เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

พูดถึงการจัดการชีวิตทุกวันนี้ไม่ว่าสำหรับนักบริหาร นักการตลาด หรือแม้แต่คนทั่วไป ไม่พูดถึงเรื่องนี้คงไม่ได้ นั่นคือ การบริหารเงิน วันนี้ทีมการตลาดวันละตอนจึงขอนำ เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024 โดย คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ จากเพจ Money Coach ค่ะ

เพราะ Balance เราไม่เท่ากัน แล้ว Balance เราอยู่ตรงไหน

เพราะเราทุกคนมีหน้าที่แตกต่างกัน การงานแตกต่างกัน ดังนั้นคำว่า Balance ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน พูดให้เห็นภาพง่าย ๆ แบ่งเป็นมุมมองของเงินในวันนี้ และ เงินในวันหน้า เป้าหมายก็แตกต่างกันแล้ว บางคนเป็นพนักงานประจำเงินเดือนชนเดือนวันหน้าไม่ต้องพูดถึงเพราะแค่วันนี้ก็ต้องการพัฒนาหาเงินมากขึ้น บางคนเงินวันนี้ยังไม่มีส่วนวันหน้าก็ยังไม่คิดถึงบอกว่าไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม

เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

บางคนก็เป็นนักธุรกิจมีเงินเป็น 100 ล้านแต่ก็มีปัญหาไม่กล้าใช้กลัววันข้างหน้าไม่มีเก็บ เห็นมั้ยคะ ว่าแต่ละคนมีก็ปัญหาแตกต่างกัน แล้วสุดท้ายเราจะเริ่มที่ไหนล่ะ คำตอบคือ ต้องเริ่มที่ตัวเราค่ะ

Start at yourself เริ่มต้นที่ตัวเรา

ให้เริ่มกลับมาถามตัวเองว่าตัวเราเองตองการอะไรกันแน่ ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง หรือ ตัวเองต้องการอะไรตัว ตัวของคุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ น้าหนุ่ม เองก็แนะนำว่าให้ใช้หลักบริหารเงินในชีวิตให้มั่นคง หรือ ความมั่นคงทางการเงิน (Financial Security) เป็นภาพกว้างในการตั้งหลัก

เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

โดยจะมีในเรื่องของการจัดการความเสี่ยง(Risk Management) การจัดการสภาพคล่อง(Cash Management) การสะสมความมั่งคั่ง(Wealth Accumulation) เพราะทั้งสามสิ่งนี้จะทำให้เรามี ความมั่นคงทางการเงิน(Financial Security) นั่นเองค่ะ 

แล้วถ้าหากเรายังคิดไม่ออก ก็ขอให้ใช้หลักง่าย ๆ ทั้ง 4 ข้อนี้เป็นเป้าหมายการเงินขั้นพื้นฐานของทุกคนได้ค่ะ

  1. มีรายได้เพียงพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  2. เติมเต็มความสุขให้ชีวิตได้ตามกำลัง
  3. พร้อมรับมือทุกความเสี่ยงทางการเงิน
  4. มีเงินดูแลตัวเองได้จนวันสุดท้ายของชีวิต

พอเราตั้งเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ก็ตั้ง Money Index เพื่อให้เราไม่ลืมเป้าหมายนั้น และเพื่อวัดผลเป้าหมายแบบมีตัวเลข มีความชัดเจนให้เราไม่ลำบาก พอไหว ไปได้ ด้วย Money Index ค่ะ

  1. อัตราส่วนการออมและการลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 100%
  2. อัตราส่วนเงินผ่อนชำระหนี้ต่อรายได้ ไม่เกิน 50%
  3. อัตราส่วนเงินสำรองมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
  4. ความมั่งคั่งสุทธิเป็น “บวก”(+) และเพิ่มมากขึ้นทุกปี

เพียงเท่านี้เราก็จะได้เป้าหมายสำหรับการจัดการการเงินขั้นพื้นฐานกันแล้วค่ะ แต่สำหรับบางคนไม่ได้ต้องการเพียงการเงินขึ้นพื้นฐาน แต่มีเป้าหมายคือการสร้างอิสรภาพทางด้านการเงิน และต้องมีก่อนอายุ 60 ปี หรือที่เราเคยได้ยินติดปากว่า เกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งทาง คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ น้าหนุ่ม เองก็ได้ให้ 2 แนวทาง คือ F.I.R.E และ Passive Income นั่นเองค่ะ

F.I.R.E และ Passive Income

เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

เริ่มจากแนวทางการสร้างอิสรภาพแบบ F.I.R.E (Financial Independence, Retire Early) โดยมี 4 ข้อดังนี้

  1. ออมและลงทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซึ่งบางคนอาจออมสูงถึง 70% เลยค่ะ)
  2. ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด
  3. ชำระหนี้ที่มีให้หมด
  4. หารายได้เพิ่ม เพื่อนำมาออมและลงทุนเพิ่ม

ส่วนแนวคิด Passive Income คือรายได้ที่ได้มาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องใช้เวลาและแรงงานมากนัก เป็นการสร้างกระแสเงินสดให้กับตัวเองโดยไม่ต้องขายเวลา ตัวอย่างของ Passive Income ได้แก่

  • ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยเช่า
  • เงินปันผลจากหุ้นและกองทุน
  • ค่าลิขสิทธิ์จากผลงานที่สร้างไว้ เช่น หนังสือ เพลง คอร์สออนไลน์
  • รายได้จากธุรกิจที่วางระบบไว้ดีจนไม่ต้องดูแลมาก

แต่ตัวของคุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ น้าหนุ่ม เองก็ได้ลองมี Passive Income ในแต่ละการลงทุนแล้ว ก็ได้บอกว่า ไม่มีอะไรตอบแทนดีเท่าธุรกิจ ไม่ว่า หุ้น กองทุน เงินปันผล ได้อย่างเก่งก็ 10% แต่ธุรกิจได้เร็วที่สุด ซึ่งการมี Passive Income เพียงพอก็เป็นหนทางสู่ความมั่งคั่งและอิสรภาพทางการเงินได้เช่นกันค่ะ

ซึ่งก็เป็นเป้าหมายสูงสุดของ F.I.R.E. นั่นเอง โดยคนที่ต้องการเกษียณเร็วตาม F.I.R.E. ก็มักใช้ Passive Income เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการสะสมความมั่งคั่งค่ะ

นอกจากนั้นคุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ น้าหนุ่ม ยังให้แนวทางการสร้างอิสรภาพการเงินแบบ Passive Income โดยให้เราตั้งเป้าหมายเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.กำหนดรูปแบบชีวิตที่ต้องการ (Define Your Lifestyle)

โดยคุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ น้าหนุ่มได้บอกไว้ว่า อย่าตั้งเป้าหมายชีวิต เป็นตัวเลขทางการเงิน ให้ตั้งเป้าหมายการเงิน จากเป้าหมายชีวิต หมายความว่าเราไม่ควรจำเป็นต้องตั้งว่า ฉันจะมีเงิน 100 ล้าน ฉันจะมีเงิน 1,000 ล้าน เพราะ 100 ล้าน 1,000 ล้านนั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ

แต่ให้เราเขียนชีวิตที่อยากได้ออกมา โดยกำหนดรูปแบบชีวิตที่ต้องการ เป็นชีวิตที่เราต้องการจริง ๆ ไม่ต้องไปมองใคร ไม่ต้องคิดถึงใคร อยากไปเที่ยวไหน อยากมีชีวิตแบบไหน ออกนอกบ้านบ่อยมั้ย อยากมีรถแบบนี้ มีบ้านแบบนี้ โดยเขียนอธิบายออกมาก่อน โดยไม่ต้องเขียนเป็นตัวเลขของมูลค่าของสิ่งนั้น ๆ ให้นึกแค่สิ่งที่อยากได้พอ

2.ประเมินค่าใช้จ่าย (Evaluate Monthly Cost)

ต่อมาเราก็ประเมินค่าใช้จ่ายจากสิ่งที่เราเขียนว่าถ้าเราอยากมีชีวิตแบบนั้น เราต้องมีเงินประมาณเท่าไหร่ ตีออกมาเป็นมูลค่า เป็นจำนวนเงินค่ะ

3.ตั้งเป้าหมายทางการเงิน (Passive Income Targeting)

เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

หลังจากประเมินมูลค่าแล้ว เราก็มาดูว่าแล้วเราต้องสร้างเป้าหมายทางการเงินเท่าไหร่ล่ะ เพื่อให้มันครอบคลุมกับรายจ่ายที่เราต้องการ

4.วางแผนสร้างทรัพย์สิน และลงมือทำ (Make It Real!)

เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024

หลังจากเราได้เป้าหมายของการเงินแล้ว เสร็จแล้วเราก็วางแผนและลงมือทำค่ะ ว่าเราจะหาเท่าไหร่ ต้องแบ่งเป็นอะไรบ้าง

และทั้งหมดนี้ก็คือ เทคนิคบริหารเงิน Money Life Balance จากงาน CTC2024 และสิ่งหนึ่งที่ คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ น้าหนุ่ม ฝากไว้คือ คนเราสามารถรวยได้จากเงิน 4 ด้าน และจนได้จากเงิน 4 ด้าน เพราะตัวของน้าหนุ่มเองเป็นคนแปลหนังสือเรื่อง พ่อรวยสอนลูก และเห็นคนนำเรื่องเงิน 4 ด้านนี้ไปพูดว่าเราควรหารายได้จะฝั่งของ Passive Income

ซึ่งจริง ๆ แล้ว น้าหนุ่มบอกว่าในตอนที่เขาแปลเขายังไม่เคยเจอข้อความข้างต้นด้วยซ้ำ ดังนั้นอยากให้ทุกคนมองใหม่ว่า คนเราสามารถรวยได้จากเงิน 4 ด้าน และจนได้จากเงิน 4 ด้าน เพราะรายได้จากการทำงาน ถือว่าเป็นความภูมิใจที่เราได้ลงมือทำ แต่ถ้าเราอยากรวยจากมัน เราต้องทำหนึ่งครั้งแต่หาเงินได้มากกว่าหนึ่งครั้งนั่นเองค่ะ

ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ 

สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ

อยากอ่านบทความการตลาดเพิ่มเติม ลองเลือกอ่านบทความด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

Mywmint

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ค่ะ ● ⋏ ● เป็น Junior Marketing Content Creator ของการตลาดวันละตอนค่ะ รับบท Marketer ฝึกหัด ٩(◕‿◕)۶ ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยฮะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *