บทความนี้เราจะพามาดู 3 Case Study การตลาด เพิ่มยอดขาย จากหนังสือ ขายดีขึ้นร้อยเท่ากับการตลาดร้อยตอน ที่บอกเลยว่า แต่ละเคสไม่ใช่แค่ไอเดียแค่ในทฤษฎีนะครับ แต่เป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจลงมือทำจริง ได้ผลจริง ที่นัเป็นสิ่งที่กการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์สามารถหยิบไปต่อยอดใช้ได้ทันที ใครกำลังมองหาแนวทางใหม่ ๆ ในการปลุกยอดขาย หรืออยากได้แรงบันดาลใจในการทำการตลาดแบบสร้าง Impact โดยไม่ต้องใช้งบมหาศาลครับ
สำหรับใครที่สนใจหนังสือ ขายดีขึ้นร้อยเท่ากับการตลาดร้อยตอน อยากสั่งไปอ่าน สามารถสั่งซื้อได้ที่ Link Link ได้เลยครับ Link จริงนะครับ ไม่ต้องห่ววว่าจะเป็นมิจจี้
The Fork That Sauces แค่ทำให้การกินสนุกขึ้น ก็ขายดีขึ้นได้ง่าย ๆ แล้ว
ถ้าใครทําธุรกิจเกี่ยวกับอาหารการกินบอกได้เลยว่า “หนักมาก” เพราะ นอกจากจะมีคู่แข่งยั้วเยี้ย ในตลาดแล้ว ยังเจอกับปัญหาการเลียนแบบได้โดยไว เพราะอาหารเป็นสิ่งที่เราจดสิทธิบัตรกันการลอกเลียนแบบไม่ได้
ถ้าอย่างนั้นเราจะทําอย่างไรให้มีแค่เราคนเดียวที่ทําได้ แล้วถ้าเราขายสิ่งเดิมมานานหลายสิบปีและก็ไม่สามารถเปลี่ยนไปขายสิ่งอื่นได้ เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกตื่นเต้นเร้าใจที่จะได้กลับมาซื้อหรือกิน อาหารที่เราขายอีกครั้ง เคสนี้เกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี หนึ่งในประเทศที่มีการกินไส้กรอกมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเดิมทีวัฒนธรรมการกินไล้กรอกของคนยุคก่อนก็คือ ต้องกินกับมัสตาร์ด
เพียงแต่ปัญหาหนึ่งที่แบรนด์นี้ต้องเจอก็คือ กลุ่มลูกค้าชั้นดีที่ชอบกินไส้กรอกกับมัสตาร์ดมาก ๆ นั้นแก่มากแล้ว และกำลังตายจากโลกนี้ไปเรื่อย ๆ ส่วนคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้นิยมกินไส้กรอก อาหารประจำชาติกับมัสตาร์ดแบบคนรุ่นเก่าเท่าไหร่ แบรนด์มัสตาร์ดเก่าแก่อย่าง Thomy ก็เลยต้องหาทางทำให้สินค้าเดิม รสชาติเดิมที่ขายมานานกว่าร้อยปี ยังคงขายต่อไปได้ เลยเกิดไอเดียว่า “ทำไมไม่ลองทำให้การกินมัสตาร์ดมันน่าสนุกขึ้นกว่านี้ดู”
ในเมื่อกลุ่มเป้าหมายอย่างคนรุ่นใหม่ชอบความสนุกสนาน ไม่ชอบความจริงจังซีเรียส จะกินอะไรก็ยังเลือกที่กินแล้วสนุกไม่แพ้รสชาติความอร่อย แบรนด์จึงลองออกอุปกรณ์ช่วยกินที่มีหน้าตาเป็น ส้อม เพียงความพิเศษของล้อมนี้คือการมีรูตรงกลางให้ซอสมัสตาร์ด ไหลผ่านออกมาได้
เพียงแค่โปรโมทออกไปนิดหน่อย พอคนเห็นอุปกรณ์นี้กลายเป็นกระแสไวรัลไปทัวโลกขนาดที่ช่องข่าวประเทศไทยยังเอามารายงานเลย ไม่ต้องเดาเลยว่าในประเทศเยอรมนี่ที่ขายซอสมัสตาร์ดนี้จะดังเป็นพลุแตกขนาดไหน ผู้คนแห่มาแย่งกันซื้อมาลองกิน แถมยังทําคลิปโปรโมทให้เจ้าสินค้าตัวนี้ให้ฟรี ๆ บน TikTok มากมาย รวมแล้วกว่าร้อยล้านวิว
จากสินค้าที่กําลังจะตายตามกลุ่มเป้าหมายเดิมที่มีอายุใกล้แตะร้อยปี กลับกลายมาเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่และเปิดใจลองกิน มัสตาร์ดกับอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่กินกับไส้กรอกเท่านั้น แต่สามารถกินมัสตาร์ดได้กับทุก ๆ อย่างเท่าที่ปลอกล้อมจะเสียบกินได้ครับ
ผลลัพธ์ ที่ได้ของกลยุทธ์การตลาดนี้ทําให้ยอดขายรวม เพิ่มขึ้นกว่า 40% ผู้คนแห่เข้ามาสั่งซื้อส้อมมัสตาร์ดมากมายมหาศาล และไม่ใช่แค่คนเยอรมันเท่านั้นที่ต้องการ แต่ยังลามไปถึงอิตาลีแล้วก็สวิตเซอร์แลนด์อีกด้วยครับ
VIDEO
แนวคิดจากเคส The Fork That Sauces ที่ธุรกิจนำไปใช้ได้เลย
1. Look Wider อย่ามองแค่สินค้า แต่มองที่บริบทการใช้งาน
ธุรกิจจำนวนมากมักโฟกัสอยู่กับการพัฒนาสินค้าให้ “ดีขึ้น” โดยลืมไปว่าสิ่งที่เปลี่ยนเร็วได้กว่า คือ “พฤติกรรมการใช้งาน” ของลูกค้า บางครั้งสินค้าไม่ได้มีปัญหา แต่เป็นเพราะวิธีใช้ไม่สนุก ไม่ง่าย หรือไม่เข้ากับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ อยากให้ทุกคนลองมองภาพรวมให้กว้างขึ้น ตั้งแต่จังหวะที่คนหยิบใช้ ไปจนถึงตอนใช้งานจริง ว่ามีช่วงไหนที่สามารถ “ปรับใหม่” ให้รู้สึกดีขึ้นได้ เช่น สินค้าอาหาร → เปลี่ยนวิธีเสิร์ฟ, สกินแคร์ → เปลี่ยนลำดับขั้นตอนให้ใช้ง่ายขึ้นครับ
2. สร้าง Gimmick เล็ก ๆ ที่ทำให้คนอยากแชร์
เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งตัวสินค้า แค่ใส่ Gimmick ลูกเล่นเล็ก ๆ ที่ทำให้คนรู้สึกว่าอยากลอง อยากอวด แค่นั้นก็สร้างการพูดถึงได้แล้วครับ เช่นเดียวกับปลอกส้อมบีบมัสตาร์ดของ Thomy ที่ไม่ได้ซับซ้อนแต่สนุกและดูใหม่ในสายตาคนรุ่นใหม่ ธุรกิจสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ออกแบบช้อนพิเศษเฉพาะเมนู, กล่องสินค้าพิมพ์คำทายเล่น หรือทำ QR code ที่สุ่มคำขำ ๆ ได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช้ต้นทุนสูง แต่ให้ผลลัพธ์ทางการตลาดที่คนช่วยกระจายเอง Organic Share ครับ
3. ทำให้ของธรรมดาเป็นของที่คนอยากพูดถึง
ในยุคที่คนชอบแชร์มากกว่าฟัง การทำให้สินค้า “มีมุมให้พูดถึง” คือหัวใจสำคัญของการตลาดแบบ Viral ครับ ลองถามตัวเองว่า ถ้ามีคนซื้อสินค้านี้ไป เค้าจะมีเรื่องอะไรเล่าให้เพื่อนฟังมั้ย? ถ้าไม่มีเลย แปลว่าอาจต้องเพิ่มจุดที่เล่าได้ครับ เช่น เรื่องเบื้องหลังการผลิต วิธีใช้งานแบบไม่เหมือนใคร หรือ Story ที่หยอดความเซอร์ไพรส์เข้าไป ธุรกิจไม่จำเป็นต้องทำคอนเทนต์เองเสมอ แต่ต้องสร้าง จุดที่น่าพูดถึง ให้คนพร้อมหยิบไปเล่าต่อเองครับ
เคสนี้เป็นเรื่องราวของ Back Market ซึ่งทำธุรกิจขายสินค้า Refurbished หรือของที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว เช่น เอาโทรศัพท์มือถือที่ถูกส่งเคลมเปลี่ยนเครื่องใหม่กลับไปซ่อมแซมให้สมบูรณ์ ใช้งานได้ดีแล้วจึงนำกลับมาขายใหม่ เพียงแต่มีการระบุให้ลูกค้ารู้ว่า “Refurbished” อย่างชัดเจน ข้อดีก็คือ สินค้ามีราคาถูกมาก ๆ
พวกเขาเลยคิดหาทางว่า จะทำการตลาดอย่างไรที่ใช้เงินน้อย ๆ แต่ได้ผลเยอะ ๆ ก็เลยเป็นที่มาของการเอาโพสต์คนดังมาแชร์ซ้ำหรือรีโพสต์ใหม่ เช่น เมื่อไอโทรศัพท์มือถือ iPhone เปิดตัวรุ่นใหม่ คนทั่วโลกต่างก็โพสต์เป็นเสียงเดียวกันว่าอยากได้กันถ้วนหน้า
ไม่เว้นแม้แต่คนดังที่มีทวีตติดตามกระแส หรือโพสต์ให้เป็นกระแส ก็ไม่รู้ Back Market เห็น Insight นี้ ก็เลยมองเป็นโอกาสที่จะขุดเอาโพสต์เก่า ๆ ของดาราคนดังขึ้นมาแชร์ หรือรีโพสต์อีกครั้งจนกลายเป็นกระแสไวรัลให้คนได้ขำขันกัน เช่น ไคลี เจนเนอร์ ที่เคยโพสต์ตั้งแต่ปี 2012 ก่อน iPhone 5 จะเปิดตัวว่า “อยากได้ iPhone 5 จัง”
แม้ว่าโพสต์นี้จะนานจนคนลืมไปแล้ว แต่ทีมการตลาดของ Back Market ก็ไปขุดกลับมาได้ และแชร์โพสต์นี้ใหม่อีกครั้งเมื่อปี 2017 ว่า “ผ่านมาตั้ง 7 ปีแล้วนะ ยังไม่ได้อีกหรอ เอางี้แล้วกัน เราส่งเครื่อง Refurbished ให้คุณแล้ว เอ็นจอยนะ!”
จากโพสต์คนดังโลกมามากมายถูกนำมารีโพสต์ใหม่อีกครั้ง พร้อม ๆ กันในระยะเวลาอันสั้น และผลคือติดเทรนด์โซเชียลอย่างไว ทำให้คนสนใจอยากเข้าไปดูสินค้า Refurbished ในเว็บไซต์ของ Back Market ที่เอาของเก่ามาเปลี่ยนใหม่ให้ดีเหมือนใหม่ได้อีกครั้งครับ
VIDEO
ผลลัพธ์ คือในระยะเวลาแค่ 48 ชั่วโมงหลังเอาโพสต์คนดังมาแชร์หรือรีโพสต์ใหม่ ก็ส่งผลให้คนแห่ไปซื้อสินค้ากว่า 26,000 รายการ และมีคนเข้าเว็บเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเกือบ 5 เท่า เรียกว่า “เป็นการตลาดแบบศูนย์บาท แต่กลับมียอดขายได้มหาศาลเลยทีเดียว”
1. Look Back ของเก่าไม่ไร้ค่า ถ้าเล่าใหม่ให้ตรงจังหวะ
คอนเทนต์เก่าที่เคยโพสต์ไปแล้ว ไม่ได้แปลว่าต้องทิ้งเสมอไป ถ้ารู้จักหยิบกลับมาใช้ให้ “ตรงเวลาและตรงใจ” อย่างเช่น Back Market ที่เลือกขุดโพสต์เก่าของคนดังในช่วงที่ iPhone ออกรุ่นใหม่ แล้วรีโพสต์พร้อมแคปชันใหม่ที่เชื่อมกับสินค้าตัวเอง การตลาดที่ดีไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกครั้ง แต่อาจเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว แล้วเล่าให้สนุกขึ้น สอดคล้องกับความสนใจของผู้คนในตอนนี้ครับ
2. เล่นกับวัฒนธรรมโซเชียล ไม่ใช่แค่ตามกระแส
โลกโซเชียลมี “จังหวะ” และ “อารมณ์ร่วม” ที่ถ้าแบรนด์เข้าใจและเล่นกับมันได้ ก็ไม่ต้องเปลืองงบโฆษณาเลยครับ การหยิบโพสต์เก่ามารีโพสต์พร้อมแคปชันครีเอทีฟนั้น ไม่ใช่แค่การเล่นมุก แต่คือการเข้าไปมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของการย้อนอดีต ล้อความทรงจำ และการคอมเมนต์ขำ ๆ ซึ่งเป็นภาษาหลักของผู้ใช้งานโซเชียลสมัยนี้
3. เปลี่ยนของเก่าให้ดูใหม่ ด้วยพลังของ “ความเข้าใจคน”
สินค้า Refurbished อาจถูกมองว่าเป็นของเก่า แต่ถ้าเล่าให้ดี มันก็คือของฉลาดเลือก และนั่นคือสิ่งที่ Back Market ทำได้ครับ โดยผ่านการสื่อสารที่เบาสมองและเป็นมิตร ธุรกิจที่มีของเก่า ของค้าง หรือของมือสองอยู่ในมือ ไม่จำเป็นต้องลดราคาอย่างเดียว แค่ต้องเปลี่ยนเลนส์ในการเล่า ให้คนรู้สึกว่า “มันดีพอสำหรับฉันในตอนนี้” ไม่ใช่แค่ราคาถูกเท่านั้นครับ
Hungerithm เปลี่ยนความเกรี้ยวกราดให้กลายเป็น “ส่วนลด” ที่ช่วยเพิ่มยอดขายถึง 67%
อ่านชื่อตอนนี้แล้วอาจงง ๆ ว่า ตกจะลดหรือจะเพิ่ม คำตอบคือเคสนี้ยอดชายเพิ่มได้ด้วยการให้ส่วนลดแบบมีกลยุทธ์ชั้นเชิงครับ จากหลายบทที่อ่านมาคุณคงเห็นแล้วว่าการลดราคาธรรมดาๆ บางครั้งก็ไม่สามารถทำให้ผู้คนตื่นเต้นและอยากจะซื้อสินค้าอีกต่อไป
ดังนั้นการลดราคาที่ฉลาดคือต้องลดราคาให้กลายเป็นการตลาดด้วย หมายความว่าทำให้คนตื่นเต้นที่จะได้ส่วนลด เหมือนกับที่จะเล่าให้ฟังในตอนนี้เคสนี้เป็นเรื่องราวของขนมแท่ง Snickers ที่ชอบทำการตลาดแบบกวน ๆ
ภายใต้แคมเปญการตลาดที่ไช้ชื่อว่า “Hungenthm” ตามคอนเซปต์ว่า “คุณไม่เป็นตัวของตัวเองเวลาหิว” สำหรับที่มาของคอนเซปต์แคมเปญนี้มาจากการที่ทีมการตลาดเจอว่า ชาวเน็ตมักหัวร้อนง่าย เห็นอะไรไม่ถูกใจนิดหน่อยก็โพสต์ด่า โพสต์ต่อว่าเป็นประจำ ทีมการตลาดเลยเกิดไอเดียว่า “แล้วทำไมเราไม่เอาความหัวร้อนของชาวเน็ตเหล่านั้นมาต่อยอด เป็นส่วนลดให้คนคิดถึงแบรนด์ Snickers ดู”
พวกเขาใช้เครื่องมืออย่าง Social Listening ในการเก็บดาต้าว่ามีโพสต์ที่ติดคำหยาบ ๆ ที่สะท้อนถึงความหัวร้อนของชาวเน็ตมากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน ถ้าวันไหนมีโพสต์แสดงความหัวร้อนของ
ชาวเน็ตมากพอก็จะมีส่วนลดมอบให้ ยิ่งมีอารมณ์เดือดดาลมากเท่าไรก็ถึงมีส่วมลดให้ไปกิน Snickers ลดอาการหัวร้อนมากเท่านั้น นับเป็นกลยุทธ์การให้ส่วนลดที่ไม่ใช่ได้แค่ยอดขายเพิ่ม แต่ยังได้การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำและแตกต่างด้วย
VIDEO
ผลคือ ผู้คนต่างคอยเฝ้ารอกันว่าวันนี้จะมีส่วนลดจาก Snickers เท่าไร หรือคอยลุ้นว่า วันนั้นจะมีนักการเมืองคนไหนมาพูดให้ข่าวอะไร ที่ชวนให้หัวร้อน ทัวร์ลงชุดใหญ่ได้บ้าง จากการเอาความหัวร้อนของชาวเน็ตมาเปลี่ยนเป็นส่วนลด นอกจากจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 67% แล้ว ที่สำคัญยังมี
การพูดถึงแบรนด์ Snickers บนโซเซียลเพิ่มขึ้นกว่า 1,740% ด้วย เอาเป็นว่า เคสนี้ได้ทั้งยอดขายได้ทั้งแบรนด์ และนี่คือสุด นักการตลาดที่สามารถยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวครับ
แนวคิดจากเคส Hungerithm ที่ธุรกิจนำไปใช้ได้เลย
1. อย่าลดราคาเพราะอยากขาย แต่ลดให้กลายเป็นการตลาด
การลดราคาไม่ควรทำแบบตรง ๆ แล้วหวังว่ายอดขายจะขึ้น แต่ต้องคิดว่า “ลดราคาแล้วทำให้คนตื่นเต้นและอยากพูดถึงได้ไหม” เหมือน Snickers ที่เอาส่วนลดไปผูกกับความหัวร้อนของชาวเน็ต ทำให้โปรโมชันธรรมดากลายเป็นกิจกรรมที่คนตั้งตารอ ซึ่งธุรกิจอื่นก็สามารถทำได้ เช่น ลดราคาตามจำนวนแชร์โพสต์ หรือลดราคาตามจำนวนคอมเมนต์คำฮา ๆ ในโพสต์โปรโมชัน
2. ใช้ Social Listening สร้างโปรโมชันแบบ Real-Time
Snickers ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลการหัวร้อนของชาวเน็ต แล้วผูกส่วนลดแบบเรียลไทม์กับกระแสที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน นี่คือการทำให้โปรโมชันของคุณ “เคลื่อนไหว” ไปพร้อมกับโลก ไม่ใช่อยู่เฉย ๆ วิธีนี้สามารถนำไปใช้ได้กับหลายธุรกิจ เช่น ร้านอาหารอาจลดราคาถ้าอากาศร้อนเกิน 35 องศา หรือแบรนด์แฟชั่นอาจปล่อยแฟลชเซลล์ตามกระแสเทรนด์สีประจำฤดูกาล
3. เปลี่ยนพลังด้านลบให้กลายเป็นอารมณ์บวก
แทนที่จะกลัวกระแสดราม่า Snickers เลือกหยิบ “ความหัวร้อน” ซึ่งเป็นอารมณ์ลบของโซเชียล มาเปลี่ยนเป็นประสบการณ์บวกผ่านการลดราคา นี่คือตัวอย่างของการตลาดที่ไม่หนีปัญหา แต่เอาปัญหามาเล่นให้คนยิ้มได้ ธุรกิจอื่นก็ทำได้ เช่น การเอารีวิวติชมมาใช้เป็นมุกในคอนเทนต์ หรือทำโปรโมชัน “งอนแล้วง้อ” เวลาเจอลูกค้าบ่น
สรุป 3 Case Study การตลาด เพิ่มยอดขาย จากหนังสือขายดีขึ้นร้อยเท่ากับการตลาดร้อยตอน ที่นักการตลาดนำไปใช้ได้ทันที
(AI-Generated Image by Shutterstock Prompt: a cinematic photograph of a successful marketing team presenting a case study to increase sales, in a modern office, bright atmosphere, dynamic composition, confident expressions, strategic charts on screens, realistic lighting, sharp focus)
ทั้ง 3 เคสนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า การเพิ่มยอดขายไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาล หรือเปลี่ยนสินค้าทั้งหมดเสมอไป แต่คือการเข้าใจ “บริบท” และ “พฤติกรรม” ของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง แล้วต่อยอดด้วยไอเดียที่เฉียบคมและเล่นกับอารมณ์คนได้ถูกจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้การใช้สินค้าสนุกขึ้น สร้างกิมมิกที่คนอยากแชร์ หรือเอาพลังด้านลบมาสร้างโมเมนต์บวก ธุรกิจทุกขนาดสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในโลกที่การแข่งขันสูงแบบนี้ ขอแค่กล้าที่จะมองกว้างกว่าสินค้า และคิดให้ลึกกว่าคำว่า “ขายของ” เท่านั้นเองครับ
สำหรับใครที่สนใจหนังสือ การตลาด เพิ่มยอดขาย ขายดีขึ้นร้อยเท่ากับการตลาดร้อยตอน อยากกอ่านตอนอื่น ๆ สามารถสั่งซื้อได้ที่ Link Link ได้เลยครับ เป็น Link จริงนะครับ ไม่ต้องห่วงว่าจะเป็นมิจจี้