6 ประเด็นสำคัญที่จะเป็น Social Trend ในปี 2020 จากรายงาน Think Forward 2020 ของ We Are Social การตลาดวันละตอนได้ทำการแปล เรียบเรียง และสรุปมาเป็นภาษาไทยในแบบที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ยังคงเนื้อหาและประเด็นสำคัญไว้ให้ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากเนื้อหาตอนที่ 1 ผ่านไป 3 หัวข้อเทรนด์สำคัญ และเหลืออีก 3 เทรนด์สำคัญที่จะเล่าให้ฟังกันต่อว่า ในปีหน้า Social Media Trend 2020 จะไปต่อในทิศทางไหน แล้วผู้คนจะมีพฤติกกรมเปลี่ยนไปอย่างไร และแบรนด์จะต้องปรับตัวอย่างไรที่จะตามเทรนด์ใหม่เหล่านี้ให้ทัน ในโลกที่ทุกวันเปลี่ยนไวเหลือเกิน
6 Key Social Trend ในปี 2020
Added Value > ยอมจ่ายเพื่อบางสิ่งที่มีค่า Social Self-Care > ออนไลน์อย่างพอดี Bad Influence > รวมตัวกันในด้านไม่ดี Overt Privacy > ชัดเจนเรื่องพื้นที่ส่วนตัว Running Commentary > ชอบเหลือเกินเรื่องชาวบ้าน Cultural Crossfit > เอาวัฒนธรรมเก่ายำออกมาใหม่ในสไตล์ตัวเอง
4. Overt Privacy เปิดเผยว่าไม่อยากเปิดเผย
The cultural shift เรื่อง Privacy ของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างไรในปี 2020 > พื้นที่ความสนิทจะกลายเป็นสิ่งล้ำค่า
เมื่อการใกล้ชิดสนิทสนมบนโลกดิจิทัลของชาวโซเชียลกำลังได้รับความนิยมมากกว่าการโพสแบบ Public เพื่อเรียกความสนใจ ผู้คนในปี 2020 จะเริ่มหาทางที่จะควบคุมหรือจำกัด Digital footprint ร่องรอยการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตของพวกเขาให้มากที่สุด พวกเขาไม่อยากให้แบรนด์รู้ว่าพวกเขากำลังพูดเรื่องอะไร หรือแม้แต่เจ้าของแพลตฟอร์มรู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขากำลังสนใจอะไร (อย่างที่เราเห็นกระแสคนเริ่มบนว่าโฆษณาบนเฟซบุ๊กแม่นยำจนน่ากลัว) และการที่พวกเขาไม่อยากให้ใครก็ตามที่เป็นคนอื่นรู้เรื่องใดๆ เกี่ยวกับพวกเขาเลย ทำให้พวกเขาเริ่มย้ายไปสู่พื้นที่โซเชียลใหม่ๆ ที่เน้นความเป็น Privacy มากขึ้น
นั่นเลยเป็นเหตุผลที่ Instagram ออกฟีเจอร์ Close friends ขึ้นมาสำหรับคนที่อยากโพสแต่ไม่อยาก Public ให้ทุกคนเห็น หรือการเกิดกระแส Facebook groups ที่คนเข้าร่วมกลุ่มต่างๆ ที่สนใจเยอะมาก และใน Facebook groups ก็ยังไม่มีโฆษณาใดๆ ตามมา(ในตอนนี้) ดังนั้นจะเห็นว่าผู้คนเริ่มโพสอะไรที่เปิดเผยสู่คนอื่นน้อยลง แต่หันไปเน้นคนที่สนิทจริงๆ มากขึ้น
แต่เรื่องนี้ผมคิดว่าถ้านานวันเข้าอัตราการเป็น close friends มากเข้าจนเทียบเท่า friend ปกติ ก็คงจะเกิดฟีเจอร์ super close friend ขึ้นมาแก้เกมล้างกระดานความสัมพันธ์บนโซเชียลระหว่างกันใหม่เป็นแน่ครับ
The behavioural change > 3 พฤติกรรมเรื่อง Privacy ที่จะเปลี่ยนไปในปี 2020
1. ชาวโซเชียลจะล็อค Account มากขึ้น
