เมื่อก้าวสู่ปี 2025 หลายคนต่างจับตามองทิศทางการตลาด เพื่อวางแผนรับมือกับความท้าทายที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นกว่าปีก่อน บทความนี้ผมจะมาสรุป Session “ฟันธง เทรนด์การตลาด 2025 Way Forward” จากงาน THAILAND MARKETING DAY 2025 โดยดร.สมชาติ วิเศษชัยชาญ อุปนายกฝ่ายองค์ความรู้ด้านการตลาด สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และกรรมการบริหารและที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์สารธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผศ. ดร. เอกก์ ภทรธนกุลอุปนายกฝ่ายกิจกรรม การสื่อสาร และการตลาดยั่งยืน สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และหัวหน้าภาควิชาการตลาด ประธานหลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาดคณะบัญชีฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งการฟันธงเทรนด์การตลาด 2025 Way Forward มาจากการสำรวจข้อมูลจาก CMO Council จำนวน 111 คน ซึ่ง CMO Council คือกลุ่มเครือข่ายผู้บริหารระดับสูงด้านการตลาด (Chief Marketing Officer) ซึ่งในบทความนี้ ผมจะพาทุกคนไปดู 3 หัวข้อหลักครับ ได้แก่
What – สถานการณ์ภาพรวมปีนี้เกิดอะไรขึ้น
How – นักการตลาดจะจัดสรรงบและทรัพยากรอย่างไร
What Next – แนวโน้มในอนาคตที่น่าจับตา
1. WHAT: สถานการณ์การตลาดในปี 2025
เศรษฐกิจโตยากขึ้น
จากเดิมที่เมื่อปีที่ผ่านมา 50% ของนักการตลาดมองว่า “โตยาก” แต่ปีนี้ตัวเลขเพิ่มเป็น 55% สะท้อนมุมมองในแง่ลบเกี่ยวกับภาวะการขยายตัวของธุรกิจ หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียง 1.65% ซึ่งนับว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ครับ
Macro Environment – ปัจจัยภายนอกมาแรง
และเมื่อสำรวจว่า “ปัจจัยใดส่งผลกระทบมากที่สุด” ที่ทำให้เศรษฐกิจโตยาก พบว่า
สภาพเศรษฐกิจโลก คะแนน 4.09
เทคโนโลยีดิจิทัล คะแนน 4.08
พฤติกรรมลูกค้า คะแนน 4.05
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในปี 2025 สะท้อนถึงความท้าทายที่นักการตลาดต้องเตรียมรับมืออย่างรอบคอบครับ สภาพเศรษฐกิจโลก ที่ได้คะแนนสูงสุด 4.09 สะท้อนถึงความไม่แน่นอนจากปัจจัยระหว่างประเทศ เช่น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ Digital Technology ที่มีคะแนนที่ 4.08 กำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตลาดและการดำเนินธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ทำให้ Digital Adaptation เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งขึ้นครับ
สุดท้ายพฤติกรรมลูกค้า ที่ได้คะแนน 4.05 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงความต้องการและความคาดหวังอย่างรวดเร็ว นักการตลาดจำเป็นต้องเข้าใจ Insight ของลูกค้าและตอบสนองด้วยกลยุทธ์ที่ทันสมัยและเหมาะสมในบริบทของความท้าทายทางเศรษฐกิจครับ
นอกจากนี้อาจารย์เอกก์บอกว่า สิ่งน่าสนใจที่ “เทคโนโลยีดิจิทัล AI” ก้าวขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งปกติเคยถูกมองว่าเป็นเรื่องรอง แต่ตอนนี้ “AI และ Digital” กลับทำคะแนนสูสีมากกับตัวแปรทางเศรษฐกิจโลก
3 Customer Behavior Trends ที่ต้องโฟกัส
เมื่อ Zoom ลงไปในพฤติกรรมผู้บริโภคจะพบ 3 เทรนด์หลัก ที่ผู้บริหารแนะนำให้ลงทุนหรือพัฒนาสินค้าและบริการรองรับครับ
สุขภาพ (Health) คะแนน 4.27
ดิจิทัล (Digital) คะแนน 4.21
คุณภาพ (Quality) คะแนน 4.09
ในปี 2025 3 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค ที่กลายเป็นจุดสำคัญที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโต 1. สุขภาพ – Health ได้คะแนนสูงสุดที่ 4.27 สะท้อนถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์และบริการที่เน้นการดูแลสุขภาพและจิตใจ ทั้งในมิติของการป้องกัน การดูแลตัวเอง และการสร้างสมดุลในชีวิต 2. ดิจิทัล – Digital ซึ่งได้คะแนน 4.21 ชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อการเข้าถึงบริการผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น เช่น การช้อปปิ้งออนไลน์ การใช้แพลตฟอร์มอัจฉริยะ หรือการตอบโจทย์ด้วย AI และ Automation
สุดท้ายคือ 3. คุณภาพ – Quality ได้คะแนน 4.09 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการที่คุ้มค่า มีมาตรฐานสูง และตอบสนองความคาดหวังในระยะยาวอย่างแท้จริง ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์สำคัญที่นักการตลาดและผู้บริหารต้องมองให้ลึกเพื่อลงทุนและพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนครับ
อาจารย์เอกก์ให้ความเห็นว่าทั้งสามเทรนด์นี้สามารถ “หลอมรวม” เป็นกลยุทธ์เดียวกันได้ ตัวอย่างเช่น กรณี “ไก่ไทยไปอวกาศของ CP” ที่สื่อสารเรื่องคุณภาพและสุขภาพโดยใช้คีย์เวิร์ด “อวกาศ” ซึ่งกระตุ้นความสนใจได้อย่างสร้างสรรค์ และแฝงนัยว่ามีมาตรฐานสูงกว่าปกติครับ
อีกสิ่งที่น่าสนใจคือเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม Social & Environmental ที่ปีก่อนหลายฝ่ายให้ความสำคัญมาก แต่ปีนี้กลับอยู่ในอันดับ 7 เมื่อพูดถึงการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปีนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญนะครับ ทว่าแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันทำให้มุมมองผู้บริโภคขยับไปด้าน “สุขภาพ-ดิจิทัล-คุณภาพ” ก่อน
2. HOW: จัดการงบและทรัพยากรการตลาดอย่างไร
“มากถึง 77.6% ของบอกว่าจะไม่เพิ่มงบการตลาดในปี 2025 และมีถึง 0.41% ที่มองว่างบการตลาดอาจลดลง”
จากความเห็นของ CMO Council จำนวน 111 คน
ดังนั้นเมื่อเงินในกระเป๋ามีจำกัด คำถามคือ “เราควรโฟกัสการลงทุนที่ใด?” จากข้อมูลจากการสำรวจ ชี้ให้เห็น 3 อันดับแรกที่ CMO มีความเห็นว่าจะทุ่มงบกับสิ่งเหล่านี้มากที่สุดครับ
Content – 73% ไม่ใช่แค่เนื้อหาโฆษณาหรือคอนเทนต์สร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการผลิตเรื่องราวที่สอดคล้องกับ Insight ของผู้บริโภคและสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มที่เหมาะสมครับ
Commerce – 63.1% เน้นการเชื่อมโยงคอนเทนต์สู่การ Conversion ต้องวางโครงสร้าง e-Commerce ให้พร้อม ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์
Payment – 29.7% ต้องลงทุนในระบบ Payment หรือ วิธีการชำระเงิน ที่สะดวกสบายและปลอดภัย เพื่อเพิ่ม Conversion Rate ให้มากยิ่งขึ้นครับ
และหัวข้อที่มักจะถูกละเลยคือ Governance ครับ โดยเฉพาะการจัดการระบบข้อมูลและความปลอดภัยของลูกค้า ซึ่งแม้จะไม่ได้อยู่ในอันดับต้น ๆ แต่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่บริษัทควรให้ความสำคัญในระยะยาวครับ
ปรับลำดับ People – Planet – Profit
ถาม CMO ว่าในปี 2025 3P หลักที่เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ คือ People – Planet – Profit อะไรควรให้ความสำคัญที่สุดต้องบอกว่าในปีที่ผ่านมา People มาแรง แต่มาปีนี้ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจอ่อนไหว ดังนั้น Profit ถูกจัดให้อยู่ในลำดับแรกสุดครับ แต่ CMO หลายคนย้ำว่า ถึงแม้จะต้องโฟกัส Profit เป็นหลัก แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทิ้ง People และ Planet ไปอย่างสิ้นเชิง เพียงแค่ Profit จะมีน้ำหนักมากขึ้นเหมือนเป็นเงาตามตัวครับ
3. WHAT NEXT: เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอนาคต
Deep Tech of The Future ที่น่าลงทุน
AI – คะแนน 4.52 – เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในยุคนี้ โดย AI ไม่เพียงแต่ช่วยในการวิเคราะห์ Big Data อย่างแม่นยำ แต่ยังสามารถปรับปรุง Customer Experience ได้อีกด้วย
IoT – คะแนน 4.01 – เพื่อเชื่อมต่อ Data และสร้าง Customer Experience ใหม่ ๆ ที่อัจฉริยะจริง ๆ
Biotechnology – คะแนน 3.85 – โอกาสใหม่ในการผสานงานวิจัยชีวภาพเข้ากับสินค้าเกษตร อาหาร หรืออุตสาหกรรมสุขภาพ
3 อันดับอุตสาหกรรม New S-curve ของไทย
Health & Wellness 88.3%
โฟกัสสุขภาพและบริการทางการแพทย์ รวมถึงโภชนาการ ที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Quality Tourism 73.9%
แนวโน้ม “การท่องเที่ยวคุณภาพ” ที่นักท่องเที่ยวกลุ่มมีกำลังจ่ายสูงพร้อมจ่ายเพื่อประสบการณ์พิเศษ เน้นสร้างคุณค่า และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม
Agri & Biotech 63.1%
การยกระดับภาคเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ
ทั้งสามอุตสาหกรรมที่ CMO กว่า 111 คนมองว่าจะเป็น New S-curve ของไทย สะท้อนถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและความต้องการของผู้บริโภคที่ชัดเจน โดยภาค Health & Wellness ได้แรงหนุนจากกระแสการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและบริการทางการแพทย์ระดับโลกของไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ขณะที่ Quality Tourism มุ่งเน้นประสบการณ์พิเศษและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มมีกำลังจ่ายสูง และสุดท้าย Agri & Biotech คือการยกระดับภาคเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลกด้านอาหารและสุขภาพ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโอกาสทางการตลาดที่ไทยสามารถใช้จุดแข็งด้านทรัพยากรและองค์ความรู้มาต่อยอด สร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ระดับสากล ตรึงใจทั้งผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศให้เชื่อมั่นในศักยภาพของสินค้าและบริการไทยได้อย่างยั่งยืนครับ
สูตรความสำเร็จ ABCD
เพื่อตอบโจทย์การตลาดปี 2025 และฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายอาจารย์เอกก์ และอาจารย์สมชาติแนะนำกรอบแนวคิด ABCD สำหรับทำ Marketimg 2025 ครับ ประกอบด้วย
A: (I) สร้างประสบการณ์ที่ตรงใจ และ Personalized ให้มี Meaningful กับผู้บริโภค ด้วย AI
B: (alance) การบริหารความ “เร็ว-ช้า” และ “ความเสี่ยง-โอกาส” อย่างสมดุล Data Governance ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม
C: (lear) ชัดเจนในเชิงงบประมาณ รู้ว่าควรใช้จ่ายตรงไหนถึงคุ้มค่า และสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ
D: (ata) ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำ Data Driven เพื่อสร้างความ Emotional Connection กับผู้บริโภค
สรุป เทรนด์การตลาด 2025 Way Forward จากงาน Thailand Marketing Day 2025
AI image generated by Shutterstock (Prompt : a futuristic marketing meeting room filled with diverse individuals collaborating on holographic interfaces, showcasing trends for 2025, sleek and modern environment with neon highlights, cinematic lighting.)
ท่ามกลางความท้าทายของปี 2025 การตลาดต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค การทำความเข้าใจ Insight อย่างลึกซึ้ง การบริหารทรัพยากรอย่างชาญฉลาด และการลงทุนในเทรนด์ใหม่ ๆ เช่น Health & Wellness, AI, และ Agri & Biotech คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถปรับตัวและสร้างความแตกต่างในตลาดที่แข่งขันอย่างดุเดือด การใช้กรอบแนวคิด ABCD จะเป็นเหมือนเข็มทิศที่นำพาธุรกิจไปในทิศทางที่มั่นคงและยั่งยืน ตอบโจทย์ทั้งการสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภคและการเติบโตในระยะยาวครับ
บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