ล่าสุดผมได้หนังสือ Marketing 5.0 Technology for Humanity ของ Philip Kotler มา ซึ่งนับเป็นปรามาจารย์ด้านการตลาดของโลกที่นักการตลาดทุกคนต้องรู้จัก เลยจัดมาเป็นบทความพิเศษที่สรุปในส่วนของ Insight ในแต่ละ Generation ตั้งแต่ Baby Boomers, Gen X, Gen Y หรือ Millennials, Gen Z และ Alpha ไปจนถึงแนวทางทำการตลาดกับแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละกลุ่มก็มี Attitude หรือทัศนคติที่ล้วนต่างกันตามสภาพแวดล้อมและบริบทที่โตขึ้นมา
ถ้าพร้อมแล้วเรามาเก็บความรู้ไปพร้อมกันครับ ว่าในหนังสือ Marketing 5.0 นั้น Philip Kotler นั้นให้คำนิยามและอธิบายถึงแต่ละ Generation ว่าอย่างไร
แล้วถ้าจะเลือกแบรนด์พวกเขาก็จะเลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ แบรนด์ที่อยู่มานาน ไม่ค่อยเปิดใจรับแบรนด์ใหม่ๆ นี่จึงเป็นโอกาสของแบรนด์เก่าที่อย่ามัวแต่มองหาคนรุ่นใหม่จนลืมไปว่าตัวเองมี Fan ที่ Loyalty ตัวเองมากเลยทีเดียว
Insight Generation X – กลุ่มผู้บริโภคที่น่าสงสารเพราะถูกนักการตลาดมองข้ามมานาน แต่วันนี้พวกเขาเริ่มขึ้นเป็นผู้บริหาร หรือออกไปสร้างธุรกิจของตัวเองจนมีกำลังซื้อที่มองข้ามไม่ได้แล้ว
น่าสนใจที่หนังสือ Marketing 5.0 ของ Philip Kotler เล่มนี้บอกให้รู้ว่า Insight Generation X หรือ Gen X คือถูกนักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ มองข้ามมานาน เพราะพวกเขามักจะไปสนใจ Baby Boomers หรือไม่ก็ข้ามไป Gen Y ที่มีจำนวนมากกว่าไปเสียเลย
หนังสือเล่มนี้นิยามว่า Generation X หรือ Gen X คือคนที่เกิดในช่วงระหว่างปี 1965-1980 เป็น Generation ที่โตมาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำตอนเด็กทำให้พ่อแม่ต้องออกไปทำงานหาเงินด้วยกันทั้งคู่
แถม Gen X บางคนก็ต้องเจอกับการหย่าร้างของพ่อแม่ที่มากกว่าคนรุ่นก่อนหรือ Baby Boomers อย่างเห็นได้ชัด เมื่อสังคมเริ่มเปิดกว้างการแยกกันอยู่หลังแต่งงานหรือมีลูกนั้นก็เริ่มกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมอเมริกา ในบ้านเราก็เริ่มจะเป็นแบบนั้นเหมือนกันตอนนี้
การติดเพื่อนจึงเป็นเรื่องปกติของคนกลุ่มนี้ ถ้าคิดถึงสังคมไทยก็น่าจะเป็นกลุ่ม Gen Y ที่พ่อแม่ทำงานทั้งคู่เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าบริบทสังคมในบ้านเราจะช้ากว่าที่อเมริกาไปสักเล็กน้อย
Gen X ส่วนใหญ่จึงโตมากับการดู MTV หรือซีรีส์ หรือรายการทีวีโชว์อย่าง Friends หรือถ้าบ้านเราก็น่าจะเป็นพวกซิทคอมต่างๆ เช่น สามหนุ่มสามมุม บางรักซอยเก้า และเป็นต่อ เกิดทันกันไหมครับ ถ้าพวกรายการเพลงในบ้านเราก็จะเป็น OIC แมลงมันส์ รายการคอนเสิร์ตต่างๆ ตามวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ผมเองก็จำชื่อไม่ได้แล้ว
คน Gen X เองน่าสนใจตรงที่เป็น Generation ที่โตมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่เป็น Geneation ที่เริ่มรู้จัก Internet อย่างจริงจังเป็นเจนแรก เพราะที่ทำงานเริ่มปรับตัวมาใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น
พวกเขายังได้รู้จักกับยุคของเทป ยุคของ CD และยุคของ DVD ไปจนถึงร้านเช่าหนังต่างๆ เด็กสมัยนี้คงงงว่ามันเคยมีธุรกิจแบบนี้อยู่ด้วยหรือ ทำไมเราต้องไปเช่าหนังมาดูกันด้วยนะ
แต่ในขณะเดียวกัน Gen X อย่างเราหลายคนก็ได้รู้จักกับ Online Streaming ไปพร้อมกันกับคนรุ่นใหม่ เรียกได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มที่เต็มไปด้วย Technology Experience มากมาย และเราก็ได้เรียนรู้มันและใช้งานจริงในแบบที่คนรุ่นก่อน Baby Boomers ไม่ได้เรียนรู้ที่จะใช้งานเท่ากับเรา
แต่จากที่เคยถูกมองข้ามมานานเพราะมองว่ามีจำนวนไม่มากพอจะสนใจ และก็ไม่ได้มีกำลังซื้อเงินถุงเงินถังเท่ากับ Baby Boomers ก่อนหน้า แต่วันนี้นักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ ล้วนมองคนกลุ่มนี้ด้วยความหิวกระหายตาเป็นมัน เพราะ Gen X ในวันนี้ก้าวขึ้นไปเป็นผู้จัดการในบริษัท หรือไปเป็นผู้บริหาร และบางคนก็ถึงขนาดออกไปสร้างธุรกิจของตัวเองเพราะรู้สึกว่าทำงานในองค์กรมานานไม่ได้ก้าวหน้าเป็นผู้บริหารอย่างที่ตั้งใจไว้
Gen X ในวันนี้นอกจากจะปรับตัวเก่งแล้วยังกลายเป็น Senior และ Management เต็มตัว แม้พวกเขาจำมีจำนวนไม่มากเท่า Gen Y ที่นักการตลาดเคยสนใจ แต่วันนี้พวกเขาก็มีความมั่นคั่งและมั่นคงพอตัวที่จะทำให้แบรนด์ต่างๆ มองข้ามอำนาจการซื้อของพวกเขาไม่ได้อีกต่อไปครับ
Insight Gen Y – กับมนุษย์ช่างสงสัยที่เกิดในช่วงเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษ Millennials
Gen Y หรือ Generation Y คือคนที่เกิดในช่วงระหว่างปี 1981-1996 พวกเขาโตในช่วงเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษที่เติมไปด้วยความกลัวว่าโลกจะแตกเพราะ Y2K หรือปี 2000 แล้วคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะทำงานผิดพลาด
พวกเขากลุ่มนี้เป็นลูกของ Baby Boomers ที่อายุยืนและมั่งคั่ง ในขณะเดียวกันชื่อ Gen Y ก็มาจากคำว่า Why เพราะพวกเขาเป็นเด็กที่ช่างตั้งคำถามกับทุกสิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นเจ้าหนูจัมมัยในสายตาคน Gen ก่อนหน้าเหลือเกิน
คน Gen Y เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อมกับการบูมในเรื่องการศึกษา คนกลุ่มนี้ได้รับการศึกษาที่ดีและสะดวกสบายกว่าคนกลุ่มอื่น หรือตัวพ่อแม่เองนี่แหละที่ผลักดันให้ลูกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยให้ได้ เพราะรู้แล้วว่าความรู้และใบปริญญานี่แหละสำคัญต่ออนาคตการทำงานเป็นอย่างมาก
ดังนั้จะเห็นว่าคน Gen Y มี Standard ในเรื่องการศึกษาที่สูงมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากการเข้าถึงการศึกษาของคนรุ่นนี้ง่ายกว่าคนรุ่นก่อนมาก จนทำให้การเรียนจบมหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้อได้เปรียบในการทำงานอีกต่อไปครับ
คนกลุ่มนี้ก็เติบโตมาพร้อมกับ Internet อย่างเห็นได้ชัด แม้คน Gen Y กับ Gen X จะใช้อินเทอร์เน็ตไม่น้อยกว่ากัน แต่ลักษณะหรือพฤติกรรมการใช้ของคนสองกลุ่มนี้จะแตกต่างกันพอสมควร
คน Gen X เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเพราะเรื่องงาน แต่กับคน Gen Y นั้นเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเพราะความต้องการส่วนตัวแล้วค่อยขยับมาที่เรื่องเรียน
คน Gen Y ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงแรกและใช้มากๆ ไปกับ Social media เป็นหลัก คนกลุ่มนี้คือคนกลุ่มแรกที่รู้จักกับ Facebook ก็ว่าได้ ดังนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเรื่องอื่นๆ นอกจากงานจึงกลายเป็นเรื่องปกติ และการใช้อินเทอร์เน็ตของ Gen Y ก็ก่อให้เกิดเทรนด์ที่เรียกว่า FOMO
FOMO หรือ Fear of Missing Out ก็คือการชอบเอาชีวิตตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ บนออนไลน์ คนยุคก่อนเปรียบเทียบชีวิตตัวเองได้แค่กับเพื่อนบ้านหรือเพื่อนในโรงเรียน แต่คน Generation Y นั้นสามารถเปรียบเทียบตัวเองกับคนแปลกหน้าที่อยู่ต่างโรงเรียนได้สบายๆ ไปจนถึงอาจจะถึงขั้นเปรียบเทียบตัวเองกับคนรวยคนดังที่ตัวเองไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวมาก่อน และนั่นก็เลยเป็นที่มาของ Influencer Marketing เพราะเมื่อนักการตลาดเริ่มรู้แล้วว่าคน Gen Y ชอบซื้อตามคนอื่นบนออนไลน์เพื่อให้ตัวเองไม่น้อยหน้า ก็ยิ่งโหมให้บรรดา Influencer เอาสินค้าหรือบริการตัวเองไปแชร์ไปอวดบนโลกออนไลน์เพื่อทำให้คนอยากได้อยากมีคล้ายๆ กัน
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นใน Insight ของ Gen Y คือคนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มแรกที่ปฏิวัติการใช้เงินจากคน Gen X หรือ Baby Boomers ด้วยการที่ไม่ค่อยอยากเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทรัพย์สมบัติใดๆ มากมาย
คนกลุ่มนี้ชอบที่จะใช้เงินไปกับการท่องเที่ยวหรือการสะสมประสบการณ์ ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนหรือ Gen ก่อนหน้าต่างไม่เข้าใจว่าทำไมเด็กสมัยนี้ถึงไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบเอาเสียเลย
ในขณะเดียวกันพวกเขานี้เองที่ทำให้เศรษฐกิจแบบ On Demand นั้นเติบโตเป็นอย่างมาก คนกลุ่มนี้เลือกที่จะใช้ Uber บ่อยๆ จนเหมือนรถยนต์ส่วนตัว แทนที่จะต้องไปเสียเงินเพื่อซื้อรถยนต์ส่วนตัวสักคนเหมือนกับคนรุ่นก่อน
และนั่นก็ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับ Business Model ใหม่เพื่อตอบความต้องการใหม่ๆ ของคนกลุ่มนี้ที่ต่างออกไป Toyota เองก็เริ่มให้บริการเช่ารถยนต์ใช้เมื่อต้องการ หรือ Volvo เองก็ยืดหยุ่นในระดับที่ว่าถ้าอยากใช้ Volvo ก็มาสมัครสมาชิกรายเดือนซิ แถมถ้าตอนไหนอยากได้รถคันใหญ่ขึ้นก็มาอัพเกรดรถได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องซื้อใหม่นะ