หลายคนในวันนี้ไม่ตั้งบัญชี Instagram เป็น Public เหมือนก่อน หันมาตั้งเป็น Private มากขึ้น หรือแม้แต่คนดังบางคนก็เริ่มทำแบบเดียวกันบ้างแล้ว เพราะพวกเขาต้องการจะรู้สึกว่าควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในโซเชียลของพวกเขาได้ ว่าจะให้ใครเห็น หรือให้ใครคอมเมนต์โพสของเขาได้บ้าง
2. ผู้คนหันมาใช้กลุ่มปิดขั้นสุดเพื่อให้รู้สึกปลอดภัย
อย่าง NdFlex เป็นกลุ่มปิดบนเฟซบุ๊กที่มีสมาชิกกว่า 50,000 คน เป็นกลุ่มที่รวมตัวของผู้คนชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น (เป็นประเด็นทางสังคมของประเทศฝรั่งเศสในตอนนี้) แต่กลับยังขึ้นอยู่กับนายจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งส่งผลต่อลูกจ้างส่วนใหญ่ที่ต้องการที่ระบายหรือแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่าที่คุยกันจะหลุดออกไปข้างนอกถึงหูเจ้านายหรือ HR
3. Voldemorting เลี่ยงคำเพื่อไม่ให้ใครเสริชเจอ
ไม่ว่า Algorithm ของ Google ในการเสริชหาคำตอบจะฉลาดมากแค่ไหน แต่ก็ไม่วายแพ้ให้กับความอัจฉริยะของชาวโซเชียลในปี 2020 เป็นต้นไปอยู่ดี เพราะในเมื่อพวกเขารู้ว่าสิ่งที่พวกเขาโพสไปในวันนี้ย่อมจะต้องถูก Google เจอในวันหน้า พวกเขาก็เลยเลือกที่จะ “เลี่ยง” และ “เปลี่ยน” การใช้คำที่มีความหมายตรงๆ หรือในสิ่งที่คนจะมีโอกาสเสริชเจอ ด้วยการใช้ทับศัพท์ใหม่ๆ เป็นคำทั่วไปที่ไม่มีความหมายใดๆ แต่เป็นที่รู้กันในเฉพาะกลุ่มเท่านั้น และพฤติกรรมนี้ก็มีศัพท์ที่เรียกว่า Voldemorting ที่มีความหมายมาจากภาพยนต์เรื่อง Harry Potter ที่ต่อให้ไม่ต้องพูดชื่อหรือคำนั้นตรงๆ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันได้ในกลุ่มคนเหล่านั้น
Read more > https://www.wired.com/story/voldemorting-ultimate-seo-diss-resident-linguist/
Mark Zuckerberg ออกมาประกาศเมื่อปี 2019 ว่า The future is private
How to use it > แล้วแบรนด์อย่างเราควรทำอย่างไร?
1. แบรนด์ต้องขออนุญาตก่อนเข้าถึง
ในกรณีของสำนักข่าวดังอย่าง Telegraph ออกมาประกาศว่าสำหรับข่าวการเมืองบางหัวข้อเราจะนำเสนอให้เฉพาะคนที่สนใจจริงๆ เท่านั้น เช่น ข่าวที่เกี่ยวกับ Brexit (กรณีที่อังกฤษขอแยกตัวออกจาก EU) ก็จะให้เฉพาะคนที่สนใจเห็น จะไม่เอาข่าวนี้ไปรบกวนคนที่มีความคิดด้านการเมืองอีกแบบ
จะเห็นว่าแบรนด์ต้องออกแบบทางเลือกให้ผู้คนเลือกที่จะเข้าร่วม หรือ Opt in แทนที่จะเป็นให้คนเข้าร่วมแบบอัตโนมัติแล้วค่อยกดออก หรือ Opt out และคนอยากให้แบรนด์ต่างๆ ส่งคำ Notifaction มาหาพวกเขาน้อยลงตั้งแต่แรก ไม่ใช่ส่งมาก่อนแล้วค่อยให้ไปลบเอาตอนหลัง
Read more > https://www.telegraph.co.uk/politics/2019/11/13/sign-telegraphs-politics-whatsapp-group-latest-brexit-general/
2. Private is new Privilege ปิดเพื่อเปิด
