สวัสดีค่ะเพื่อนๆ,, ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา หากท่านไหนตามข่าวการปล่อยของเล่นใหม่ของ Generative AI จากค่ายต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่าปล่อยกันมาไม่มีกั๊กทั้ง ChatGPT เอง หรือ Gemini จน User อย่างเราตามลองใช้จนเป็นขอบตาเป็นแพนด้า แต่ๆๆ,, เดี๋ยวนิกลองแล้วจะมาเล่าให้อ่านในบทความถัดไปนะคะ🤣😂 เพราะในบทความนี้จะพาทุกท่านไปลองของที่ใหม่ (ในระดับหนึ่ง) เหมือนกัน ซึ่งส่วนตัวนิกคิดว่าเป็นประโยชน์มากๆ ในยุคที่มีข้อมูลมากมายมหาศาลที่เราต้องย่อย เพื่อให้การวิเคราะห์และการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ NotebookLM เครื่องมือ AI-first notebook ใหม่จากค่าย Google ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเราโดยเฉพาะ ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจากเอกสารและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เราเพิ่มลงไปเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ทั้งง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการศึกษาหรือการวิจัย ตลอดจนงานด้าน Marketing ต่างๆ ค่ะ^^
ซึ่งบทความนี้นิกจะพาทุกท่านไปรู้จักกับฟีเจอร์ที่หลากหลายของ AI-first notebook จาก Google ตัวนี้ พร้อมแนะนำวิธีการใช้งานตั้งแต่เริ่มต้น ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เพื่อให้การย่อยข้อมูลที่เราต้องการเป็นไปได้อย่างราบรื่น และชิลๆ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น,, Let’s go (∩^o^)⊃━☆
#1 NotebookLM คืออะไร?
Notebook LM คือ AI-first notebook ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยค่ายใหญ่อย่าง Google ซึ่ง Notebook ตัวนี้ไม่ได้เป็นแค่โปรแกรมจดบันทึกอย่างที่เราคุ้นเคยกัน แต่ว่า Google ได้เพิ่ม AI Features ใส่เข้าไปในแพลตฟอร์มนี้ ในชนิดที่ว่าให้ตัว AI เป็น Core Value ของแพลตฟอร์มไปเลย ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ Notebook ตัวนี้สามารถประมวลผล และทำความเข้าใจข้อมูลที่คเราอัปโหลดขึ้นไปได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง Notebook LM สามารถทำได้ดีไม่ว่าจะเป็นเอกสารงานวิจัย, ไฟล์ PDF, สไลด์, รายงาน, หนังสือ หรือแม้แต่คลิปวิดีโอบน YouTube ก็ตามค่ะ โดยทำให้เราสามารถ,,,,
สรุปเนื้อหาของเอกสารที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น (ซึ่งแน่นอนว่าช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของเราลงได้)
ตอบคำถามเฉพาะจุดที่เราสงสัย โดยใช้ Information ที่อ้างอิงจากไฟล์ที่เรา Upload ขึ้นไป
สามารถสร้างบทสรุป, คู่มือการศึกษา, Q&A, ไทม์ไลน์ หรือช่วยแปลงเอกสารเป็นพอดแคสต์ (ซึ่งส่วนนี้เป็นอะไรที่ว้าวมากๆ สำหรับนำเลยค่ะ^^)
เชื่อมโยงไอเดียจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันให้เป็นเนื้อหาที่สามารถเชื่อมโยงกันได้เป็นเนื้อหาเดียว
VIDEO
#2 การใช้งาน Google NotebookLM :
ว่าแล้วเราก็มาเริ่มใช้งาน Notebook LM กันค่ะ โดยทุกท่านสามารถเข้าใช้งานที่ได้ => https://notebooklm.google/
ซึ่งหลังจากที่เข้ามาแล้วก็สามารถคลิกที่ปุ่ม “Try Notebook LM ” เพื่อเปิดอินเตอร์เฟซของโปรแกรมได้เลยค่ะ
ซึ่งหลักงจากที่เราคลิกไปแล้วก็จะมี Greeting Popup เด้งขึ้นมา ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือ Google บอกว่าจะไม่ใช้เอกสาร หรือข้อมูลของเราในการ Train Model และมีคำแนะนำให้เราปรึกษา Domain Expert เพิ่มเติมด้วย กรณีที่งานเป็นงานเฉพาะทาง เช่นทางการเงินหรือการแพทย์,, ก็ให้เรากด “Okay ” แล้วไปเริ่มใช้งานกันได้เลยค่ะ^^
โดยเริ่มจาก “การอัปโหลดเอกสาร ” ซึ่งเราสามารถอัปโหลดเอกสารได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่,,
PDF, ไฟล์ TXT, ไฟล์ Markdown
การเพิ่มลิงก์โดยตรงจากเว็บไซต์