ส่วนในเรื่อง Insight ในที่ทำงานของ Gen Y เองนั้นก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะพวกเขาเรียนมาสูงจึงสงสัยในวิธีการทำงานของคนรุ่นก่อนที่อยู่มานาน และก็ทำให้ถูกมองว่าคนรุ่นใหม่ไม่นอบน้อม ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่ ทั้งที่ตัวผู้ใหญ่อาจจะไม่สามารถตอบคำถามพวกเขาได้ และก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ทำตามคำสั่งเหมือนที่ Gen X ทำๆ กันเป็นประจำนั่นเอง
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นของ Gen Y ก็คือแม้จะเป็นคนใน Gen เดียวกันก็ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มย่อยเหมือน Baby Boomers ที่เป็นพ่อแม่ของพวกเขา
นั่นก็คือ Older Millennials หรือ Gen Y ที่บังเอิญเรียนจบในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเงิน 2008 หรือ Hamburger Crisis ที่ส่งผลกระทบหนักไปทั่วโลกเพราะวิกฤต Subprime ในอเมริกา ซึ่งก็ทำให้งานเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากเมื่อพวกเขาเรียนจบออกมา และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ Gen Y จำนวนไม่น้อยที่เรียนจบในช่วงเวลานั้นเลือกที่จะออกมาทำธุรกิจส่วนตัวจนเป็น SME มากมาย
แม้พวกเขาจะติด Social media และชอบออนไลน์นานๆ แต่พวกเขาก็จะไม่ค่อยโพสบนเรื่องงานเพราะเลือกที่จะรักษาความเป็น Professional เอาไว้
ส่วน Millennials หรือ Gen Y ที่เกิดในช่วงหลังปี 1990 เป็นต้นไป คนกลุ่มนี้ไม่ได้เรียนจบมาในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจจึงทำให้การหางานไม่ได้ยากเท่ากับ Millennials ตอนต้น Gen Y ตอนปลายจึงเลือกที่จะทำงานเพื่อเติมเต็มความต้องการของตัวเองมากกว่า กล้าที่จะเลือกงานี่ใช่ กล้าที่จะปฏิเสธงานที่ไม่เหมาะกับตัวเองออกไป จะไม่เหมือน Gen Y ก่อนหน้าที่ขอแค่ให้มีงานทำเพื่อจะได้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้าน หรือแม้แต่ค่ารถของตัวเองก็ดีถมไปแล้ว
และในเรื่องของ Techology Gen Y ก็ถูกมองว่าเป็น Bridge Generation หรือเป็นคนที่สามารถใช้เทคโนโลยีข้ามระหว่างชีวิตออนไลน์กับออฟไลน์ได้เป็นอย่างดี ผิดกับ Gen X ที่ยังมองว่าคนเราแยกเป็นสองชีวิตระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์โดยสิ้นเชิง
Gen Y มองว่าออนไลน์เป็นส่วนขยายของชีวิตออฟไลน์ที่ทำให้เราสะดวกสบายยิ่งขึ้น พวกเขาโตขึ้นมากับ Internet เป็น Generation แรก ทำให้พวกเขามีความเชี่ยวชาญเรื่อง Technology และ Digital มากกว่าคนรุ่นก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัดครับ
สรุป Insight Gen Y หรือ Millennials จากหนังสือ Marketing 5.0
Gen Y นั้นแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกโชคร้ายจบมาในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ก็น่าจะคล้ายๆ วัยรุ่น Gen Z ที่จบมาในยุคโควิด ที่หนักยิ่งกว่าฟองสบู่แตกด้วยซ้ำ
ในแง่นึงอาจจะมองได้ว่าเพราะพ่อแม่พวกเขาหาเตรียมไว้ค่อนข้างครบแล้ว Gen Y หรือ Millennials จึงเลือกที่จะเอาเงินไปเที่ยวและใช้ชีวิตเพื่อสะสมประสบการณ์ แล้วก็โพสเรียก LIKE บน Instagram หรือ Social media จนก่อให้เกิดคำว่า FOMO และ Influencer Marketing ขึ้นมาครับ
Insight Gen Z – เกิดมาพร้อมกับ Smartphone และไม่รู้ว่าถ้าขาดอินเทอร์เน็ตแล้วจะใช้ชีวิตได้อย่างไร
Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี 1997-2009 คนกลุ่มนี้เป็นที่หมายปองของนักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ ในปัจจุบันมาก แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็น่าสงสารเพราะเกิดมาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกจึงทำให้พ่อแม่มีเงินน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเด็ก Generation อื่น
นี่ยังไม่นับว่าพวกเขาเริ่มเรียนจบและต้องหางานทำในยุคที่โควิด19 ระบาดในปี 2020 อีก เรียกได้ว่าเป็น Gen ที่ซวยซ้ำซวยซ้อนแล้วไหนจะปัญหาทางการเมืองที่มีการประท้วงมากมายพร้อมกันทั่วโลกที่ก็เห็นแต่ Gen Z นี่แหละครับที่เป็นแกนนำไปพร้อมๆ กันตั้งแต่ Black Live Matter ในอเมริกา และก็อีกหลายประเทศที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา
ทำให้ Gen Z นั้นมีพฤติกรรมการใส่ใจเรื่องเงินตั้งแต่ยังเด็กเพราะมีเงินให้ใช้น้อย บวกกับเมื่อถามความเห็นก็พบว่าปัจจัยที่จะทำให้เลือกงานใด เงินกลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต่างกับ Gen Y ก่อนหน้าที่บอกว่าการได้ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำนั้นสำคัญกว่าเงิน
Gen Z กลุ่มนี้พวกเขาโตขึ้นมาพร้อมกับความแพร่หลายของ Internet เรียบร้อยแล้ว จะ 3G หรือเน็ตบ้านความเร็วสูงที่ต่อด้วย Wifi ส่งผลให้พวกเขาอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มี Internet ให้ใช้ครับ
Gen Y เลือกที่จะโพสเฉพาะสิ่งที่ตัวเองมั่นใจว่าดี ผ่านสิบฟิวเตอร์ผ่านการแต่งภาพมาอย่างสวยงาม เรียกได้ว่าทุกภาพที่โพสต้องดูดี หรือทุกคลิปที่ลงไปต้องเพอร์เฟค
แต่กับ Gen Z นั้นเป็นคนละเรื่องกันเลยเมื่อพวกเขาออนไลน์ พวกเขาโพสทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตลงบนออนไลน์หรือโซเชียลเป็นเรื่องปกติ พวกเขาไม่ค่อยได้แต่งรูปภาพหรือคลิปเท่ากับคน Gen Y หรือถ้าจะแต่งก็จะเป็นการแต่งเอาสนุก เอามันส์ เอาฮา ไม่ได้เน้นการแต่งเอาหล่อสวยแบบคนรุ่นก่อนหน้าที่ทุกโพสต้องเป๊ะปังไม่อย่างนั้นอย่าโพสมันจะดีกว่าครับ
ดังนั้นพฤติกรรมของ Gen Y จะเป็นการใช้ Social media ออกไปทาง Personal Branding เสียมากกว่า ส่วน Gen Z จะเน้นการโพสอะไรที่จริงจนเป็นปกติ จนส่งผลให้พฤติกรรมการรับสื่อหรือคอนเทนต์จากแบรนด์เองก็เหมือนกับการโพสของพวกเขา
ถ้าแบรนด์ปั้นแต่งคอนเทนต์มากเกินไปพวกเขาก็จะรู้สึกว่าแบรนด์นี้เฟคหรือ Too good to be true นั่นเองครับ
ดังนั้นการจะทำการตลาดให้ถูกใจ Gen Z ต้องเอาจริงเข้าว่าเอาความผิดพลาดเข้าสู้ เหมือนที่ Diesel บอกว่าคนใส่แบรนด์นี้เป็นคนที่ออกจะไม่เพอร์เฟคด้วยซ้ำ ทั้งที่ราคา Diesel นั้นไม่ธรรมดาเอาเสียเลย
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ Gen Z เป็นหนึ่งใน Generation ที่กล้าเปิดเผยข้อมูลกับแบรนด์มากๆ แต่พวกคุณต้องทำให้เขารู้สึกว่าให้ไปแล้วได้อะไรกลับมา แบรนด์ต้องทำ Custimized หรือ Personalization กับเขาให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะด้วย Content หรือ Marketing หรือ Offering ใดๆ
จะมา Mass ใส่พวกเขาไม่ได้ เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่าพวกคุณช่างไม่สนใจพวกเขาเลยทั้งที่ให้ Data ไปมากมายว่าชอบอะไรไม่ชอบอะไรครับ
Insight อีกอย่างที่น่าสนใจของ Gen Z คือพวกเขาชอบที่จะปรับแต่งสินค้าหรือบริการต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการของตัวเองมากกว่าจะให้คุณทำมาให้แบบสำเร็จรูป
ดังนั้นคุณต้องเปิดช่องว่างให้พวกเขาเข้ามาเติมเต็มสินค้าหรือบริการของคุณ หรือขอความเห็นจากพวกเขาตรงๆ เลยก็ยิ่งดีนั่นจะยิ่งทำให้ได้ใจ Gen Z มากขึ้น
ส่วนในเรื่องการใส่ใจโลกและสิ่งแวดล้อมพวกเขา Gen Z เองก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ไม่แพ้กับ Gen Y
แต่ที่เหนือไปกว่านั้นคือ Gen Z ไม่ได้เอาแต่พูดบอกว่าตัวเองใส่ใจโลกและสิ่งแวดล้อมหรือสังคมแต่ปากเปล่า แต่พวกเขาที่จะลงมือทำเพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นส่วนนึงก็คือผ่านการใช้เงินในกระเป๋าว่าพวกเขาจะเลือกสนับสนุนแบรนด์ไหน
ส่งผลให้หลายแบรนด์ที่ที่ไม่สนใจใยดูจะถูกแบนหรือ Boycott จาก Gen Z ไปไม่น้อย และการใส่ใจเรื่องสังคมหรือสิ่งแวดล้อมนี้ก็ยังส่งผลต่อการเลือกบริษัทที่จะทำงาน ถ้าบริษัทนั้นไม่ได้คิดเห็นหรือใส่ใจในประเด็นเดียวกัน Gen Z เก่งๆ ก็อาจจะเลือกทำงานกับที่อื่นหรือแม้แต่บริษัทคู่แข่งคุณ
เพราะ Gen Z ชอบที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่ได้ดีแต่พูดหรือเอาแต่โพสอย่างที่ Gen Y เคยทำ
เพราะเอาเข้าจริงแล้ว Gen Z ไม่ได้อยากเปลี่ยนแบรนด์บ่อยๆ หรอกครับ แต่แบรนด์ส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบสนองในสิ่งที่พวกเขาต้องการตามที่เล่าไปได้ต่างหาก ส่วนแบรนด์ไหนที่ทำได้ดีก็จะเห็นว่า Gen Z ล้วนติดกันงอมแงม ดังนั้นการสร้าง Digital Experience ที่ดีจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ Gen Z Loyalty กับแบรนด์เราไปนานๆ ครับ
แต่ในขณะเดียวกันนักการตลาดอย่างเราและแบรนด์ต่างๆ ก็ต้องทำใจเตรียมไว้อย่างนึงว่า Gen Z นั้นเบื่อง่าย จึงส่งผลให้ Product Lifecycle ต่างๆ นั้นหมดอายุเร็วมากกว่าคน Generation ก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด
Gen Z ในวันนี้กำลังก้าวเข้ามาเป็นกลุ่มผู้บริโภครายใหม่ที่ใหญ่มาก ด้วยจำนวนที่มากกว่า Gen Y อย่างเห็นได้ชัด และในปี 2025 พวกเขาก็กำลังจะเป็นกลุ่มคนทำงานที่มีจำนวนมากที่สุดอีกด้วยครับ
อย่าลืมว่า Gen Z กล้าที่จะเปิดเผยทุกอย่างแบบไม่ปิดบัง แต่ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องทำเรื่อง Personalization เพื่อให้เขาเห็นว่าคุ้มค่ากับการที่ยอมแชร์ Customer data ให้กับคุณไปนั่นเองครับ
สรุปได้ดีมาก ขอบคุณครับ
สรุปออกมาดีมาก ขอบคุณมากๆนะครับ