กลยุทธ์คิดนอกกรอบ แบบไม่นอกโลก เน้นเข้ารอบ ไม่เน้นเข้าร่วม จาก CTC 2024

กลยุทธ์คิดนอกกรอบ แบบไม่นอกโลก เน้นเข้ารอบ ไม่เน้นเข้าร่วม จาก CTC 2024

จากงาน CTC2024 คุณสโรจ เลาหศิริ เจ้าของเพจสโรจขบคิดการตลาด ได้แบ่งปันแนวคิดเรื่องกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ ” กลยุทธ์คิดนอกกรอบ แบบไม่นอกโลก” โดยเน้นย้ำว่า “กลยุทธ์” เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์จะนำเราไปสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอน

จุดเริ่มต้นของกลยุทธ์เกิดขึ้นจาก “การแข่งขัน” เป้าหมายคือการเอาชนะคู่แข่งเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เปรียบเสมือนการแย่งชิงลูกค้าให้มาอยู่กับเราให้นานที่สุด

ยุค “Dynamic Competition”

ปัจจุบัน โลกหมุนเร็ว คู่แข่งมีจำนวนมาก เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไว ลูกค้ามีพฤติกรรมหลากหลาย การแข่งขันจึงเข้มข้นขึ้น กลยุทธ์จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าในอดีต

เปรียบเสมือนการตัดไม้ ลองนึกภาพว่าเราต้องตัดต้นไม้ให้เสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง เราจะวางแผนอย่างไร?หากเราเห็นคู่แข่งทำอะไรแล้วรีบกระโดดเข้าไปโดยไม่ทันคิด เปรียบเสมือนการรีบคว้าขวานขึ้นมาฟัน แม้จะไว แต่ขวานเราทื่อ ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ดังใจ

หัวใจสำคัญ คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์ กล้าที่จะแหวกแนว ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่ต้องบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

แผน vs กลยุทธ์: เข้าใจความต่าง นำสู่ชัยชนะ

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า “แผน” กับ “กลยุทธ์” คือสิ่งเดียวกัน แต่แท้จริงแล้ว ทั้งสองมีนัยยะและบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนี้

แผน เปรียบเสมือน แนวทางปฏิบัติ กำหนดสิ่งที่เราจะทำ กิจกรรม ขั้นตอน วิธีการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย เปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางว่าเราจะไปอย่างไร แต่ไม่ได้บอกว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่

กลยุทธ์ เปรียบเสมือน แนวคิด มุ่งเน้นไปที่ วิธีคิด ว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย strategizing เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สถานการณ์ คู่แข่ง ลูกค้า จุดแข็ง-จุดอ่อน กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เลือก “เกม” ที่เหมาะสม ตัดสินใจว่า จะทำอะไร และ จะไม่ทำอะไร กับทรัพยากรที่มีจำกัด โฟกัสไปที่ การชนะ”

หัวใจสำคัญของกลยุทธ์ คือ การตัดสินใจเลือก เกม ที่เราจะเล่น เลือกสนามรบที่เราจะเข้าไปแข่งขัน วิเคราะห์ว่าคู่แข่งกำลังเล่นเกมอะไร อะไรคือ “ชัยชนะ” ของเรา กำหนดกลยุทธ์ระยะยาว โฟกัสสิ่งที่จำเป็น รักษาวิชันวิสัย ปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์คิดนอกกรอบ

GQ แบรนด์เสื้อเชิ้ตชื่อดังไม่ได้ลงเล่นในเกม แฟชั่นทั่วไป แต่พวกเขาเลือกเล่นในเกมที่แตกต่าง มุ่งเน้นไปที่การเป็น บริษัทที่นำเสนอโซลูชั่น กลยุทธ์ของ GQ มุ่งเน้นไปที่การค้นหา จุดอ่อน หรือปัญหา ของลูกค้า นำเสนอนวัตกรรมที่แก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด

  • แก้ปัญหาเรื่อง “ความยับ” ของเสื้อ GQ พัฒนาเทคโนโลยีพิเศษที่ช่วยให้เสื้อไม่ยับง่าย เหมาะกับคนใส่สูททำงาน
  • แก้ปัญหาเรื่อง “เหงื่อไหล” ออกแบบเสื้อเชิ้ตด้วยเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ใส่สบาย เหมาะกับอากาศร้อน
  • แก้ปัญหาเรื่อง “ความอึดอัด” ออกแบบเสื้อเชิ้ตให้เข้ารูปพอดีตัว เคลื่อนไหวง่าย ใส่แล้วดูดี

กลยุทธ์ GQ คือ การเลือกสนามรบที่เหมาะสม เมื่อเลือกสนามรบได้แล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือ การค้นหา Longterm Competitive Value หรือ จุดแข็งที่ยั่งยืน”ของตัวเอง ของ GQ คือ นวัตกรรม ที่ช่วยแก้ปัญหา ความยับเหงื่อไหล และ ความอึดอัด ของเสื้อ

กลยุทธ์คิดนอกกรอบ

ไปรษณีย์ไทย องค์กรที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน เผชิญกับคู่แข่งมากมาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของไปรษณีย์ไทย คือ การเลือก ไม่เล่นเกมสงครามราคา แทนที่จะแข่งขันด้วยราคา ไปรษณีย์ไทย มุ่งเน้นไปที่การพัฒนา “จุดแข็ง” ของตัวเอง

จุดแข็งของไปรษณีย์ไทย

  • บุรุษไปรษณีย์ เปรียบเสมือน ฮีโร่ ที่รู้จักลูกค้า รู้จักพื้นที่ รู้จักสินค้า เข้าใจความต้องการของลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
  • ความเข้าใจพื้นที่ ไปรษณีย์ไทยมีเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เข้าถึงทุกพื้นที่ แม้จะอยู่ห่างไกลแค่ไหนก็สามารถส่งของได้
  • ข้อมูลเชิงลึก (SOFT DATA) ไปรษณีย์ไทยมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ สินค้าที่สั่งซื้อ เคยมีปัญหาอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ พัฒนาสินค้า บริการ และกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์คิดนอกกรอบ

ถ้ามีความคิดว่า เน้นเข้าร่วมไม่เน้นเข้ารอบ อย่าแข่งเลยเสียเวลา

คำถามสำคัญที่ควรตั้งคำถามกับตัวเองคือ “เราแค่เข้าร่วม ?” หรือ “เราตั้งเป้าหมายเพื่อชัยชนะ ?”

กลยุทธ์ที่ดี 4 หัวใจสำคัญจากหนังสือ Good Strategy Bad Strategy

กลยุทธ์คิดนอกกรอบ

จากหนังสือ Good Strategy Bad Strategy รวบรวม 4 หัวใจสำคัญของกลยุทธ์ที่ดี ดังนี้

1. ประสิทธิภาพ Effective กลยุทธ์ที่ดีต้อง บรรลุเป้าหมาย ที่วางไว้ วัดผลได้ แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่การวางแผนสวยหรู แต่ต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

2. ประสิทธิผล Efficient ต้อง คุ้มค่า ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร และเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงความสูญเปล่า มุ่งเน้นไปที่ “การชนะที่ยั่งยืน” ไม่ใช่แค่ชัยชนะที่แลกมาด้วยความเสียหาย

3. ความเฉพาะเจาะจง Specific ออกแบบมาเพื่อสถานการณ์และบริบทเฉพาะ ไม่ใช่ลอกเลียนแบบกลยุทธ์ของผู้อื่น เข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของตัวเอง วิเคราะห์คู่แข่ง กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เลือกวิธีการที่เหมาะสม

4. ความคิดสร้างสรรค์ Creative ต้อง แหวกแนว คิดนอกกรอบ กล้าที่จะลองทำอะไรใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่ต้องบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้จากทุกที่ ทุกเวลา กลยุทธ์ที่ดีไม่ได้จำกัดอยู่แค่แผนงานใหญ่โต แต่สามารถเกิดขึ้นจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ

กลยุทธ์คิดนอกกรอบ

ต้องรู้ว่ากรอบคืออะไร ?

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า “คิดนอกกรอบ” คือ “คิดอะไรก็ได้” แต่แท้จริงแล้ว การ คิดนอกกรอบ แบบมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ และ ความเข้าใจในบริบท

1. เข้าใจกรอบก่อนที่จะคิดนอกกรอบ

“กรอบ” เปรียบเสมือนข้อจำกัด กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กำหนดขอบเขตของการคิด การเข้าใจ “กรอบ” หมายถึง การเข้าใจข้อจำกัด กฎเกณฑ์ เงื่อนไข กฎหมาย กติกา เหล่านี้

การเข้าใจ “กรอบ” ไม่ได้หมายความว่าเราต้องยอมจำนนต่อกรอบเหล่านั้น แต่หมายถึง การหาช่องโหว่ โอกาส และวิธีการ ที่จะคิดนอกกรอบ โดยไม่ฝ่าฝืนหรือละเลยกรอบเหล่านั้น

2. Creativity + Strategic Thinking

Creativity หรือ ความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดแบบใหม่ แหวกแนว แตกต่าง ไม่เหมือนใคร Strategic Thinking หรือ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดวิเคราะห์ วางแผน ตัดสินใจ

  • คิดแบบสร้างสรรค์ แต่ต้อง คิดบนพื้นฐานของความเป็นจริง
  • มองเห็นภาพรวม วิเคราะห์สถานการณ์
  • ข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
  • กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
  • คิดหาวิธีการบรรลุเป้าหมาย

ด้วย กลยุทธ์คิดนอกกรอบ แบบไม่นอกโลก ผสมผสาน Creativity เข้ากับ Strategic Thinking คุณจะสามารถหาโอกาสใหม่ ๆ สร้างความแตกต่าง และประสบความสำเร็จในธุรกิจ

1. Goalกำหนดเป้าหมายระยะยาว มองภาพรวม ว่าต้องการอะไร

2. The Challenge วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ที่ต้องเผชิญ

3. Possible Winning Solutions ระดมความคิด หาแนวทาง วิธีการ กลยุทธ์ ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย

4. Cut Choice เลือก

การคิดแบบนักกลยุทธ์ ไม่ได้หมายความว่าต้องคิดต่าง แต่หมายถึง การ “เห็นเหมือนคนอื่น แต่มองไม่เหมือนคนอื่น”

ตัวอย่าง ทัวร์อาม่า กลายเป็นไวรัลโด่งดังบนโลกออนไลน์ ไกด์ทัวร์ต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ นั่นคือ อาม่าชอบคุยเสียงดัง รบกวนนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ

การตั้งคำถาม นำไปสู่ โจทย์ ทำอย่างไรให้อาม่าหยุดคุย? จากโจทย์นี้ นำไปสู่ กลยุทธ์ แจกมาสก์หน้าให้อาม่าใส่ อาม่าจะได้เงียบ ฟังไกด์พูด

กลยุทธ์นี้ อาจดู “นอกกรอบ” แต่เกิดขึ้นจาก การตั้งคำถาม วิเคราะห์สถานการณ์ และหาทางออกอย่างสร้างสรรค์

ขั้นตอนสู่กลยุทธ์คิดนอกกรอบแบบไม่นอกโลก

กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน (Where do you want to be)

เป้าหมายต้อง ชัดเจน จับต้องได้ วัดผลได้ เหมาะสมกับตัวเรา สอดคล้องกับจุดแข็ง ทรัพยากร และความสามารถ เหมาะสมกับลูกค้า วิเคราะห์โอกาส อุปสรรค และปัจจัยภายนอก

วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน (Where are you now)

เข้าใจจุดเริ่มต้น รู้ว่าเราอยู่ตรงไหน ประเมินทรัพยากรที่มี ทั้งทรัพยากรที่มีรูปธรรม (เงิน คน อุปกรณ์) และทรัพยากรที่ไร้รูปธรรม (ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์) ระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis)

เข้าใจคู่แข่ง (Who are your competitors)

ศึกษาคู่แข่ง วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน กลยุทธ์ และวิธีการของคู่แข่ง ระบุคู่แข่งหลัก คู่แข่งรอง และคู่แข่งทางอ้อม เรียนรู้จากคู่แข่ง นำจุดแข็งของคู่แข่งมาปรับใช้กับธุรกิจของเรา และหาจุดอ่อนของคู่แข่งมาเป็นโอกาสของเรา

ระบุปัญหาและหาทางออก (Problems (What Stop You?))

ระบุปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา หาที่มาที่ไปของปัญหา คิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มองหาทางออกใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนใคร

เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Choose a different way that is effective, efficient, specific and creative)

กลยุทธ์ต้อง มีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ วัดผลได้ มีประสิทธิผล ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร และเวลาอย่างคุ้มค่า หลีกเลี่ยงความสูญเปล่า มีความคิดสร้างสรรค์ แหวกแนว คิดนอกกรอบ กล้าที่จะลองทำอะไรใหม่ ๆ

ที่สำคัญต้อง ลงมือทำ (Execution) มันจะไร้ประโยชน์ หากไม่มีการลงมือทำ จงจำไว้ว่า การคิดนอกกรอบ ไม่ใช่การคิดอะไรก็ได้ แต่ต้องอาศัยทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ และ ความเข้าใจในบริบท กลยุทธ์ที่ดี ต้องมี เป้าหมายที่ชัดเจน วิเคราะห์ สถานการณ์ปัจจุบัน เข้าใจ คู่แข่ง ระบุ ปัญหา และ เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม

คุณสโรจกล่าวปิดท้ายว่า “เราเน้นเข้ารอบ ไม่เน้นเข้าร่วม”

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Issariya Ittiphumtana

"เฟ'ริน " Junior Marketing Content Creator การตลาดวันละตอน สายออกแบบกราฟฟิก ที่กำลังฝึกเขียนบทความการตลาด ซึ่งมีความชื่นชอบดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

แบรนด์บ้านในฝันของคุณคือ...

ช่วยตอบเราก่อนอ่านแปบนึงนะ ^^