MVP + Spices = MLP. The early product-building approach has… | by Deniz Colakoglu | Feb, 2021 | Medium

MVP vs MLP สร้างของที่ “ใช่” อาจจะไม่พอ ต้องเป็นของที่ “รัก” ด้วย

การทำธุรกิจในปัจจุบันเน้นที่ลูกค้า เพราะฉะนั้นการคิดหรือทำอะไรจะไม่ตั้งอยู่ในสมมุติฐานของการอยากทำของฝั่งธุรกิจอย่างเดียว แต่ต้องคิดถึงการทำของที่ลูกค้าต้องการ อยากได้ ใช้แล้วตอบโจทย์ หรือ แก้ปัญหาให้เค้าได้ ดังนั้น การที่เราใช้เวลาสั้นในการสร้างของ MVP หรือ Minimum Viable Product แล้วเอาไปเก็บ Feedback จากลูกค้า เพื่อเอามาปรับปรุง พัฒนา โดยเฉพาะการทำธุรกิจสตาร์ทอัพยิ่งต้องสร้างของโดยใช้เวลาที่รวดเร็ว

ไม่ใช่แค่ในมุมของ Startup ในมุมของการตลาด หรือ ผู้ให้บริการทั่วไป การนำเอา concept ของ MVP หรือ Minimum Viable Product เพื่อจะได้ทดสอบความต้องการของตลาด ก็จำเป็นเช่นกัน เพราะว่า ความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงบ่อยกว่า สภาพอากาศซะอีก ดังนั้น การที่เราสามารถใช้เวลาไม่นานทำของที่น่าจะเป็นที่ต้องการของลูกค้าแล้วนำออกสู้ตลาดเพื่อรับเอา Feedback เป็นสิ่งจำเป็นมากในยุคนี้

MVP หรือ Minimum Viable Product เป็นเรื่องที่เข้ามามีบทบาทสำคัญมากในฐานะเครื่องที่ใช้ทดสอบประเมินตลาด (Market Validation) ได้อย่างรวดเร็วว่า Product นั้นจะรุ่งหรือร่วง

ชอบทานครัวซองไหมครับ กำลังฮิตเลยนะครับตอนนี้ เป็นกระแสที่คนนิยมตามหากันมาก ในบทความนี้จะออกแนววิชาการและเนื้อหาที่ไปทางฝั่ง Statup เยอะหน่อย แต่ผมจะลองเอา ตัวอย่างของ ครัวซอง มาเสริมเพื่อให้มองเห็นภาพสำหรับคนทั่วไปด้วยนะครับ ?

? MVP: Minimum Viable Product

MVP ย่อมาจาก Mininum Viable Product, MVP คือ Feature แรกๆ ทีแก้ปัญหาตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้งาน ลูกค้าไม่ได้ต้องการมี Features มากๆ แต่ต้องเป็น Feature ที่สามารตอบโจทย์หลัก หรือ แก้ปัญหาหลัก ให้กับลูกค้าได้ ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าอาจจะไม่ต้องสวยงามมากนะ เอาเท่าที่ใช้ได้ เพราะเราต้องออก MVP ออกไปเพื่อได้รับ Feedback จากผู้ใช้งาน และได้นำเอามาปรับปรุงหรือเพื่อ Feature อื่นๆ เข้าไป

หรือในมุมของการตลาด เมื่อก่อนเราใช้เวลาคิด ใช้เวลาทำนาน ด้วยความที่อยากมั่นใจว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องเน้น มีของเยอะๆ มีอะไรต้องใส่ให้เต็มใส่ให้หมด ซึ่งใช้ เวลาและต้นทุน อย่างมาก ดังนั้นถ้านำเอา concept ของ MVP มาใช้ คือการมุ่งเน้นไปที่ “ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า” เป็นหลัก เน้นสร้างของที่ตอบโจทย์นั้น แล้วนำออกสู่ตลาด เพื่อรับ Feedback มาพัฒนาต่อไป