Starbucks พบว่าพวกเขาสามารถใกล้ชิดสนิทสนมกับลูกค้าได้มากขึ้นเมื่อสื่อสารกันแบบปิดหรือ Private groups ในการขอคำแนะนำว่าจะผลิตสินค้าใหม่อะไรดี หรือควรออกกาแฟรสชาติใหม่อย่างไรดี จะเห็นว่า Private ทำให้คนที่ได้เข้าร่วมรู้สึกตัวเองมี Privilege ขึ้นมาด้วยซ้ำ
เพราะคนที่ได้รับคำเชิญหรือถูกขอให้เข้าร่วมจากแบรนด์จะรู้สึกว่าตัวเองพิเศษมากกว่าคนอื่น ทำให้พวกเขาอยากจะช่วยแบรนด์ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ต่างๆ มากขึ้น และจากการทดลองของแบรนด์ในการทำพื้นที่ปิดเฉพาะคนที่ถูกเชิญเท่านั้นก็พบว่าผู้คนมี engagement กับแบรนด์สูงมาก ให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา และถึงขั้นเปิดใจคุยกันตรงๆ
5. Running Commentary ยิ่งเม้าท์ยาวยิ่งอ่านมัน
The cultural shift > ผู้คนจะชื่นชอบการเม้าท์มอยกันบนโลกโซเชียล
เป็นที่เชื่อกันว่าคนบนโลกโซเชียลหรือออนไลน์ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ แต่เรื่องราวบนโซเชียลจริงๆ ก็ไม่ได้สั้นกระทัดรัดอะไรขนาดนั้น และนานวันเข้าคนก็เริ่มคุยกันยืดยาวผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ แถมคนอ่านก็ยินดีที่จะใช้เวลาในการเสพย์คอนเทนต์ต่างๆ นานขึ้นๆ ถ้าพวกเขาเห็นว่ามันคุ้มค่าที่จะอ่าน ก็คล้ายๆ กับพวกประเด็นดราม่าของดาราหรือคนดังต่างๆ ที่ต่อให้ยาวแค่ไหนก็จะไล่ตามอ่านให้ครบทุกแหล่ง
The behavioural change > 3 พฤติกรรมต่อเรื่องการพูดคุยบนโซเชียลที่จะเปลี่ยนไปในปี 2020
1. The Captionfluencers ยิ่งยาวยิ่งอยากอ่าน
เพราะวันนี้ผู้คนต่างต้องการสุนทรียภาพจากการใช้งานโซเชียลมีเดียมากขึ้น ดังนั้นการเขียนให้สั้นแล้วฮุคคนอ่านอาจกำลังหมดความสำคัญลงไปตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ตัวอย่างจาก Influencer คนหนึ่งที่ชื่อว่า Caroline Calloway ที่มีผู้ติดตามบน Instagram มากถึง 723,000 คน โดย caption ในโพสเธอส่วนใหญ่นั้นจะเขียนบรรยายแบบยืดยาว เรียกได้ว่าหนึ่งหน้ากระดาษ A4 ดีๆ อาจไม่พอสำหรับบางโพสเธอก็ได้ และนี่เองทำให้เกิดศัพท์ใหม่ที่เรียกว่า The Captionfluencers หรือกลายเป็น Influencers จากการโพสอะไรยาวๆ ในแพลตฟอร์มที่คนส่วนใหญ่โพสอะไรสั้นๆ เหมือนกันหมด
Read more > https://www.nytimes.com/2019/03/27/style/instagram-long-captions.html
2. ดราม่าคนดัง คือความมันส์ของชาวโซเชียล
เมื่อสองคนดังทะเลาะกันเราชาวโซเชียลชอบ อย่างที่เกิดขึ้นกับ James Charles และ Tati Westbrook ที่เคยเป็นเพื่อนรักกันมานาน แต่อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดทะเลาะกันจนสาดเสียเทเสียใส่กันบนโลกโซเชียล งานนี้กลายเป็นข่าวดังตามหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ จนถึงขั้นมีสำนักข่าวออนไลน์เอามาทำสรุปกันเป็นขั้นเป็นตอนให้สายเสพย์ดราม่าแต่ไม่มีเวลาตามอ่านก็ไล่ตามเรื่องทัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าทะเลาะกันบนโซเชียลและอย่าเปิดสงครามใส่กันให้ชาวบ้านรับรู้ครับ
