กลยุทธ์ Gamification รถไฟ ญี่ปุ่น เปลี่ยนรถไฟธรรมดา เป็นเกมล่าแสตมป์

สวัสดีค่ะชาว Marketer เนื่องจากช่วงปลายปีนี้ เทรนด์การท่องเที่ยวกำลังกลับมาในกลุ่มคนไทยเป็นอย่างมาก และ ญี่ปุ่น ก็เป็นประเทศที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไทยมากค่ะ ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำกลยุทธ์ Gamification Marketing ที่บริษัทรถไฟในญี่ปุ่น นำมากระตุ้นยอดขายของการเดินทางโดยรถไฟที่ซบเซาตั้งแต่ช่วง Covid-19 ของบริษัท JR Group ที่มีกลยุทธ์กระตุ้นยอดการเดินทางโดยรถไฟ อย่างแยบยล ด้วยการสร้าง experience เปลี่ยนจากการนั่งรถไฟโดยสารธรรมดา ๆ มาเป็นเกมส์ล่าแสตมป์ ที่คุณสามารถแข่งขันกับผู้โดยสารคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย และด้วยกลยุทธ์ที่น่าสนใจนี้ ผู้เขียนจึงนำแคมเปญนี้มาฝากค่ะ 

สำหรับพวกเราที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่น ต่างก็ต้องเคยใช้บริการรถไฟ JR กันใช่ไหมคะ และภายหลังจากช่วงโควิดระบาดก็ทำให้ธุรกิจการเดินทางโดยรถไฟซบเซาลงทำให้ บริษัทรถไฟทั้ง 6 แห่งรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหา และในปี 2022 ที่ผ่านมารถไฟ JR ก็เฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปีด้วย ถือว่าเป็นงานหยาบเลยนะคะ เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยที่จะทำให้คนปกติ ใครจะมานั่งรถไฟเล่นกัน และยิ่งช่วงประสบการณ์โควิดที่ผ่านมาด้วยแล้งก็ไม่มีใครอยากอยู่ในพื้นที่ ๆ มีคนแออัด ถูกต้องไหมค ด้วยเหตุนี้เเหละค่ะ รถไฟญี่ปุ่นเค้าจึงได้มีไอเดียการทำ Gamification Marketing มาเพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม ให้การเดินทางโดยรถไฟธรรมดา ๆ มันสนุกขึ้น ตื่นเต้นขึ้นด้วยการสร้างขึ้นมาเป็นเกมส์ล่าแสตมป์ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและใช้บริการรถไฟในประเทศญี่ปุ่นกันค่ะ

JR Group แก้ Pain Point จาก Insight คนญี่ปุ่นไม่นิยมเดินทางด้วยรถไฟ

สำหรับคนประเทศญี่ปุ่นแล้วไม่ค่อยชอบเดินทางด้วยรถไฟค่ะ  มีชาวญี่ปุ่นเพียง 6% เท่านั้นที่ได้ไปเยือนทั้ง 47 จังหวัดของประเทศ โดยรถไฟ สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ทั้งที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สถานีรถไฟเยอะมากก และก็มี Gimmic ที่ทำให้น่าสนใจของแต่ละสถานี ทั้งรถไฟคิตตี้ สถานีที่มีนายสถานีเป็นน้องแมว รวมถึงบรรยากาศของญี่ปุ่นตลอด 2 ข้างทางที่สวยงาม แต่กลับไม่เป็นที่สนใจสำหรับคนญี่ปุ่นและไม่นิยมการเดินทางด้วยรถไฟกันเลยค่ะ

gamification-marketing-campaign-japan

และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนในประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวเดินทางด้วยรถไฟมากขึ้น และเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปีของเครือข่าย JR Group เค้าจึงได้ลองนำกลยุทธ์ Gamification Marketing มาเล่นค่ะเพราะถือว่าเป็นการประสบการณ์ใหม่ให้ทุกการเดินทางของลูกค้าที่โดยสาร เหมือนได้เล่นเกมส์สะสมแสตมป์ทั่วประเทศญี่ปุ่นไปด้วยเลยค่ะ ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีเลยนะคะ เพราะอย่างที่รู้จักกันดีประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีผู้คนชอบเล่นเกมส์มาก จึงถือเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้โดยสาร และกลุ่มเกมเมอร์นักล่าแสตมป์ที่จะมาเป็นลูกค้าของรถไฟ JR ค่ะ