รูปต่อไปนี้ นี่เป็นรูปที่สื่อถึงการทำ MVP

ตัวอย่าง การคิดแบบ MVP – Credit https://naruepat.com/

รูปด้านบน คือ ลูกค้าเดินมาบอกว่าอยากได้รถยนต์ ดังนั้นเราเลยเริ่มการสร้างรถยนต์ เริ่มจากการทำล้อก่อน คำถามคือล้อสามารถเอาไปรับ Feedback ลูกค้าได้ไหมนะ? มันมีคุณค่าอะไรนะ? ลูกค้าได้รับประโยชน์อะไรนะ? คุณสามารถนำไปใช้ประเมินตลาดได้ไหม? และกว่าจะเป็นรถยนต์ทั้งคันมันใช้เวลานานมาก สุดท้ายเราลงทุน ลงแรงและเวลาไปตั้งเยอะ แต่ก็ไม่รู้ว่ามีคนต้องการมันจริงหรือไม่

แต่ถ้าดูจากรูปล่าง ลูกค้าเดินมาบอกว่าอยากได้รถยนต์ สิ่งแรกที่เราค้นหาคือ “ทำไม” ลูกค้าถึงอยากได้รถยนต์กันนะ และจากที่ทำการสอบถามหา Insight ก็พบว่า ลูกค้าอยากเดินทางไปยังที่หมายได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มทำ Skateboard ก่อน เพื่อทดสอบตลาดว่า ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการเพื่อเดินทางไปยังเป้าหมายหรือเปล่า จากนั้นก็เก็บ Feedback ลูกค้ามาต่อยอด ปรับปรุงจนได้ เป็นของที่ทั้งตลาดยอมรับ

ลองยกตัวอย่างครัวซอง กันดีกว่าครับ MVP สำหรับ ครัวซอง น่าจะเป็นว่า คุณทราบความต้องการของลูกค้าว่าอยากทานครัวซอง สิ่งที่มองในระดับนี้จะเป็นเรื่องของ เราทำมันได้แค่ไหนตอนนี้เรามีอุปกรณ์ เตาอบแบบไหน เราต้องใช้วัตถุดิบอะไรในการทำ สูตรที่จะทำออกมาให้เป็นครัวซอง รสชาติที่”ใช่” สำหรับลูกค้า ต้องมีความบางกรอบ หอมเนย ละมุนปากขนาดไหน พยายามทำออกมาหน้าเมนูเดียว หรือ สองเมนู ก่อนเพื่อพิสูจน์ตลาดว่า เป็นรสชาติที่ “ใช่” สำหรับลูกค้าหรือไม่

ข้อดีของการทำ MVP

  • น้อยแต่มาก: การสร้างฟีเจอร์น้อยที่สุดเพื่อทดสอบตลาดหรือความต้องการ ช่วยให้เราอาจจะไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และ เวลาที่ใช้ก็ไม่มาก เพื่อลดความเสียหายในกรณีที่ไปผิดทางไม่มีคนใช้
  • Feedback loop: การที่ของออกไปสู่มือลูกค้า จะทำให้เราสามารถเก็บ Feedback เพื่อปรับปรุง ต่อยอด หรือทดสอบสมมติฐานใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  • Fail Fast Learn Fast: ถ้าสิ่งที่เราคิดไปมันไม่ตอบโจทย์ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการจากตลาดจริงๆ เราจะได้กลับตัวได้เร็ว กลับตัวได้ทัน เพราะในตลาดปัจจุบันความต้องการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
MVP MVP MVP ความหมายและนิยามที่คนทำ Lean Startup ควรรู้ - Naruepat.com
นิยามของ MVP

แต่หลายๆครั้ง โจทย์ของมนุษย์ มีอารรมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

แค่ “ใช้แล้วใช่” มันยังไม่พอ ต้อง “ใช้แล้วรัก” ด้วย

MLP (Minimum Lovable Product) จึงถือกำเนิดเกิดขึ้น

❤️ MLP: Minimum Lovable Product

“The minimum viable product was appealing because it was cheap, and you could get it to market faster. But we’ve advanced past a world where products are ‘the first of X.’ Stiffer competition means that MVPs aren’t going to cut it anymore. If startups truly want to stand out, they need to strive toward creating a minimum lovable product instead.”?

A Minimum Lovable Product (also known as Minimum Loveable Product) สนใจมากกว่า ‘how do we fix customer’s problems?’ แต่สนใจไปถึง ‘how do we delight them along the way?’

