Partners: พันธมิตรหลักที่ธุรกิจต้องร่วมมือด้วยเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
  8. Cost Structures: โครงสร้างต้นทุนที่ธุรกิจต้องแบกรับ โดยขึ้นอยู่กับกิจกรรมหลัก และทรัพยากรหลักของธุรกิจ
  9. Revenue Streams: วิธีที่ธุรกิจสร้างรายได้จากสินค้าและบริการ การเข้าใจแหล่งรายได้แต่ละช่องทางจะช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้และสร้างโอกาสใหม่ ๆ

การเข้าใจองค์ประกอบทั้ง 9 นี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างแบบจำลองที่ชัดเจนและเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการดำเนินงานและการเติบโตของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

Source Source

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

พามาดูอีก 2 Framework ที่นิยมใช้วิเคราะห์ธุรกิจกันครับ

Tlee Krit

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณ คือ...