Read more > https://www.elle.com/beauty/makeup-skin-care/a27453234/james-charles-tati-westbrook-youtube-drama-timeline/
3. Twitter threads ชอบต่อความยาวสาวความยืด
Twitter ตอนก่อตั้งมาเกิดจากแนวคิดที่เรียบง่าย แค่อยากจะบอกอะไรซักอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวให้คนอื่นรู้ แต่ในวันนี้มันไม่ใช่อย่างนั้นอีกต่อไป เพราะคนที่เล่น Twitter ในวันนี้ไม่ค่อยพูดเรื่องตัวเองซักเท่าไหร่ แต่กลายเป็นการเล่นกับประเด็นต่างๆ ที่กำลังเป็นเทรนด์ในตอนนั้น โดยเฉพาะกับฟีเจอร์ Threads ที่ทำมาเพื่อให้โพสนั้นเหมือนยืดยาวไม่รู้จบ ผิดกับคอนเซปตั้งต้นที่ให้โพสครั้งละสั้นๆ 140 ตัวอักษร
ครั้งหนึ่งที่มีคนสร้าง Threads สนุกๆ บน Twitter ว่า ถ้าคุณได้เป็นผู้ช่วย Beyonce หนึ่งวันคุณจะจัดการกับเรื่องนี้เหล่านี้อย่างไร เช่น คุณจะเลือกอะไรเป็นอาหารเช้าให้ Beyonce ระหว่างโยเกิร์ตกับสตรอว์เบอร์รี
เชื่อมั้ยครับว่าด้วย Threads ประเด็นง่ายๆ แค่นี้ กลับมาคนมารีทวีตเล่นด้วยกว่า 91,000 และไลก์มากถึง 239,000 นี่คือการเล่นกันขำๆ บน Twitter แบบเอาเรื่องที่นักการตลาดต้องศึกษาครับ
Read more > https://www.businessinsider.com/beyonce-twitter-assistant-adventure-thread-2019-6
จากรายงานของ Pew Research Center 2019 พบว่า ความยาวโดยเฉลี่ยของวิดีโอบน YouTube จาก Channel ยอดนิยมกว่า 250,000 รายการพบว่าวิดีโอมีความยาวเฉลี่ยอยู่ที่ 13-14 นาที
ปล. เห็นมั้ยว่าคนออนไลน์ในวันนี้ชอบอะไรยาวๆ ที่มีคุณภาพ เลิกถามกันซักทีว่าควรทำ Content ยาวเท่าไหร่ หรือทำวิดีโอยาวกี่นาที เริ่มจากการทำเนื้อหาให้ดีเพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะยาวไปมั้ย หรือคนจะดูจนจบมั้ยครับ
How to use it > แล้วแบรนด์อย่างเราควรทำอย่างไร?
1. แบรนด์ต้องเลิกใช้งาน Social media แต่ต้องหันมาเล่น Social media ให้เป็นคนมากขึ้น
ที่ผ่านมาแบรนด์ส่วนใหญ่มักไม่กล้าทำอะไรมากมายบนโซเชียล ส่วนหนึ่งก็อาจกลัวว่าถ้าโพสอะไรออกไปแล้วจะควบคุมไม่ได้ แต่หลังจากปี 2020 เป็นต้นไป แบรนด์ไหนที่จะทำการตลาดผ่านโซเชียลต้องคิดใหม่ทำใหม่อย่างจริงจัง เหมือนกับตอนทีมฟุตบอลหญิงประเทศอังกฤษประกาศรายชื่อนักเตะผ่าน Twitter โดยใช้คนดังที่ใครๆ ก็รู้จักดี ตั้งแต่ให้คนในราชวงศ์มาช่วยทวีตประกาศ ให้อดีตนักฟุตบอลชื่อดังอย่าง David Beckham มาช่วยทวีตบอกผู้คน ผลคือได้รับความสนใจอย่างล้นหลามแม้จะเป็นแพลตฟอร์มที่ขึ้นชื่อว่าต้องโพสอะไรสั้นๆ แต่ทั้งหมดนี้กลับโพสเป็นคลิปวิดีโอยาวๆ ทั้งนั้น
Read more > https://twitter.com/i/events/1126036920343994369?lang=th
2. แบรนด์ต้องชวนผู้คนให้แชร์เรื่องราวลงโซเชียลกับแบรนด์ให้มากขึ้น
เรื่องราวที่จะกลายเป็นที่น่าสนใจหรือไวรัลได้บนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจากปากใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต่างก็พูดถึงด้วยมุมมองที่แตกต่างกันออกไป และนั่นก็เป็นการกระจายให้เรื่องราวดังกล่าวกระจายออกไปวงกว้าง และก็ทำให้ผู้คนอยากกลับเข้ามาขุดคุ้ยหาข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่กระจายอยู่บนโซเชียลมากขึ้นเพื่อจะได้เข้าใจว่าเรื่องทั้งหมดคืออะไร จากนั้นพอเข้าใจก็โพสออกไปในมุมมองของตัวเองอีกครั้ง
ก็เหมือนรายการหนึ่งของช่อง HBO ที่ชื่อว่า Euphoria ที่ให้บรรดานักแสดงถ่ายรูปหรือแชร์คลิปของตัวเองตอนที่ยังดูเหมือนอยู่ในกองถ่ายอยู่ เพื่อทำให้เหล่าแฟนๆ ของทุกคนต้องไล่ตามดูนักแสดงทุกคนในเรื่องเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมดมากขึ้น
Read more > https://www.dailymail.co.uk/news/article-7148607/HBOs-provocative-new-teen-drama-Euphoria-kicks-graphic-episode.html
6. Cultural Crossfit สร้างสไตล์ใหม่จากการมิกซ์สไตล์เก่า
The cultural shift > จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ไร้กำแพงกั้นจะก่อให้เกิดสไตล์ใหม่ที่ไม่เคยมีคำนิยามมาก่อน
สไตล์ หรือวัฒนธรรมใหม่ส่วนใหญ่ในวันนี้มาจากการผสมที่หลากหลายของวัฒนธรรมย่อยๆ ที่มีความแตกต่างกันสูงมากที่มีอยู่แล้ว
แต่ก่อนคนส่วนใหญ่ถูกตัดสินให้มีมุมมองหรือความชอบแค่ด้านเดียวมานาน เช่น ร็อคก็ร็อค หรือ ลูกทุ่งก็ลูกทุ่ง แต่นั่นก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคหรือเลือกเสพย์สื่อแต่อย่างไร เพราะรสนิยมความชอบของคนในวันนี้นั้นยืดหยุ่นและมีให้เห็นหลากหลายแง่มุมกว่าที่คิดกันไว้นัก เพราะคนยุคใหม่ไม่ได้ชอบแค่เรื่องของแฟชั่น หรือไม่ได้รับสื่อและสารผ่านทีวีเท่านั้น
ดังนั้นด้วยความหลากหลายผ่านสื่อหลากหลายช่องทางในยุคดิจิทัลจึงส่งผลให้คนรุ่นใหม่เปิดใจรับอะไรใหม่ได้ดีกว่าคนรุ่นก่อน โดยเฉพาะเปิดรับแบรนด์และแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ มากกว่าที่เคยเป็นมา
The behavioural change > 3 พฤติกรรมของผู้คนต่อเรื่อง Culture ที่จะเปลี่ยนไปในปี 2020
1. เอาวิถีหลายๆ แบบมามิกซ์แอนด์แมทช์ออกมาเป็นแบบของตัวเอง
VIDEO
วัฒนธรรมหรือแนวทางใหม่ๆ ในวันนี้ไม่ได้มาจากอะไรที่ใหม่จริง แต่เป็นการหยิบเอาสิ่งที่มีหลายๆ อย่างมายำแล้วประยุกต์ออกมาในแบบที่ตัวเองชอบ เหมือนกับศิลปินดังของปีนี้ Lil Nas X กับเพลงฮิตของเขา Old Town Road ที่ฟังดูเป็นแนวใหม่แบบคาวบอยหลงยุค(ลองดูจาก MV)แต่ก็มีที่มาจากการผสมผสานระหว่าง Hip-Hop และ Country จนทำให้กลายเป็นเพลงดังในปี 2019 ไป
หรือถ้าบ้านเราก็จะเริ่มเห็นว่าเพลงลูกทุ่งในวันนี้มีความผสม Hip-Hop หรือสไตล์เกาหลีมากขึ้น ดังนั้นหลายสิ่งที่ดูเหมือนใหม่แท้จริงแล้วมาจากการหยิบเอารากเหง้าวัฒนธรรมเดิมที่มีมาใช้ในแบบของตัวเองครับ
เพลง Old Town Road ติดอันดับ 1 ของ Billboard Hot 100 นานถึง 19 สัปดาห์
2. ผู้บริโภคในปี 2020 ชอบอะไรที่หลากหลายไปพร้อมกัน
พูดแล้วอธิบายยาก ดูจากภาพแล้วกัน นี่คือ Influencer ที่ใช้ชื่อบน Instagram ว่า @yugnatt99 ที่มีคนติดตามกว่า 337,000 คน ดูจากภาพจะเห็นว่าเค้าโพสแคปชั่นเป็นภาษาอังกฤษปนฝรั่งเศส แทนที่คนจะต่อว่าๆ โพสอะไรไม่รู้เรื่อง แต่กลายเป็นว่าเขาได้ทั้งผู้ติดตามที่เป็นทั้งชาวอังกฤษและฝรั่งเศสไปพร้อมกัน เพราะด้วยความที่อ่านรู้เรื่องบ้างและไม่รู้เรื่องบ้างนี่แหละคือเสน่ห์ของชาวดิจิทัลในวันนี้
ไม่รู้ว่าถ้าเกิดมีคนใช้ 3 ภาษาในการโพสได้ลงตัวเหมือนนายคนนี้ เขาจะดังกว่านี้อีกมั้ยนะ
3. คนชอบอะไรที่ผสมผสานระหว่างชีวิตจริงและดิจิทัล
อย่างการเกิดขึ้นของคอนเสิร์ทที่มีคนดูมากที่สุดในโลกก็ไม่ได้เกิดขึ้นที่สนามกีฬาหรือกลางป่าเขาแห่งไหน แต่เกิดขึ้นกลางเกมดัง Fortnite ที่ศิลปินดังอย่าง DJ Marshmello มาจัดคอนเสิร์ทใหญ่ขึ้นกลางเกมนี้ จนส่งผลให้มีคนเข้าร่วมคอนเสิร์ทนี้มากถึง 10 ล้านคนพร้อมกันทั่วโลก จนกลายเป็นคอนเสิร์ทที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างที่บอกไปตอนต้นแหละครับ
Read more > https://everydaymarketing.co/business/game/e-sport-marketing-strategy-marshmello-fortnite/
How to use it > แล้วแบรนด์อย่างเราควรทำอย่างไร?
1. เริ่มคิดจาก Culture ความชอบของกลุ่มคนที่เราต้องการ
แต่เดิมนักการตลาดมักใช้การคิดแบบแยกเดี่ยวทีละส่วนตามการจัดประเภทสิ่งต่างๆ ที่เคยเรียนรู้มา เช่น คิดจากประเภทสินค้า คิดจากแนวเพลง คิดจากกีฬา คิดจากหนัง คิดจากเกม หรือคิดจากช่องทางการขาย โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม สื่อนอกบ้าน หรือสื่อดิจิทัล
แต่วันนี้ความแตกต่างของแต่ละช่องทางมันแทบไม่มีเส้นแบ่งอีกต่อไป ขนาดประเภทของความบันเทิงยังผสมผสานกันมั่วไปหมดจนยากจะใช้วิธีการจัดประเภทแบบเดิมได้อีกต่อไป
ดังนั้นแบรนด์ในยุคใหม่ตั้งแต่ปี 2020 ไปต้องรู้จักปรับตัวให้เร็ว เข้าสู่วัฒนธรรมความชอบที่แตกต่างและหลากหลายให้ดีขึ้น เพราะผู้คนในวันนี้ไม่สามารถจัดประเภทพวกเขาแบบชัดเจนได้อีกต่อไป วันนี้ฟังลูกทุ่ง มะรืนอาจจะฟังฮิปฮอป จากนั้นก็ฟังลูกทุ่งผสมฮิปฮอปมันซะเลย ถ้าเจอแบบนี้แล้วคุณจะจัดประเภทเขาได้อีกเหรอ
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัด เจาะจงแล้วลงให้ลึก จากนั้นขยายไปสู่กลุ่มใหม่ แล้วหยิบมาผสมผสานกัน
หมดยุคการหว่านแหแบบ mass อีกต่อไป แต่แบรนด์ที่เข้าใจผู้บริโภคยุคใหม่หลังปี 2020 ไปต้องเลือกเจาะเข้าไปยังกลุ่ม Niche ที่แม้จะดูน้อยแต่ยังคุ้มในแง่การลงทุน หรือถ้านักการตลาดเห็นว่าก้อน Niche ที่มีนั้นน้อยไปคุณก็แค่ต้องมองหาก้อน Niche ก้อนใหม่เพิ่มขึ้น
เพราะ Mass หรือผลรวมของความ Niche ที่ไม่ถูกแยกประเภทด้วยความเข้าใจ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่คุณสามารถแยกกลุ่ม Niche ออกมา ก้อน Mass ที่เคยดูใหญ่ก็จะค่อยๆ หดเล็กลงจนหายไปในที่สุดครับ
เหมือน Netflix ที่รู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบดูรายการทีวีโชว์ หรือหนังภาพยนต์ แต่ Netflix ก็เลือกที่เจาะกลุ่มที่ Niche แต่ชัดเจนให้มากขึ้นด้วยการทำรายการ Prism ขึ้นมาเพื่อจับกลุ่ม LGBTQ+ ให้ต้องมาติดรายการของ Netflix จนเลิกสมัครสมาชิกไม่ได้
สรุป 6 ประเด็นที่จะเป็น Social Trend ในปี 2020
จากทั้ง 6 หัวข้อที่กล่าวไป ตั้งแต่
Added Value > ยอมจ่ายเพื่อบางสิ่งที่มีค่า สรุป คนดูในวันหน้าจะเลือกจ่ายเงินเพื่อสนับสนุน Influencer คนที่ตัวเองชอบ และ Influencer คนนั้นก็ไม่ต้องง้อแบรนด์เพื่อให้มีเงินอยู่ได้Social Self-Care > ออนไลน์อย่างพอดี สรุป ชาวโซเชียลยุคใหม่จะใช้เวลาในการออนไลน์อย่างชาญฉลาดมากขึ้นBad Influence > รวมตัวกันในด้านไม่ดี สรุป อย่าคิดว่าจะลอยนวลได้บนโซเชียล เพราะพื้นที่โซเชียลคือพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่Overt Privacy > ชัดเจนเรื่องพื้นที่ส่วนตัว > ชัดเจนว่าไม่ต้องการให้แบรนด์เข้ามายุ่มย่ามโดยไม่ขออนุญาต และนี่ก็เป็นโอกาสของแบรนด์ในการจะสร้าง Community ของแฟนตัวจริงตัวเองขึ้นมา Running Commentary > ชอบเหลือเกินเรื่องชาวบ้าน > ชาวโซเชียลยุคใหม่ชอบใช้เวลาในการตามเรื่องดราม่า ดังนั้นไม่มีหรอกเนื้อหาที่ยาวเกินไป มีแต่น่าเบื่อเกินไปต่างหาก Cultural Crossfit > เอาวัฒนธรรมเก่ายำออกมาใหม่ในสไตล์ตัวเอง > ลูกทุ่งกลายเป็นนิวอินเตอร์ อินเตอร์กลายเป็นนิวลูกทุ่ง ผสมผสานปนเปกันไปหมด จนแทบไม่มีเส้นแบ่งของ Culture หรือสไตล์ในแบบเดิมอีกต่อไป
สุดท้ายนี้การตลาดวันละตอนหวังว่านักการตลาด เจ้าของธุรกิจ รวมไปถึงผู้ที่สนใจว่าถ้าจะทำการตลาดบน Social media ในปี 2020 นั้นควรจะไปในทิศทางไหน เพราะถ้าคุณรู้ว่า Social Trend ในปี 2020 ที่ผู้คนมีต่อสื่อโซเชียลที่กลายเป็นสื่อกระแสหลัก หรือ Mass media คุณก็ยังพอจะมีเวลาในการปรับกลยุทธ์ และกลวิธีในการทำการตลาดเพื่อสร้างธุรกิจในปี 2020 ให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาครับ
อ่านสรุปตอนที่ 1 6 Key Social Media Trend 2020 > https://everydaymarketing.co/knowledge/summary-6-key-social-media-trend-2020-from-think-forward-2020-we-are-social-part-1/
สำหรับคนที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านและดาวน์โหลดไฟล์รายงานต้นฉบับ Think Forward 2020 ของ We Are Social ได้ที่นี่ > http://bit.ly/ุ6KeySocialTrend2020
ปล. หากเนื้อหามีความผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยและขอรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียวครับ 🙂