เหมือนกับ MVP เลยเราเริ่มต้นด้วยการตอบโจทย์แก้ปัญหาให้กับ ลูกค้า หรือ ผู้ใช้งาน แต่เราสนใจเรื่องหน้าตา วิธีการใช้การ ความรู้สึกในการใช้งาน ด้วยนะ

เพราะแค่ Feature อาจจะแก้ปัญหาได้

แต่ถ้าอยากทั้งแก้ปัญหาและผู้ใช้รักมันด้วยหละ

ลองนึกภาพมีเพื่อนมาบ้านคุณนะ แล้วคุณถามเพื่อว่าหิวไหม กินขนมอะไรหรือเปล่า คุณรู้มาด้วยแหละว่าเพื่อนชอบกินเค็กมากเลยนะ คุณเลยไปทำเค็กมาให้เพื่อน เป็นเค็กธรรมดาที่ไม่ได้แต่งหน้าอะไร ก้อนกลมๆ แต่รสชาติแบบที่เพื่อนคุณชอบเลยนะ

นั่นคือสิ่งที่เพื่อนคุณอยากได้อยากกิน มัน”ใช่”มากเลย ได้อิ่มท้อง ได้กินของที่ชอบ

แต่มันทำให้เรารู้สึก ชอบ รู้สึกมีความสุขกับมันไหมนะ รู้สึก”รัก”มันไหมนะ? อาจจะไม่ก็ได้ใช่ไหมครับ เค้าอาจจะไม่ได้ประทับใจขนาดที่ว่าถ่ายรูปลง FB, IG หรือ เก็บเอาไปเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง

แล้วถ้าคุณรู้นะว่าเพื่อนชอบเค็ก คุณเคยหาข้อมูลมาด้วยว่าเพื่อนชอบเจ้า คุ๊กกี้มอนเตอร์ คุณเลยจัดเค็กพร้อมแต่งหน้าเค็กมาให้ด้วย นึกถาพเพื่อนคุณสิครับ ว่าเค้าจะประทับใจขนาดไหน เค้าจะจดจำประสบการณ์นี้ไว้ได้ขนาดไหน อาจจะอยากรีบเล่าต่อ โพสต์ลง Social เลยหละ

UX studio - MVPs are dying. Minimum Loveable Products are... | Facebook
MVP and MLP

ในการบวนการทำ Product หรือ Service กระบวนการสำคัญอย่างมากคือการที่เราใช้เวลาทำ Research เพื่อหา Need ของผู้ใช้งาน หรือ ผู้บริโภค และเมื่อเราพูดถึง MLP ใน Research นั้นจะทำการหา Insight เพิ่มด้วยว่าอะไรที่เค้า Love มันอาจจะเป็นเรื่อง pleasing design aesthetic, an innovative user on-boarding experience, หรือ การ integration กับ tools อื่นๆ

จากรูปภาพด้านล่าง จะเห็นความแตกต่างระหว่างแนวคิด MVP กับ MLP ได้อย่างดี

The Curse of Minimum Viable Product - Long Live Minimum Lovable Produ…
ข้อแตกต่างของ MVP และ MLP

มุมมองของ MLP Minimum Lovable Product

จากรูปด้านบนในฝั่ง MLP สมมุติว่าเรากำลังทำ Content Marketing สิ่งที่เราทำเราได้ทำการ Research มาแล้วว่ามันเป็น Insight ที่ลูกค้าต้องการ ตอบโจทย์

  • ถ้าเป็นมุมมองของ MVP ก็จะเน้นไปที่ว่า Contect นั้นมีเนื้อหาที่ตอบโจทย์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไหม สื่อสารถึงสิ่งที่เราต้องการออกมาหรือไม่ และไปใน Channel ที่ถูกต้องหรือไม่
  • แต่ถ้าเพิ่มมุมมองด้าน MLP เข้าไปจะมองเพิ่มในมุมของ มันสวยพอไหมนะ เป็น Trend ตอนนี้หรือเปล่า จะอ่านหรือทำความเข้าใจได้ง่ายไหม มีรูปภาพ หรือมี Media ที่ช่วยให้เข้าใจง่ายไหม จะประทับใจ หรือ โดนใจ จนแชร์ต่อหรือไม่

กลับมาที่ครัวซองของเรากันอีกทีนะ! MLP Minimum Lovable Product ของครัวซองจะไม่ใช่แค่เรื่อง รสชาติที่”ใช่” แค่นั้นแล้ว แต่จะมองถึง

– รูปร่างหน้าตา การตกแต่งครัวซองให้ออกมาดูน่ากิน อาจจะมีการเพิ่ม Topping หรือรสชาติที่หลากหลาย เพื่อเอาใจลูกค้า

– Package ที่ดึงดูดใช้ง่านง่าย อาจจะออกแบบไปถึงช่วยให้การกินครัวซองง่ายขึ้นก็ได้

– กระบวนการโฆษณา การสื่อสารเพื่อให้ลูกค้ารู้จัก เข้าถึง และ เข้าใจในรูปแบบและกระบวนการ สื่อสารถึงวัตถุดิบที่เราใส่ใจ ทำอย่างไรลูกค้าจะเข้าใจ เข้าถึงรสชาติที่”ใช่”

– อาจจะรวมไปถึงร้านที่ขายการตกแต่งร้านที่ดึงดูดให้ลูกค้าประทับใจ

– กระบวนการขาย ลูกค้าจะทำการซื้ออย่างไร การบริการของพนักงานเป็นอย่างไร เริ่มแรกเราจะขายผ่านช่องทางไหนเป็นหลัก แล้วเราจะออกแบบกระบวนการเหล่านี้อย่างไร เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ พึงพอใจ อยากลับมาซื้ออีก อยากบอกต่อ อยากรีวิว

อาจจะเอากระบวนการ Service Design มาใช้เพื่อให้เห็นภาพรวมของการออกแบบได้ด้วย

Kenn's คาเฟ่ไซซ์จิ๋ว กับครัวซองต์ฝรั่งเศสที่จริงจังที่สุดในสาทร
ตัวอย่างร้าน Kenn’s คาเฟ่

ซึ่ง Step ของการสร้าง MLP มี

?Focus on ‘The Why’ เริ่มที่ โจทย์ เราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร ทำไมเราถึงจะทำ มันหละ มันแก้ปัญหา ตอบโจทย์อะไรให้ผู้ใช้งาน สิ่งนี้คือสิ่งแรกที่ต้องคิด

?Align Your Team on Your Lovable Goalsอยากทำของที่มีคนรัก คุณต้องรักมันก่อน อยากให้ทีมรักของที่จะทำ ก็ต้องให้เข้ามีเป้าหมายเดียวกัน เข้าใจและรักในสิ่งที่ทำ ด้วยกัน “ทั้งทีม”As a Product Manager, it’s your responsibility to align your teams to one common goal. User experience, sales, marketing, design, tech…they all have to be geared towards making something that your users will love.

?Gather (The Right) Qualitative Researchถามให้ถูกคำถาม อย่าถามคำถามปลายปิด แต่ถามคำถามปลายเปิด เพราะ”รัก”อธิบายไม่ได้ด้วยคำว่า ใช่ หรือ ไม่?Test, Iterate, RepeatProduct ไม่มีวันจบ เพราะงั้น สำคัญสุดคือ พัฒนาไปเรื่อยๆ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้รักมันไปตลอด

Customers don’t just want their needs to be met, they want to be delighted. They don’t just want to use your product, they want to love it.

Credit: https://productschool.com/…/prod…/minimum-lovable-produc

อ่านบทความที่เกี่ยวกับเรื่อง MVP ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://everydaymarketing.co/?s=mvp

Lead Agility Transformation (Digital Transformation) Journey from ITSupport to PM jump into Agile world. The SM/Agile Coach who passionate on Agile, Digital Transformation ,Service Design, UX and People. Teaching and Consult about Agile, Digital Transformation, Scrum, Service Design, Customer Journey, UX, Design Thinking and Etc.

Comments

  1. 1 says:

    Stat up >> Start Up
    Contect >> Content
    เว้นวรรคคำภาษาอังกฤษ บางคำที่ติดกันไปเลย เหมือนจะเว้นคับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *