การสร้างโฆษณา เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้จักเรา เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองเป็นเหตุผลที่เราจะต้องอาศัยการโฆษณา แต่เคยสงสัยกันไหมว่า การสร้างโฆษณา จะมีกระบวนการอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาคุณผู้อ่านไปสำรวจขั้นตอนใน การสร้างโฆษณา กันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง เพื่อให้คุณผู้อ่านไขข้อสงสัยและสามารถสร้างโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด ถ้าพร้อมแล้ว ก็ไปกันเลย!
6 ขั้นตอน การสร้างโฆษณา
1. Research หากลุ่มเป้าหมาย
ในการเริ่มต้นการสร้างโฆษณาขั้นตอนแรกให้ใช้เวลาไปกับการทำความเข้าใจลูกค้าหรือคนที่เรากำลังสื่อสารด้วย โดย Research หาข้อมูลต่าง ๆ ของเขา เช่น Demographic Geographic Behavioral และ Psychographic ของกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดทิศทางและรูปแบบงานโฆษณาของเรา
ซึ่งแน่นอนว่ายังมีอีกมีหลายวิธีในการทำการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การทำแบบสำรวจ, การสนทนาแบบกลุ่ม Focus Group, การวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย Social Listening หรือ การสร้าง Persona ตัวอย่างตัวตนลูกค้า เป็นต้น
นอกจากนี้เรายังสามารถดูข้อมูลลูกค้าเก่าได้ และเมื่อเรารู้แล้วว่าจะสร้างโฆษณาเพื่อใคร จากนั้นให้เริ่มพิจารณาว่าจะนำเสนอโฆษณาออกไปอย่างไร โดยลองตอบคำถามด้านล่างนี้ดู
กลุ่มเป้าหมายนี้ต้องการซื้อสินค้าของเราไหม?
กลุ่มเป้าหมายต้องการรับข้อมูลอย่างไร?
กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์ของเรามากน้อยเพียงใด?
2. รู้จักประเภทของโฆษณาต่าง ๆ
โฆษณามีหลากหลายประเภท ซึ่งเราจะเลือกใช้ประเภทของโฆษณาแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร และเรามีกลยุทธ์อย่างไรบ้าง โดยประเภทโฆษณาที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่
Display ads โฆษณาที่แสดงอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Website และมักจะอยู่ในบริเวณที่คนสามารถกวาดสายตาไปเห็นได้ และมักจะมีปุ่ม CTA (Call to action) ดึงดูดให้คนกดเข้าไปดู ถ้ายังนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ให้ลองเลื่อนดูด้านบน ด้านข้าง ด้านล่าง ของหน้าบทความนี้ดู เราก็จะเจอโฆษณาประเภทนี้แทรกอยู่
Pay-per-click ads / Paid ads โฆษณาที่ปรากฏบนหน้าผลการค้นหาของเครื่องมือค้นหาเช่น Google เมื่อเราลอง Search ค้นหาสินค้าหรือข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง โฆษณาประเภทนี้จะเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นมาแรก ๆ และมี Tag ว่า ‘Ad’ หรือ ‘ได้รับการสนับสนุน’
VIDEO
Animated ads โฆษณาแบบเคลื่อนไหวที่มีข้อความและภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอ
Banner ads โฆษณาแบบแบนเนอร์ที่จะปรากฏบนโซเชียลมีเดีย ดิสเพลย์ และวิดีโอ และอาจเป็นข้อความและรูปภาพผสมกัน รวมถึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับ Display ads
Carousel ads โฆษณาแบบสไลด์ โฆษณาประเภทนี้จะเป็นชุดรูปภาพ วิดีโอ หรือข้อความ โดยทั้งหมดอยู่ในโฆษณาเดียว
Video ads โฆษณาแบบวิดีโอที่จะปรากฏบนบริการสตรีมมิ่ง เช่น YouTube
In-stream video ads โฆษณาแบบอินสตรีมวิดีโอที่จะปรากฏขึ้นมาแทรกในวิดีโอต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดีย
3. เลือกแพลตฟอร์มที่ลงโฆษณา
ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่เราจะใช้ในการแสดงโฆษณา เช่น โซเชียลมีเดีย การแสดงผลบน Google เครื่องมือค้นหาต่าง ๆ หรือบนเว็บไซต์ของ Third party ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะเข้าถึงที่คนแตกต่างกัน
ดังนั้น ในการหาว่าโฆษณาของเราเหมาะกับแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด ทำได้โดยการเช็คอายุเฉลี่ย ตำแหน่งที่อยู่ การเสพคอนแทนท์ และความสนใจของผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มนั้น ๆ
รวมถึงเราต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายของเราว่าปกติเขาเข้าแพลตฟอร์มอะไรบ้างในแต่ละวัน พอรู้อย่างนั้นแล้ว ฟีเจอร์โฆษณาของแพลตฟอร์มก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในลำดับถัดไป โดยโฆษณาบน Facebook, Instagram ต่างก็สามารถกรองได้ว่าเราอยากให้ใครเห็นโฆษณาอขงเราบ้าง ในขณะเดียวกันอีกทางเลือกนึงอย่าง Google Ads ก็ช่วยให้เราเข้าถึงผู้ใช้ที่ชอบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้
และสุดท้ายไม่ว่าโฆษณาจะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมได้ ก็ถือว่าโฆษณานั้นยังไม่บรรลุเป้าหมายและประสบผลสำเร็จ
4. Create Key Message
โฆษณาที่ดีควรสื่อสาร Key Message ที่ชัดเจน ดึงดูดความสนใจ และสามารถตีความได้อย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น โฆษณาบน Instagram ของ heropost เป็นตัวอย่างโฆษณาที่สื่อสารตำแหน่งทางการตลาดของตัวเองไว้อย่างชัดเจนว่า เราเป็นตัวเลือกที่ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
รวมทั้งโฆษณาควรแสดงถึงความเป็นแบรนด์ เป็นที่น่าจดจำ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม และกระตุ้นอารมณ์ของคนได้ นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะใช้การวิจัยกลุ่มเป้าหมายของเรา เพื่อพิจารณาว่าพวกเขาชอบการสื่อสารแบบไหน และมีอะไรที่จะ Tricker ให้เขารู้สึกแบบที่เราต้องการได้ รวมถึงอย่าทิ้ง Brand value และ Tone of voice ของแบรนด์ด้วย
5. Create Creative Content
โฆษณาถือเป็นโอกาสที่แบรนด์จะได้แสดงความ Creative ของตนเอง โดยคิดว่าเราจะใช้ความคิดสร้างสรรค์นำเสนอ Brand value หรือคุณค่าของแบรนด์ออกมาในโฆษณาอย่างไร
ตัวอย่างเช่น โฆษณาธรรมดา ๆ จาก acorns แต่สื่อสาร Message สิ่งที่ขาย สิ่งที่อยากให้คนรู้ ได้อย่างเรียบง่ายและสร้างสรรค์
หรือโฆษณาจาก KitKat เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา โดยการนำเสนอ Key Message ที่ว่า Have a break ผ่านม้านั่งสาธารณะที่ให้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้เข้ามานั่งพักได้
ซึ่งก่อนจะสร้างสรรค์งานโฆษณาใด ๆ ขอย้ำเรื่องกลุ่มเป้าหมายเหมือนข้อที่ผ่าน ๆ มาว่า เราควรรู้ความต้องการในการเสพโฆษณาของกลุ่มเป้าหมายของเราด้วยว่า พวกเขามีเวลาตีความโฆษณามากน้อยแค่ไหน ต้องการโฆษณาที่มีเนื้อหาเชิง Interactive หรือเนื้อหาเชิง inform ข้อมูลมากกว่า
รวมถึงในโฆษณาควรมีปุ่ม CTA (Call to action) หรือเป็นปุ่มที่เรียกร้อง ดึงดูดให้คนทำอะไรสักอย่างให้เรา เช่น จองเลย ซื้อเลย คลิ๊กเพื่อศึกษาเพิ่มเติม ไว้ในด้านล่างโฆษณาเพื่อทำให้คนที่พบเห็นรู้ว่าจุดประสงค์ของโฆษณานี้คืออะไร และเขาควรทำอะไรต่อไป
ถึงแม้ว่าเราจะสามารถมีอิสระในการสร้างสรรค์โฆษณาได้อย่างเต็มที่ แต่ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์ โฆษณา และประสบการณ์ของลูกค้า รวมทั้งอย่าลืมจับสีแบรนด์ สโลแกน โลโก้ และส่วนประกอบอื่นๆ ที่สามารถจดจำได้มาใส่ในโฆษณาด้วย
6. ปรับปรุงโฆษณาให้ Meet เป้าหมาย
เป้าหมายของทุก การสร้างโฆษณา คือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (Conversion) เช่น จากคนที่ไม่รู้จักแบรนด์ ก็รู้จักแบรนด์ จากลูกค้าที่ไม่เคยซื้อสินค้าของแบรนด์ ก็เป็นลูกค้าที่เปิดใจซื้อสินค้า หรือจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าแต่ยังไม่สมัคร Member ก็สมัคร Member เพื่อรับข่าวสารจากแบรนด์มากขึ้น เป็นต้น
ซึ่งการจะวัดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ขั้นแรกจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ที่ SMART (Specific Measurable Achievable Relevant Time) ชัดเจน และกำหนด KPI ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่จะใช้วัดความสำเร็จของโฆษณา
AI image generated by Shu tterstock (Prompt : Test launch of 3 versions of fashion clothing advertisement on Facebook, version 2 received the most likes, with the finger selecting version 2)
เมื่อเรา launch โฆษณาออกไปแล้วก็ให้ทดสอบประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อาจจะใช้การทดสอบแบบ A/B Testing เพื่อเปรียบเทียบโฆษณาในเวอร์ชันต่างๆ เพื่อหาเวอร์ชันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด
ในขณะเดียวกัน Data หรือข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (ทั้งบนแพลตฟอร์มที่ลงโฆษณาและเครื่องมือนอก) เพื่อติดตามว่าใคร Interact กับโฆษณาบ้าง ตอนไหน และเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไรด้วย
สรุป
จากเนื้อหาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า ใน การสร้างโฆษณา ที่มีประสิทธิภาพได้นั้น ควรเริ่มด้วยการวิจัยกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าใจข้อมูลของเขาในด้านต่าง ๆ จากนั้นให้เลือกประเภทและแพลตฟอร์มโฆษณาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันโฆษณาก็ควรมี Key Message ที่ชัดเจน ดึงดูด และ Create Content ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมปุ่ม CTA ที่ชัดเจน สุดท้ายหาก launch โฆษณาออกไปแล้วให้เราค่อยติดตามผลลัพธ์ และปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นได้โดยใช้การวัดผลที่ชัดเจนและทดสอบประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
สำหรับใครที่สนใจอ่านบทความอื่นๆ หรือ ต้องการอัปเดตความรู้การตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ช่องทาง Website , Facebook , Instagram , Twitter , YouTube และ Tiktok ของการตลาดวันละตอนตามนี้ได้เลยค่ะ
Source Semrush