ไฟล์ใน Google Drive เช่น Google Docs และ Google Slides
ลิงก์วิดีโอจาก YouTube
เมื่ออัปโหลดเอกสารแล้ว เราจะสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ภายใต้หัวข้อ “Sources ” ในแถบด้านซ้าย และสามารถใช้คู่มือภายในโปรแกรม หรือ Notebook Guide เพื่อสร้างสรุป คำถามที่แนะนำ หรือเครื่องมือการสร้างเนื้อหาได้
ซึ่ง Limitations ของการใช้งานมีดังนี้ค่ะ,,
จำกัดจำนวนไฟล์ที่สามารถอัปโหลดได้ที่ 50 ไฟล์ต่อหนึ่ง Notebook (ซึ่งสำหรับนิกแล้วเพียงพอแบบเหลือๆ เลยค่ะ)
ไฟล์แต่ละไฟล์ต้องมีความยาวไม่เกิน 500,000 คำ (ทำให้อาจไม่เหมาะกับหนังสือที่เล่มใหม่มากๆ)
ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีที่สุดกับเอกสารตัวหนังสือ (อาจไม่รองรับไฟล์ Excel หรือ CSV)
การประมวลผลอาจใช้เวลานานขึ้นหากมีไฟล์ขนาดใหญ่หรือจำนวนมากขึ้น
#3 การใช้งานสร้างเนื้อหาโดย NotebookLM
ว่าแล้วเราก็มาเจาะลึกการใช้งาน Notebook ตัวนี้ในการสร้างเนื้อหากันค่ะ^^
โดยเนื้อหาที่ Notebook LM สามารถช่วยเราสร้างได้มีดังนี้
บทสรุป (Summaries) : เป็นการสรุปเนื้อหาของเอกสารที่เราอัปโหลดขึ้นไปเพื่อให้เราสามารถเข้าใจเนื้อหาหลักได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
คู่มือการศึกษา (Study Guides) : สร้างคู่มือการศึกษาพร้อมกับคำศัพท์สำคัญ, แนวคิดหลัก, และคำถามแบบสั้น ซึ่งเหมาะสำหรับการเตรียมตัวสอบหรือการทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ (สำหรับ Feature นี้นิกขออนุญาตแนะนำสำหรับน้องๆ นักเรียน/นักศึกษาเลยค่ะ^^)
คำถามที่พบบ่อย (FAQs) : รวบรวมคำถามที่น่าจะเกิดขึ้นบ่อยๆ จากเอกสารของเราพร้อมคำตอบสั้นๆ ที่ใช้งานได้ง่าย (เหมาะกับการทำ Database ให้ Chatbot เพื่อเอาไว้ตอบลูกค้า)
ไทม์ไลน์ (Timelines) : เป็น Feature ที่จะช่วยสร้างไทม์ไลน์จากเนื้อหาเพื่อให้เราสามารถมองเห็นลำดับเหตุการณ์หรือการพัฒนาของเนื้อหาได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
และเรามาลองดูไอเดียตัวอย่างการใช้งานด้านการตลาด เพื่อให้เราสามารถสร้างสื่อการตลาดที่ดึงดูดและให้ข้อมูลกับลูกค้าอย่างครบถ้วนมีประสิทธิภาพ เพราะในปัจจุบันลูกค้าต้องย่อยข้อมูลมากมาย ดังนั้นแบรนด์ไหนที่สามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงเนื้อหาที่กระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย ย่อมได้เปรียบในการสร้างภาพจำ และความเป็นไปได้ในการเลือกซื้อ/ใช้งาน ซึ่งในแต่ละฟีเจอร์สามารถนำไปใช้ได้ดังนี้ ✪ ω ✪
Summaries Feature นี้เหมาะสำหรับใช้ทำสรุปคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ หรือบทความที่มีข้อมูลเยอะมากๆ เช่น การเปิดตัว Product ใหม่ หรือการสรุปผลการวิจัยของสินค้า เพื่อสร้างความน่าสนใจแก่ลูกค้าและดึงดูดให้อยากศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
ตัวอย่างการใช้งาน: เช่น ธุรกิจ Beauty&Cosmetic ต้องการสรุปผลการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิว เราสามารถใช้ Summaries ในการช่วยสรุปข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับส่วนผสม และประโยชน์ต่อผิวให้สั้นลง ทำให้เราสามารถนำไปใช้ในสื่อโฆษณาหรือหน้าเว็บให้ลูกค้าเข้าใจถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้ในเวลาอันสั้นและน่าสนใจ
Study Guides Feature นี้สามารถนำไปใช้เป็นการตลาดเชิงข้อมูล โดยการสร้าง “คู่มือการใช้งาน ” หรือ “คู่มือการเลือกสินค้า ” เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการมากขึ้น เช่น คำแนะนำการใช้สินค้าแต่ละประเภท วิธีการเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับตนเอง พร้อมทั้งคำแนะนำในการดูแลรักษา ซึ่งเหมาะมากๆ กับธุรกิจที่มีสินค้าหลายประเภท หรือสินค้าเฉพาะทาง
ตัวอย่างการใช้งาน: ธุรกิจอุปกรณ์กีฬา เช่น ร้านขายรองเท้าวิ่งสามารถสร้างคู่มือการเลือกรองเท้าวิ่ง ที่เหมาะสมตามประเภทการวิ่ง รูปทรงเท้า และสถานที่ฝึกซ้อม ทำให้ลูกค้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการได้ง่ายขึ้น^^
FAQs การสร้างคำถามที่พบบ่อย หรือ FAQs จากเอกสารทางการตลาดหรือคู่มือผลิตภัณฑ์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็ว ลดการสอบถามหรือความไม่แน่ใจของลูกค้า และช่วยให้ After Service ทำงานได้ง่ายขึ้น ด้วยการเตรียมคำตอบที่ชัดเจนและตรงประเด็นสำหรับคำถามที่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย
ตัวอย่างการใช้งาน: สำหรับธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ เราสามารถสร้าง FAQs จากข้อกำหนดและเงื่อนไขกรมธรรม์ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใจข้อมูลพื้นฐานได้ชัดเจน เช่น ขอบเขตของความคุ้มครอง, เงื่อนไขการเคลม, และวิธีการสมัครกรมธรรม์ ทำให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้ง่าย ลดเวลาที่ลูกค้าต้องรอคอยข้อมูลจาก Staff หรือเจ้าหน้าที่โดยตรง
การสร้างไทม์ไลน์ (Timelines) เพื่อการนำเสนอเชิงการตลาด จาก Feature นี้ทำให้เราสามารถใช้ในการแสดงพัฒนาการของสินค้า แผนงาน หรือการเปิดตัวสินค้าในอนาคต เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ถึงการเติบโตของธุรกิจและความมุ่งมั่นในการพัฒนา เช่น การแสดงขั้นตอนการพัฒนาโทรศัพท์รุ่นใหม่ ตั้งแต่แนวคิด การออกแบบต้นแบบ จนถึงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยฟีเจอร์นี้ช่วยให้ลูกค้าของเราเข้าใจถึงกระบวนการและความใส่ใจในรายละเอียดที่แบรนด์ส่งมอบให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ลูกค้าเกิด Royalty ซึ่งแบรนด์ที่ทำได้ดีมากๆ คือ Apple นั่นเองค่ะ
credit: Your AI-First Notebook for personal use TOM Parish
#4 เคล็ด(แต่ไม่ลับ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน
ส่วนสุดท้ายนี้,, เพื่อให้เราสามารถดึงเอาประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งาน Notebook LM ออกมาได้นั้น สามารถ Follow ตามเทคนิคดังต่อไปนี้ได้เลยค่ะ,,
เลือกแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพสูง : เป็นที่แน่นอนค่ะว่า การคัดเลือกเอกสารหรือข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความถูกต้องครบถ้วนย่อมทำให้ NotebookLM สามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำให้เกับเราได้
ใช้คำถามที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง : เมื่อถามคำถาม ควรระบุรายละเอียดให้มากเพื่อให้ AI ตอบคำถามได้ตรงตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งนี้เองสามารถใช้หลักการของ Prompt Engineer มาร่วมด้วยได้เลยค่ะ
ตรวจสอบเนื้อหาที่ AI สร้างขึ้น : ถึงแม้ว่า AI จะมีความสามารถสูง แต่บางครั้งก็อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้นเราควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเปรียบเทียบกับเอกสารต้นฉบับเสมอ
ใช้การอ้างอิงจาก AI : การใช้ลิงก์อ้างอิงจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของคำตอบได้อย่างสะดวก
Last but not least,,
NotebookLM เป็น AI-first notebook จาก Google ที่ช่วยให้การเรียนรู้และการวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรวมแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการประมวลผล เพื่อสร้างสรุป, คู่มือการศึกษา, พอดแคสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานด้านการตลาดที่พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน เน้นการรับข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว และสั้นกระชับ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งค่ะว่าเพื่อนๆ จะได้ไปทดลองใช้งานกัน เพื่อเพื่อผลสัมฤทธิ์ของงาน และประสิทธิภาพด้านการสื่อสารการตลาดค่ะ^^