แฮกรหัส! สร้าง Brand Personality ให้คนจำง่าย ๆ ด้วย Brand Archetype

แฮกรหัส! สร้าง Brand Personality ให้คนจำง่าย ๆ ด้วย Brand Archetype

การสร้างภาพจำให้ผู้คนจดจำแบรนด์เราได้นั้นเป็นเรื่องที่ยาก แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ค่ะ เพราะในบทความนี้เตยจะพามารู้จักกับ Brand Archetype หนึ่งในทางกลยุทธ์การตลาดทางลัดที่ช่วยให้คนจดจำอัตลักษณ์ของแบรนด์เราได้ง่าย ๆ

ใครที่อยากให้คนจำว่าแบรนด์ของเรามีตัวตนยังไง ฉลาด รอบรู้ เย้ายวน น่าค้นหา หรือบ้าระห่ำ ลองปรับใช้Brand Archetype สร้างตัวตนกันดูนะคะ

Brand Archetype คืออะไร?

Brand archetypes เป็นแนวคิดในการสร้างแบรนด์และการตลาดที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Carl Gustav Jung นักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์

โดยแนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ให้มีความโดดเด่นและเสถียรภาพ เรียกง่าย ๆ ว่าเป็น

ต้นแบบของแบรนด์ที่สะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) นั่นเองค่ะ เสมือนแบรนด์ DNA หรือตัวตนและอัตลักษณ์ลึก ๆ ภายในที่ช่วยให้แบรนด์โดดเด่นออกมาท่ามกลางคู่แข่ง

Brand archetypes มีทั้งหมด 12 ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะที่ช่วยให้ผู้สร้างแบรนด์สามารถเลือกสร้างความเชื่อมั่นและความหมายให้กับแบรนด์ของพวกเขาได้ โดยไม่ว่าจะเป็นแบรนด์สินค้า บริการ หรือองค์กร

ประเภทของ Brand archetypes มีดังนี้:

#1 The Innocent (ความบริสุทธิ์)

บุคลิกภาพที่เน้นการมองเห็นคุณค่าและความดีในสิ่งต่าง ๆ รวมถึงมีความอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี สดใส ไม่มีพิษมีภัยและบริสุทธ์ ทำให้แบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Personality จากบุคลิกนี้ มักจะสร้างภาพจำที่เน้นนำเสนอส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์ ผ่านอารมณ์ที่สงบ ผ่อนคลายและเบาสบาย

▶ เช่น แบรนด์ Dove, Aveeno, Mamypoko 

#2 The Explorer (นักสำรวจ)

บุคลิกภาพที่สนใจการเดินทางเพื่อค้นพบประสบการณ์ใหม่ ๆ พวกเขาจึงสะท้อนภาพของความตื่นเต้นในการได้เห็นหรือสัมผัสสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ชอบความท้าทาย ออกไปเผชิญโลกกว้าง ไม่หยุดนิ่ง

▶ เช่น แบรนด์ The North Face, GoPro, Jeep, Redbull

#3 The Sage (นักปรึกษา)

บุคลิกภาพที่เน้นการเป็นผู้รู้ ผู้มอบข่าวสาร หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์และพร้อมให้คำแนะนำกับลูกค้าที่เข้ามาหา การวางบุคลิกแบรนด์เช่นนี้ จะต้องพยายามบาลานซ์ให้ดี เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์รู้มากเกินไปหรืออวดรู้เกินไป

▶ เช่น แบรนด์ TED, Google

#4 The Hero (วีรบุรุษ)

 มักเป็นลักษณะของแบรนด์ที่สามารถเอาชนะตัวร้าย (ซึ่งอาจเป็นนามธรรมของสิ่งต่าง ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ ฝุ่นควัน มลพิษ ฯลฯ) สามารถเอาชนะอุปสรรค ฝ่าฟันไปถึงจุดหมายที่ต้องการ เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นบุคลิกที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ชอบการแข่งขัน

เช่น แบรนด์ Nike, Adidas

#5 The Outlaw (นอกเหนือกฎ)

บุคลิกที่ชอบคิดต่าง มีความท้าทาย ไม่ตามใคร แบรนด์ที่ใช้บุคลิกนี้จะเน้นการแสดงภาพของการฉีกกรอบและการออกจากกฎเกณฑ์เดิม ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้มากกว่า ดังนั้น แบรนด์ที่ใช้บุคลิกนี้อาจมีความเป็นตัวของตัวเอง สร้างสรรค์ แตกต่าง และอิสระ รวมถึงชอบการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

▶ เช่น Harley-Davidson, Virgin, Diesel

#6 The Magician (ผู้วิเศษ)

บุคลิกที่สร้างสรรค์สิ่งที่น่าเหลือเชื่อ มหัศจรรย์ เน้นการใช้ความเชื่อและจินตนาการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่มีจริงและมักใช้ความฝันหรือจินตนาการทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ดีขึ้น

▶ เช่น แบรนด์ Disney, Apple

#7 The Lover (คนรัก)

บุคลิกภาพของการสร้างความรักและสร้างอารมณ์เสน่หา โดยแบรนด์ที่เลือกนำเสนอภาพจำนี้ มักจะนำเสนอความรู้สึกต่าง ๆ ที่น่าหลงไหล เป็นบุคลิกที่มีความดึงดูด มีเสน่ห์ น่าค้นหานั่นเองค่ะ

▶ เช่น แบรนด์ Chanel, Victoria’s Secret

#8 The Jester (ตัวตลก สนุกสนาน)

ตัวตนของความสนุกสนาน เฮฮา นับเป็นบุคลิกหนึ่งที่สร้างภาพจำได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ Jester ยังเป็นบุคลิกที่สะท้อนสีสัน ความมีพลังงานบวก ทำให้ลูกค้ารู้สึกยิ้มแย้มและเข้าถึงอารมณ์แห่งความสุขได้ง่าย

▶ เช่น M&M, Old spice, Netflix 

#9 The Everyman (คนธรรมดา)

บุคลิกทั่วไปที่ผู้คนเข้าถึงได้ โดยตัวตนของแบรนด์นี้จะเห็นได้ชัดว่าเรียบง่ายและอยู่กับความเป็นจริง เป็นตัวแทนตัวตนของผู้คนทุกรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างเป็นผู้ใหญ่และขายสินค้าที่จำเป็นในการใช้ชีวิต

▶ เช่น แบรนด์ขายเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน IKEA, Home Pro

#10 The Caregiver (ผู้ดูแล)

บุคลิกที่ชอบดูแล ชอบห่วงใย รักคนอื่นๆ แบรนด์ที่นำบุคลิกภาพนี้ไปใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบรนด์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

▶ เช่น UNICEF

#11 The Ruler (ผู้ปกครอง ผู้นำ)

บุคลิกที่ชอบควบคุม ชอบจัดการ มีความทีเด็ด ชอบอำนาจ เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าที่มีบุคลิกภาพแบบเดียวกัน

▶ เช่น แบรนด์ Rolex, Mercedes-Benz

#12 The Creator (นักสร้างสรรค์)

บุคลิกที่ต้องการสร้างอะไรที่ดีกว่าเดิมให้โลกด้วยความสามารถของพวกเขา แบรนด์ที่ใช้บุคลิกภาพนี้บ่งบอกตัวตนจะเป็นลักษณะภาพจำของนักคิด อาจมีส่วนผสมของความนอกกรอบและไม่ซ้ำเดิมปะปนอยู่ด้วย

▶ เช่น แบรนด์ Lego, Adobe

ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างตัวตน

Redbull

Redbull เป็นแบรนด์หนึ่งที่หากเราพูดชื่อขึ้นมาปุ๊บ เราจะนึกถึงความบ้าระห่ำ ความท้าทายที่เหนือมนุษย์ขึ้นทันที เพราะคงมีไม่กี่แบรนด์บนโลกนี้หรอกค่ะ ที่สนับสนุนให้คนก้าวข้ามขีดจำกัดแบบสุดกู่ขนาดนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่แบรนด์พยายามทำอยู่ เราจะเห็นได้เลยว่า Brand Personality สอดคล้องกับ The Explorer (นักสำรวจ)

อย่างคลิปวิดิโอที่แปะเป็นตัวอย่าง อันนี้จะเป็นการโดดจากที่สูง แต่อันนี้สู๊งสูง โดดมาจากอวกาศกันเลยทีเดียว

Lego

Lego เป็นตัวอย่างแบรนด์ที่เห็นภาพได้ชัดที่สุดในการสร้างภาพจำ สร้าง Brand Personality ในใจของผู้คนว่าแบรนด์นี้เป็น The Creator (นักสร้างสรรค์) เพราะเมื่อเราสังเกตรูปแบบคอนเทนต์ สื่อโฆษณา ข้อความที่แบรนด์พยายามสื่อถึงเรา หรือแม้กระทั่งกับตัวสินค้าของแบรนด์เองที่ตอกย้ำกับเราเสมอว่า สร้างมันขึ้นมาด้วยจินตนาการและสองมือ

เพราะเราต้องมานั่งต่อตัวเลโก้เอง อยากให้เป็นอะไร สร้างสรรค์อะไรออกมาเราสามารถทำได้หมดนั่นเองค่ะ

วิธีการปรับใช้ Brand Archetype

เพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้าง Brand Personality ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ

  1. ศึกษาและเข้าใจBrand archetypes: เริ่มต้นด้วยการศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับBrand archetypes ที่มีอยู่และความหมายของแต่ละ Archetype นี้ ตรวจสอบคุณสมบัติและคุณค่าที่แต่ละ Archetype ตั้งใจจะส่งผ่านให้กับผู้บริโภค
  2. วิเคราะห์และเลือก Archetype: วิเคราะห์และจับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพื่อเลือก Archetype ที่ตรงกับประสิทธิภาพ โดยที่ควรพิจารณาถึงคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของคุณและคุณค่าของกลุ่มเป้าหมาย
  3. สร้างความสอดคล้องในแบรนด์: เน้นให้แบรนด์ของคุณมีความสอดคล้องกับBrand archetype ที่คุณเลือก ทั้งในเรื่องของตัวตนและข้อความการตลาด เช่น สร้างโลโก้ที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของ Archetype ที่คุณเลือก ใช้สีและฟอนต์ที่ตรงกับบุคลิกของ Archetype นั้น ๆ
  4. พัฒนาเรื่องราวแบรนด์: สร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่สอดคล้องกับBrand archetype ที่คุณเลือก ให้เน้นสิ่งที่แตกต่างของแบรนด์และคุณค่าที่กลุ่มเป้าหมายคาดหวังจากสินค้าหรือบริการของคุณ
  5. วิเคราะห์ตลาดและกลุ่มเป้าหมาย: ทำการวิเคราะห์ตลาดและกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เห็นภาพรวมของการตลาดและทำการปรับแผนตลาดตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและ Archetype ที่คุณเลือก
  6. การสื่อสารและการตลาด: นำ Archetype ที่คุณเลือกมาใช้ในการสื่อสารและการตลาด ทั้งในเรื่องของข้อความ รูปภาพ และสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความจดจำและความเชื่อมโยงให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  7. ติดตามและปรับปรุง: ติดตามผลและปรับปรุงแผนตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าแบรนด์ของคุณยังคงมีความสอดคล้องและส่งความความหมายให้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างที่คาดหวัง
  8. มีความยืดหยุ่นและความแตกต่าง: ทำให้แน่ใจว่าคุณปรับใช้Brand archetype ให้เหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่คุณต้องการทำการตลาด ให้เกิดความแตกต่างในการให้บริการหรือผลิตสินค้าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งของคุณ

ข้อควรระวังการใช้ Brand Archetype

ถึงแม้ว่าBrand Archetypes เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการกำหนดและสร้างแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและเป็นอย่างเหมาะสมสำหรับตลาดและกลุ่มเป้าหมายของคุณ แต่ยังมีข้อควรระวังในการใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

  1. การคัดลอกคู่แข่ง: การใช้ Archetypes อาจทำให้แบรนด์ของคุณมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับแบรนด์คู่แข่ง ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าสับสนในการแยกแยะและเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ทำทั้งที่ต้องโดดเด่นให้ครบวงจรค่ะ
  2. ความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย: ควรตระหนักถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณว่า Archetype ที่คุณเลือกสอดคล้องกับค่าและต้องการของลูกค้าหรือไม่ หากไม่สอดคล้อง อาจทำให้ความสัมพันธ์กับลูกค้าไม่เสถียรและสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ของคุณได้
  3. การตัดสินใจที่ไม่มีพื้นฐาน: การเลือก Archetypes ควรมีพื้นฐานและหลักการที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้ตัดสินใจในการกำหนดลักษณะของแบรนด์ที่ไม่เหมาะสม ควรศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดในการใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของแบรนด์ของคุณ
  4. การสร้างภาพลักษณ์ที่เทียบเท่าไม่ได้: บางครั้งการใช้Brand Archetypes อาจทำให้เกิดภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือสร้างความหวังในลูกค้าที่ไม่สามารถส่งมอบได้
  5. ความซับซ้อนที่ไม่เหมาะสม: บางครั้งการใช้Brand Archetypes อาจทำให้ความซับซ้อนของแบรนด์เกิดขึ้นทำให้ลูกค้าสับสนและไม่เข้าใจความหมายหรือคุณค่าที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร
  6. การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง: แบรนด์อาจต้องเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงในอนาคต การกำหนด Archetypes ที่มีความเข้ากันไม่ดีกับการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้ลูกค้าไม่เชื่อมั่นในความเสถียรของแบรนด์

สรุป แฮกรหัส! สร้าง Brand Personality ให้คนจำง่าย ๆ ด้วย Brand Archetype

เราจะเห็นได้เลยว่าBrand Archetype แต่ละประเภทจะมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้สร้างความรู้สึกและความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน การเลือกตัวตนให้เหมาะสมสามารถช่วยให้แบรนด์มีความโดดเด่นและเป็นที่จดจำในใจของผู้บริโภคมากขึ้น

นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อแบรนด์ในระยะยาวด้วย การใช้Brand archetypes ในการ Branding เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพในการก่อให้เกิดความสำเร็จในกลยุทธ์การตลาดและการสร้างค่าให้กับแบรนด์อย่างยั่งยืนนั่นเองค่ะ

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *