Happy New Year 2025 ค่ะทุกท่าน ต่อเนื่องจากความร้อนแรงของ Generative AI จากปีที่แล้ว ในต้นปีนี้เรามาเริ่มกันที่การสร้าง GenAI App หรือ Application ที่บรรจุเอาความสามารถของ Generative AI เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Marketing กับลูกค้าหลากหลายสัญชาติ ซึ่งเหมาะมากๆ กับสถานการณ์การตลาดในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งกับลูกค้าและพนักงานที่ต้องสื่อสารกับลูกค้ากันค่ะ
ซึ่งต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มากค่ะ และสำหรับท่านที่ต้องการติดตามสาระเพิ่มเติมสามารถเข้าไปติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/TSE.Thammasat เลยนะคะ 😊
เริ่มต้นกันที่การเท้าความกันซักนิดเกี่ยวกับ Generative AI ซึ่งโดยรวมๆ แล้วคือ Algorithms ที่สามารถสร้าง หรือ Generate งานใหม่ๆ ได้ตามคำสั่งหรือ Prompts ที่เรา Input เข้าไปให้ได้ ตัวอย่างที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดีก็เช่น ChatGPT: Chatbot ล้ำๆ ที่สามารถตอบคำถาม และสื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ(อย่างมาก) จนสะเทือนทุกวงการในยุค Digital Marketing ก่อให้เกิดคำถามที่ว่า ChatGPT เองจะมาช่วยงาน หรือแย่งงานไปจากเรา!!
โดยหากเราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Generative AI ก็เป็นเหมือนกับเลขา หรือผู้ช่วยคนหนึ่ง ที่ Work from home ตลอดเวลาโดยทำงานผ่าน Chat มีความสามารถระดับซีเนียร์ มีวาทะศิลป์ดีเยี่ยม อีกทั้งยังพูดได้หลายภาษา มีความรู้หลากหลายด้าน แต่ปากสว่าง (ถ้าเราใช้งานฟรี) และเพ้อๆ บ้างในบางครั้ง (Hallucination) ซึ่งการใช้งานเลขาคนนี้จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตั้งโจทย์ในการสื่อสารว่าเราทำได้ดีเพียงพอหรือไม่ค่ะ
ดังนั้นในบทความนี้นิกเลยจะพาทุกท่านไป Bridge the gap ที่ว่า “User สามารถตั้งโจทย์หรือ Prompt ได้ดีพอ” ไม่ต้องซีเรียสว่าลูกค้าหรือ User ของเราจะรู้จัก Zero-shot prompting, Chain-of-thought, Few-shot prompting หรือ Role-based/meta prompting หรือไม่ ด้วยการสร้าง GenAI App ให้ผู้ใช้งานทั้งในส่วนของลูกค้า และในส่วนของพนักงานที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่ายๆ เหมือนกับการพูดคุยตามปกติ
ถ้าอย่างนั้น….เรามาเริ่มกันเลยค่ะ ว่าเราจะสร้าง Generative AI Application เพื่อช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ Marketing ตอบกลับลูกค้าหลายภาษาได้อย่างไร—ซึ่งขอแอบกระซิบค่ะ ว่ามีขั้นตอนที่ค่อนข้างง่ายทำตามได้แบบชิลๆ และที่สำคัญเป็น No-cade based ที่แท้ทรูเลยค่ะ 😊😉
1. เข้าไปที่ PartyRock ของ Amazon Web Service (AWS) : https://partyrock.aws
เริ่มต้นให้เพื่อนๆ เข้าไปที่ https://partyrock.aws ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสร้างแอปพลิเคชัน AI ได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น โดยสามารถ Plug-in เอาความสามารถของ Generative AI ที่ขับเคลื่อนด้วย Amazon Bedrock มาใช้ค่ะ
โดยสำหรับ GenAI app คือการที่เราเตรียม Engine บางอย่างไว้ที่ Background โดยที่เราไม่ต้องเขียนโค้ด เพื่อหลีกเลี่ยงพวก AI literacy (หมายถึงความเข้าใจในเรื่องของการใช้งานอย่างมี awareness เพราะการใช้งาน AI จะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการมี awareness ในการใช้งาน GenAI จึงมีความสำคัญ)
นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างแอปพลิเคชัน AI ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของเราได้เลย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก หรือแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานส่วนบุคคล ซึ่งในบทความนี้นิกจะพาทุกท่านสร้าง GenAI App เพื่อให้พนักงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า สามารถสื่อสารกับลูกค้าที่ใช้งานภาษาที่แตกต่างกันได้หลากหลายภาษา โดยใช้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทของเราเป็น Database ค่ะ^^
และเมื่อเข้ามาที่ Partyrock เรียบร้อยแล้วเราจะเจอกับหน้านี้ ก็ให้ทุกท่านกด “Get stared for free” หรือ “Start for free” ได้เลยค่ะ
ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้วก็จะเข้าสู่หน้า Login โดยในส่วนนี้นิกขออนุญาตแนะนำให้ใช้เป็น “Sign in with Google” ค่ะ เนื่องจากทำให้เราสะดวกในการแยกใช้ User ที่ต้องการสำหรับแต่ละ Application ได้
เป็นอัน Sign in เสร็จเรียบร้อย! ง่ายใช่มั้ยคะ^^
โดยในหน้านี้ในส่วนของ Discover ก็จะเป็นการอธิบายคร่าวๆ ว่า PartyRock สามารถช่วยสร้าง GenAI App อะไรให้เราได้บ้าง เช่นเป็น Content writing, Career development (ในการช่วยตรวจสอบฟอร์ม, Grammar และ Tone เป็นต้น), Work & Profession หรือแม้แต่งานด้าน Art&Design และงานด้านการศึกษา
ซึ่งหากเพื่อนๆ ท่านไหนที่ต้องการให้ระบบพาทัวร์การใช้งาน และความสามารถโดยรวมของ PartyRock ก็สามารถเข้าไปดูส่วนต่างๆ ได้ที่ PartyRock Guide ตรงแถบ Taskbar ด้านซ้ายมือค่ะ
2. เลือกสร้าง GenAI App
หลังจากนั้นเมื่อพร้อมแล้ว เรามาเริ่มสร้าง GenAI App กัน โดยเลือกที่ด้านมุมบนขวาจะเจอกับคำว่า “Generate app ” ให้กดปุ่มนี้ได้เลย (o゜▽゜)o☆
ซึ่งเมื่อ Click แล้วจะมี Pop-up ขึ้นมาถามค่ะว่า เราต้องการที่จะสร้างเป็น GenAI App เพื่อใช้งานในลักษณะใด? : What do you want to build?
โดยในบทความนี้จะสร้างเป็น “ต้องการทำ Application สำหรับช่วยลงขายของในร้าน ซึ่งมักต้อนรับลูกค้าต่างชาติ อยากให้ช่วยแปลภาษาของลูกค้า ” เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ให้กด “Generate” ได้เลยค่ะ
เมื่อกด Generate เรียบร้อยแล้ว รอซักแป๊บ สิ่งที่เราจะได้ออกมาก็จะเป็นโครงร่างของ Widget ที่เป็น default ที่สอดคล้องกับคำอธิบาย Application ที่เราต้องการจะสร้าง พร้อมกับที่ PartyRock ตั้งชื่อมาให้ เช่น ตอนนี้ชื่อที่นิกได้ออกมาจะเป็น “Multilingual Shop Assistant ”
หลังจากนั้นให้เราเลือกไปที่ “Edit ” เพื่อทำการแก้ไข Widget ต่างๆ ตามที่เราต้องการได้ดังนี้,, เปลี่ยนจาก Customer Query เป็น “Customer Language ” แล้วใน Prompt ว่า “Translate the following message from Thai to Customer Language: Employee Message.,,,, ”
ซึ่งส่วนนี้เองที่เราจะช่วยลดการ Error จากการใช้งาน Generative AI แบบปกติด้วยการ Prompting ให้ Application ของเราไปเลย โดย User ทั้งสองฝั่งไม่จำเป็นต้องมีองค์ความรู้เรื่อง Prompt Engineer ก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ ค่ะ
เมื่อเราปรับแต่งส่วนต่างๆ เรียบร้อยตามที่เราต้องการแล้ว ก็จะได้หน้าต่างภาพรวมของ Widget ตามภาพด้านล่าง
แต่หากเรายังรู้สึกว่า Window ของ widget ต่างๆ ยังไม่สมส่วน หรือดูแล้วแปลกๆ เราก็สามารถสามารถย่อขยาย/เลื่อน ตัวหน้าต่างตามที่เราต้องการได้ค่ะ=>> ส่วนนี้เพื่อให้ดูง่ายขึ้นเท่านั้นนะคะ ไม่มีผลต่อการใช้งานอะไร
3. ปรับแต่ง/Prompt GenAI App ที่ต้องการบน PartyRock
หลังจากที่เพื่อนๆ ได้หน้าตาของ Widget คร่าวๆ ที่เราต้องการแล้ว ก็มาเข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างคำสั่งโดยละเอียด เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการการใช้งานของ User ทั้งในส่วนของลูกค้า (Customer) และพนักงาน (Employee) กันดังนี้ค่ะ
เริ่มต้นเราจะมาใส่ในส่วนของ Employee Message ว่าเราต้องการให้พนักงาน Greeting อย่างไรกับลูกค้าที่เข้ามาในร้าน หรือติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์เข้ามาก็ตาม
โดยตัวอย่างนี้จะใช้เป็น “ยินดีต้อนรับ มีอะไรจะซื้อ/ให้ช่วยไหมครับ” และเลือกในส่วนของภาษาของลูกค้า (Customer Language) เป็น “Japan” =>> ทั้งนี้ทุกท่านสามารถเลือก Greeting Message และภาษาตามที่ต้องการได้เลยนะคะ
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือข้อความ Greeting ตามภาษาที่เราเลือกไว้ออกมาค่ะ (โดยที่ User ไม่ต้อง Prompt เหมือนตอนคุยกับ ChatGPT หรือ Gemini ว่า Help me translate from Thai to Japan,,,, แต่ Generative AI Application ของเราก็ Generate ผลลัพธ์ออกมาให้เลย)
4. การใส่ข้อมูลสินค้า/บริการ/บริษัท เข้าไปเป็นฐานข้อมูลของ GenAI App
หลังจากที่ Generative AI Application ของเรา มีฟังก์ชันพื้นฐานตามที่เราต้องการแล้ว ส่วนต่อไปที่สำคัญมากๆ ก็คือการ Input ข้อมูลเฉพาะของสินค้า บริการ หรือบริษัทของเราเพื่อให้ Application นี้ใช้เป็น Database ในการสร้าง Results ตอบกลับให้ User ทั้งสองฝั่ง (พนักงาน และลูกค้า) ค่ะ
เริ่มต้นให้ทุกท่านเลือก Widget “Text Generation” ออกมาเพิ่มเติม จากในส่วนของ User Input เพื่อสร้างเป็นกล่องที่เราจะ Input Database เข้าไปค่ะ
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราทำการ Input ข้อมูลหรือ Content เข้าไป เช่นในตัวอย่างนี้ใส่เป็น ข้อมูลของสินค้าพร้อมราคาอย่างง่าย (กางเกงช้าง ราคา 100 บาท, ยาดมหงส์ไทย ราคา 40 บาท, ทุเรียนทอด ราาคา 100 บาท etc.,,,, เป็นต้น)
แล้วให้เราทำการ Add Content นี้เข้าไปอยู่ใน Widget “product list”
ซึ่งเมื่อเราเพิ่ม Input เข้าไปแล้ว ให้ทำการเปลี่ยน Prompt ที่ตั้งค่าไว้ในตอนแรกใหม่ดังนี้ค่ะ “Translate the following message from Thai to Customer Language : Employee Message. Provide only the translated text without any additional explanations”
หลังจากนั้นให้เราลองกด “Play |> ” ดูค่ะ ว่า Application ทำงานได้เรียบร้อยดีไหม
และหากเราต้องการให้ Application ทำงานหรือมีฟังก์ชันใดเพิ่มเติมก็สามารถปรับแต่งผ่านส่วนของ Prompt ได้ ยกตัวอย่างเช่น “ให้เพิ่มการแนะนำสินค้าใน product list ไปเป็นข้อความเสริมด้วย ให้มีเฉพาะข้อความที่แปลจาก Employee Message และสินค้า 1 รายการจาก product list” เป็นต้นค่ะ
โดยในตอนนี้ widget ของเราจะมี 3 widgets ได้แก่ Customer Language ที่เป็น User Input, Translated Message และ Employee Message เป็น Text Generation widget
และหากเราต้องการให้การตอบสนองของ Application ของเรามีลักษณะเหมือนเป็น Chatbot ให้เราทำการสร้าง Widget เพิ่มอีก 1 widget โดยเลือกไปที่ AI-powered แล้วเลือก “Chatbot ” หลักจากนั้นในเลือกปรับแต่งการตั้งค่าตามที่ต้องการได้ดังนี้
Model: ส่วนนี้เราสามารถเลือกโมเดลที่เราต้องการให้ทำงานเป็น Background ของ Chatbot ได้ เช่น ตอนนี้นิกเลือกเป็น Claude 3.5 Sonnet หรือในส่วนของ Advanced setting เราก็สามารถปรับแต่ง Temperature, Top P ได้ตามต้องการ
Labels: ในส่วนของ Labels เราสามารถปรับแต่งรายละเอียดของ widget นี้ได้ เช่น เปลี่ยนชื่อ widget หรือตั้งค่าข้อความเริ่มต้น (Initial message) ได้
Prompt: เป็นการใส่ Prompt ที่เราต้องการสั่งให้ widget Chatbot นี้ทำงาน
โดย Prompt ที่เป็นคำสั่งสำหรับ widget Chatbot นี้คือ
“Translate the following message from Thai to Customer language : Staff message ให้เพิ่มการแนะนำสินค้าใน product list ไปเป็นข้อความเสริมด้วย ให้มีเฉพาะข้อความที่แปลจาก Staff message และสินค้า 1 รายการจาก product list “
เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการเพิ่ม Text Generative AI เข้าไปใน Application ของเราค่ะ (ภาพด้านล่างนี้เป็นการลองใช้งานกรณีที่เปลี่ยน Customer language จากภาษา ญี่ปุ่น เป็นภาษาเกาหลี ค่ะ
แล้วถ้าเราอยากได้รูปประกอบสำหรับสินค้าของเราด้วยล่ะ?
ให้ทำตามนี้ได้เลยค่ะ => Add Image generation widget แล้วพิมพ์ prompt ว่า “ต้องการรูปประกอบ ” โดยต้องอ้างถึง widget ที่เราต้องการ
หลังจากนั้นในส่วนของ Model ในบทความนี้ นิกเลือกใช้เป็น Stable Image Core (ทั้งนี้เพื่อนๆ สามารถเลือกใช้โมเดลอื่นๆ ตามที่ต้องการได้เช่นกันนะคะ)
ซึ่งสิ่งที่เราจะได้ก็เป็น Application ออกมา ซึ่งเป็น GenAI App ที่ user ไม่จำเป็นต้อง prompt เลยด้วยซ้ำ เพียงแค่พิมพ์เหมือนการพูดคุย ปกติได้เลย ซึ่งในช่อง user input widget ก็สามารถเปลี่ยนจาก text เป็นเสียงได้ด้วย
หรือจะเปลี่ยนเป็น interactive refinement ก็ได้ โดยเราสามารถเพิ่ม widget chatbot เพื่อให้เราสามารถโต้ต้อบได้ง่ายขึ้น ตามภาพด้านล่างนี้ค่ะ^^
5. สร้าง Persona ของพนักงาน อัพโหลดไฟล์ และ Share Application และตรวจสอบ Usage Quota
เมื่อเราทดลองใช้งานจน GenAI App ของเราสามารถตอบสนองได้ตามต้องการแล้ว ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่เราต้องทำการตั้งการก่อนที่จะ Share ให้ลูกค้า/พนักงานนำไปใช้งาน ก็คือการตั้งค่า Persona ของพนักงานที่จะเป็นคนโต้ตอบกับลูกค้าค่ะ
ซึ่งในส่วนนี่้ทุกท่านสามารถตั้งค่าให้สอดคล้องกับพนักงานที่ประจำอยู่แต่ละสาขาได้เลย (กรณีร้านมีหลายสาขา) เช่นในบทความนี้นิกตั้ง Persona ว่า “สมมติว่าคุณเป็นพนักงานผู้หญิง อายุ 20 ปี จบการศึกษามาทางด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ” เป็นต้น
ท้ายสุดหากข้อมูลที่เราต้องการใช้ตอบลูกค้ามีปริมาณมาก ก็สามารถเลือกเป็นการ “Upload you file here ” แทนการพิมพ์หรือ Copy ข้อความมา Insert เข้าไปเพื่อความสะดวกได้ค่ะ (แต่การทำแบบนี้จะมีข้อเสียตรงที่ถ้าเราต้องการแก้ไขข้อมูลแค่บางส่วนจะไม่สามารถทำได้ เช่นเมื่อเรามีการปรับราคาสินค้าบางรายการ แต่เราต้องอัพโหลดไฟล์ใหม่ทั้งหมดแทน)
และ และ และ,,,,,,, เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราเลือก “Leave edit ” ที่อยู่ด้านมุมขวาบน หน้าต่างก็จะกลับมาที่หน้าภาพรวม Application
ก็ให้เรากด -> “Share ” แล้วเลือกวิธีการแชร์ ไม่ว่าจะเป็น Public, Shared (URL Link) หรือ Private (กรณีสร้างมาใช้คนเดียว) ตามที่เราต้องการได้เลยค่ะ
———————————————————-FINISH. YEAH—————————————————————–
และความเท่สุดท้ายของ PartyRock ก็คือตอนที่รัน Application นั้น user จะใช้เป็น quota ของตัวเองไม่ได้มาใช้ quota ของเราค่ะ!!!! โดยในส่วนของการตรวจสอบโควต้าคงเหลือสามารถเข้าไปที่ Icon สีเขียวตามภาพด้านบนได้เลยย
ทั้งนี้นิกหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลายๆ ท่านจะได้ไอเดียในการใช้งาน และกลับมาแลกเปลี่ยนพูดคุย แชร์องค์ความรู้กันนะคะ 😊😃