JR Group จับเทรนด์เกม Pokémon Go มาเป็นไอเดีย แคมเปญการตลาด เกมล่าแสตมป์สไตล์ ญี่ปุ่น จากการเดินทางโดย รถไฟ

แคมเปญนี้มีชื่อว่า My Japan Railway ที่มีรูปแบบคล้ายกับเกม Pokémon Go  จากช่วงกระแสเกมส์นี้ที่มาแรงจำได้เลยค่ะว่ามีคนเล่นเกมส์ลงทุนนั่งรถไฟไปล่าโปเกมอนกันเลย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มันจะกลายมาเป็นไอเดียกระตุ้นการใช้รถไฟด้วยเกมส์ล่าแสตมป์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้การเดินทางเป็นเรื่องสนุก การผจญภัย และสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้บริการ จากแค่การนั่งรถไฟโดยสารก็กลายเป็นคุณได้เล่นเกมส์สะสมแสตมป์ สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นได้ และนอกจากนั้นยังช่วยทำให้ผู้ใช้บริการ และนักท่องเที่ยวอยากเดินทางโดยรถไฟไปยังสถานีอื่นเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยนะคะ 

gamification-marketing-campaign-japan

โดยผู้โดยสารที่เดินทางไปยังสถานีต่าง ๆ ก็จะสามารถสะสมแสตมป์จากสถานีนั้น ๆ ได้ค่ะ และแสตมป์ที่สะสมก็ออกแบบมาจากสัญลักษณ์ หรือจุดเด่นของสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานที่ประวัติศาสตร์ Landmark และสัตว์ ที่เป็นจุดเด่นของของสถานที่นั้น ๆ

และสิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นคือในการสะสมแสตมป์ ที่มาในรูปแบบ Passport ดิจิทัล จากการโหลดแอปแล้ว ยังสามารถบันทึกเวลา วันที่ และบันทึก ลำดับจำนวนของคุณให้เหมือนได้เล่นเกมส์แข่งกันล่าแสตมป์ แข่งกับผู้โดยสารคนอื่นได้ ด้วยการโชว์ลำดับการสะสมแสตมป์ของสถานีนั้นแบบเรียลไทม์ได้ด้วยค่ะ อ้อ และการดีไซน์ การออกแบบแสตมป์ ก็ได้ออกแบบให้เลียนแบบงานคราฟสไตล์ญี่ปุ่นอีกด้วยนะคะ ส่วนใครที่อยากย้อนกลับไปดูประวัติว่าเคยไปสถานที่ไหนมาบ้าง ก็สามารถดูได้จากประวัติการประทับรูปลงในสมุดภาพการเดินทางค่ะ

gamification-marketing-campaign-japan

สำหรับ แคมเปญการตลาด ของรถไฟใน ญี่ปุ่น ครั้งนี้สิ่งที่แบรนด์ได้กลับมา คือ

  • สร้าง Value ของการเดินทาง ให้เป็นมากกว่าแค่รถโดยสาร แบรนด์ได้สร้าง Experience ให้ผู้ใช้บริการได้มีความทรงจำจาก Gimmic ในการสะสมแสตมป์จากสถานีต่าง ๆ
  • ได้กลุ่มลูกค้าใหม่ และนักท่องเที่ยวที่อยากได้ประสบการณ์พิเศษจากการเดินทางมากขึ้น จากการใช้บริการของกลุ่มลูกค้า เดิม ๆ ที่เคยใช้บริการโดยสารในชีวิตประจำวัน แคมเปญนี้ก็สามารถสร้างแรงจูงให้ลูกค้าทดลองนั่งรถไฟ ของ JR Group เพิ่มขึ้นได้ค่ะ
  • จาก Gimmic การสะสมแสตมป์ดิจิทัลนี้ การสามารถเพิ่มการใช้งานในสถานีต่าง ๆ ได้เพิ่มเติม เนื่องจากการใช้รถไฟไม่เป็นที่นิยมในคนญี่ปุ่น และคนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการก็จะใช้แต่สถานีเดิม ๆ เท่านั้น แต่แคมเปญนี้ก็สามารถกระตุ้นให้ผู้ที่มองการเดินทางโดยรถไปเหมือนการ Chalenge อย่างหนึ่งที่สามารถเก็บสะสมประสบการณ์จากการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ได้เหมือนที่เหล่า ผู้โดยสารเก็บสะสมแสตมป์ นั่นเองค่ะ

สิ่งที่น่าสนใจที่ผู้เขียนได้หยิบแคมเปญนี้ขึ้นมา เพราะเห็นความน่าสนใจในสิ่งที่แบรนด์นำกลยุทธ์ Gamification Marketing มาใช้เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง จากการโดยสารรถไฟที่มันธรรมดามาก ๆ ให้ได้กลับมาบูม และมีผู้ใช้บริการคึกคักได้อีกครั้ง การทำแคมเปญนี้แบรนด์ต้องใช้ความพยายาม และความครีเอทอย่างสูงในการสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้าค่ะ และการนำเอาความสนุกจากการเล่นเกมส์มาช่วยให้แคมเปญนี้ ประสบความสำเร็จดีมากเลย มาเปลี่ยนเป็นการสะสมแสตมป์จากการเดินทางที่ทำให้ลูกค้าเหมือนได้เล่นเกมไปด้วยกับการเดินทางในสถานที่จริงค่ะ

นอกจากเกมส์ล่าแสตมป์แล้ว ทางรถไฟญี่ปุ่นก็ได้ออกของขวัญ Gimmic เพื่อเพิ่มรายได้จากแคมเปญนี้อีกด้วยค่ะ ด้วยการออกแบบแสตมป์ที่น่ารัก และมีสไตล์ญี่ปุ่นพอได้เอามาปรับเป็นคอลเล็กชันของสะสมก็น่ารักไม่เบาเลยค่ะ มีทั้ง พวงกุญแจ สมุดโน๊ต สติ๊กเกอร์ แก้วน้ำเป็นต้นค่ะ

gamification-marketing-campaign-japan

สิ่งที่อยากฝากชาว Marketer คือหากเราอยากกระตุ้นยอดขาย หรือการใช้สินค้าของเรา แม้ว่าสินค้าของเราจะเป็นสินค้าที่ธรรมดา ๆ ไม่หวือหวาอะไร หาเราใช้ไอเดียทำเเคมเปญเกาะกระแส หรือทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแคมเปญนั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจนะคะ

เรียนรู้ Gamification Marketing จากรถไฟ ญี่ปุ่น แคมเปญนี้น่าปรับใช้ในรถไฟไทย

การนำเกมที่เป็นเทรนด์ในช่วงนั้น ๆ มาทำ Gamification Marketing ถือว่าเป็น Gimmic ก็นับว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ สำหรับผู้เขียนพอได้อ่านแคมเปญแล้ว รู้สึกอยากให้รถไฟในบ้านเรายกระดับ มาทำการตลาดแบบสไตล์ญี่ปุ่นบ้างค่ะ ทั้งการทำ Gamification Marketing ที่กระตุ้นให้ผู้ใช้สนุกกับการโดยสารรถไฟ จะทำเป็นเกมล่าแต้ม สะสมแสตมป์แบบนี้เพื่อกระตุ้นกลุ่ม Gen Z แล้วแลกรับของรางวัล

และรวมไปถึงการสร้าง experience ให้ลูกค้าได้รับมากกว่าการเดินทางด้วยรถไฟด้วยค่ะ เช่น

  • ทำจุดขายของแต่ละสถานี ให้มีแหล่งชอปปิง ของกิน ของใช้ หรือทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
  • การทำมาสคอตเฉพาะของแต่ละสถานี
  • การโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวพื้นที่ต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตสถานีรถไฟนั้น ๆ

ถ้าทำได้รถไฟไทยก็น่าจะกลับมาบูมมาก ๆ เลยนะคะ อยากให้เราคิดถึงรถไฟในแบบครีเอท มากกว่าการคิดถึงรถไฟไทยแล้วเราจะเห็นภาพคนหิ้วของเต็มมือขึ้นรถไฟโทรม ๆ มาทำงานไกลบ้านอ่ะค่ะ ถ้าทำได้น่าจะเป็นการกระตุ้นยอดโดยสาร และกระตุ้นการท่องเที่ยวเราได้อีกด้วยนะคะ

อ่านข้อมูลการทำการตลาด อื่น ๆ เพิ่มเติม  ลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

อัพเดทข่าวสาร เพื่อติดปีกให้คุณเป็นนักการตลาดที่ไม่ OUT !!!  อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม คลิกที่ลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ เพจการตลาดวันละตอน เว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนค่ะ

Source

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และสื่อสารการตลาด / นักเขียนบทความการตลาด ชอบงานศิลปะ งานครีเอท ไอเดีย เจ๋ง ๆ จึ้ง ๆ! น้องใหม่ทีมการตลาดวันละตอน ฝากผลงานด้วยนะคะ :) ♥รักเวลา... เวลามีค่ามากที่สุด⏰

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *